พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมล่วงเวลาศุลกากร: ผู้มีหน้าที่ชำระคือผู้ควบคุมอากาศยาน ไม่ใช่ผู้จำหน่ายน้ำมัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าธรรมเนียมล่วงเวลาพร้อมดอกเบี้ยจำนวน13,136,836.25บาทให้แก่โจทก์ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าธรรมเนียมล่วงเวลาจำนวน8,880,000บาทในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมล่วงเวลาศุลกากร: ผู้ค้าน้ำมันไม่ใช่ผู้รับผิดชอบตามกฎหมาย
จำเลยเป็นบริษัทผู้ค้าน้ำมันที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแก่บริษัทสายการบินเพื่อใช้เติมให้แก่อากาศยานในท่าอากาศยานมิใช่นายเรือและไม่ได้เป็นตัวแทนนายเรือตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2569 มาตรา 110จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาให้แก่กรมศุลกากรโจทก์ในการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแก่อากาศยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด: การประเมินราคาศุลกากรต้องอาศัยหลักฐานเปรียบเทียบและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา2นิยามคำว่า"ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด"ไว้หมายความว่า"ราคาขายส่งเงินสด(ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร)ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณเวลาและที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด"นั้นเป็นหน้าที่ของผู้นำเข้าที่จะต้องนำสืบให้เห็นถึงราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหากผู้นำเข้าไม่มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าราคาขายเงินสดซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณเวลาที่นำเข้าสินค้าพิพาทและสถานที่ที่นำเข้าซึ่งเป็นความหมายของราคาอันแท้จริงในท้องตลาดว่าเป็นราคาเท่าใดจึงยังถือไม่ได้ว่าราคาสินค้าที่ผู้นำเข้าสำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดการที่เจ้าพนักงานประเมินสินค้าของผู้นำเข้าโดยคิดพิจารณาเปรียบเทียบกับราคาสินค้าประเภทและชนิดเดียวกันกับสินค้าของผู้นำเข้าซึ่งมีผู้อื่นนำเข้ามาในช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่โจทก์นำเข้าซึ่งปฏิบัติไปตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่47/2531อันเป็นแนวทางที่มีเหตุผลและเป็นวิธีที่ถูกต้องสามารถนำมาถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าของผู้นำเข้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5157/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีศุลกากรและอายุความการขอคืนภาษี: โจทก์ต้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย และมีอายุความ 2 ปี
เมื่อโจทก์นำของเข้าในราชอาณาจักร โจทก์ต้องสำแดงราคาสินค้าเพื่อเสียภาษีอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่าโจทก์สำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง จึงสั่งให้โจทก์เพิ่มราคาสินค้าและภาษีที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าดังกล่าว ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรแล้ว หากโจทก์เห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้อง โจทก์ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ตามประมวล-รัษฎากร มาตรา 30 แม้จำเลยจะเรียกเก็บอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษี-บำรุงเทศบาลพร้อมกัน ก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อกอง-วิเคราะห์ราคาจำเลยได้ ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อกองวิเคราะห์ราคาของจำเลย หรือโต้แย้งราคาไว้และขอคืนอากรที่ชำระเกินภายหลังนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าตามฟ้องฉบับที่ 1 เมื่อพนักงาน-เจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่ม โจทก์เพียงแต่ชำระตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้า ส่วนจำนวนที่มีการเรียกให้ชำระเพิ่มโจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางเงินสดเป็นหลักประกันค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยอาจประเมินให้ชำระเพิ่มในภายหลัง จะถือว่าเงินดังกล่าวเป็นค่าภาษีอากรที่โจทก์ยินยอมชำระตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดให้ชำระเพิ่มตั้งแต่วันนำเข้าแล้วย่อมมิได้ การที่โจทก์มาฟ้องเรียกเงินประกันส่วนที่พนักงาน-เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่คืนให้ภายหลังการประเมินเพราะถือว่าเป็นค่าอากรที่ต้องชำระเพิ่ม จึงมิใช่การขอคืนเงินค่าอากรที่โจทก์ชำระเกินกว่าจำนวนที่พึงชำระจริง ตามบทบัญญัติมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469อันจะอยู่ในอายุความ 2 ปี นับแต่วันนำสินค้าเข้า ส่วนใบขนสินค้าตามฟ้องฉบับที่ 2 - 9 นั้น ในวันที่โจทก์นำเข้าสินค้าตามใบขนดังกล่าว โจทก์ได้ยินยอมเพิ่มราคาสินค้าจากที่สำแดงไว้ และชำระค่าภาษีอากรเพิ่มตามจำนวนที่พนักงาน-เจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดตามใบขนสินค้าทุกฉบับ ถือว่าเป็นกรณีที่โจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรส่วนที่เกินแล้ว การฟ้องเรียกร้องขอคืนเงินค่าภาษีอากรในส่วนนี้จึงต้องนำอายุความ 2 ปี ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 10 วรรคห้า มาใช้บังคับ
คำสั่งกรมศุลกากรที่ 28/2527 เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้น ไม่อาจถือว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาแท้จริงในท้องตลาดได้เสมอไปเพราะแม้เป็นราคาสินค้าประเภทและชนิดเดียวกันมีแหล่งกำเนิดจากประเทศหรือโซนเดียวกัน หากมีคุณภาพและความนิยมแตกต่างกันมากก็อาจมีราคาแตกต่างกันเกินกว่าร้อยละ 10 ได้ ดังนั้น ราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดให้โจทก์ชำระเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์สำแดงไว้ร้อยละ 16.93 จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ส่วนราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าทั้งสองฉบับโจทก์มีพยานนำสืบว่า เป็นราคาที่มีการซื้อขายกันจริง และเป็นราคาที่ใช้กับตัวแทนจำหน่ายทั่วโลก จึงฟังได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าตามฟ้องฉบับที่ 1 - 10 เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความหมายของมาตรา 2แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469
การนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าตามฟ้องฉบับที่ 1 เมื่อพนักงาน-เจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่ม โจทก์เพียงแต่ชำระตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้า ส่วนจำนวนที่มีการเรียกให้ชำระเพิ่มโจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางเงินสดเป็นหลักประกันค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยอาจประเมินให้ชำระเพิ่มในภายหลัง จะถือว่าเงินดังกล่าวเป็นค่าภาษีอากรที่โจทก์ยินยอมชำระตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดให้ชำระเพิ่มตั้งแต่วันนำเข้าแล้วย่อมมิได้ การที่โจทก์มาฟ้องเรียกเงินประกันส่วนที่พนักงาน-เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่คืนให้ภายหลังการประเมินเพราะถือว่าเป็นค่าอากรที่ต้องชำระเพิ่ม จึงมิใช่การขอคืนเงินค่าอากรที่โจทก์ชำระเกินกว่าจำนวนที่พึงชำระจริง ตามบทบัญญัติมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469อันจะอยู่ในอายุความ 2 ปี นับแต่วันนำสินค้าเข้า ส่วนใบขนสินค้าตามฟ้องฉบับที่ 2 - 9 นั้น ในวันที่โจทก์นำเข้าสินค้าตามใบขนดังกล่าว โจทก์ได้ยินยอมเพิ่มราคาสินค้าจากที่สำแดงไว้ และชำระค่าภาษีอากรเพิ่มตามจำนวนที่พนักงาน-เจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดตามใบขนสินค้าทุกฉบับ ถือว่าเป็นกรณีที่โจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรส่วนที่เกินแล้ว การฟ้องเรียกร้องขอคืนเงินค่าภาษีอากรในส่วนนี้จึงต้องนำอายุความ 2 ปี ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 10 วรรคห้า มาใช้บังคับ
คำสั่งกรมศุลกากรที่ 28/2527 เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้น ไม่อาจถือว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาแท้จริงในท้องตลาดได้เสมอไปเพราะแม้เป็นราคาสินค้าประเภทและชนิดเดียวกันมีแหล่งกำเนิดจากประเทศหรือโซนเดียวกัน หากมีคุณภาพและความนิยมแตกต่างกันมากก็อาจมีราคาแตกต่างกันเกินกว่าร้อยละ 10 ได้ ดังนั้น ราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดให้โจทก์ชำระเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์สำแดงไว้ร้อยละ 16.93 จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ส่วนราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าทั้งสองฉบับโจทก์มีพยานนำสืบว่า เป็นราคาที่มีการซื้อขายกันจริง และเป็นราคาที่ใช้กับตัวแทนจำหน่ายทั่วโลก จึงฟังได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าตามฟ้องฉบับที่ 1 - 10 เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความหมายของมาตรา 2แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5157/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีภาษีอากร, ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด, การยินยอมชำระภาษีเพิ่ม และผลกระทบต่ออายุความ
เมื่อโจทก์นำของเข้าในราชอาณาจักร โจทก์ต้องสำแดงราคาสินค้าเพื่อเสียภาษีอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่าโจทก์สำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้องจึงสั่งให้โจทก์เพิ่มราคาสินค้าและภาษีที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าดังกล่าว ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรแล้ว หากโจทก์เห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้อง โจทก์ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 แม้จำเลยจะเรียกเก็บอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลพร้อมกัน ก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อกองวิเคราะห์ราคาจำเลยได้ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อกองวิเคราะห์ราคาของจำเลยหรือโต้แย้งราคาไว้และขอคืนอากรที่ชำระเกินภายหลังนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าตามฟ้องฉบับที่ 1 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่ม โจทก์เพียงแต่ชำระตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้า ส่วนจำนวนที่มีการเรียกให้ชำระเพิ่มโจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางเงินสดเป็นหลักประกันค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยอาจประเมินให้ชำระเพิ่มในภายหลังจะถือว่าเงินดังกล่าวเป็นค่าภาษีอากรที่โจทก์ยินยอมชำระตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดให้ชำระเพิ่มตั้งแต่วันนำเข้าแล้วย่อมมิได้ การที่โจทก์มาฟ้องเรียกเงินประกันส่วนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่คืนให้ภายหลังการประเมินเพราะถือว่าเป็นค่าอากรที่ต้องชำระเพิ่ม จึงมิใช่การขอคืนเงินค่าอากรที่โจทก์ชำระเกินกว่าจำนวนที่พึงชำระจริง ตามบทบัญญัติมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 อันจะอยู่ในอายุความ 2 ปีนับแต่วันนำสินค้าเข้า ส่วนใบขนสินค้าตามฟ้องฉบับที่ 2-9 นั้น ในวันที่โจทก์นำเข้าสินค้าตามใบขนดังกล่าว โจทก์ได้ยินยอมเพิ่มราคาสินค้าจากที่สำแดงไว้ และชำระค่าภาษีอากรเพิ่มตามจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดตามใบขนสินค้าทุกฉบับ ถือว่าเป็นกรณีที่โจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรส่วนที่เกินแล้ว การฟ้องเรียกร้องขอคืนเงินค่าภาษีอากรในส่วนนี้จึงต้องนำอายุความ 2 ปี ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า มาใช้บังคับ คำสั่งกรมศุลกากรที่ 28/2527 เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้น ไม่อาจถือว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาแท้จริงในท้องตลาดได้เสมอไปเพราะแม้เป็นราคาสินค้าประเภทและชนิดเดียวกันมีแหล่งกำเนิดจากประเทศหรือโซนเดียวกัน หากมีคุณภาพและความนิยมแตกต่างกันมากก็อาจมีราคาแตกต่างกันเกินกว่าร้อยละ 10 ได้ ดังนั้น ราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดให้โจทก์ชำระเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์สำแดงไว้ร้อยละ 16.93 จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ส่วนราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าทั้งสองฉบับโจทก์มีพยานนำสืบว่า เป็นราคาที่มีการซื้อขายกันจริง และเป็นราคาที่ใช้กับตัวแทนจำหน่ายทั่วโลก จึงฟังได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าตามฟ้องฉบับที่ 1-10 เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความหมายของมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3569/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาภาษีอากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้คือกระจกส่องหลัง พนักพิงหลังและแผ่นรองพื้น เป็นราคาต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาดพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงประเมินราคาสินค้าและภาษีอากรใหม่ มีรายละเอียดตามสำเนาใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าท้ายฟ้อง สำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง มีข้อความระบุไว้ว่า ประเมินราคาสินค้าแต่ละรายการเพิ่มขึ้นเท่าใด คิดเป็นอากรขาเข้าและภาษีการค้าจำนวนเท่าใด คำฟ้องโจทก์แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
บัตรราคาเป็นเอกสารภายในที่โจทก์ทำขึ้น บุคคลภายนอกไม่อาจทราบได้ ทั้งมีข้อความส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งโจทก์ก็มิได้นำสืบถึงรายละเอียดของสินค้าตามบัตรราคาดังกล่าวว่าเป็นชนิดและขนาดใดมีลักษณะอย่างไร ราคาเป็นเงินไทยเท่าใด นำเข้าโดยใคร และเมื่อใด สินค้าตามบัตรราคาเป็นสินค้าสำหรับโซนยุโรป แต่สินค้ารายพิพาทมีแหล่งกำเนิดในโซนเอเชียซึ่งเป็นสินค้าต่างแหล่งกำเนิดกัน เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ได้ความดังกล่าว จึงไม่อาจนำราคาสินค้าตามบัตรราคามาใช้เป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้ารายพิพาทได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดโดยอ้างว่า จำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2จะอุทธรณ์เพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องเนื่องจากโจทก์ประเมินภาษีอากรเพิ่มเติมสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าตามฟ้องไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) พ.ศ.2528 มาตรา 29
บัตรราคาเป็นเอกสารภายในที่โจทก์ทำขึ้น บุคคลภายนอกไม่อาจทราบได้ ทั้งมีข้อความส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งโจทก์ก็มิได้นำสืบถึงรายละเอียดของสินค้าตามบัตรราคาดังกล่าวว่าเป็นชนิดและขนาดใดมีลักษณะอย่างไร ราคาเป็นเงินไทยเท่าใด นำเข้าโดยใคร และเมื่อใด สินค้าตามบัตรราคาเป็นสินค้าสำหรับโซนยุโรป แต่สินค้ารายพิพาทมีแหล่งกำเนิดในโซนเอเชียซึ่งเป็นสินค้าต่างแหล่งกำเนิดกัน เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ได้ความดังกล่าว จึงไม่อาจนำราคาสินค้าตามบัตรราคามาใช้เป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้ารายพิพาทได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดโดยอ้างว่า จำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2จะอุทธรณ์เพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องเนื่องจากโจทก์ประเมินภาษีอากรเพิ่มเติมสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าตามฟ้องไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) พ.ศ.2528 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3569/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรเพิ่มเติมที่ไม่ชอบตามกฎหมายและการรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้คือกระจกส่องหลัง พนักพิงหลังและแผ่นรองพื้น เป็นราคาต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาด พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงประเมินราคาสินค้าและภาษีอากรใหม่ มีรายละเอียดตามสำเนาใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าท้ายฟ้อง สำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง มีข้อความระบุไว้ว่า ประเมินราคาสินค้าแต่ละรายการเพิ่มขึ้นเท่าใด คิดเป็นอากรขาเข้าและภาษีการค้าจำนวนเท่าใด คำฟ้องโจทก์แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม บัตรราคาเป็นเอกสารภายในที่โจทก์ทำขึ้น บุคคลภายนอกไม่อาจทราบได้ ทั้งมีข้อความส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งโจทก์ก็มิได้นำสืบถึงรายละเอียดของสินค้าตามบัตรราคาดังกล่าวว่าเป็นชนิดและขนาดใด มีลักษณะอย่างไร ราคาเป็นเงินไทยเท่าใด นำเข้าโดยใคร และเมื่อใดสินค้าตามบัตรราคาเป็นสินค้าสำหรับโซนยุโรป แต่สินค้ารายพิพาทมีแหล่งกำเนิดในโซนเอเซีย ซึ่งเป็นสินค้าต่างแหล่งกำเนิดกัน เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ได้ความดังกล่าวจึงไม่อาจนำราคาสินค้าตามบัตรราคามาใช้เป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้ารายพิพาทได้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2และที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2จะอุทธรณ์เพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องเนื่องจากโจทก์ประเมินภาษีอากรเพิ่มเติมสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าตามฟ้องไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินอากรขาเข้าที่มิชอบ และสิทธิในการขอคืนเงินอากรที่ชำระเกิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่พอใจราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงจึงให้โจทก์ชำระอากรตามสำแดงและให้วางประกันเงินค่าอากรอีกส่วนหนึ่ง ได้มีการส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปแล้ว ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่ม โจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน การชำระเงินค่าอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า แม้โจทก์มิได้สงวนสิทธิในการฟ้องร้องหรือเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนและมิได้บอกกล่าวให้จำเลยคืนเงินตามฟ้องก่อนนั้น ก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องนั้น จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่าที่โจทก์ชำระไปให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรหรือวางประกันค่าอากรครั้งสุดท้ายตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวาวรรคท้าย ซึ่งคดีนี้โจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานของจำเลยเรียกไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสียนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จเท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การประเมินภาษีอากรขาเข้าจะชอบหรือไม่ต้องพิจารณาว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของราคาสินค้าเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าโจทก์ได้สำแดงราคาสินค้าพิพาทเท่าที่โจทก์ซื้ออันอนุมานได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้อง-ตลาด ที่จำเลยอ้างว่าต่ำกว่าราคาประเมินที่จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ พนักงานเจ้า-หน้าที่ของจำเลยจึงประเมินภาษีอากรขาเข้าตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 47/2531ข้อ 1.8 ที่ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 6 เดือนนั้น จำเลยไม่ได้นำสืบให้ประจักษ์ว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นจำนวนเท่าใด หลักฐานที่ว่ามีผู้นำเข้ารายอื่นในช่วง 6 เดือนดังกล่าวไม่มีในเอกสารที่ส่ง จึงเป็นการไม่แน่นอนว่าจะเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกับสินค้าพิพาทหรือไม่ ยังฟังไม่ได้ว่าราคาที่เจ้า-พนักงานของจำเลยประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด การประเมินราคาสินค้าพิพาท และประเมินภาษีอากรขาเข้าของจำเลยจึงไม่ชอบ
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องนั้น จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่าที่โจทก์ชำระไปให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรหรือวางประกันค่าอากรครั้งสุดท้ายตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวาวรรคท้าย ซึ่งคดีนี้โจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานของจำเลยเรียกไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสียนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จเท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การประเมินภาษีอากรขาเข้าจะชอบหรือไม่ต้องพิจารณาว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของราคาสินค้าเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าโจทก์ได้สำแดงราคาสินค้าพิพาทเท่าที่โจทก์ซื้ออันอนุมานได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้อง-ตลาด ที่จำเลยอ้างว่าต่ำกว่าราคาประเมินที่จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ พนักงานเจ้า-หน้าที่ของจำเลยจึงประเมินภาษีอากรขาเข้าตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 47/2531ข้อ 1.8 ที่ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 6 เดือนนั้น จำเลยไม่ได้นำสืบให้ประจักษ์ว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นจำนวนเท่าใด หลักฐานที่ว่ามีผู้นำเข้ารายอื่นในช่วง 6 เดือนดังกล่าวไม่มีในเอกสารที่ส่ง จึงเป็นการไม่แน่นอนว่าจะเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกับสินค้าพิพาทหรือไม่ ยังฟังไม่ได้ว่าราคาที่เจ้า-พนักงานของจำเลยประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด การประเมินราคาสินค้าพิพาท และประเมินภาษีอากรขาเข้าของจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรขาเข้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการฟ้องขอคืนเงิน พร้อมดอกเบี้ย
พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่พอใจราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงจึงให้โจทก์ชำระอากรตามสำแดงและให้วางประกันเงินค่าอากรอีกส่วนหนึ่งได้มีการส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปแล้ว ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่ม โจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน การชำระเงินค่าอากรเพิ่มเป็นเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า แม้โจทก์มิได้สงวนสิทธิในการฟ้องร้องหรือเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนและมิได้บอกกล่าวให้จำเลยคืนเงินตามฟ้องก่อนนั้น ก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องนั้น จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่าที่โจทก์ชำระไปให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรหรือวางประกันค่าอากรครั้งสุดท้ายตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 112 จัตวา วรรคท้าย ซึ่งคดีนี้โจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานของจำเลยเรียกไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสียนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จเท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การประเมินภาษีอากรขาเข้าจะชอบหรือไม่ต้องพิจารณาว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของราคาสินค้าเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าโจทก์ได้สำแดงราคาสินค้าพิพาทเท่าที่โจทก์ซื้ออันอนุมานได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ที่จำเลยอ้างว่าต่ำกว่าราคาประเมินที่จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงประเมินภาษีอากรขาเข้าตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 47/2531 ข้อ 1.8 ที่ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 6 เดือนนั้น จำเลยไม่ได้นำสืบให้ประจักษ์ว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นจำนวนเท่าใด หลักฐานที่ว่ามีผู้นำเข้ารายอื่นในช่วง 6 เดือนดังกล่าวไม่มีในเอกสารที่ส่งจึงเป็นการไม่แน่นอนว่าจะเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกับสินค้าพิพาทหรือไม่ ยังฟังไม่ได้ว่าราคาที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด การประเมินราคาสินค้าพิพาทและประเมินภาษีอากรขาเข้าของจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยพิจารณาจากราคาตลาดและวันนำเข้าสินค้า
วันนำสินค้าเข้า หมายถึงวันที่ยานพาหนะที่บรรทุกสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร มิใช่วันที่ผู้นำเข้ายื่นใบขนสินค้าเพื่อชำระภาษีอากร เมื่อสินค้าของโจทก์และของบริษัทท.นำเข้าวันเดียวกันโดยเรือลำเดียวกันแม้โจทก์จะยื่นใบขนสินค้าก่อนก็ไม่ถือว่าโจทก์และบริษัทท.ได้นำสินค้าเข้ามาต่างวันกันการเปรียบเทียบราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้ากับราคาสินค้าที่บริษัทท.นำเข้าซึ่งได้ยื่นไว้ก่อนโจทก์เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง จึงถูกต้องแล้ว