คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์ตามบัญชีราคาสินค้า และการใช้คำสั่งกรมศุลกากรในการประเมินราคา
สินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นอะไหล่ยานยนต์ ราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าจึงควรเท่ากับหรือใกล้เคียงกับราคาตามบัญชีราคาสินค้าที่ตัวแทนจำหน่ายยานยนต์นั้นเสนอให้เจ้าหน้าที่ประเมินอากรตรวจสอบและรับรองราคาไว้ แต่ปรากฏว่าราคาที่โจทก์สำแดงนั้นต่ำกว่าราคาตามบัญชีราคาสินค้ามาก โดยโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าแตกต่างกับสินค้าตามบัญชีราคาสินค้าที่ตัวสินค้า หรือภาชนะบรรจุอย่างไร อันจะเป็นเหตุให้ราคาต่างกันมากเช่นนั้น ดังนั้นราคาที่โจทก์สำแดงจึงไม่ใช่ราคาขายส่งเงินสดทั่วไป ที่ไม่มีการลดหย่อนราคาแก่กัน ถือไม่ได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริง ในท้องตลาดฉะนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมิน ราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 28/2527 โดยเปรียบเทียบกับราคาตามบัญชีราคาสินค้าและอะไหล่แท้ และถือเกณฑ์ ให้ต่างกันไม่เกินร้อยละ 5 ในกรณีที่อะไหล่ดังกล่าวใช้ได้กับยานยนต์ หลายยี่ห้อให้ใช้ราคาของอะไหล่แท้ที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ และต่างกัน ไม่เกินร้อยละ 20 ในกรณีที่ใช้ทดแทนได้กับอะไหล่แท้โดยทั่วไป จึงเป็นการเปรียบเทียบราคาที่มีเหตุผล ถือได้ว่าเป็นราคา อันแท้จริงในท้องตลาดตามกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรที่ถูกต้องตามราคาซื้อขายจริง และสิทธิในการอุทธรณ์การประเมินภาษี
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากร จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินตาม ป.รัษฎากรด้วย ได้ประเมินราคาสินค้าเพิ่มจากที่โจทก์ได้สำแดงไว้ ทำให้โจทก์ต้องชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้นเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งการประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 18 วรรคหนึ่ง,30 ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเกี่ยวกับค่าภาษีการค้าและค่าภาษีบำรุงเทศบาลที่เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมิน สินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรกำเนิดในประเทศนอร์เวย์มิได้กำเนิดในประเทศสวีเดน โจทก์ได้สำแดงราคา เครื่องหมายการค้าและประเทศกำเนิดสินค้าตามใบขนส่งสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าตรงตามที่ปรากฏในใบอินวอยซ์ อันเป็นราคาแท้จริงที่ซื้อขายกันการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินราคาค่าสินค้าและแจ้งให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มโดยเทียบราคาจากสินค้าที่กำเนิดในประเทศสวีเดนจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบเพราะมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของจำนวนภาษีการค้าที่ขาดอยู่นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จโดยไม่จำกัดจำนวนไว้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องการชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับตาม มาตรา 89 เป็นการไม่ชอบด้วยป.รัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคสี่ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรต้องมีหลักฐานราคาตลาดที่แท้จริง การประเมินเกินอำนาจเป็นโมฆะ
โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 สำแดงราคาของที่นำเข้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่โจทก์มิได้นำเจ้าพนักงานประเมินมา เบิกความว่ามีหลักฐานเอกสารอะไรที่แสดงว่าของประเภทและชนิดเดียวกันกับที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามีราคาแท้จริงในท้องตลาดเท่าใด เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่าราคาของที่จำเลยที่ 1 สำแดงไว้ต่ำกว่า ราคาแท้จริงในท้องตลาดอันเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีอากร จากจำเลยที่ 1 เพิ่มได้ เอกสารที่โจทก์อ้างส่งอันได้แก่ บัญชี ราคาสินค้ารายการบรรจุหีบห่อ บัญชีราคาสินค้าล่วงหน้า ใบตราส่ง ใบเสร็จรับเงินค่าภาระของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ใบกำกับสินค้า ไม่ปรากฏว่าราคาของที่จำเลยที่ 1 นำเข้าต่างไปจากราคาของที่จำเลย ที่ 1 สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าอันจะถือได้ว่าราคาของที่จำเลย ที่ 1 สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าต่ำไปกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์จึงเลื่อนลอย ขาดพยานหลักฐานสนับสนุน ไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรศุลกากร การสำแดงเท็จ และอำนาจเจ้าหน้าที่ในการวางประกันหรือปรับ
โจทก์นำกระบอกสูบเครื่องยนต์ระบุว่ายี่ห้อ เอ็น.พี.อาร์.แต่บางรายการมีเครื่องหมายรถยนต์ยี่ห้อฮีโน บางรายการเป็นอะไหล่ชนิดแท้ของรถยนต์ยี่ห้อฮีโน โตโยต้า และนิสสัน ไม่ตรงกับใบขนสินค้า แสดงว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจให้วางเงินประกันหรือให้มีการค้ำประกันของธนาคารแทนการวางเงินตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 และเมื่อเห็นว่ามีการทำคำสำแดงเท็จเป็นการกระทำผิดทางอาญาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติศุลกากร จำเลยอาจจะตกลงงดการฟ้องร้องทางอาญาถ้าโจทก์ยอมเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบทำให้คดีอาญาระงับไปได้ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 99,102,102 ทวิ เมื่อโจทก์ไม่ยอมไปตกลงระงับคดีโดยเสียค่าปรับ จำเลยจึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาและตามเกณฑ์ระงับคดีเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติและเป็นธรรมแก่คู่กรณีของจำเลยโจทก์จะต้องถูกปรับ 2 เท่า ของอากรที่ขาด การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยถือเอาราคาที่บริษัทรถยนต์ฮีโน โตโยต้าและนิสสัน นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นราคาเทียบเคียง กับสินค้าที่โจทก์นำเข้าแล้วลดให้ร้อยละห้าแล้วถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด เพื่อนำไปคำนวณหาอากรที่ขาดแล้วได้กำหนดเป็นเกณฑ์ให้โจทก์เสียค่าปรับนั้น เป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายและระเบียบได้ให้อำนาจโดยชอบแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจจะฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกล่าวหาหรือคำสั่งใดของจำเลยได้ และคดีนี้ยังโต้เถียงจำนวนค่าภาษีอากรกันอยู่ พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ประเมินอากรอันพึงต้องเสียและแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อชำระเงินอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิจะบังคับให้จำเลยคืนหลักประกันนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5282/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาชิ้นส่วนนำเข้าต้องอ้างอิงราคาตลาด ณ เวลาที่นำเข้า และการบังคับใช้บทบัญญัติเกี่ยวกับเงินเพิ่มภาษี
การที่เจ้าพนักงานของโจทก์ประเมินราคาชิ้นส่วนสินค้าตู้เครื่องรับโทรทัศน์พร้อมหลอดภาพที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยเทียบเคียง ราคากับบัตรราคาเครื่องรับโทรทัศน์ครบชุดชนิดเดียวกันที่นำเข้ามาภายหลังประมาณ 2 ปีนั้น มิใช่ราคาณ เวลาที่นำของเข้าและเป็นของชนิดเดียวกัน และการที่เจ้าพนักงานของโจทก์กำหนดราคาสินค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นชิ้นส่วนร้อยละ40 ของราคาสินค้าครบชุดโดยไม่มีกฎเกณฑ์ให้เห็นว่าเพราะเหตุใดถือไม่ได้ว่าราคาที่เจ้าพนักงานของโจทก์ประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด สำหรับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ประเมินเพิ่มนั้นจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ภาษีส่วนนี้จึงยุติและจำเลยที่ 1จะต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077,1087 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ หากผู้ประกอบการค้าไม่ชำระภาษีการค้าภายในกำหนดเวลาก็ต้องชำระเงินเพิ่มตามอัตราที่กฎหมายกำหนด อันเป็นทางแก้กรณีลูกหนี้ผิดนัดโดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และการอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อโจทก์นำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร เจ้าพนักงานกรมศุลกากรได้ประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล และในรายการที่สำแดงภาษีอากรมียอดเงินสำหรับอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแยกกันแต่ละรายการ ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรแล้ว หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรเสียก่อน การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร มิใช่เป็นการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าที่โจทก์เคยซื้อและสำแดงราคาในการนำเข้าครั้งก่อนเพราะผู้ขายซื้อจากผู้ผลิตได้ในราคาต่ำลง แต่เป็นการขายสินค้าในราคาปกติทั่วไป เพื่อจะให้ลูกค้าสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ มิใช่ลดหย่อนให้แก่โจทก์โดยเฉพาะเพียงรายเดียว แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่การนำเข้าในครั้งก่อน ราคาของประเภทและชนิดเดียวกันก็มีราคาลดลงได้ อีกทั้งปรากฏด้วยว่าเมื่อโจทก์นำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังกรณีพิพาทนี้ จำเลยก็ได้ยอมรับราคาที่ลดต่ำลงดังที่โจทก์สำแดงด้วย ยิ่งสนับสนุนให้เห็นว่า จำเลยได้ยอมรับว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดลดต่ำลง และฝ่ายจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเท่าใด เพียงแต่อาศัยราคาที่โจทก์เคยนำเข้าในครั้งก่อนภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน มาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาเท่านั้น จึงถือได้ว่าราคาสินค้าพิพาทที่ต่ำลงตามที่โจทก์สำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรที่ถูกต้องตามราคาอันแท้จริงในท้องตลาด และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากร
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยประเมินให้โจทก์เสียภาษีโดยแยกรายการที่สำแดงภาษีอากร มียอด เงินสำหรับอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลย่อมถือได้ว่า มีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล หากโจทก์เห็นว่า ไม่ถูกต้องอย่างไร ชอบที่จะอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรก่อนการที่โจทก์อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ราคากรมศุลกากรจึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง แม้โจทก์จะเคยนำเข้าวิทยุตามตัวราคาชุด ละ 195เหรียญสหรัฐอเมริกา แต่ภายหลังผู้ผลิตลดราคาให้เหลือชุด ละ 164เหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นราคาปกติที่ขายให้แก่ลูกค้าทั่วไปมิใช่ลดหย่อนราคาให้แก่โจทก์เพียงรายเดียว ย่อมแสดงว่าสินค้าประเภทและชนิดเดียวกัน ณ เวลาที่นำเข้าต่างกันราคาย่อมลดลงได้จึงถือได้ว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดลดลงกว่าที่โจทก์เคยสั่งซื้อเข้ามาในครั้งก่อน ๆ จำเลยจะถือเอาราคาที่โจทก์เคยนำเข้าครั้งก่อน ๆชุด ละ 195 เหรียญสหรัฐอเมริกา เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเพื่อเรียกเก็บภาษี หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร
เมื่อโจทก์นำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร เจ้าพนักงานกรมศุลกากรได้ประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลและในรายการที่สำแดงภาษีอากรมียอดเงินสำหรับอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแยกกันแต่ละรายการ ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรแล้ว หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรเสียก่อนการที่โจทก์อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากรมิใช่เป็นการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าที่โจทก์เคยซื้อและสำแดงราคาในการนำเข้าครั้งก่อนเพราะผู้ขายซื้อจากผู้ผลิตได้ในราคาต่ำลง แต่เป็นการขายสินค้าในราคาปกติทั่วไป เพื่อจะให้ลูกค้าสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้มิใช่ลดหย่อนให้แก่โจทก์โดยเฉพาะเพียงรายเดียว แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่การนำเข้าในครั้งก่อน ราคาของประเภทและชนิดเดียวกันก็มีราคาลดลงได้ อีกทั้งปรากฏด้วยว่าเมื่อโจทก์นำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังกรณีพิพาทนี้จำเลยก็ได้ยอมรับราคาที่ลดต่ำลงดังที่โจทก์สำแดงด้วย ยิ่ง สนับสนุนให้เห็นว่า จำเลยได้ยอมรับว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดลดต่ำลง และฝ่ายจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเท่าใด เพียงแต่อาศัยราคาที่โจทก์เคยนำเข้าในครั้งก่อนภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน มาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาเท่านั้น จึงถือได้ว่าราคาสินค้าพิพาทที่ต่ำลงตามที่โจทก์สำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนค่าอากร และการประเมินราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 40 กำหนดให้โจทก์สามารถนำสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากรได้โดยชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก็ได้ แต่โจทก์เลือกชำระค่าภาษีอากรตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนด ถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรส่วนที่เกินโดยสมัครใจ การฟ้องเรียกร้องขอคืนเงินอากรส่วนที่เสียไว้เกินจึงต้องนำอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ โจทก์มาฟ้องเรียกร้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า คดีจึงขาดอายุความ ลวดเหล็กชุบ ทองแดง สินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าจากต่างประเทศใช้ผลิตยางรถยนต์ ส่วนสินค้าของบริษัท อ. ใช้ผลิตยางรถจักรยานยนต์และต่างมีขนาดหน้าตัดไม่เท่ากัน ทั้งมีปริมาณการนำเข้าแต่ละครั้งแตกต่างกันมาก ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกันพอที่จะเปรียบเทียบราคากันได้ จึงไม่อาจนำราคาสินค้าของบริษัท อ. มาประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาท ขณะที่โจทก์นำเข้าได้ เมื่อไม่มีหลักเกณฑ์ที่จะชี้ให้เห็นได้ว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทควรจะเป็นอย่างอื่น จึงพออนุมานได้ว่าราคาสินค้าพิพาทตามที่โจทก์ซื้อมานั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนค่าอากรและการประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้อง
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 40 กำหนดให้โจทก์สามารถนำสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากรได้โดยชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก็ได้ แต่โจทก์เลือกชำระค่าภาษีอากรตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนด ถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรส่วนที่เกินโดยสมัครใจ การฟ้องเรียกร้องขอคืนเงินอากรส่วนที่เสียไว้เกินจึงต้องนำอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ โจทก์มาฟ้องเรียกร้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า คดีจึงขาดอายุความ
ลวดเหล็กชุบ ทองแดง สินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าจากต่างประเทศใช้ผลิตยางรถยนต์ ส่วนสินค้าของบริษัท อ. ใช้ผลิตยางรถจักรยานยนต์และต่างมีขนาดหน้าตัดไม่เท่ากัน ทั้งมีปริมาณการนำเข้าแต่ละครั้งแตกต่างกันมาก ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกันพอที่จะเปรียบเทียบราคากันได้ จึงไม่อาจนำราคาสินค้าของบริษัท อ. มาประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาท ขณะที่โจทก์นำเข้าได้ เมื่อไม่มีหลักเกณฑ์ที่จะชี้ให้เห็นได้ว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทควรจะเป็นอย่างอื่น จึงพออนุมานได้ว่าราคาสินค้าพิพาทตามที่โจทก์ซื้อมานั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
of 13