คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 852

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 480 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลเหนือสินสมรส หากมีเจตนาแบ่งทรัพย์สินชัดเจนและศาลรับรอง
ในคดีก่อนโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 จะหย่ากันและในสัญญาข้อ 2 ตกลงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 เช่นเดิม โดยจำเลยที่ 4 จะไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ภายใน 15 วัน และข้อ 1 ในสัญญาระบุว่า จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวรบกวนโจทก์ทุกประการ หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา ยินยอมให้ถือเอาสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาเพื่อหย่าขาดกับโจทก์ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม แม้ปรากฏว่าขณะที่จำเลยที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทกลับคืนมา โจทก์และจำเลยที่ 1 ยังไม่จดทะเบียนหย่ากัน อันมีผลทำให้ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้มาโดยสัญญาในระหว่างสมรส ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) บัญญัติว่าเป็นสินสมรสก็ตาม แต่ข้อตกลงในเรื่องสินสมรสอื่นได้แสดงให้เห็นเจตนาชัดเจนว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีความประสงค์ให้ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสและมีข้อพิพาทกันได้จัดการแบ่งปันให้เป็นสัดส่วนชัดเจนเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายรวมทั้งยกให้บุคคลภายนอกเพื่อระงับข้อพิพาทไม่ยุ่งเกี่ยวซึ่งกันและกันอีก สัญญาดังกล่าวแม้เป็นสัญญาระหว่างสมรส แต่มีคำพิพากษารับรองและบังคับตามสัญญาเสร็จสิ้นแล้ว ไม่อาจบอกล้างได้ ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่สินสมรสของโจทก์และจำเลยที่ 1 แต่เป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีสิทธิจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ได้ โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและผลผูกพันต่อสินสมรส: เจตนาแบ่งทรัพย์สินชัดเจนถือเป็นสินส่วนตัว
ในคดีก่อนโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 จะหย่ากันและในสัญญาข้อ 2 ตกลงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 เช่นเดิม โดยจำเลยที่ 4 จะไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ภายใน 15 วันและข้อ 1 ในสัญญาระบุว่าจำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวรบกวนโจทก์ทุกประการ หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญายินยอมให้ถือเอาสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาเพื่อหย่าขาดกับโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม แม้ปรากฏว่าขณะที่จำเลยที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทกลับคืนมา โจทก์และจำเลยที่ 1 ยังไม่จดทะเบียนหย่ากันอันมีผลทำให้ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้มาโดยสัญญาในระหว่างสมรสซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) บัญญัติว่าเป็นสินสมรสก็ตาม แต่ข้อตกลงในเรื่องสินสมรสอื่นได้แสดงให้เห็นเจตนาชัดเจนว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีความประสงค์ให้ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสและมีข้อพิพาทกันได้จัดการแบ่งปันให้เป็นสัดส่วนชัดเจน เป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายรวมทั้งยกให้บุคคลภายนอกเพื่อระงับข้อพิพาทไม่ยุ่งเกี่ยวซึ่งกันและกันอีก สัญญาดังกล่าวแม้เป็นสัญญาระหว่างสมรส แต่มีคำพิพากษารับรองและบังคับตามสัญญาเสร็จสิ้นแล้วไม่อาจบอกล้างได้ ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่สินสมรสของโจทก์และจำเลยที่ 1 แต่เป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่1 มีสิทธิจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3664/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์ ผู้รับประกันภัยมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้ละเมิด
ตามบันทึกข้อตกลงมีข้อความระบุไว้แต่เพียงว่า ช. และจำเลยต่างยืนยันว่าไม่ติดใจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีอย่างใดซึ่งกันและกัน ค่าเสียหายที่เกิดจากรถเฉี่ยวชนกันดังกล่าวมีทั้งค่าซ่อมรถ ค่ารถยก และค่ารักษาพยาบาลของผู้ที่บาดเจ็บ แต่ตามบันทึกดังกล่าวไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่ชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทโดยยอมสละข้อเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยสิ้นเชิงแต่อย่างใด อีกทั้งข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้เอาประกันรถยนต์กระบะคือ ธ. มิใช่ ช. สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นค่าซ่อมรถหรือค่ายกรถจึงเป็นสิทธิของ ธ. ไม่ใช่สิทธิของ ช. ทั้งไม่ปรากฏว่า ธ. ได้มอบอำนาจให้ ช. ดำเนินการตกลงกับคู่กรณีแต่อย่างใด บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้หนี้ในมูลละเมิดครั้งนี้ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ถึง 852

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20920/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัว การทำข้อตกลงของบุตรไม่ได้ผูกพันบิดามารดา
สิทธิในการเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของ ส. และของโจทก์ซึ่งเป็นบิดาและมารดาของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคท้าย ถือเป็นสิทธิเฉพาะตัว มิใช่เป็นสิทธิร่วมกันที่กฎหมายกำหนดให้บิดาหรือมารดาคนหนึ่งคนใดสามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้เพียงคนเดียว เมื่อโจทก์มิได้มอบอำนาจให้ ส. ทำแทนโจทก์ การที่ ส. บิดาผู้ตาย ทำบันทึกข้อตกลงกับ ท. พนักงานขับรถของจำเลยจากการที่ ท. ทำละเมิดต่อผู้ตายและต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าจะไม่นำคดีไปฟ้องร้องไม่ว่าทางแพ่งหรือทางอาญา อันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 มีผลทำให้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจาก ท. และจำเลย ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 จึงไม่ผูกพันโจทก์ สิทธิของโจทก์จึงไม่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10409/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การยึดรถยนต์เกินสิทธิ ทำให้เกิดละเมิดต่อคู่สัญญา
ก่อนคดีนี้จำเลยได้นำหนี้ตามสัญญาเช่าซี้อรถยนต์พิพาทมาฟ้องให้โจทก์รับผิดแล้ว แต่ภายหลังตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งศาลจังหวัดขอนแก่นได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคำพิพากษาตามยอมถึงที่สุดแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิของจำเลยที่จะเรียกร้องให้โจทก์รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อเดิมเป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 จำเลยคงมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น เนื่องจากคำพิพากษาตามยอมย่อมมีผลผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แต่สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา เมื่อข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุไว้เพียงว่าหากโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผิดนัด โจทก์ยินยอมให้จำเลยบังคับเอากับหนี้ที่เหลือได้ทั้งหมด โดยไม่มีข้อความใดระบุให้สิทธิแก่จำเลยติดตามยึดรถยนต์พิพาทคืน ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยก็ชอบที่จะร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการบังคับคดีเอากับหนี้ที่เหลือตามคำพิพากษาตามยอมทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยได้ทันทีเท่านั้นไม่มีสิทธิที่จะไปยึดรถยนต์พิพาทได้อีก การกระทำของจำเลยที่มอบหมายให้พนักงานของจำเลยไปยึดรถยนต์พิพาทแล้วนำออกขายทอดตลาดจึงเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นการจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับคดีตามข้อตกลง, ห้ามใช้วิธีขายทอดตลาด
โจทก์และจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยทั้งสามยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องและตกลงร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามตกลงชำระหนี้โจทก์โดยนำทรัพย์จำนองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายใน 30 วัน หากผิดนัด ยินยอมให้โจทก์ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ทันทีเพียงประการเดียว ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่ามีการตกลงกันให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ได้สองวิธีคือ นำทรัพย์จำนองตีราคาชำระหนี้ หรือนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ การที่สัญญาระบุว่าจำเลยทั้งสามรับว่าเป็นหนี้และตกลงร่วมกันหรือแทนกันชำระหนี้ก็เป็นเพียงการยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้มูลหนี้เดิมระงับ โจทก์และจำเลยทั้งสามต้องผูกพันกันตามมูลหนี้ใหม่โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีโดยถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย โจทก์หามีสิทธิเลือกบังคับคดีด้วยวิธีการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิมแก่โจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้โดยประนีประนอมยอมความ และสิทธิในดอกผลนิตินัยหลังการระงับหนี้
ป.พ.พ. มาตรา 761 มิได้บังคับให้เจ้าหนี้ต้องนำดอกผลนิตินัยอันเกิดจากทรัพย์ที่จำนำไปหักจากจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ เพียงแต่หากเจ้าหนี้ใช้สิทธิดังกล่าว จะต้องนำดอกผลนิตินัยไปหักออกจากหนี้ตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น โจทก์ชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 ในวันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีหนังสือแจ้งการปลดหนี้และหลักประกัน และในท้ายหนังสือฉบับนี้ยังระบุว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามซึ่งข้อกำหนดในสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาปลดหนี้ โดยมีเงื่อนไขครบถ้วนทุกประการ จึงต้องถือว่าหนี้ทั้งหมดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ระงับไปแล้วโดยการประนีประนอมยอมความ ทั้งในสัญญาประนีประนอมยอมความก็มิได้ระบุว่าให้นำเงินปันผลที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับเป็นอีกส่วนหนึ่งที่โจทก์จะต้องนำมาชำระให้แก่จำเลยที่ 1 อีกด้วย และในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ล. ในวันที่ 27 เมษายน 2544 ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 6 บาท ดังนั้น ดอกผลนิตินัยอันเกิดจากหุ้นที่โจทก์จำนำไว้แก่จำเลยที่ 1 จึงเกิดขึ้นภายหลังจากหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ระงับไปทั้งหมดแล้ว รวมทั้งหลักประกันต่างๆ ที่จำเลยที่ 1 เคยมีสิทธิบังคับเอาแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะนำเงินปันผลมาชำระหนี้ได้อีก จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินปันผลที่รับไว้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12039-12042/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สละสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาหลังเลิกจ้าง: สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน
สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เป็นสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แต่เมื่อโจทก์ทั้งสี่สมัครใจทำข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องในเงินจำนวนดังกล่าวภายหลังจากที่จำเลยเลิกจ้าง ซึ่งในขณะนั้นโจทก์ทั้งสี่พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยและมีอิสระที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของตนเองได้ เพราะพ้นพันธกรณีและอำนาจบังคับบัญชาจากจำเลยไปแล้ว ข้อตกลงอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยจึงมีผลสมบูรณ์ หาได้ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะส่งผลให้เป็น โมฆะแต่อย่างใดไม่ โจทก์ทั้งสี่จึงต้องผูกพันและปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7740-7747/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องและผลกระทบต่ออำนาจฟ้อง รวมถึงข้อผูกพันตามบันทึกรับเงินค่าชดเชย
ระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานกลางโจทก์ที่ 3 ยื่นคำร้องขอถอนคำฟ้องและศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ที่ 3 ถอนคำฟ้องแล้ว การถอนคำฟ้องดังกล่าวย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ตามป.วิ.พ. มาตรา 176 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์ที่ 3 ไม่อยู่ในฐานะคู่ความและมิได้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางโจทก์ที่ 3 จึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าขณะทำบันทึกการรับเงินค่าชดเชยและเงินอื่น ๆ ซึ่งมีข้อความว่าโจทก์แต่ละคนไม่ติดใจเรียกร้องหรือดำเนินคดีใดๆ กับนายจ้างอีก โจทก์ทราบอยู่แล้วว่าถูกจำเลยเลิกจ้าง ซึ่งโจทก์แต่ละคนย่อมมีอำนาจในการตัดสินใจโดยไม่อยู่ในภาวะที่ต้องเกรงกลัวจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างอีกต่อไป การที่โจทก์ทุกคนลงลายมือชื่อในใบรับเงินจึงต้องผูกพันตามข้อความในหนังสือดังกล่าวดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13 จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลแรงงานกลาง เพื่อให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงเป็นว่า ขณะโจทก์แต่ละคนลงชื่อในบันทึกการรับเงินค่าชดเชยและเงินอื่นๆ โจทก์แต่ละคนไม่มีอิสระในการตัดสินใจและยังอยู่ในภาวะที่ต้องเกรงกลัวจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
บันทึกการรับเงินที่โจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13 ทำกับจำเลยเกิดจากการที่จำเลยเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งร่วมถึงโจทก์บางคนและเกิดจากการที่โจทก์บางคนลาออกจารการเป็นลูกจ้างของจำเลยจำเลยจึงตกลงกับโจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13 เพื่อระงับสิทธิเรียกร้องต่าง ๆ ของโจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13 เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน การเลิกจ้าง และการลาออก โดยในขณะที่ทำบันทึกโจทก์ทุกคนทราบอยู่แล้วว่าถูกจำเลยเลิกจ้าง การที่โจทก์ทุกคนลงลายมือชื่อในบันทึกรับเงินย่อมผูกพันตามข้อความในหนังสือนั้นดังนั้น คำว่า ข้าพเจ้าไม่ติดใจที่จะเรียกร้องหรือดำเนินคดีใดๆ กับนายจ้างอีกตามบันทึกการรับเงินค่าชดเชย ย่อมหมายความรวมถึงค่าครองชีพด้วย จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าครองชีพจำนวน 700 บาท ไปรวมคำนวณจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองในการรับชำระหนี้จากการบังคับคดีทรัพย์สินจำนอง แม้มีสัญญาประนีประนอมยอมความ
ผู้ร้องกับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลโดยจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อผู้ร้องตามคำฟ้องและขอผ่อนชำระหนี้ หากผิดนัดยอมให้ผู้ร้องยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องจนครบถ้วน และศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว การที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อผู้ร้องหนี้ประธานจึงยังไม่ระงับไปและจำเลยยังตกลงว่าหากจำเลยผิดนัด ให้ผู้ร้องยึดทรัพย์จำนองอันเป็นประกันหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง เป็นการที่จำเลยยอมรับผิดตามสัญญาจำนองอันเป็นหนี้อุปกรณ์ด้วย ดังนี้ เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอันจำนองเป็นประกันยังไม่ระงับสิ้นไป หนี้ตามสัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองมีสิทธิขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289
of 48