คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ม. 12 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9137/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาฐานความผิดและโทษ, การลดโทษ, และการรอการลงโทษในคดีทรัพย์สินทางปัญญา, คนเข้าเมือง, และการทำงานของคนต่างด้าว
การที่จำเลยเป็นคนต่างชาติเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านตามช่องทาง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 11 กับเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่มีหนังสือเดินทางและมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายและเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านการตรวจของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง มิได้ยื่นรายการตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 18 วรรคสอง และ 12 (1) เป็นความผิดในบทมาตราเดียว ทั้งเป็นการกระทำที่จำเลยประสงค์ที่จะเข้ามาในราชอาณาจักร จึงเป็นเจตนาเดียวกัน มิใช่การกระทำโดยเจตนาต่างกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
การที่จำเลยอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 81 เป็นการกระทำที่จำเลยประสงค์ที่จะอยู่ในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นเจตนาอีกเจตนาหนึ่งไม่ใช่เจตนาเดียวกันกับเจตนาที่เข้ามาในราชอาณาจักร การอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำกรรมเดียวกับการเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน
พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทลงโทษในความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านช่องทางและเวลาตามกฎหมาย และฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่มีหนังสือเดินทางและไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ส่วนมาตรา 81 เป็นบทลงโทษในความผิดฐานอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 62 วรรคหนึ่ง จึงเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักกว่าและในการพิพากษาลงโทษตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง ศาลต้องกำหนดโทษจำคุกเสมอ การที่ศาลวินิจฉัยว่าบทกฎหมายทั้งสองมาตรามีอัตราโทษเท่ากันจึงให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง ปรับเพียงสถานเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ
คดีนี้จำเลยเพียงแต่ให้การรับสารภาพ แต่ไม่ได้รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ศาลลงโทษจำคุกในคดีก่อน และโจทก์ไม่ได้นำสืบในข้อนี้ และเมื่อในคดีนี้ศาลให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้ จึงไม่อาจนับโทษต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีก่อนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8768/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักขังแทนค่าปรับเกิน 1 ปี ต้องมีคำสั่งชัดเจน การเพิ่มเติมโทษโดยไม่ได้รับการอุทธรณ์เป็นโมฆะ
การกักขังแทนค่าปรับ ตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคหนึ่ง ให้ถืออัตรา 200 บาท ต่อ 1 วัน เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาท ขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ก็ได้ แต่ทั้งนี้ศาลจะต้องสั่งไว้ให้ชัดแจ้ง หากศาลไม่ได้สั่งไว้เป็นอย่างอื่นโดยชัดแจ้งก็จะกักขังเกินกำหนด 1 ปี ไม่ได้ แม้ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาทขึ้นไปก็ตาม คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 โดยไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยทั้งสองไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียง 1 ปี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ด้วย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง รวมถึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 195 วรรคสอง, 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8768/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา, การลดโทษจำคุก, และการกักขังแทนค่าปรับที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การฎีกาในปัญหาใดๆ ต่อศาลฎีกาย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยแต่ละคน ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะฎีกาแทนจำเลยที่ 1 ไม่ได้
ความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาในความผิดฐานนี้ด้วยนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป มีระวางโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสาม ให้จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 1,000,000 บาท ถึง 5,000,000 บาท หรือประหารชีวิต การที่ศาลอุทธรณ์วางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000 บาท จึงเป็นโทษขั้นต่ำสุดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ การลดโทษจำคุกตลอดชีวิต จะต้องเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 53 และเมื่อลดโทษให้จำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 25 ปี และปรับ 500,000 บาท ย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ให้เบากว่านี้ได้
การกักขังแทนค่าปรับตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคแรก ให้ถืออัตราสองร้อยบาทต่อหนึ่งวัน เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 2 ปี ก็ได้ แต่ศาลจะต้องสั่งไว้ให้ชัดแจ้ง หากศาลไม่ได้สั่งไว้เป็นอย่างอื่นโดยชัดแจ้ง ก็จะกักขังเกินกำหนด 1 ปี ไม่ได้ ถึงแม้ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาทขึ้นไป เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยทั้งสองไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียง 1 ปี การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง รวมถึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองและมาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225