พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้า การคำนวณราคาฐานภาษี และอำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีอากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ราคาของที่จะนำมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีอากรนั้น ต้องคิดจากราคาสินค้ารวมกับค่าประกันภัยและค่าระวางหรือค่าขนส่งสินค้าซึ่งเรียกว่าราคา ซี.ไอ.เอฟ. ค่าระวางหรือค่าขนส่งสินค้าจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาของ การที่โจทก์โต้แย้งเรื่องค่าขนส่งหรือค่าระวางสินค้าถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับราคาแห่งของเมื่อโจทก์มิได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องขอคืนอากรขาเข้ารวมถึงค่าธรรมเนียมพิเศษที่ให้นำกฎหมายว่าด้วยการศุลกากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดระเบียบการเรียกเก็บและวิธีการชำระค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2533 แม้การที่เจ้าพนักงานประเมินได้มีคำสั่งประเมินภาษีอากรเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์สำแดงโดยเพิ่มค่าระวางขนส่งให้สูงขึ้นจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้วก็ตาม แต่ในกรณีเช่นนี้กฎหมายกำหนดขั้นตอนที่โจทก์จะต้องปฏิบัติก่อน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืนภาษีอากรดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งราคาฐานภาษี & ขั้นตอนการขอคืนอากร หากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน กฎหมายกำหนด ไม่มีอำนาจฟ้อง
ราคาของที่จะนำมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีอากรนั้น ต้องคิดจากราคาสินค้ารวมกับค่าประกันภัยและค่าระวางหรือค่าขนส่งสินค้าซึ่งเรียกว่าราคาซี.ไอ.เอฟ. ค่าระวางหรือค่าขนส่งสินค้าจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาของ การที่โจทก์โต้แย้งเรื่องค่าขนส่งหรือค่าระวางสินค้าถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับราคาแห่งของเมื่อโจทก์มิได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องขอคืนอากรขาเข้ารวมถึงค่าธรรมเนียมพิเศษที่ให้นำกฎหมายว่าด้วยการศุลกากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดระเบียบ•การเรียกเก็บและวิธีการชำระค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรลงวันที่ 7 มิถุนายน 2533 แม้การที่เจ้าพนักงานประเมินได้มีคำสั่งประเมินภาษีอากรเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์สำแดงโดยเพิ่มค่าระวางขนส่งให้สูงขึ้นจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้วก็ตาม แต่ในกรณีเช่นนี้กฎหมายกำหนดขั้นตอนที่โจทก์จะต้องปฏิบัติก่อน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืนภาษีอากรดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืนภาษีอากรดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่มิชอบและการฟ้องเรียกคืนภาษีอากร จำเป็นต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน
โจทก์นำเข้าสินค้าเหล็กแผ่นเที่ยวแรกและเที่ยวที่สองเรียกว่าคอมเบิลเพลทส่วนเที่ยวที่สามเรียกว่ารีรอยเลเบิล สต๊อก เพลทเป็นสินค้าที่มีลักษณะแตกต่างกันจึงควรมีราคาไม่เท่ากัน ดังนั้นราคาแท้จริงในท้องตลาดจึงเป็นราคาที่โจทก์ได้สำแดงไว้แต่แรกการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดให้มีราคาเท่ากันจึงมิชอบ การที่โจทก์แก้ราคาสินค้าและจำนวนเงินภาษีอากรในใบขนสินค้ากับใบกำกับสินค้าให้สูงขึ้นตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งให้โจทก์แก้ แต่โจทก์ได้สงวนสิทธิ์โต้แย้งราคาสินค้าในส่วนที่เพิ่มขึ้นไว้ แสดงว่าโจทก์มิได้แก้ราคาสินค้าและจำนวนเงินภาษีอากรด้วยความสมัครใจ การยอมแก้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการแก้ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินแล้ว เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเสียก่อน จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรและอำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีเกิน การประเมินราคาต้องใช้ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
การดำเนินการค้าแบบเดียวกันนี้ผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่นได้ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. เครือเดียวกับบริษัทโจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยมาประมาณ 20 ปีแล้ว โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า สินค้าพิพาทมีราคาตามที่โจทก์สำแดงไว้แต่แรก แทนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะนำราคาสินค้าที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. เคยสั่งเข้ามาจำหน่ายตั้งแต่ปี2511 ตลอดมาจนถึงปัจจุบันมาเปรียบเทียบราคาเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาด กลับประเมินราคาสินค้าพิพาทโดยถือเกณฑ์ให้แตกต่างไม่เกินร้อยละ 10 ของราคาสินค้ายี่ห้ออื่น ตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 28/2527ทั้งที่ราคาที่นำมาเปรียบเทียบนั้นมิใช่ชนิดเดียวกัน คุณภาพอาจแตกต่างกันเป็นการประเมินราคาสินค้าที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ไม่สอดคล้องกับคำจำกัด-ความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 2
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จำเลยก็ยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ได้
เมื่อจำเลยได้รับมอบหมายจากกรมสรรพากร ให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล การที่จำเลยเรียกเก็บเกินจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกส่วนที่เก็บเกินคืนได้โดยหาต้องฟ้องกรมสรรพากรด้วยไม่
สำหรับสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุง-เทศบาลเกินเองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้ประเมิน หาใช่เป็นการฟ้องเรียกคืนเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินโดยมิชอบไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จำเลยก็ยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ได้
เมื่อจำเลยได้รับมอบหมายจากกรมสรรพากร ให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล การที่จำเลยเรียกเก็บเกินจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกส่วนที่เก็บเกินคืนได้โดยหาต้องฟ้องกรมสรรพากรด้วยไม่
สำหรับสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุง-เทศบาลเกินเองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้ประเมิน หาใช่เป็นการฟ้องเรียกคืนเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินโดยมิชอบไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการมีอำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีที่ชำระเกิน
การดำเนินการค้าแบบเดียวกันนี้ผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่นได้ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดม. เครือเดียวกับบริษัทโจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยมาประมาณ 20 ปีแล้ว โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า สินค้าพิพาทมีราคาตามที่โจทก์สำแดงไว้แต่แรก แทนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะนำราคาสินค้าที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดม. เคยสั่งเข้ามาจำหน่ายตั้งแต่ปี 2511 ตลอดมาจนถึงปัจจุบันมาเปรียบเทียบราคาเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาด กลับประเมินราคาสินค้าพิพาทโดยถือเกณฑ์ให้แตกต่างไม่เกินร้อยละ 10 ของราคาสินค้ายี่ห้ออื่นตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 28/2527 ทั้งที่ราคาที่นำมาเปรียบเทียบนั้นมิใช่ชนิดเดียวกัน คุณภาพอาจแตกต่างกันเป็นการประเมินราคาสินค้าที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ไม่สอดคล้องกับคำจำกัดความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 2 อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จำเลยก็ยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ได้ เมื่อจำเลยได้รับมอบหมายจากกรมสรรพากร ให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล การที่จำเลยเรียกเก็บเกินจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกส่วนที่เก็บเกินคืนได้โดยหาต้องฟ้องกรมสรรพากรด้วยไม่ สำหรับสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเกินเองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้ประเมิน หาใช่เป็นการฟ้องเรียกคืนเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินโดยมิชอบไม่โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2863/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีต้องอาศัยหลักฐานที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ การประเมินจากเอกสารที่ไม่พิสูจน์ได้ว่าถูกต้องไม่ชอบ
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างหลักฐานการส่งออกสินค้ารายพิพาทของร้าน ช. ภาระการพิสูจน์ถึงความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวย่อมตกแก่โจทก์ เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นเพียงภาพถ่ายเอกสารที่ศุลกากรเมืองฮ่องกง ผู้เป็นเจ้าของเอกสารมิได้รับรองความถูกต้องและพยานโจทก์ผู้ไปติดต่อขอมาเคยเบิกความในคดีอาญาเป็นทำนองว่าไม่ได้เห็นต้นฉบับย่อมไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเอกสารดังกล่าวเป็นภาพถ่ายเอกสารที่ถ่ายจากหลักฐานการส่งออกสินค้ารายพิพาทที่ร้านช.ยื่นต่อศุลกากรเมืองฮ่องกงที่แท้จริง การประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีเพิ่มสืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ได้รับภาพถ่ายเอกสารหลักฐานการส่งออกสินค้ารายพิพาทเพียงประการเดียว แล้วประเมินโดยถือว่าราคาซื้อขายตามที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวเป็นราคาซื้อขายที่แท้จริง มิได้ทำการประเมินโดยเปรียบเทียบราคาสินค้าในท้องตลาดหรือราคาที่ผู้อื่นนำเข้าในเวลาใกล้เคียงกัน หรือราคากลางของกองวิเคราะห์ราคาที่ถือเป็นเกณฑ์ในการประเมินตามปกติ แต่เมื่อภาพถ่ายเอกสารดังกล่าวยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นภาพถ่ายเอกสารที่ถูกต้องแท้จริง จะถือว่าราคาที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวเป็นราคาซื้อขายสินค้ารายพิพาทที่แท้จริงย่อมมิได้ ทั้งปรากฏว่าราคาสินค้ารายพิพาทที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่ผู้ขายตามใบกำกับสินค้าและเอกสารควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรงตามราคาที่จำเลยที่ 1 สำแดงเพื่อเสียภาษี การประเมินให้จำเลยที่ 1ชำระภาษีเพิ่มเติมของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสินค้าพิพาท: ส่วนลดพิเศษและผลกระทบต่อการประเมินราคา
ราคาสินค้าพิพาทตามที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้นเป็นราคาที่ผู้ขายได้ให้ส่วนลดแก่โจทก์เป็นพิเศษจึงเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้ขายจัดทำกันขึ้นเอง จะถือว่าเป็นราคาที่แท้จริงในท้องตลาดไม่ได้ ถึงแม้โจทก์จะอ้างว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการของสินค้าออกไป โจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนอะไรไปบ้าง จึงยังฟังไม่ได้ว่ามีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการออกไปจริง ส่วนที่โจทก์อ้างว่าผู้ขายให้ส่วนลดพิเศษแล้วโจทก์ก็ยังขาดทุน เห็นว่า แม้โจทก์จะขายสินค้าพิพาทไปไม่มีกำไรแต่หากโจทก์ไม่ส่งเข้ามาจำหน่ายจะถูกแย่งตลาดไป แสดงให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์มีความจำเป็นต้องนำสินค้าพิพาทเข้ามาขายในราชอาณาจักรแม้จะได้กำไรน้อยหรือไม่ได้กำไรก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสำแดงสินค้าขาเข้าที่ไม่เป็นราคาตลาด เจ้าพนักงานประเมินราคาใหม่ได้
ราคาสินค้าพิพาทตามที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้นเป็นราคาที่ผู้ขายได้ให้ส่วนลดแก่โจทก์เป็นพิเศษจึงเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้ขายจัดทำกันขึ้นเอง จะถือว่าเป็นราคาที่แท้จริงในท้องตลาดไม่ได้ถึงแม้โจทก์จะอ้างว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการของสินค้าออกไป โจทก์ได้ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนอะไรไปบ้าง จึงยังฟังไม่ได้ว่ามีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการออกไปจริง ส่วนที่โจทก์อ้างว่าผู้ขายให้ส่วนลดพิเศษแล้วโจทก์ก็ยังขาดทุน เห็นว่า แม้โจทก์จะขายสินค้าพิพาทไปไม่มีกำไรแต่หากโจทก์ไม่ส่งเข้ามาจำหน่ายจะถูกแย่งตลาดไปแสดงให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์มีความจำเป็นต้องนำสินค้าพิพาทเข้ามาขายในราชอาณาจักรแม้จะได้กำไรน้อยหรือไม่ได้กำไรก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2233/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากร: ราคาอันแท้จริง, การโต้แย้ง, และขอบเขตอำนาจฟ้องภาษีอากร
หลักเกณฑ์ตามคำสั่งทั่วไป กรมศุลกากร ที่ 28/2527เรื่อง ระเบียบปฎิบัติ เกี่ยวกับการประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์ที่สรุปได้ว่า การประเมินอะไหล่ยานยนต์ที่ใช้ทดแทนอะไหล่แท้ที่มีแหล่งกำเนิดของสินค้านอกจากโซนเอเซียให้ต่างกันได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาอะไหล่แท้ ซึ่งกรมศุลกากรจำเลยได้ถือเป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้าของโจทก์เพิ่มขึ้นจากเดิมนั้น เป็นแนวปฎิบัติ เพื่อหาราคาที่เป็นจริงของสินค้าที่ นำเข้าว่ามีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดราคาใดเท่านั้นหาเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวว่า ราคาของสินค้าที่นำเข้าจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคำสั่งฉบับที่กล่าวถึงทุกกรณีไปไม่ เพราะเป็นคำสั่งที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างและการปฎิบัติ เช่นนี้จะประเมินราคาได้ก็ต่อเมื่อไม่มีข้อมูลหรือพฤติการณ์อื่นที่ปรากฎเมื่อโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงว่า การซื้อสินค้าชุดลูกสูบรถยนต์มีราคา 24,822.50 ดอลลาร์ สหรัฐ โดยมีข้อสนับสนุนเป็นพยานหลักฐานยืนยันได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นใบกำกับสินค้าล่วงหน้า คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และตั๋วแลกเงินที่โจทก์ออกให้แก่ธนาคาร โดยเฉพาะใบรับเงินของธนาคารซึ่งเป็นธนาคารผู้เปิดเครดิตของโจทก์ผู้ซื้อสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ โดยที่ธนาคารเป็นฝ่ายที่สามไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายโดยตรง แต่เข้ามาในฐานะธนาคารเป็นผู้รับประกันว่า จะมีการชำระราคาให้ผู้ขาย ในเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแล้ว ตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศที่ถือปฎิบัติล้วนแต่มีจำนวนราคาสินค้าที่เป็นจำนวนตรงกันทั้งสิ้น จึงเชื่อ ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้นั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 ในกรณีปกติ หากผู้นำเข้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลอย่างถูกต้องทั้งพิกัดอัตราศุลกากรและราคาอันแท้จริงในท้องตลาด และไม่เป็นของต้องห้ามหรือต้องจำกัด เมื่อได้ผ่านพิธีการทางศุลกากร และเสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว การชำระภาษีอากรดังกล่าวก็มิใช่เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลกฎหมายรัษฎากร แต่ในกรณีนี้จำเลยโต้แย้งราคาสินค้าว่าโจทก์สำแดงราคาต่ำกว่าราคาที่จำเลยถือปฎิบัติ ทุกรายการจะต้องเพิ่มราคาสินค้าเพื่อคำนวณภาษีอากรประเภทต่าง ๆเพิ่มขึ้นอีก 900,386.20 บาท การกำหนดราคาที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจึงต้องถือว่ามิใช่ความสมัครใจหรือยินยอมของโจทก์อันแท้จริง เพราะโจทก์สำแดงราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยสงวนสิทธิการโต้แย้งราคาไว้ที่ด้านหลังของใบขนสินค้าขาเข้า แล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงบันทึกว่าเพิ่มราคาแล้วพอใจบัญชีราคาสินค้า การเสียภาษีอากรของโจทก์จึงมิใช่เป็นการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าด้วยตนเองตามปกติ แต่สืบเนื่องมาจากการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเกี่ยวกับราคาซึ่งโจทก์เองก็ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มราคาสินค้าขึ้น และได้สงวนสิทธิโต้แย้งราคาไว้จึงถือว่า เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลกฎหมายรัษฎากรในส่วนภาษีการค้า ดังนั้น เมื่อภายหลังโจทก์อุทธรณ์การประเมินเกี่ยวกับราคาสินค้าต่อกรมศุลกากรแม้จะอ้างว่าเป็นไปตามระเบียบของจำเลย ก็เป็นสิทธิของโจทก์ในส่วนของอากรขาเข้าเท่านั้น ส่วนภาษีการค้าโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนภาษีการค้าเช่นเดียวกับภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีที่ต้องคำนวณต่อเนื่องเป็นอัตราที่แน่นอนโดยอาศัยภาษีการค้าเป็นฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2233/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ขัดแย้งกับราคาที่ผู้ซื้อสำแดง และการอุทธรณ์ภาษีอากร
หลักเกณฑ์ตามคำสั่งทั่วไป กรมศุลกากร ที่ 28/2527 เรื่องระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์ที่สรุปได้ว่า การประเมินอะไหล่ยานยนต์ที่ใช้ทดแทนอะไหล่แท้ที่มีแหล่งกำเนิดของสินค้านอกจากโซนเอเซียให้ต่างกันได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาอะไหล่แท้ ซึ่งกรมศุลกากรจำเลยได้ถือเป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้าของโจทก์เพิ่มขึ้นจากเดิมนั้น เป็นแนวปฏิบัติเพื่อหาราคาที่เป็นจริงของสินค้าที่นำเข้าว่ามีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดราคาใดเท่านั้นหาเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวว่า ราคาของสินค้าที่นำเข้าจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคำสั่งฉบับที่กล่าวถึงทุกกรณีไปไม่ เพราะเป็นคำสั่งที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างและการปฏิบัติเช่นนี้จะประเมินราคาได้ก็ต่อเมื่อไม่มีข้อมูลหรือพฤติการณ์อื่นที่ปรากฏเมื่อโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงว่า การซื้อสินค้าชุดลูกสูบรถยนต์มีราคา 24,822.50ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีข้อสนับสนุนเป็นพยานหลักฐานยืนยันได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้า คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และตั๋วแลกเงินที่โจทก์ออกให้แก่ธนาคาร โดยเฉพาะใบรับเงินของธนาคารซึ่งเป็นธนาคารผู้เปิดเครดิตของโจทก์ผู้ซื้อสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ โดยที่ธนาคารเป็นฝ่ายที่สามไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายโดยตรง แต่เข้ามาในฐานะธนาคารเป็นผู้รับประกันว่า จะมีการชำระราคาให้ผู้ขาย ในเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแล้ว ตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศที่ถือปฏิบัติ ล้วนแต่มีจำนวนราคาสินค้าที่เป็นจำนวนตรงกันทั้งสิ้นจึงเชื่อได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้นั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลการ พ.ศ.2469 มาตรา 2
ในกรณีปกติ หากผู้นำเข้ายื่นแบบแสดงรายการการค้า เพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล อย่างถูกต้องทั้งพิกัดอัตราศุลกากรและราคาอันแท้จริงในท้องตลาด และไม่เป็นของต้องห้ามหรือต้องจำกัด เมื่อได้ผ่านพิธีการทางศุลกากร และเสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว การชำระภาษีอากรดังกล่าวก็มิใช่เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ตาม ป.รัษฎากร แต่ในกรณีนี้จำเลยโต้แย้งราคาสินค้าว่าโจทก์สำแดงราคาต่ำกว่าราคาที่จำเลยถือปฏิบัติทุกรายการ จะต้องเพิ่มราคาสินค้าเพื่อคำนวณภาษีอากรประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก 900,386.20 บาท การกำหนดราคาที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจึงต้องถือว่ามิใช่ความสมัครใจหรือยินยอมของโจทก์อันแท้จริง เพราะโจทก์สำแดงราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยสงวนสิทธิการโต้แย้งราคาไว้ที่ด้านหลังของใบขนสินค้าขาเข้า แล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงบันทึกว่าเพิ่มราคาแล้วพอใจบัญชีราคาสินค้า การเสียภาษีอากรของโจทก์จึงมิใช่เป็นการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าด้วยตนเองตามปกติ แต่สืบเนื่องมาจากการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเกี่ยวกับราคาซึ่งโจทก์เองก็ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มราคาสินค้าขึ้น และได้สงวนสิทธิโต้แย้งราคาไว้ จึงถือว่า เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตาม ป.รัษฎากรในส่วนภาษีการค้า ดังนั้น เมื่อภายหลังโจทก์อุทธรณ์การประเมินเกี่ยวกับราคาสินค้าต่อกรมศุลกากร แม้จะอ้างว่าเป็นไปตามระเบียบของจำเลย ก็เป็นสิทธิของโจทก์ในส่วนของอากรขาเข้าเท่านั้น ส่วนภาษีการค้าโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนภาษีการค้า เช่นเดียวกับภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีที่ต้องคำนวณต่อเนื่องเป็นอัตราที่แน่นอนโดยอาศัยภาษีการค้าเป็นฐาน
ในกรณีปกติ หากผู้นำเข้ายื่นแบบแสดงรายการการค้า เพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล อย่างถูกต้องทั้งพิกัดอัตราศุลกากรและราคาอันแท้จริงในท้องตลาด และไม่เป็นของต้องห้ามหรือต้องจำกัด เมื่อได้ผ่านพิธีการทางศุลกากร และเสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว การชำระภาษีอากรดังกล่าวก็มิใช่เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ตาม ป.รัษฎากร แต่ในกรณีนี้จำเลยโต้แย้งราคาสินค้าว่าโจทก์สำแดงราคาต่ำกว่าราคาที่จำเลยถือปฏิบัติทุกรายการ จะต้องเพิ่มราคาสินค้าเพื่อคำนวณภาษีอากรประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก 900,386.20 บาท การกำหนดราคาที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจึงต้องถือว่ามิใช่ความสมัครใจหรือยินยอมของโจทก์อันแท้จริง เพราะโจทก์สำแดงราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยสงวนสิทธิการโต้แย้งราคาไว้ที่ด้านหลังของใบขนสินค้าขาเข้า แล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงบันทึกว่าเพิ่มราคาแล้วพอใจบัญชีราคาสินค้า การเสียภาษีอากรของโจทก์จึงมิใช่เป็นการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าด้วยตนเองตามปกติ แต่สืบเนื่องมาจากการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเกี่ยวกับราคาซึ่งโจทก์เองก็ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มราคาสินค้าขึ้น และได้สงวนสิทธิโต้แย้งราคาไว้ จึงถือว่า เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตาม ป.รัษฎากรในส่วนภาษีการค้า ดังนั้น เมื่อภายหลังโจทก์อุทธรณ์การประเมินเกี่ยวกับราคาสินค้าต่อกรมศุลกากร แม้จะอ้างว่าเป็นไปตามระเบียบของจำเลย ก็เป็นสิทธิของโจทก์ในส่วนของอากรขาเข้าเท่านั้น ส่วนภาษีการค้าโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนภาษีการค้า เช่นเดียวกับภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีที่ต้องคำนวณต่อเนื่องเป็นอัตราที่แน่นอนโดยอาศัยภาษีการค้าเป็นฐาน