พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ครอบครองรถยินยอมให้คนเมาขับ ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและอาญา
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ครอบครองรถที่โจทก์รับประกันภัยยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถในขณะเกิดเหตุ ทั้งที่ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 เมาสุราซึ่งจากผลการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จำเลยที่ 1 มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึง 102 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายและกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์กำหนด เมื่อจำเลยที่ 1 มีอาการมึนเมาแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถโดยจำเลยที่ 2 นั่งโดยสารมาในรถที่จำเลยที่ 1 ขับด้วย จำเลยที่ 2 ย่อมทราบดีว่าการขับรถในขณะเมาสุราอาจทำให้ผู้ขับขี่หย่อนสมรรถภาพในการควบคุมบังคับรถให้อยู่ในทิศทางและช่องเดินรถของตน ทั้งไม่อาจควบคุมความเร็วของรถให้ช้าลงหรือหยุดรถเมื่อจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นได้ การที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถดังกล่าวย่อมเล็งเห็นว่าจะเกิดอุบัติเหตุได้ กรณีถือว่าจำเลยที่ 2 ผู้ครอบครองรถไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอในการควบคุมดูแลรถซึ่งอยู่ในความครอบครอง โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของบุคคลภายนอกที่ใช้รถใช้ถนนร่วมกันด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีส่วนประมาทก่อให้เกิดเหตุละเมิดครั้งนี้ และต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบุคคลภายนอกด้วย นอกจากนี้การที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถที่โจทก์รับประกันภัยในขณะเมาสุราเป็นการผิดเงื่อนไขและความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ข้อ 7.6 เมื่อโจทก์ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดต่อบุคคลภายนอก และได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความรับผิดที่จำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้จ่ายไปนั้นคืนให้แก่โจทก์ตามที่กำหนดในข้อ 8 ข้อสัญญาพิเศษ อันเป็นเงื่อนไขการยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานพนันออนไลน์ (ไพ่บาคาร่าและสล็อตแมชชีน) ศาลพิจารณาเป็นสองกรรมความผิด
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันไพ่บาการาและจัดให้มีการเล่นพนันไพ่บาการา มีเจตนาเดียวกันคือให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันไพ่บาการาเพื่อจำเลยทั้งสามจะได้ผลกำไรจากการที่บุคคลต่าง ๆ เข้าเล่นการพนัน การกระทำส่วนนี้จึงเป็นกรรมเดียวกัน ส่วนการที่จำเลยทั้งสามร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันสล๊อทแมชีน และจัดให้มีการเล่นพนันสล็อทแมชีน ก็มีเจตนาเดียวกันคือให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันสล๊อทแมชีน เพื่อจำเลยทั้งสามจะได้ผลกำไรจากการเล่นการพนัน การกระทำส่วนนี้จึงเป็นกรรมเดียวกันเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการพนันไพ่บาการาและสล๊อทแมชีน เป็นการพนันคนละประเภท ลักษณะและวิธีการเล่นแตกต่างกัน การเล่นการพนันแต่ละประเภทต่างเป็นความผิดอยู่ในตัวเองไม่เกี่ยวข้องกัน การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันประกาศโฆษณาชักชวนและจัดให้มีการเล่นการพนันทั้งสองประเภทดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดสองกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4715/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษบทฉกรรจ์ มาตรา 160 ตรี/2 พ.ร.บ.จราจรทางบก ไม่ใช่การเพิ่มโทษซ้ำซ้อน ศาลอุทธรณ์วางโทษถูกต้อง
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 ตรี/2 วรรคหนึ่ง เป็นเพียงเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 160 ตรี วรรคหนึ่ง ได้รับโทษหนักขึ้นที่เรียกว่าบทฉกรรจ์เท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษ และศาลอุทธรณ์ภาค 6 วางโทษแก่จำเลยใหม่ตามที่โจทก์อุทธรณ์โดยพิจารณาถึงบทบัญญัติของมาตรา 160 ตรี/2 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ประกอบด้วยอยู่แล้ว ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ได้ระบุให้เพิ่มโทษหนึ่งในสามก่อนลดโทษมานั้น จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการเฉลี่ยทรัพย์หลังศาลรับฟังว่าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นเพียงพอ ชี้ว่าการฟื้นฟูกิจการเกิดขึ้นหลังพ้นกำหนดเวลาเฉลี่ยทรัพย์
เมื่อกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้บัญญัตินิยามความหมายของคำว่า "การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์" ไว้เป็นการเฉพาะ การตีความความหมายของคำดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/12 (5) ที่บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้ศาลไม่จำต้องงดการบังคับคดีไว้ในกรณีที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการนั้น คงต้องพิจารณาเทียบเคียงกับกรณีกิจการที่ได้กระทำไปแล้วหากมีกรณีที่ลูกหนี้ล้มละลาย เนื่องจากผลของการล้มละลายหรือการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมไม่อาจกระทบกระเทือนต่อกิจการที่ได้กระทำไปจนเสร็จสิ้นแล้วเช่นเดียวกัน การที่มาตรา 110 วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีของผลของการล้มละลายเกี่ยวกับกิจการที่ได้กระทำไปแล้ว ได้ให้ความหมายของคำว่า การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตาม ป.วิ.พ. โดยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 326 วรรคห้า ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การขอเฉลี่ยทรัพย์ ในกรณีอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเสียก่อนสิ้นระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงิน ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินตามเช็คที่ผู้ร้องนำส่งตามหนังสือแจ้งอายัดที่พิพาทนี้ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 กำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตาม ป.วิ.พ. ดังกล่าวคือวันที่ 5 มิถุนายน 2563 จำเลยยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงินถือว่าการบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องงดการบังคับคดีไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5037/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำเนาสัญญากู้ยืมเงินไม่ต้องปิดอากรแสตมป์หากไม่มีอัตราในบัญชีท้ายหมวด ป.รัษฎากร
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว..." โจทก์นำสืบสำเนาสัญญากู้ยืมเงินเป็นพยานต่อศาล ซึ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 ไม่ได้ระบุให้ปิดอากรแสตมป์ที่สำเนาเอกสาร และบัญชีอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่ง ป.รัษฎากรไม่มีอัตราอากรแสตมป์สำหรับสำเนาตราสารกู้ยืมเงินเพื่อปิดอากรแสตมป์ ดังนั้น การรับฟังสำเนาสัญญากู้ยืมเงินแทนต้นฉบับสัญญากู้ยืมเงินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ที่สำเนาสัญญากู้ยืมเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะ: ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้หักเงินชำระตามกรมธรรม์ไม่ได้ และกำหนดดอกเบี้ยตามกฎหมาย
กรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถสำหรับรถบรรทุกคันเกิดเหตุส่วนหัวลากและส่วนพ่วงกําหนดให้จำเลยร่วมที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยระบุจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับการเสียชีวิต ส่วนจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นสำหรับความเสียหายต่อชีวิตกำหนดไว้เป็นเงิน 35,000 บาท และจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นส่วนหนึ่งของจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย แสดงว่าในกรณีที่ผู้รับประกันภัยได้ชําระค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไป 35,000 บาท แล้ว ย่อมนํามาหักออกจากค่าสินไหมทดแทนตามวงเงินคุ้มครองผู้ประสบภัยที่ผู้รับประกันภัยต้องชําระทั้งหมด 300,000 บาท ได้ ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองอีกเพียง 265,000 บาท การจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 4 เช่นนี้ เฉพาะแต่ค่าเสียหายเบื้องต้นซึ่งผู้รับประกันภัยชําระแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยเท่านั้นที่ถือเป็นค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพ ค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างอื่นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยในเบื้องต้น ไม่รวมถึงค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าขาดไร้อุปการะตามที่โจทก์ฟ้องเรียกมา ส่วนค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามวงเงินคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 265,000 บาท นั้น เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มิได้บัญญัติไว้เฉพาะว่าเป็นความคุ้มครองความเสียหายในส่วนใด ค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้จึงถือเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายใด ๆ อันเกิดจากการทำละเมิดกรณีผู้ถูกทำละเมิดถึงแก่ความตาย ซึ่งรวมถึงค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ฟ้องเรียกมาด้วย
อย่างไรก็ตาม คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยร่วมที่ 1 ชําระค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากให้แก่โจทก์ 265,000 บาท โดยระบุรายการสินไหมว่าเป็นค่าปลงศพ และชําระค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกับค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนพ่วงให้แก่โจทก์ 300,000 บาท โดยระบุรายการสินไหมว่าเป็นค่าปลงศพเช่นเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดีชี้ให้เห็นเจตนาของโจทก์กับจำเลยร่วมที่ 1 ว่าประสงค์ให้ค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากและส่วนพ่วงเป็นจำนวนเงินชดเชยค่าปลงศพเพียงอย่างเดียว ไม่รวมถึงค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ฟ้องเรียกมาด้วย จึงไม่อาจนําเงินซึ่งจำเลยที่ 1 ชําระแก่โจทก์เป็นค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากและส่วนพ่วงกรมธรรม์ละ 265,000 บาท รวม 2 กรมธรรม์ เป็นเงิน 530,000 บาท ไปหักออกจากค่าขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์ได้
อย่างไรก็ตาม คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยร่วมที่ 1 ชําระค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากให้แก่โจทก์ 265,000 บาท โดยระบุรายการสินไหมว่าเป็นค่าปลงศพ และชําระค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกับค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนพ่วงให้แก่โจทก์ 300,000 บาท โดยระบุรายการสินไหมว่าเป็นค่าปลงศพเช่นเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดีชี้ให้เห็นเจตนาของโจทก์กับจำเลยร่วมที่ 1 ว่าประสงค์ให้ค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากและส่วนพ่วงเป็นจำนวนเงินชดเชยค่าปลงศพเพียงอย่างเดียว ไม่รวมถึงค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ฟ้องเรียกมาด้วย จึงไม่อาจนําเงินซึ่งจำเลยที่ 1 ชําระแก่โจทก์เป็นค่าสินไหมทดแทนส่วนที่สองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของรถบรรทุกส่วนหัวลากและส่วนพ่วงกรมธรรม์ละ 265,000 บาท รวม 2 กรมธรรม์ เป็นเงิน 530,000 บาท ไปหักออกจากค่าขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างหลังเข้าร่วมโครงการบำบัดยาเสพติด: สิทธิในการได้รับค่าชดเชย
ตามกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานพนักงานรายเดือนและพนักงานรายวัน ข้อ 9 วินัยในการปฏิบัติงาน ข้อย่อยที่ 18 กำหนดว่า "ห้ามพนักงานทุกคนนํายาเสพติดผิดกฎหมาย.... เข้ามาในบริเวณที่ทำงานหรือโรงงาน และพนักงานทุกคนต้องยินยอมให้บริษัทตรวจหาสารเสพติดได้ตลอดเวลาและทุกกรณีพนักงานที่ฝ่าฝืนหรือไม่ให้ความร่วมมือจะพิจารณาโทษสูงสุดโดยการเลิกจ้าง" เมื่อยาเสพติดให้โทษเป็นสิ่งผิดกฎหมายและเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมส่วนรวม กฎระเบียบดังกล่าวของจําเลยย่อมมีเจตนารมณ์หรือวัตถุประสงค์ที่จะห้ามมิให้พนักงานทุกคนของจําเลยเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่ว่ากรณีใดๆ มิได้เฉพาะแต่การนําหรือพกพายาเสพติดเข้ามาในที่ทำงานหรือโรงงานของจําเลยเท่านั้น แต่รวมถึงการเสพยาเสพติดแล้วเข้ามาปฏิบัติงานในที่ทำงานหรือโรงงานของจําเลยด้วย เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่จําเลยและผู้ปฏิบัติงานทุกคนในที่ทำงานหรือโรงงานของจําเลยด้วย ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะของโจทก์ขณะปฏิบัติหน้าที่ในที่ทำงานหรือโรงงานของจําเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบดังกล่าว ซึ่งจําเลยจะพิจารณาโทษสูงสุดโดยการเลิกจ้างได้
คดีนี้จําเลยสมัครใจเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระบบสมัครใจ "ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจังหวัดนครปฐม" ของศูนย์อํานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยเสพยาเสพติด ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 108/2557 ย่อมถือได้ว่า จําเลยสมัครใจที่จะปฏิบัติตามหรือให้ความร่วมมือกับมาตรการใด ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งในเงื่อนไขของโครงการดังกล่าวด้วย เมื่อจําเลยมีคำสั่งให้โจทก์หยุดงานเพื่อไปดำเนินการบำบัดฟื้นฟูตามโครงการดังกล่าวในค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจังหวัดนครปฐมในระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2562 โดยโจทก์ก็ยินยอมเข้ารับการบําบัดฟื้นฟูด้วย ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่โจทก์เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูดังกล่าว จําเลยก็มิได้ลงโทษหรือเลิกจ้างโจทก์จากการกระทำผิดของโจทก์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า จําเลยให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติด "ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจังหวัดนครปฐม" แล้ว จําเลยจึงต้องให้โอกาสแก่โจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปตามที่กำหนดไว้ และถือว่าจําเลยไม่ติดใจจะนํากฎระเบียบดังกล่าว ข้อ 9 ข้อย่อย 18 มาใช้บังคับแก่พนักงานที่ถูกพบสารเสพติดในปัสสาวะในโครงการดังกล่าวรวมถึงโจทก์ด้วย เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งหมายของโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระบบสมัครใจ การที่จําเลยไม่ให้โจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปและเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 18 มิถุนายน 2562 ซึ่งเป็นวันถัดจากวันที่โจทก์ได้รับการบําบัดฟื้นฟูสิ้นสุดลงตามกระบวนการ จําเลยย่อมต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คดีนี้จําเลยสมัครใจเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระบบสมัครใจ "ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจังหวัดนครปฐม" ของศูนย์อํานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยเสพยาเสพติด ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 108/2557 ย่อมถือได้ว่า จําเลยสมัครใจที่จะปฏิบัติตามหรือให้ความร่วมมือกับมาตรการใด ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งในเงื่อนไขของโครงการดังกล่าวด้วย เมื่อจําเลยมีคำสั่งให้โจทก์หยุดงานเพื่อไปดำเนินการบำบัดฟื้นฟูตามโครงการดังกล่าวในค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจังหวัดนครปฐมในระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2562 โดยโจทก์ก็ยินยอมเข้ารับการบําบัดฟื้นฟูด้วย ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่โจทก์เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูดังกล่าว จําเลยก็มิได้ลงโทษหรือเลิกจ้างโจทก์จากการกระทำผิดของโจทก์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า จําเลยให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติด "ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจังหวัดนครปฐม" แล้ว จําเลยจึงต้องให้โอกาสแก่โจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปตามที่กำหนดไว้ และถือว่าจําเลยไม่ติดใจจะนํากฎระเบียบดังกล่าว ข้อ 9 ข้อย่อย 18 มาใช้บังคับแก่พนักงานที่ถูกพบสารเสพติดในปัสสาวะในโครงการดังกล่าวรวมถึงโจทก์ด้วย เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งหมายของโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระบบสมัครใจ การที่จําเลยไม่ให้โจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปและเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 18 มิถุนายน 2562 ซึ่งเป็นวันถัดจากวันที่โจทก์ได้รับการบําบัดฟื้นฟูสิ้นสุดลงตามกระบวนการ จําเลยย่อมต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-นับโทษคดีเช็ค: การฟ้องคดีเช็คใหม่ที่ไม่เป็นฟ้องซ้ำ และประเด็นการนับโทษเมื่อคดีก่อนถอนฟ้อง
คดีก่อน โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยในข้อหาปลอมและใช้เอกสารปลอมเช็ค 3 ฉบับ ที่จำเลยสั่งจ่ายพร้อมสัญญากู้เงินก่อนทำหนังสือรับสภาพหนี้และสั่งจ่ายเช็คตามฟ้อง เมื่อเช็คที่โจทก์ทั้งสองนำไปฟ้องจำเลยในคดีก่อนเป็นเช็คคนละฉบับกับที่มาฟ้องเป็นคดีนี้ ซึ่งเป็นการกระทำต่างกัน แม้จำเลยจะออกเช็คเพื่อชำระหนี้อันมีหนี้มาจากหนี้กู้ยืมเช่นเดียวกันก็ตาม โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3178/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีที่เกี่ยวพันกัน & การใช้กฎหมายขณะกระทำผิด แม้แยกฟ้อง & มีการแก้ไขกฎหมาย
ป.อ. มาตรา 91 ให้อำนาจศาลพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปและกรณีที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี รวมโทษจำคุกทั้งสิ้นแล้วต้องไม่เกินยี่สิบปีนั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกในกรณีกระทำความผิดหลายกรรมที่เกี่ยวพันกันและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง หรือกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดีและคดีแต่ละคดีเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน และรวมถึงคดีที่เกี่ยวพันกันแต่โจทก์กลับแยกฟ้องจำเลยเป็นหลายคดีและไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน จึงจะอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 91 (2) สำหรับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1066/2562 นั้น ข้อเท็จจริงได้ความตามสำเนาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเอกสารท้ายคำแถลงข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณาฉบับลงวันที่ 6 ธันวาคม 2562 ของโจทก์ว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีที่โจทก์ที่ 2 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินกระทำผิดหน้าที่และฐานร่วมกันเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น แม้ข้อหาความผิดที่ฟ้องจะเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้ แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีเป็นคนละรายกันกับคดีนี้และพยานหลักฐานในคดีเป็นคนละชุดกัน จึงไม่เป็นคดีที่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันกับคดีนี้ได้ เมื่อศาลมีคำพิพากษาแต่ละคดีและให้นับโทษต่อกันตาม ป.อ. มาตรา 22 แม้มีกำหนดระยะเวลาจำคุกเกินยี่สิบปี ก็พิพากษาให้บังคับเช่นนั้นได้ กรณีไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ที่ศาลอุทธรณ์ไม่นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1066/2562 ของศาลชั้นต้นนั้น เป็นการไม่ชอบ ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1242/2562 นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำเนาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเอกสารท้ายคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ว่า คดีดังกล่าวและคดีนี้มีโจทก์และจำเลยเป็นคู่ความเดียวกัน แม้วันเวลากระทำความผิดจะแตกต่างกัน แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองซึ่งได้รับมอบหมายจากโจทก์ที่ 1 ให้เป็นผู้จัดทำบัญชีและนําเงินไปเสียภาษีแทน กระทำการทุจริตเบียดบังเอาเงินที่มอบให้นําไปเสียภาษีไป และจำเลยทั้งสองไม่คืนเอกสารสำคัญเกี่ยวกับการทำบัญชีและเสียภาษีแก่โจทก์ที่ 1 เช่นเดียวกับคดีนี้ ดังนั้น เมื่อคดีมีคู่ความเดียวกัน ลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวเกี่ยวพันกัน โจทก์ที่ 1 อาจฟ้องจำเลยทั้งสองสำหรับความผิดคดีนี้และคดีที่ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อเป็นคดีเดียวกันได้ แต่โจทก์ที่ 1 แยกฟ้องคดีนี้เป็นอีกคดีหนึ่ง แยกต่างหากจากคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1242/2562 ดังกล่าวโดยศาลมิได้สั่งรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 20 ปี เต็มตามกำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 91 (2) แล้ว ย่อมไม่อาจนําโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไปนับโทษต่อจากโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1242/2562 ของศาลชั้นต้นได้เพราะจะทำให้จำเลยที่ 1 ต้องได้รับโทษจำคุกเกินกำหนดที่ ป.อ. มาตรา 91 (2) บัญญัติไว้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1242/2562 ของศาลชั้นต้นมานั้น ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพาอาวุธปืนและมีดเป็นคนละกรรมกัน แม้พาไปพร้อมกัน ก็ต้องลงโทษตามกฎหมายแต่ละบท
การพาอาวุธใด ๆ ไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรจะต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 371 แต่หากเป็นการพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือโดยไม่มีเหตุสมควรแล้ว ย่อมจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง และมาตรา 72 ทวิ วรรคสอง อีกบทหนึ่ง ซึ่งมีโทษหนักกว่าการพาอาวุธทั่ว ๆ ไป ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่า กฎหมายบัญญัติความผิดและบทลงโทษแยกไว้สำหรับกรณีพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควรเป็นอีกความผิดหนึ่ง ทั้งวัตถุของกลางเป็นคนละประเภทกัน แสดงว่าเจตนาในการพาไปย่อมแตกต่างกัน และความผิดแต่ละประเภทย่อมสำเร็จแล้วนับตั้งแต่การพาเข้าไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพ แม้จำเลยจะพาอาวุธปืนและอาวุธมีดไปในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน