พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการกักยึดสินค้าเพื่อดำเนินคดีอาญา
สินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นซี่ลวดและหัวซี่ลวด รถจักรยานยนต์แต่การที่โจทก์คัดค้านโดยขอสงวนสิทธิโต้แย้งราคาและอัตรากำไรแสดงว่าโจทก์ยังยืนยันว่าสินค้าที่นำเข้าเป็นซี่ลวดและตัวซี่ลวดรถจักรยาน อันเป็นมูลเหตุให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงเรื่องการเสียภาษีอากรได้ จำเลยย่อมมีอำนาจยึดสินค้าไว้ได้จนกว่าคดีอาญาจะถึงที่สุด การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยประเมินราคาของเพิ่มขึ้นโดยไม่ได้คำนวณตามราคาแท้จริงในท้องตลาดในเวลาที่โจทก์นำเข้าสำเร็จ และคำนวณอากรขาเข้าจากราคาดังกล่าวจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ จำเลยจึงต้องประเมินอากรขาเข้าใหม่ให้ถูกต้อง และคืนอากรขาเข้าเฉพาะส่วนที่เกินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้น ส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลนั้น แม้โจทก์จะได้โต้แย้งการประเมินอากรในการตีราคาสินค้าเพิ่มไว้ที่หลังใบขนสินค้าขาเข้าแล้ว ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินภาษีดังกล่าวคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับกระจก และการประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย
สินค้าที่จัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 และประเภทที่ 70.06 ท้าย พ.ร.ก.พิกัดอัตราภาษีศุลกากร พ.ศ.2503 นั้น แม้สินค้าทั้งสองประเภทจะเป็นกระจกที่มีกรรมวิธีใด ๆ ที่ผลิตขึ้นหรือทำขึ้น และไม่ว่าจะเป็นสีหรือไม่ก็ตาม ต่างก็เป็นแก้วอันเป็นวัตถุดิบเช่นเดียวกัน ข้อแตกต่างอยู่ที่ว่าสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 เป็นแก้วที่ยังมิได้ตกแต่งส่วนสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 เป็นแก้วที่ได้ขัดผิวแล้วประการหนึ่ง หรือทำให้ใสแล้วอีกประการหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องมิได้มีการทำให้แก้วนั้นมีคุณสมบัติหรือมีประโยชน์ในลักษณะการใช้สอยดีขึ้นมากไปกว่าการขัดผิวหรือทำให้ใส กรรมวิธีในการผลิตกระจกพิพาทจะต้องเป็นไปตามแบบแผนผัง กล่าวคือ การทำให้ผิวกระจกมีความมันและใสด้วยวิธีไฟร์โพลิชจะประกอบด้วยตัวทำความเย็นสองหน่วย ที่เรียกว่าเมนคูลเลอร์ และเบบี้คูลเลอร์ เริ่มต้นด้วยการนำวัตถุดิบเป็นแถบน้ำแก้วหลอมเหลวอุณหภูมิ 800 เซลเซียสจากเตาหลอมผ่านดรอบาร์เพื่อดึงขึ้นในแนวตั้งแผ่นกระจกจะเริ่มแข็งตัว และผ่านเมนคูลเลอร์จนถึงเบบี้คูลเลอร์เพื่อให้อุณหภูมิของแผ่นกระจกลดลงตามลำดับ จากนั้นจึงถึงช่วงของไฟร์โพลิช โดยใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงผสมกับอากาศที่ได้สัดส่วน แล้วพ่นไฟดังกล่าวให้เปลวไฟอยู่ห่างแผ่นกระจกประมาณ 1 นิ้ว เปลวไฟดังกล่าวจะเป็นตัวทำให้ผิวหน้าของกระจกราบเรียบและเป็นเงาใส ซึ่งการผลิตด้วยวิธีนี้ถือว่าเป็นการขัดผิวกระจกและทำให้ใสโดยสมบูรณ์แล้ว ไม่จำต้องใช้เครื่องมือกลเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวซ้ำอีก ดังนั้นวิธีไฟร์โพลิชดังกล่าว จึงถือว่าเป็นการทำให้กระจกชีทได้รับการตกแต่ง โดยขัดผิวและทำให้ใสแล้ว หาใช่เป็นกระบวนการผลิตกระจกธรรมดาตามปกติไม่ เพราะหากไม่ผ่านกระบวนการของไฟร์โพลิชก็คงเป็นกระจกธรรมดา กระจกพิพาทจึงจัดเข้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06
ส่วนที่จำเลยโต้แย้งว่า การวินิจฉัยว่าแผ่นกระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทใด จะต้องถือตามคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากร กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ตามความเห็นของ นายเอช อาซากุระ ผู้อำนวยการพิกัดศุลกากรของสภา ซี.ซี.ซี. ที่ระบุว่ากระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 70.05 นั้น การวินิจฉัยปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรที่โต้แย้งในคดีจะต้องอาศัยบทกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะที่มีการนำเข้า ซึ่งในขณะนั้นได้แก่ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ความเห็นของเจ้าหน้าที่หรือคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากรมิใช่กฎหมาย เป็นเพียงแนวทางของการวินิจฉัยปัญหาเท่านั้น ไม่เป็นข้อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าว
มูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามีราคาเป็นจำนวนใด จะต้องพิจารณาจาก พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2 ที่นิยามคำว่า "ราคา" หรือ"ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณเวลา และที่นำของเข้า หรือส่งของออก แล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอน หรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด" ดังนั้น ที่กองวิเคราะห์ราคาได้กำหนดราคาในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยสำหรับกระจกพิพาทไว้ จึงเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ ในการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บภาษี มิได้เป็นข้อตายตัวว่าจะต้องเป็นราคาดังกล่าวในขณะมีผู้นำเข้าเสมอไป แต่ได้กำหนดขึ้นเพื่อทราบราคาอันแท้จริงในท้องตลาดในเบื้องแรกว่ามีราคาใด
ราคาที่ระบุไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งนำเข้าระหว่างวันที่21 มกราคม 2528 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2528 เป็นราคาเดียวกับที่โจทก์ได้แจ้งไว้ในใบกำกับสินค้าในขณะที่โจทก์ส่งกระจกพิพาทลงเรือ ทั้งนี้ในทางปฏิบัติผู้ขายในต่างประเทศจะส่งบัญชีราคาสินค้ามาให้โจทก์ตามที่ขอทราบราคาไป เมื่อโจทก์พอใจราคาแล้วก็จะสั่งซื้อและดำเนินการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้ขาย หลังจากโจทก์ได้รับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขาย หลังจากโจทก์ได้รับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขายโดยผ่านทางธนาคาร จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ได้สั่งซื้อกระจกพิพาทในราคาดังกล่าวจริง ไม่มีข้อที่จะโต้แย้งหรือมีเหตุสงสัยว่าเอกสารดังกล่าวทำขึ้นไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะมีผู้เกี่ยวข้องและประโยชน์ได้เสียอีกหลายฝ่าย อาทิผู้รับขนทางทะเล และธนาคารตัวแทนทั้งฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อ ทั้งนี้ราคาสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงิน และใบเสร็จรับเงินแล้วแต่ละกรณี จะเป็นข้อสำคัญที่ยันผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวมิให้โต้เถียงในเรื่องราคาเป็นอย่างอื่น ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าราคาสินค้าที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นราคาที่แท้จริง และถูกต้องกว่าราคาที่กองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณา และกำหนดเป็นราคาประเมินไว้
ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ได้เสนอบัญชีราคาสินค้าให้จำเลยพิจารณาราคาไว้ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2527 แต่โจทก์นำสินค้ากระจกพิพาทเข้าภายหลังอีกประมาณ 1 ปีต่อมา ราคาย่อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะของตลาด การที่โจทก์ไม่เสนอราคาที่เปลี่ยนแปลงต่อจำเลยก็ไม่เป็นข้อผูกมัดว่า โจทก์จะต้องปฏิบัติเช่นนั้นและราคาจะต้องตายตัวในราคานั้น เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติดังกล่าว การยื่นบัญชีราคาสินค้าไว้ต่อจำเลยเพื่อให้พิจารณา เป็นการอำนวยความสะดวก หรือให้ข้อมูลแก่จำเลยล่วงหน้า ที่โจทก์จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการดำเนินพิธีการทางศุลกากร ในการนำเข้าให้เป็นไปโดยรวดเร็วส่วนเหตุที่สินค้ากระจกพิพาทมีราคาต่ำลงนั้น ก็ได้ความว่ากรรมวิธีการผลิตกระจกต้องใช้น้ำมันดิบเป็นเชื้อเพลิงในระหว่าง ปี 2524 ถึง 2528 ราคาน้ำมันดิบลดลงถึงร้อยละ 30 ส่งผลให้ค่าระวางเรือลดลงในอัตราประมาณร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 40 รวมถึงวิธีการบรรจุสินค้าที่โจทก์อาจเลือกเพื่อประหยัดต้นทุนได้หลายวิธีราคากระจกในท้องตลาดทั่วไปจึงลดลงได้และเมื่อพิจารณาประกอบถึงการชำระราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ ที่มีวิธีการชำระเงินผ่านธนาคารในรูปของการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และอยู่ในความควบคุมและกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกรณีของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายชำระเป็นราคาสินค้า ข้อเท็จจริงเหล่านี้ฟังได้ว่า โจทก์สำแดงราคาสินค้าที่นำเข้าถูกต้องแล้ว
ส่วนที่จำเลยโต้แย้งว่า การวินิจฉัยว่าแผ่นกระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทใด จะต้องถือตามคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากร กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ตามความเห็นของ นายเอช อาซากุระ ผู้อำนวยการพิกัดศุลกากรของสภา ซี.ซี.ซี. ที่ระบุว่ากระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 70.05 นั้น การวินิจฉัยปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรที่โต้แย้งในคดีจะต้องอาศัยบทกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะที่มีการนำเข้า ซึ่งในขณะนั้นได้แก่ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ความเห็นของเจ้าหน้าที่หรือคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากรมิใช่กฎหมาย เป็นเพียงแนวทางของการวินิจฉัยปัญหาเท่านั้น ไม่เป็นข้อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าว
มูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามีราคาเป็นจำนวนใด จะต้องพิจารณาจาก พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2 ที่นิยามคำว่า "ราคา" หรือ"ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณเวลา และที่นำของเข้า หรือส่งของออก แล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอน หรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด" ดังนั้น ที่กองวิเคราะห์ราคาได้กำหนดราคาในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยสำหรับกระจกพิพาทไว้ จึงเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ ในการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บภาษี มิได้เป็นข้อตายตัวว่าจะต้องเป็นราคาดังกล่าวในขณะมีผู้นำเข้าเสมอไป แต่ได้กำหนดขึ้นเพื่อทราบราคาอันแท้จริงในท้องตลาดในเบื้องแรกว่ามีราคาใด
ราคาที่ระบุไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งนำเข้าระหว่างวันที่21 มกราคม 2528 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2528 เป็นราคาเดียวกับที่โจทก์ได้แจ้งไว้ในใบกำกับสินค้าในขณะที่โจทก์ส่งกระจกพิพาทลงเรือ ทั้งนี้ในทางปฏิบัติผู้ขายในต่างประเทศจะส่งบัญชีราคาสินค้ามาให้โจทก์ตามที่ขอทราบราคาไป เมื่อโจทก์พอใจราคาแล้วก็จะสั่งซื้อและดำเนินการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้ขาย หลังจากโจทก์ได้รับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขาย หลังจากโจทก์ได้รับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขายโดยผ่านทางธนาคาร จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ได้สั่งซื้อกระจกพิพาทในราคาดังกล่าวจริง ไม่มีข้อที่จะโต้แย้งหรือมีเหตุสงสัยว่าเอกสารดังกล่าวทำขึ้นไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะมีผู้เกี่ยวข้องและประโยชน์ได้เสียอีกหลายฝ่าย อาทิผู้รับขนทางทะเล และธนาคารตัวแทนทั้งฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อ ทั้งนี้ราคาสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงิน และใบเสร็จรับเงินแล้วแต่ละกรณี จะเป็นข้อสำคัญที่ยันผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวมิให้โต้เถียงในเรื่องราคาเป็นอย่างอื่น ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าราคาสินค้าที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นราคาที่แท้จริง และถูกต้องกว่าราคาที่กองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณา และกำหนดเป็นราคาประเมินไว้
ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ได้เสนอบัญชีราคาสินค้าให้จำเลยพิจารณาราคาไว้ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2527 แต่โจทก์นำสินค้ากระจกพิพาทเข้าภายหลังอีกประมาณ 1 ปีต่อมา ราคาย่อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะของตลาด การที่โจทก์ไม่เสนอราคาที่เปลี่ยนแปลงต่อจำเลยก็ไม่เป็นข้อผูกมัดว่า โจทก์จะต้องปฏิบัติเช่นนั้นและราคาจะต้องตายตัวในราคานั้น เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติดังกล่าว การยื่นบัญชีราคาสินค้าไว้ต่อจำเลยเพื่อให้พิจารณา เป็นการอำนวยความสะดวก หรือให้ข้อมูลแก่จำเลยล่วงหน้า ที่โจทก์จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการดำเนินพิธีการทางศุลกากร ในการนำเข้าให้เป็นไปโดยรวดเร็วส่วนเหตุที่สินค้ากระจกพิพาทมีราคาต่ำลงนั้น ก็ได้ความว่ากรรมวิธีการผลิตกระจกต้องใช้น้ำมันดิบเป็นเชื้อเพลิงในระหว่าง ปี 2524 ถึง 2528 ราคาน้ำมันดิบลดลงถึงร้อยละ 30 ส่งผลให้ค่าระวางเรือลดลงในอัตราประมาณร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 40 รวมถึงวิธีการบรรจุสินค้าที่โจทก์อาจเลือกเพื่อประหยัดต้นทุนได้หลายวิธีราคากระจกในท้องตลาดทั่วไปจึงลดลงได้และเมื่อพิจารณาประกอบถึงการชำระราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ ที่มีวิธีการชำระเงินผ่านธนาคารในรูปของการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และอยู่ในความควบคุมและกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกรณีของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายชำระเป็นราคาสินค้า ข้อเท็จจริงเหล่านี้ฟังได้ว่า โจทก์สำแดงราคาสินค้าที่นำเข้าถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรและประเภทพิกัดสินค้ากระจก การพิจารณาราคาแท้จริงและราคาประเมิน
สินค้าที่จัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 และประเภทที่ 70.06 ท้ายพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราภาษีศุลกากรพ.ศ. 2503 นั้น แม้สินค้าทั้งสองประเภทจะเป็นกระจกที่มีกรรมวิธีใด ๆ ที่ผลิตขึ้นหรือทำขึ้น และไม่ว่าจะเป็นสีหรือไม่ก็ตาม ต่างก็เป็นแก้วอันเป็นวัตถุดิบเช่นเดียวกันข้อแตกต่างอยู่ที่ว่าสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 เป็นแก้วที่ยังมิได้ตกแต่งส่วนสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 เป็นแก้วที่ได้ขัดผิดแล้วประการหนึ่ง หรือทำให้ใสแล้วอีกประการหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องมิได้มีการทำให้แก้วนั้นมีคุณสมบัติหรือมีประโยชน์ในลักษณะการใช้สอยดีขึ้นมากไปกว่าการขัดผิดหรือทำให้ใส กรรมวิธีในการผลิตกระจกพิพาทจะต้องเป็นไปตามแบบแผนผัง กล่าวคือ การทำให้ผิดกระจกมีความมันและใสด้วยวิธีไฟร์โพลิช จะประกอบด้วยตัวทำความเย็นสองหน่วย ที่เรียกว่าเมนคูลเลอร์และเบบี้คูลเลอร์ เริ่มต้นด้วยการนำวัตถุดิบเป็นแถบน้ำแก้วหลอมเหลวอุณหภูมิ 800 เซลเซียส จากเตาหลอมผ่อนครอบบาร์ เพื่อดึงขึ้นในแนวตั้งแผ่นกระจกจะเริ่มแข็งตัว และผ่านเมนคูลเลอร์จนถึงเบบี้คูลเลอร์ เพื่อให้อุณหภูมิของแผ่นกระจกลดลงตามลำดับ จากนั้นจึงถึงช่วงของไฟร์โพลิช โดยใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงผสมกับอากาศที่ได้สัดส่วนแล้วพ่นไฟดังกล่าวให้เปลวไฟอยู่ห่างแผ่นกระจกประมาณ 1 นิ้วเปลวไฟดังกล่าวจะเป็นตัวทำให้ผิดหน้าของกระจกราบเรียบและเป็นเงาใส ซึ่งการผลิตด้วยวิธีนี้ถือว่าเป็นการขัดผิวกระจกและทำให้ใสโดยสมบูรณ์แล้ว ไม่จำต้องใช้เครื่องมือกลเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวซ้ำอีก ดังนั้นวิธีไฟร์โพลิชดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการทำให้กระจกซีท ได้รับการตกแต่ง โดยขัดผิวและทำให้ใสแล้ว หาใช่เป็นกระบวนการผลิตกระจกธรรมดาตามปกติไม่ เพราะหากไม่ผ่านกระบวนการของไฟร์โพลิชก็คงเป็นกระจกธรรมดากระจกพิพาทจึงจัดเข้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 ส่วนที่จำเลยโต้แย้งว่า การวินิจฉัยว่าแผ่นกระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทใด จะต้องถือตามคำอธิบาย พิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากรกรุงบรัสเซลส์ประเทศเบลเยี่ยม ตามความเห็นของนายเอชอาซากุระ ผู้อำนวยการพิกัดศุลกากรของสภาซี.ซี.ซี. ที่ระบุว่ากระจกพิพาทจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 70.05 นั้น การวินิจฉัยปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรที่โต้แย้งในคดีจะต้องอาศัยบทกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะที่มีการนำเข้า ซึ่งในขณะนั้นได้แก่พระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ความเห็นของเจ้าหน้าที่หรือคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของสภาความร่วมมือทางศุลกากรมิใช่กฎหมาย เป็นเพียงแนวทางของการวินิจฉัยปัญหาเท่านั้น ไม่เป็นข้อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าว มูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามีราคาเป็นจำนวนใดจะต้องพิจารณาจากพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 2 ที่นิยามคำว่า "ราคา" หรือ "ราคาอันแท้จริง ในท้องตลาด" ว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้า ไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่นำของเข้า หรือส่งของออกแล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอน หรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด"ดังนั้น ที่กองวิเคราะห์ราคาได้กำหนดราคาในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยสำหรับกระจกพิพาทไว้ จึงเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ ในการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บภาษีมิได้เป็นข้อตายตัวว่าจะต้องเป็นราคาดังกล่าวในขณะมีผู้นำเข้าเสมอไป แต่ได้กำหนดขึ้นเพื่อทราบราคาอันแท้จริงในท้องตลาดในเบื้องแรกว่ามีราคาใด ราคาที่ระบุไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งนำเข้าระหว่างวันที่ 21 มกราคม 2528 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2528เป็นราคาเดียวกับที่โจทก์ได้แจ้งไว้ในใบกำกับสินค้าในขณะที่โจทก์ส่งกระจกพิพาทลงเรือ ทั้งนี้ในทางปฏิบัติผู้ขายในต่างประเภทจะส่งบัญชีราคาสินค้ามาให้โจทก์ตามที่ขอทราบราคาไป เมื่อโจทก์พอใจราคาแล้วก็จะสั่งซื้อ และดำเนินการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้ขายหลังจากโจทก์ได้รับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขายหลังจากโจทก์ได้รับสินค้ารับสินค้าแล้วจะชำระราคาให้แก่ผู้ขายโดยผ่านทางธนาคาร จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ได้สั่งซื้อกระจกพิพาทในราคาดังกล่าวจริง ไม่มีข้อที่จะโต้แย้ง หรือมีเหตุสงสัยว่าเอกสารดังกล่าวทำขึ้นไม่ตรงกับความเป็นจริงเพราะมีผู้เกี่ยวข้องและประโยชน์ได้เสียอีกหลายฝ่ายอาทิผู้รับขนทางทะเล และธนาคารตัวแทนทั้งฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อ ทั้งนี้ราคาสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้าตัวแลกเงิน และใบเสร็จรับเงินแล้วแต่ละกรณี จะเป็นข้อสำคัญที่ยันผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวมิให้โต้เถียงในเรื่องราคา เป็นเรื่องอย่างอื่น ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าราคาสินค้า ที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นราคาที่แท้จริง และถูกต้องกว่าราคาที่กองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณา และกำหนดเป็นราคาประเมินไว้ ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ได้เสนอบัญชีราคาสินค้าให้จำเลยพิจารณาราคาไว้ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2527 แต่โจทก์นำสินค้ากระจกพิพาทเข้าภายหลังอีกประมาณ 1 ปีต่อมาราคาย่อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะของตลาด การที่โจทก์ไม่เสนอราคาที่เปลี่ยนแปลงต่อจำเลยก็ไม่เป็นข้อผูกมัดว่าโจทก์จะต้องปฏิบัติเช่นนั้นและราคาจะต้องตายตัวในราคานั้น เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติดังกล่าวการยื่นบัญชีราคาสินค้าไว้ต่อจำเลยเพื่อให้พิจารณาเป็นการอำนวยความสะดวก หรือให้ข้อมูลแก่จำเลยล่วงหน้าที่โจทก์จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการดำเนินพิธีการทางศุลกากร ในการนำเข้าให้เป็นไปโดยรวดเร็วส่วนเหตุที่สินค้ากระจกพิพาทมีราคาต่ำลงนั้น ก็ได้ความว่ากรรมวิธีการผลิตกระจกต้องใช้น้ำมันดิบเป็นเชื้อเพลิงในระหว่าง ปี 2524 ถึง 2528 ราคาน้ำมันดิบลดลงถึงร้อยละ 30 ส่งผลให้ค่าระวางเรือลดลงในอัตราประมาณร้อยละ 30 ถึง ร้อยละ 40 รวมถึงวิธีการบรรจุสินค้าที่โจทก์อาจเลือกเพื่อประหยัดต้นทุนได้หลายวิธี ราคากระจกในท้องตลาดทั่วไปจึงลดลงได้และเมื่อพิจารณาประกอบถึงการชำระราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศที่มีวิธีการชำระเงินผ่านธนาคารในรูปของการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และอยู่ในความควบคุมและกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกรณีของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายชำระเป็นราคาสินค้า ข้อเท็จจริงเหล่านี้ฟังได้ว่า โจทก์สำแดงราคาสินค้าที่นำเข้าถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องใช้ราคาที่แท้จริงในท้องตลาดและคำนึงถึงปริมาณสินค้า
เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลคืน เมื่อราคาสินค้าที่โจทก์ซื้อและสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าของโจทก์เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดการประเมินของจำเลยที่กำหนดราคาสินค้าเพิ่มขึ้นจึงเป็นการไม่ชอบจำเลยต้องคืนอากรขาเข้าที่เรียกเก็บไว้เกินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากร: โจทก์มีสิทธิสืบพยานหลักฐานเปรียบเทียบราคาเพื่อพิสูจน์ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
ประเด็นเรื่องราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะต้องนำสืบ ข้อมูลเกี่ยวกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่น บัตรราคาสินค้าของกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร และรายละเอียดการสำแดงราคาสินค้าส่งออกของบริษัทที่จำหน่ายสินค้าให้แก่จำเลยและลูกค้ารายอื่น ๆ ที่กรมศุลกากรเมืองฮ่องกงส่งมาให้โจทก์ที่ 1 สามารถนำมาประกอบการพิจารณาเปรียบเทียบเพื่อบ่งชี้ว่าสินค้าที่จำเลยนำเข้านั้นมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่าใดได้ โจทก์ที่ 1 จึงชอบที่จะนำพยานหลักฐานมาสืบถึงข้อมูลดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้านำเข้า ศาลมีอำนาจสั่งให้สืบพยานเพื่อพิสูจน์ราคาสินค้า
ประเด็นเรื่องราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะต้องนำสืบ ข้อมูลเกี่ยวกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่น บัตรราคาสินค้าของกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร และรายละเอียดการสำแดงราคาสินค้าส่งออกของบริษัทที่จำหน่ายสินค้าให้แก่จำเลยและลูกค้ารายอื่น ๆ ที่กรมศุลกากรเมืองฮ่องกง ส่งมาให้โจทก์ที่ 1 นั้น เป็นข้อมูลที่สามารถนำมาประกอบการพิจารณาเปรียบเทียบเพื่อบ่งชี้ว่าสินค้าที่จำเลยนำเข้านั้นมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่าใด โจทก์ที่ 1 จึงชอบที่จะนำพยานหลักฐานมาสืบถึงข้อมูลดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่ 1 และพยานจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4125/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องใช้ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ไม่ใช่ราคาที่สูงกว่าหรือเทียบกับสินค้าต่างชนิด
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้ประเมินราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนเพิ่มจากราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าโดยเปรียบเทียบกับราคาที่ผู้นำเข้ารายอื่นสำแดงไว้ แต่เหล็กแผ่นที่ผู้นำเข้ารายอื่นนำเข้านั้นเป็นเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเคลือบและชุบน้ำมัน ต่างกับเหล็กแผ่นของโจทก์ที่เป็นชนิดไม่หุ้มติดและไม่ชุบ ทั้งราคาของผู้นำเข้ารายอื่นนั้นมีดอกเบี้ยรวมอยู่ด้วยราคาที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินจึงไม่ถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดคือราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนส่งขาเข้า เพราะก่อนซื้อสินค้าบริษัทผู้ขายได้เสนอราคาที่เรียกว่าโปรฟอร์มาอินวอยซ์ เมื่อโจทก์พอใจราคาก็มีการทำสัญญาซื้อขายที่เรียกว่าเซลล์โนตและเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในราคาที่สั่งซื้อ แล้วผู้ขายได้จัดส่งสินค้าให้โจทก์ตามบัญชีราคาสินค้าที่เรียกว่าอินวอยซ์ เมื่อราคาที่โจทก์สำแดงเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4125/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาภาษีอากรต้องใช้ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด โดยพิจารณาจากราคาซื้อขายที่แท้จริง และลักษณะสินค้าที่แตกต่างกัน
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้ประเมินราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนเพิ่มจากราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าโดยเปรียบเทียบกับราคาที่ผู้นำเข้ารายอื่นสำแดงไว้ แต่เหล็กแผ่นที่ผู้นำเข้ารายอื่นนำเข้านั้น เป็นเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเคลือบและชุบ น้ำมัน ต่างกับเหล็กแผ่นของโจทก์ที่เป็นชนิดไม่หุ้มติดและไม่ชุบ ทั้งราคาของผู้นำเข้ารายอื่นนั้นมี ดอกเบี้ย รวมอยู่ด้วยราคาที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินจึงไม่ถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดคือราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า เพราะก่อนซื้อสินค้าบริษัทผู้ขายได้เสนอราคาที่เรียกว่าโปรฟอร์มาอินวอยซ์ เมื่อโจทก์พอใจราคาก็มีการทำสัญญาซื้อขายที่เรียกว่าเซลส์โนต และเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในราคาที่สั่งซื้อ แล้วผู้ขายได้จัดส่งสินค้าให้โจทก์ตามบัญชีราคาสินค้าที่เรียกว่าอินวอยซ์ เมื่อราคาที่โจทก์สำแดงเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มจึงไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามกฎหมายศุลกากร ต้องพิจารณาจากราคาซื้อขายปกติ ไม่ใช่ราคาที่ผู้ซื้อผู้ขายตกลงกันเอง
คำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 2 หมายความว่า "ราคาขายส่งเงินสด"(ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาที่นำของเข้าหรือส่งของออก แล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด" ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันนั้นอาจเป็นราคาที่ลดหย่อนให้แก่กัน ราคาที่ซื้อขายกันจริงจึงไม่อาจถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป การคิดราคาแท้จริงในท้องตลาดสำหรับของที่นำเข้าจึงต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะซื้อขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณ เวลาและที่ที่นำของเข้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสำแดงสินค้าขาเข้าต้องเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด มิใช่ราคาที่ตกลงซื้อขายกันเอง
ราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าเป็นเรื่องภายในที่รู้เห็นกันเองระหว่างโจทก์กับบริษัทผู้ขายในต่างประเทศไม่อาจรับฟังได้เป็นยุติว่ามีการตกลงซื้อขายกันตามราคาดังกล่าวจริงเพราะอาจเป็นการสมยอมกันทำเอกสารขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรให้เสียน้อยกว่าที่ควรต้องเสียก็เป็นได้และแม้จะเป็นราคาที่ตกลงซื้อขายกันจริงก็ยังไม่อาจรับฟังได้เป็นยุติว่าราคาที่ซื้อขายกันนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความหมายที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2วรรคสิบสอง เพราะคำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ตามบทกฎหมายดังกล่าวหมายความว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออก แล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด" ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันนั้นอาจเป็นราคาที่ลดหย่อนให้แก่กัน ราคาที่ซื้อขายกันจริงจึงไม่อาจถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป จะต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะพึงขายของสินค้าประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้า.