พบผลลัพธ์ทั้งหมด 480 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6639/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องเดิม ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดหากไม่ได้ตกลงด้วย
บันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ชำระค่าเสียหายเป็นการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 จึงยอมรับว่าโจทก์เสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ และยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ 100,000 บาท ผ่อนชำระ 12 งวด และโจทก์ตกลงตามบันทึกดังกล่าวข้อ 4 ว่าหากจำเลยที่ 1 ชำระหนี้โดยไม่ผิดนัดครบยอดเงิน 100,000 บาท โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องส่วนที่เหลือ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายยอมสละระงับสิ้นไป และได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นว่าเป็นของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมจึงระงับไป เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันตามมูลหนี้ในสัญญาเช่าซื้อเดิมไม่ได้ตกลงในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740-3790/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินชดเชยหลังเกษียณ: การระงับข้อพิพาทสัญญาประนีประนอม และฟ้องซ้ำ
ในขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ 7 ถึงที่ 20 ที่ 32 ถึงที่ 38 ที่ 48 ที่ 50 ถึงที่ 53 ฟ้องคดีเดิมและทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์รู้อยู่แล้วว่าคณะรัฐมนตรีมีมติให้มีการปรับปรุงมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างสำหรับลูกจ้างระดับผู้ปฏิบัติงานโดยให้ผู้ที่ปฏิบัติงานก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ 15 ปีขึ้นไป ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2544 เป็นต้นไป แต่โจทก์ ก็ยังสมัครใจทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน และตกลง "ไม่เรียกร้องใด ๆ อีก" จึงหมายความว่าจะไม่เรียกร้องอื่นใดอีกซึ่งรวมถึงเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 60 วัน ตามมติคณะรัฐมนตรีที่จะได้รับเพิ่มขึ้นเมื่อมีการดำเนินการตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ต่อไปจนเสร็จสิ้นแล้วด้วย อันเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทที่จะมีขึ้นในอนาคต ประกอบกับการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมเกิดขึ้นหลังจากโจทก์ออกจากงานด้วยเหตุเกษียณอายุแล้ว จึงมีอิสระแก่ตนพ้นพันธกรณีและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การสละสิทธิเรียกร้องในเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและไม่เป็นโมฆะ สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจึงมีผลใช้บังคับ ดังนั้นการเรียกร้องในเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 60 วัน จึงระงับสิ้นไป
ตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 วรรคสอง เป็นการบัญญัติถึงวิธีปฏิบัติในการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ว่าให้อยู่ภายใต้การให้ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนและกำหนดว่ามาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างนั้นใช้บังคับแก่ผู้ใด ไม่ได้บัญญัติถึงว่ามาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างจะมีผลใช้บังคับเมื่อใด ดังนั้นมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างจะมีผลใช้บังคับเมื่อใดจึงขึ้นอยู่กับประกาศของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาในคดีเดิมวินิจฉัยว่า จนถึงเวลาเสร็จการพิจารณาในคดีเดิมสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจยังคงอยู่ภายใต้ระเบียบมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โจทก์ (คดีเดิม) จึงมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ไม่ใช่ 240 วัน มีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาว่า โจทก์ (คดีเดิม) ยังไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินส่วนนี้ในคดีเดิม ต่อมาเมื่อประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 มีผลใช้บังคับแล้วและความในประกาศมีผลถึงโจทก์คดีเดิมด้วย โจทก์ที่ 21 ถึงที่ 30 ที่ 39 ถึงที่ 47 (ที่เคยเป็นโจทก์ใน
คดีเดิม) ซึ่งมีอำนาจฟ้องตามประกาศฉบับหลังจึงฟ้องเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
ตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 วรรคสอง เป็นการบัญญัติถึงวิธีปฏิบัติในการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ว่าให้อยู่ภายใต้การให้ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนและกำหนดว่ามาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างนั้นใช้บังคับแก่ผู้ใด ไม่ได้บัญญัติถึงว่ามาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างจะมีผลใช้บังคับเมื่อใด ดังนั้นมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างจะมีผลใช้บังคับเมื่อใดจึงขึ้นอยู่กับประกาศของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาในคดีเดิมวินิจฉัยว่า จนถึงเวลาเสร็จการพิจารณาในคดีเดิมสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจยังคงอยู่ภายใต้ระเบียบมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โจทก์ (คดีเดิม) จึงมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ไม่ใช่ 240 วัน มีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาว่า โจทก์ (คดีเดิม) ยังไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินส่วนนี้ในคดีเดิม ต่อมาเมื่อประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 มีผลใช้บังคับแล้วและความในประกาศมีผลถึงโจทก์คดีเดิมด้วย โจทก์ที่ 21 ถึงที่ 30 ที่ 39 ถึงที่ 47 (ที่เคยเป็นโจทก์ใน
คดีเดิม) ซึ่งมีอำนาจฟ้องตามประกาศฉบับหลังจึงฟ้องเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเลิกกันเนื่องจากประนีประนอมยอมความในหนี้เช็ค สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับ
การที่ผู้เสียหายและจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในมูลหนี้ตามที่จำเลยออกเช็คพิพาท และศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เมื่อสิทธิเรียกร้องของผู้เสียหายในมูลหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทระงับสิ้นไป ไม่ว่าผู้เสียหายจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนหรือไม่ กรณีถือได้ว่าหนี้ที่ผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทละเมิด และผลกระทบต่อความรับผิดของนายจ้าง
เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงกับตัวแทนของโจทก์ต่อหน้าพนักงานสอบสวนตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จำเลยที่ 1 ยินยอมตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ของโจทก์ไปทำการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิม อันเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้อย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ โดยจำเลยที่ 1 ไม่จำเป็นจะต้องเสนอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงินที่แน่นอน ข้อเสนอของจำเลยที่ 1 ในการซ่อมแซมรถยนต์ของโจทก์ เมื่อตัวแทนของโจทก์ได้ตกลงยินยอมตามนั้น ย่อมถือว่าโจทก์ยอมรับค่าเสียหายในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นแล้ว บันทึกข้อตกลงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างใด ๆ ในมูลละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำขึ้นเป็นอันระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 และความรับผิดของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างก็ย่อมระงับสิ้นไปด้วย เพราะไม่มีมูลหนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์กับลูกจ้างในอันที่นายจ้างจะต้องรับผิดต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้ละเมิด นายจ้างไม่ต้องรับผิดเมื่อลูกจ้างชำระหนี้แล้ว
จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ และได้ทำบันทึกข้อตกลงระหว่างตัวแทนของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ของโจทก์ไปทำการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิม อันเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้อย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ ถือว่าโจทก์ยอมรับค่าเสียหายในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นแล้ว บันทึกข้อตกลงดังกล่าวตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลละเมิดเป็นอันระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างก็ย่อมระงับสิ้นไปด้วย เพราะไม่มีมูลละเมิดระหว่างโจทก์กับลูกจ้างในอันที่นายจ้างจะต้องรับผิดต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญาแทน ย่อมมีผลผูกพันกับผู้มอบอำนาจ
บันทึกตกลงช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมระหว่างจำเลยกับ ม. มีข้อความระบุว่าจำเลยตกลงนำรถยนต์ของ ม. ซึ่งเกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ไปทำการตรวจซ่อมให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ และตกลงช่วยเหลือเป็นค่าสินไหมให้แก่ ม. ที่ได้รับบาดเจ็บตอนท้ายมีข้อความว่า คู่กรณีไม่มีการเรียกร้องหรือฟ้องร้องค่าเสียหายใดอันเกิดจากเรื่องนี้อีกทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งคู่กรณีโดย ม. และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในบันทึกดังกล่าว ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และพฤติการณ์หลังเกิดเหตุที่โจทก์มอบให้ ม. ไปตกลงกับจำเลยเรื่องค่าซ่อมรถและค่าเสียหายและโจทก์ยอมรับบันทึกดังกล่าว จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้เชิดให้ ม. เป็นตัวแทนของโจทก์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์จึงสิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องในมูลละเมิดจากจำเลย คงได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 852
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญา ทำให้เจ้าของสิทธิสิ้นสุดการเรียกร้องในมูลละเมิด
บันทึกตกลงช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมีข้อความว่า จำเลยตกลงนำรถยนต์ของนายมนูที่เกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ไปทำการตรวจซ่อมให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ โดยจะทำการซ่อมให้เสร็จภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่รับรถไปจากพนักงานสอบสวน และตกลงช่วยเหลือเป็นค่าสินไหมให้แก่นายมนูที่ได้รับบาดเจ็บเป็นเงิน 1,000 บาท กับค่าสิ่งของที่นายมนูซื้อนำมากับรถและได้รับความเสียหายเป็นเงิน 10,000 บาท และตอนท้ายมีข้อความว่า คู่กรณีจะไม่มีการเรียกร้องหรือฟ้องร้องค่าเสียหายใด ๆ อันเกิดจากเรื่องนี้อีกทั้งทางแพ่งและอาญา มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ได้เชิดให้นายมนูเป็นตัวแทนของโจทก์ในการทำบันทึกดังกล่าว โจทก์จึงสิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องในมูลละเมิดจากจำเลย คงได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 852
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด บันทึกคำให้การฝ่ายเดียวไม่ถือเป็นการสละมรดกที่มีผลผูกพัน
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า ล. สละมรดกส่วนของตนให้แก่โจทก์เท่านั้น คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการแบ่งปันมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกมาตรา 1750 ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ
บันทึกคำให้การของศาลชั้นต้นที่ ล. ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือเป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่ นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯ ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกตามความหมายใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 ต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
บันทึกคำให้การของศาลชั้นต้นที่ ล. ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือเป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่ นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯ ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกตามความหมายใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 ต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ที่เกิดจากการยักยอกเงินและการฟ้องเรียกคืนจากผู้กระทำละเมิด
หนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำกับ ส. ระบุว่าจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงตกลงคืนเงินที่ยักยอกไปให้แก่ ส. นั้น เป็นเพียงหนังสือที่จำเลยที่ 1 รับว่าเป็นหนี้ ส. และยอมรับชำระหนี้แก่ ส. ไม่มีข้อความที่จำเลยที่ 1 กับ ส. ตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้หนี้จากมูลละเมิดระงันสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ถึง 852
โจทก์เป็นธนาคารซึ่งรับฝากเงินของ ส. ผู้เป็นลูกค้า ย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ ส. ฝากไว้เมื่อ ส. ทวงถาม การที่จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป ทำให้เงินในบัญชีเงินฝากของ ส. ขาดหายไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่หายไปให้แก่ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 การที่โจทก์คืนเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปให้แก่ ส. จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าไม่มีหนี้ต้องชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ที่เกิดจากจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ให้แก่ ส. ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินที่ชำระไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
โจทก์เป็นธนาคารซึ่งรับฝากเงินของ ส. ผู้เป็นลูกค้า ย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ ส. ฝากไว้เมื่อ ส. ทวงถาม การที่จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป ทำให้เงินในบัญชีเงินฝากของ ส. ขาดหายไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่หายไปให้แก่ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 การที่โจทก์คืนเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปให้แก่ ส. จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าไม่มีหนี้ต้องชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ที่เกิดจากจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ให้แก่ ส. ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินที่ชำระไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายจากการยักยอกเงินของลูกจ้างธนาคาร และสิทธิไล่เบี้ยของธนาคารต่อลูกจ้าง
หนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำกับ ส. ระบุว่า จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงตกลงคืนเงินที่ยักยอกไปให้แก่ ส. นั้น เป็นเพียงหนังสือที่จำเลยที่ 1 รับว่าเป็นหนี้ ส. และยอมชำระหนี้แก่ ส. ไม่มีข้อความที่จำเลยที่ 1 กับ ส. ตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้หนี้จากมูลละเมิดระงับสิ้นไป
โจทก์เป็นธนาคารซึ่งได้รับฝากเงินของ ส. ผู้เป็นลูกค้า ย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ ส. ฝากไว้เมื่อ ส. ทวงถาม การที่จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป ทำให้เงินในบัญชีเงินฝากของ ส. ขาดหายไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ขาดหายไปให้แก่ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 การที่โจทก์คืนเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปให้แก่ ส. จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าไม่มีหนี้ต้องชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่ ส. ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินที่ชำระไปได้ตามมาตรา 420
โจทก์เป็นธนาคารซึ่งได้รับฝากเงินของ ส. ผู้เป็นลูกค้า ย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ ส. ฝากไว้เมื่อ ส. ทวงถาม การที่จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป ทำให้เงินในบัญชีเงินฝากของ ส. ขาดหายไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ขาดหายไปให้แก่ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 การที่โจทก์คืนเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปให้แก่ ส. จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าไม่มีหนี้ต้องชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่ ส. ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินที่ชำระไปได้ตามมาตรา 420