คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 852

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 480 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4638/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันการทำงานระงับสิ้นเมื่อมีสัญญาประนีประนอมยอมความใหม่ ศาลพิพากษาเกินฟ้อง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องและนำสืบฟังได้ว่า จำเลยที่ 5ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และต่อมาจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินค่าสินค้าไม่ส่งมอบให้โจทก์อันเป็นความเสียหายจากการทำงาน ซึ่งจำเลยที่ 5 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันการทำงานและอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคดีระหว่างโจทก์กับ จำเลยที่ 5 ในส่วนนี้จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิด ความรับผิดของจำเลยที่ 1ที่เกิดจากการทำงาน และความรับผิดของจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงาน จึงระงับสิ้นไป ทั้งฟ้องของโจทก์ก็บรรยายว่าโจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 5 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันฉบับหลังคือหนี้ที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่ตามสัญญาค้ำประกันการทำงานที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ตามสัญญาค้ำประกันการทำงานจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4638/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันระงับสิ้นเมื่อสัญญาหลักเปลี่ยนแปลง และการพิพากษาเกินคำฟ้องในคดีแรงงาน
แม้โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบฟังได้ว่า จำเลยที่ 5 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และต่อมาจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินค่าสินค้าไม่ส่งมอบให้โจทก์อันเป็นความเสียหายจากการทำงาน ซึ่งจำเลยที่ 5 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันการทำงาน และอธิบดีผู้พิพากษาแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 5 ในส่วนนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานแล้วก็ตาม แต่เมื่อต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดดังกล่าว ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่เกิดจากการทำงานและความผิดของจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงาน จึงระงับสิ้นไป ทั้งฟ้องของโจทก์ก็บรรยายว่าโจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 5 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันฉบับหลัง คือหนี้ที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่ขอให้บังคับตามสัญญาค้ำประกันการทำงาน การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกันการทำงานจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลระงับสิทธิเรียกร้องเดิม แม้ข้อตกลงจะครอบคลุมกว้าง
สัญญาการออกจากงานซึ่งทำขึ้นสืบเนื่องมาจากโจทก์ลาออกได้ระบุในข้อ 1 ว่า ในการลาออกของโจทก์ โจทก์จะได้รับเงินจำนวน1,387,525 บาท และระบุในข้อ 3 ว่า ในการทำสัญญาการออกจากงานฉบับนี้ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้ปลดปล่อยคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งออกจากภาระเรื่องเงิน สิทธิเรียกร้อง การเรียกร้อง สัญญาและการกระทำทั้งปวงไม่ว่าอย่างไรทั้งสิ้น ข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยจำเลยยอมจ่ายเงินแก่โจทก์จำนวนตามที่ระบุไว้ในสัญญาข้อ 1 จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลให้สิทธิเรียกร้องเงินรางวัลการขายในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายของโจทก์ หากมีอยู่ระงับสิ้นไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและค่าล่วงเวลาหลังการเลิกจ้าง: ผลผูกพันทางกฎหมาย
จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 ซึ่งโจทก์ทราบการเลิกจ้างและไม่ไปทำงานตั้งแต่วันดังกล่าว ต่อมาโจทก์ไปทำหนังสือยินยอมรับเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยการสละสิทธิไม่เรียกร้องค่าชดเชยหรือเงินใด ๆ จากโจทก์อีก หลังจากโจทก์ไม่ไปทำงานถึง 2 เดือนเศษ โจทก์จึงมีอิสระแก่ตน พ้นพันธะกรณีและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การสละสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามเอกสารดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและไม่เป็นโมฆะ
เอกสารฉบับพิพาทระบุว่า จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 โดยจำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ 169,600 บาท โจทก์ทราบแล้วตกลงรับเงินจำนวนดังกล่าวโดยจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าชดเชยหรือเงินใด ๆ จากจำเลยอีก ซึ่งเงินใด ๆ ที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอีกดังกล่าวนั้น ย่อมหมายถึงเงินทุกประเภท รวมทั้งค่าล่วงเวลาที่โจทก์อาจจะมีสิทธิได้รับจากจำเลยด้วย เมื่อการสละสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและค่าล่วงเวลาหลังการเลิกจ้าง ย่อมมีผลผูกพันตามกฎหมาย
จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 ซึ่งโจทก์ทราบการเลิกจ้างและไม่ไปทำงานตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ไปทำหนังสือยินยอมการสละสิทธิเรียกร้องของโจทก์ หลังจากโจทก์ไม่ไปทำงานถึง 2 เดือนเศษ โจทก์จึงมีอิสระแก่ตน พ้นพันธะกรณีและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การสละสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามเอกสารดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและไม่เป็นโมฆะ จึงมีผลใช้บังคับ
เอกสารฉบับพิพาทระบุว่า จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 โดยจำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ 169,600 บาท โจทก์ทราบแล้วตกลงรับเงินจำนวนดังกล่าวโดยจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดี เรียกค่าชดเชยหรือเงินใด ๆจากจำเลยอีก ซึ่งเงินใด ๆ ที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอีกดังกล่าวนั้น ย่อมหมายถึงเงินทุกประเภท รวมทั้งค่าล่วงเวลาที่โจทก์อาจจะมีสิทธิได้รับจากจำเลยด้วย เมื่อการสละสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งต่อการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเช็ค สิทธิฟ้องอาญาเป็นอันระงับ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทและฟ้องเป็นคดีอาญาขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง โดยมีข้อความระบุว่าไม่ถือว่าได้ตกลงยอมความในคดีอาญา หากจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญานี้ โจทก์ยังประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยจนถึงที่สุด ดังนี้ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งย่อมทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น หนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพัน และเมื่อหนี้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา คดีจึงเป็นอันเลิกกัน สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปด้วย และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปนี้ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องที่คู่สัญญาจะทำสัญญาหรือตกลงกันไม่ให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปได้ ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ระบุไม่ให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไป จึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้งและตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2276/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งต่อการดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ. เช็ค
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ (มาตรา 7) โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งมีใจความว่า หากจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วโจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และให้ถือว่าคดีเป็นอันเลิกกัน ตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์กับจำเลยว่าประสงค์ให้คดีส่วนอาญาเลิกกันต่อเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว หาใช่มีเจตนาให้คดีอาญาเลิกกันทันทีนับแต่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวคงมีผลให้โจทก์สิ้นสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เดิม และได้สิทธิใหม่ตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 เท่านั้น
เมื่อโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามิได้มีเจตนาให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปด้วยในขณะที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงถือไม่ได้ว่ามีการยอมความในคดีอาญา อันเป็นผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับสิ้นไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 39(2)
การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งย่อมมีผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์อันมีอยู่ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไป โจทก์ย่อมได้สิทธิเรียกร้องใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น และถือว่าหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความต่อคดีอาญาเช็ค สัญญาไม่สามารถขัดขวางการระงับคดีอาญาได้
ที่จำเลยฎีกาว่า เช็คพิพาทคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยชดใช้เงิน ในที่สุดโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทคดีนี้ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้ชดใช้เงิน โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทคดีนี้ได้อีก หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เงิน พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปหรือไม่ ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย หากมีการกระทำที่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายกรณีใดกรณีหนึ่งแล้วย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปทันที ไม่ใช่เรื่องที่คู่สัญญาจะทำสัญญาหรือตกลงกันยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายมิให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับได้
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จะมีข้อความว่า การตกลงประนีประนอมยอมความนี้ โจทก์และจำเลยไม่ถือว่าได้ตกลงยอมความในคดีอาญาหากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญานี้โจทก์ยังคงประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยจนถึงที่สุดนั้น หากจะฟังว่าไม่เป็นการยอมความในคดีอาญา ก็เป็นคนละเรื่องกับกรณีหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพัน ซึ่งมีผลให้คดีเลิกกันและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปอีกกรณีหนึ่งที่มิใช่กรณีตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า การตกลงประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการยอมความในคดีอาญา อันเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาหรือข้อตกลงกันไม่ให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทคดีนี้เป็นอันระงับไป ถือว่ามีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 แต่ข้อตกลงในส่วนดังกล่าวนี้สามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมในส่วนอื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งตกเป็นโมฆะทั้งหมด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 173

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเช็คคืน การประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งทำให้สิทธิฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คระงับ
ที่จำเลยฎีกาว่า เช็คพิพาทคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยชดใช้เงิน ในที่สุดโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทคดีนี้ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้ชดใช้เงิน โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทคดีนี้ได้อีก หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เงินพ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปหรือไม่ ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย หากมีการกระทำที่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายกรณีใดกรณีหนึ่งแล้วย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปทันทีไม่ใช่เรื่องที่คู่สัญญาจะทำสัญญาหรือตกลงกันยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายมิให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับได้
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จะมีข้อความว่า การตกลงประนีประนอมยอมความนี้ โจทก์และจำเลยไม่ถือว่าได้ตกลงยอมความในคดีอาญาหากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญานี้โจทก์ยังคงประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยจนถึงที่สุดนั้น หากจะฟังว่าไม่เป็นการยอมความในคดีอาญา ก็เป็นคนละเรื่องกับกรณีหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพัน ซึ่งมีผลให้คดีเลิกกันและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปอีกกรณีหนึ่งที่มิใช่กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า การตกลงประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการยอมความในคดีอาญาอันเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาหรือข้อตกลงกันไม่ให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทคดีนี้เป็นอันระงับไป ถือว่ามีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แต่ข้อตกลงในส่วนดังกล่าวนี้สามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความในส่วนอื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งตกเป็นโมฆะทั้งหมด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเช็คเลิกกันหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลของการประนีประนอมต่อการดำเนินคดีอาญา
ปัญหาข้อกฎหมายว่าคดีเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 หรือไม่ ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในคดีนี้ในศาลชั้นต้น แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยมีอำนาจยกขึ้นฎีกาได้
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว จำเลยยื่นฎีกาพร้อมแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นที่รับรองถูกต้องมาด้วย โจทก์ได้รับสำเนาฎีกาและยื่นคำแก้ฎีการับว่า โจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยจริง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่จำเลยฎีกา
มูลหนี้ตามที่จำเลยออกเช็คคดีนี้ โจทก์ได้นำไปฟ้องจำเลยให้ชดใช้เงินเป็นคดีแพ่ง แล้วโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ในสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า "จำเลยยอมชำระหนี้ให้กับโจทก์เป็นจำนวนเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์โดยจะชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ ซึ่งการตกลงประนีประนอมยอมความนี้ โจทก์และจำเลยไม่ถือว่าได้ตกลงยอมความในคดีอาญา หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญานี้ โจทก์ยังคงประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยจนถึงที่สุด และยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที อันแสดงว่าโจทก์จำเลยยังมิได้มีเจตนาจะยุติข้อพิพาทในทางอาญาจนกว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญาแก่โจทก์แล้ว แม้จะไม่เป็นการยอมความกันในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) ก็ตาม แต่การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามเช็ครวมทั้งเช็คที่ออกชำระหนี้ดังกล่าวไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง และได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ผลการประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องที่แต่ละฝ่ายสละนั้นระงับสิ้นไป และแต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ.มาตรา 852 แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ดังกล่าวได้อีก ถือว่าหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามมาตรา 7 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39
(วรรคสามวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2543)
of 48