พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากร: ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเกณฑ์สำคัญ และการอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
จำเลยยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมต่อกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1เกี่ยวกับการประเมินภาษีศุลกากร ถือว่าเป็นอุทธรณ์การประเมินอากรตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคสาม ไม่ใช่เป็นการอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แม้โจทก์ที่ 1 จะไม่ได้วินิจฉัยหรือวินิจฉัยไม่เสร็จ เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีอากรตามที่ได้ประเมินย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง พนักงานของโจทก์ที่ 1 ประเมินเรียกเก็บภาษีอากรสำหรับสินค้าจำพวกเขากวางอ่อนติดกะโหลกที่จำเลยนำเข้าระหว่างวันที่ 2 และ 6พฤศจิกายน 2521 การกำหนดราคาอันแท้จริงในท้องตลาด โดยอาศัยราคาจากบัตรวิเคราะห์ราคาทำขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ห่างจากวันที่จำเลยนำสินค้าพิพาทเข้าประมาณ 3 เดือน ซึ่งโจทก์สอบถามไปยังกงสุลฝ่ายศุลกากรประจำกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง โดยได้ทำการสอบราคาจากร้านสรรพสินค้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน 3 ร้าน และร้านขายเครื่องยาจีนที่มีขนาดใหญ่พอสมควร 4 ร้าน แล้วเฉลี่ยราคา เพื่อความเป็นธรรมจากนั้นจึงลดราคาเป็นการขายส่งอีกร้อยละ 20 คิดเป็นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3,179.74 เหรียญฮ่องกง แต่ได้มีการปัดเศษราคาตามบัตรราคาจึงเป็นกิโลกรัมละ 3,180 เหรียญฮ่องกง ถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทที่จำเลยนำเข้าการประเมินของโจทก์จึงชอบ จำเลยต้องรับผิดชำระภาษีอากรเพิ่มจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินประกันคืน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4775/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาซื้อขายที่แท้จริงในท้องตลาด: การประเมินอากรตามบัญชีราคาสินค้า vs. ราคาตกลงซื้อขายจริง
ราคาตามบัญชีราคาสินค้าหรือไพรซ์ลิสท์ ที่จำเลยใช้ประเมินเรียกเก็บอากรเพิ่มจากโจทก์ เป็นราคาที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าที่โจทก์นำเข้าในต่างประเทศกำหนดขึ้นสำหรับเสนอขายสินค้าเป็นการทั่วไปโดยผู้ผลิตสินค้าแจ้งมาว่า ราคาตามบัญชีราคาสินค้าที่ตั้งขึ้นเพื่อเสนอขายดังกล่าวจำเป็นต้องตั้งราคาขายไว้เพื่อการเจรจาซื้อขายกันต่อไป เมื่อมีการเจรจาขายสินค้าแล้วตกลงซื้อขายกันราคาจะต่ำกว่าราคาที่บริษัทกำหนดขึ้นเพื่อขาย ดังนี้ ราคาสินค้าตามบัญชีราคาสินค้าหรือไพรซ์ลิสท์ จึงไม่ใช่ราคาที่ได้มีการซื้อขายกันแท้จริง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงเป็นราคาทำขึ้นระหว่างผู้ผลิตกับโจทก์และเป็นราคาสินค้าที่ใช้จำหน่ายเฉพาะในประเทศไทย เมื่อปรากฏว่าเป็นราคาที่มีการตกลงซื้อขายกันจริงโดยมิได้มีการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อผู้ขายให้ราคาต่ำกว่าปกติที่จะซื้อขาย จึงเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4605/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินจากขายทอดตลาดของตกค้าง: เจ้าของมีสิทธิ แม้ไม่ใช่ผู้นำเข้า/ผู้รับตราส่ง ภายใน 6 เดือน
การเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างนั้น พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 63 ให้สิทธิแก่เจ้าของเท่านั้นที่จะเรียกร้องเอาคืนได้ และตามมาตรา 2ก็ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ผู้นำของเข้า" ให้หมายความรวมทั้งและใช้ตลอดถึงเจ้าของด้วย ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของสินค้าที่ขายทอดตลาด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างจากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่เป็นผู้นำของเข้าหรือผู้รับตราส่งก็ตาม
จำเลยขายทอดตลาดของตกค้างเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2529 โจทก์ได้มีหนังสือขอคืนเงินที่เหลือเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529 จึงเป็นการเรียกร้องเอาภายในหกเดือนนับแต่วันขายตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 63 เงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินและกำหนดเวลาหกเดือนตามมาตรา 63 นี้ มิใช่กำหนดอายุความฟ้องร้องที่เจ้าของจะต้องฟ้องเรียกคืนเงินที่เหลือภายในหกเดือนนับแต่วันที่ขาย
จำเลยขายทอดตลาดของตกค้างเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2529 โจทก์ได้มีหนังสือขอคืนเงินที่เหลือเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529 จึงเป็นการเรียกร้องเอาภายในหกเดือนนับแต่วันขายตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 63 เงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินและกำหนดเวลาหกเดือนตามมาตรา 63 นี้ มิใช่กำหนดอายุความฟ้องร้องที่เจ้าของจะต้องฟ้องเรียกคืนเงินที่เหลือภายในหกเดือนนับแต่วันที่ขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4605/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินจากการขายทอดตลาดของตกค้าง: เจ้าของมีสิทธิแม้ไม่ได้เป็นผู้นำเข้าหรือผู้รับตราส่ง
การเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างนั้นพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 63 ให้สิทธิแก่เจ้าของเท่านั้นที่จะเรียกร้องเอาคืนได้ และตามมาตรา 2 ก็ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ผู้นำของเข้า" ให้หมายความรวมทั้งและใช้ตลอดถึงเจ้าของด้วยดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของสินค้าที่ขายทอดตลาด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างจากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่เป็นผู้นำของเข้าหรือผู้รับตราส่งก็ตาม จำเลยขายทอดตลาดของตกค้างเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2529โจทก์ได้มีหนังสือขอคืนเงินที่เหลือเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529จึงเป็นการเรียกร้องเอาภายในหกเดือนนับแต่วันขายตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 63 เงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินและกำหนดเวลาหกเดือนตามมาตรา 63 นี้มิใช่กำหนดอายุความฟ้องร้องที่เจ้าของจะต้องฟ้องเรียกคืนเงินที่เหลือภายในหกเดือนนับแต่วันที่ขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4448/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และการมีอำนาจฟ้องร้องกรณีภาษีการค้า/ภาษีบำรุงเทศบาล
เมื่อโจทก์นำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร เจ้าพนักงานกรมศุลกากรได้ประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล และในรายการที่สำแดงภาษีอากรมียอดเงินสำหรับอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแยกกันแต่ละรายการ ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรแล้ว หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรเสียก่อน การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร มิใช่เป็นการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าที่โจทก์เคยซื้อและสำแดงราคาในการนำเข้าครั้งก่อนเพราะผู้ขายซื้อจากผู้ผลิตได้ในราคาต่ำลง แต่เป็นการขายสินค้าในราคาปกติทั่วไป เพื่อจะให้ลูกค้าสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ มิใช่ลดหย่อนให้แก่โจทก์โดยเฉพาะเพียงรายเดียว แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่การนำเข้าในครั้งก่อน ราคาของประเภทและชนิดเดียวกันก็มีราคาลดลงได้ อีกทั้งปรากฏด้วยว่าเมื่อโจทก์นำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังกรณีพิพาทนี้ จำเลยก็ได้ยอมรับราคาที่ลดต่ำลงดังที่โจทก์สำแดงด้วย ยิ่งสนับสนุนให้เห็นว่า จำเลยได้ยอมรับว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดลดต่ำลง และฝ่ายจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเท่าใด เพียงแต่อาศัยราคาที่โจทก์เคยนำเข้าในครั้งก่อนภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน มาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาเท่านั้น จึงถือได้ว่าราคาสินค้าพิพาทที่ต่ำลงตามที่โจทก์สำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าที่โจทก์เคยซื้อและสำแดงราคาในการนำเข้าครั้งก่อนเพราะผู้ขายซื้อจากผู้ผลิตได้ในราคาต่ำลง แต่เป็นการขายสินค้าในราคาปกติทั่วไป เพื่อจะให้ลูกค้าสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ มิใช่ลดหย่อนให้แก่โจทก์โดยเฉพาะเพียงรายเดียว แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่การนำเข้าในครั้งก่อน ราคาของประเภทและชนิดเดียวกันก็มีราคาลดลงได้ อีกทั้งปรากฏด้วยว่าเมื่อโจทก์นำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังกรณีพิพาทนี้ จำเลยก็ได้ยอมรับราคาที่ลดต่ำลงดังที่โจทก์สำแดงด้วย ยิ่งสนับสนุนให้เห็นว่า จำเลยได้ยอมรับว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดลดต่ำลง และฝ่ายจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเท่าใด เพียงแต่อาศัยราคาที่โจทก์เคยนำเข้าในครั้งก่อนภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน มาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาเท่านั้น จึงถือได้ว่าราคาสินค้าพิพาทที่ต่ำลงตามที่โจทก์สำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3459/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องพิจารณาชนิด เวลาที่นำเข้า และปัจจัยตลาด หากโจทก์พิสูจน์ราคาอันแท้จริงไม่ได้ ให้สันนิษฐานตามราคาที่สำแดง
โจทก์ฟ้องว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำเลยให้การว่าราคาสินค้าในใบขนสินค้าสำแดงตามราคาท้องตลาดที่แท้จริง ดังนี้ เป็นการปฏิเสธข้อกล่าวอ้างในคำฟ้องของโจทก์ ภาระการพิสูจน์ตามข้ออ้างตกเป็นหน้าที่โจทก์ผู้กล่าวอ้าง
การที่จะถือว่าเป็น "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" หรือ "ราคา" ตามความหมายของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 นั้น จะต้องพิจารณาถึงประเภท ชนิด เวลาที่นำเข้าของสินค้าเป็นสำคัญ ส่วนการจะเรียกเก็บภาษีอากรในพิกัดเดียวกันหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า ภาวะความต้องการของผู้บริโภค ตามเวลาและโอกาสที่แตกต่างกัน
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนที่ว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด และจำเลยไม่สุจริตอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่าราคาสินค้าที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าสำแดงตามราคาท้องตลาดที่แท้จริงตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6
การที่จะถือว่าเป็น "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" หรือ "ราคา" ตามความหมายของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 นั้น จะต้องพิจารณาถึงประเภท ชนิด เวลาที่นำเข้าของสินค้าเป็นสำคัญ ส่วนการจะเรียกเก็บภาษีอากรในพิกัดเดียวกันหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า ภาวะความต้องการของผู้บริโภค ตามเวลาและโอกาสที่แตกต่างกัน
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนที่ว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด และจำเลยไม่สุจริตอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่าราคาสินค้าที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าสำแดงตามราคาท้องตลาดที่แท้จริงตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาอันแท้จริงต้องเทียบเคียงสินค้าคุณภาพเดียวกัน การประเมินราคาที่ไม่ตรงกับคุณภาพสินค้าถือเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ
การพิจารณาหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าชนิดใด ต้องนำราคาขายส่งสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกันมาเทียบเคียง การหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ จึงต้องเทียบเคียงกับราคาของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพเช่นเดียวกัน การที่กรมศุลกากรนำราคาผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพสูงกว่าสินค้าที่นำเข้าแล้วลดราคาลงมาเทียบเคียง ย่อมไม่ใช่ราคาขายส่งของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพอย่างเดียวกันจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่นำเข้าดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ การประเมินเรียกเก็บภาษีอากรโดยวิธีการดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องเทียบเคียงราคาสินค้าคุณภาพเดียวกัน การใช้ราคาสินค้าคุณภาพสูงกว่าเป็นฐานประเมินไม่ชอบ
การพิจารณาหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าชนิดใด ต้องนำราคาขายส่งสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกันมาเทียบเคียง การหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ จึงต้องเทียบเคียงกับราคาของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพเช่นเดียวกัน การที่กรมศุลกากรนำราคาผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพสูงกว่าสินค้าที่นำเข้าแล้วลดราคาลงมาเทียบเคียง ย่อมไม่ใช่ราคาขายส่งของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพอย่างเดียวกันจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่นำเข้าดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ การประเมินเรียกเก็บภาษีอากรโดยวิธีการดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาอะไหล่รถยนต์นำเข้า ต้องเปรียบเทียบกับสินค้าประเภทและชนิดเดียวกัน มิใช่สินค้าที่เป็นอะไหล่แท้
โจทก์นำเข้าบูช ยี่ห้อโอริฮาชิ ซึ่งเป็นอะไหล่รถยนต์ที่เพียงแต่อาจใช้ทดแทนอะไหล่แท้ได้ แต่คุณภาพต่างกัน จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นสินค้าประเภทและชนิดเดียวกับบูช ซึ่งเป็นอะไหล่แท้ การที่จำเลยหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการนำเอาราคาของบูช ซึ่งเป็นอะไหล่แท้มาเป็นหลักในการคำนวณว่า ถ้า อะไหล่แท้มีราคาเท่าใดเมื่อลดให้ร้อยละ 20 ราคาที่เหลือถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของบูช ที่โจทก์นำเข้า ย่อมไม่ชอบด้วยเหตุผล และยังไม่สอดคล้องกับคำจำกัดความของคำว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องใช้ราคาขายส่งสินค้าชนิดเดียวกัน อะไหล่เทียมกับอะไหล่แท้ไม่สามารถเทียบเคียงกันได้
การพิจารณาถึงราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าชนิดใด จะต้องนำราคาขายส่งเงินสดของสินค้าอย่างเดียวกันมาเป็นเครื่องเปรียบเทียบการหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของบุ๊ช ซึ่งเป็นอะไหล่รถยนต์เทียมที่อาจใช้ทดแทนอะไหล่แท้ได้ แต่คุณภาพแตกต่างกัน ซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร จึงต้องนำราคาขายส่งเงินสดของบุ๊ช ซึ่งเป็นอะไหล่รถยนต์เทียมอย่างเดียวกันที่มีผู้อื่นนำเข้ามาเป็นเครื่องเปรียบเทียบ การที่จำเลยหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการนำเอาราคาขายส่งของบุ๊ช ซึ่งเป็นอะไหล่แท้มาเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบแทนโดยลดราคาลงร้อยละ 20 ตามระเบียบปฏิบัติของจำเลยในการประเมินราคาอะไหล่รถยนต์ จึงไม่ชอบด้วยเหตุผลและไม่สอดคล้องกับคำจำกัดความของคำว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2.