คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 328

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 283 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4237/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทต้องพิจารณาจากความรู้สึกบุคคลทั่วไป ไม่ใช่ผู้เสียหาย การโฆษณาแจ้งรถหายไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท
ข้อความที่จะทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่นั้น ต้องถือตามความรู้สึกนึกคิดของบุคคลธรรมดาทั่วไป มิใช่ถือเอาแต่ความรู้สึกของผู้ที่อ้างว่าตนเป็นผู้เสียหาย การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันว่าจ้างหนังสือพิมพ์ลงโฆษณาข้อความว่า "รถเบนซ์ 500 สีเทา9 ง 8923 พบแจ้งที่ 2711580 มีรางวัล อุดม " นั้น ในความรู้สึกนึกคิดของบุคคลโดยทั่วไปแล้ว การประกาศโฆษณาดังกล่าวหาได้ทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์ต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังแต่อย่างใดไม่ หากการประกาศโฆษณาเช่นว่านั้นจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญใจและเสียหาย ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ จะต้องไปว่ากล่าวเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในฐานะที่กระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339-2340/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาโดยสุจริต ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยนำแถบบันทึกเสียงที่ผู้ชายพูดกับผู้หญิงในลักษณะของการให้สัมภาษณ์เป็นใจความว่า ผู้เสียหายได้ ลักลอบได้เสียกับพระภิกษุ ช. เจ้าอาวาส วัดจอมบึง ซึ่ง เป็นเจ้าคณะอำเภอมาเปิดให้บุคคลอื่นฟังที่บ้าน อ. และ ส. ซึ่ง มิใช่ที่สาธารณสถานเป็นทำนองปรึกษาหารือกันว่าควรจะดำเนินการอย่างใดเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ต่อ พระพุทธศาสนา และหาทางขจัดความมัวหมองในพระพุทธศาสนาให้สิ้นไป หากพระภิกษุ ช. กระทำผิดจริงก็ควรจะสึกออกไป หากไม่จริงก็เอาผิดกับผู้พูดเรื่องนี้ และต่อมาได้ มีการร้องเรียนต่อ ศึกษาธิการอำเภอ จอมบึง เกี่ยวกับพฤติการณ์ของพระภิกษุ ช. และได้ มีบันทึกเสนอต่อ ตามลำดับจนกระทั่งถึง เจ้าคณะภาคฝ่ายมหานิกายจังหวัด ราชบุรี เพื่อสอบหาข้อเท็จจริง จึงถือได้ว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาใส่ความผู้เสียหายให้ถูกดูหมิ่น เกลียดชังหรือเสียหายแต่ เป็นการกระทำในการแสดงข้อความโดยสุจริตด้วย ความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(3)ทั้งนี้เพื่อขจัดข่าวลือในทางที่จะทำให้พุทธศาสนาเสื่อมหมดสิ้นไปจำเลยไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339-2340/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดเผยข้อมูลเพื่อความบริสุทธิ์ของพระพุทธศาสนา ไม่ถือเป็นการใส่ความผู้อื่น
จำเลยนำแถบบันทึกเสียงที่ผู้ชายพูดกับผู้หญิงในลักษณะของการให้สัมภาษณ์เป็นใจความว่า ผู้เสียหายได้ ลักลอบได้เสียกับพระภิกษุ ช. เจ้าอาวาส วัดจอมบึง ซึ่ง เป็นเจ้าคณะอำเภอมาเปิดให้บุคคลอื่นฟังที่บ้าน อ. และ ส. ซึ่ง มิใช่ที่สาธารณสถานเป็นทำนองปรึกษาหารือกันว่าควรจะดำเนินการอย่างใดเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ต่อ พระพุทธศาสนา และหาทางขจัดความมัวหมองในพระพุทธศาสนาให้สิ้นไป หากพระภิกษุ ช. กระทำผิดจริงก็ควรจะสึกออกไป หากไม่จริงก็เอาผิดกับผู้พูดเรื่องนี้ และต่อมาได้ มีการร้องเรียนต่อ ศึกษาธิการอำเภอ จอมบึง เกี่ยวกับพฤติการณ์ของพระภิกษุ ช. และได้ มีบันทึกเสนอต่อ ตามลำดับจนกระทั่งถึง เจ้าคณะภาคฝ่ายมหานิกายจังหวัด ราชบุรี เพื่อสอบหาข้อเท็จจริง จึงถือได้ว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาใส่ความผู้เสียหายให้ถูกดูหมิ่น เกลียดชังหรือเสียหายแต่ เป็นการกระทำในการแสดงข้อความโดยสุจริตด้วย ความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(3)ทั้งนี้เพื่อขจัดข่าวลือในทางที่จะทำให้พุทธศาสนาเสื่อมหมดสิ้นไปจำเลยไม่มีความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339-2340/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาโดยสุจริต ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยนำแถบบันทึกเสียงที่ผู้ชายพูดกับผู้หญิงในลักษณะของการให้สัมภาษณ์เป็นใจความว่า ผู้เสียหายได้ลักลอบได้เสียกับพระภิกษุ ช. เจ้าอาวาสวัดจอมบึงซึ่งเป็นเจ้าคณะอำเภอ มาเปิดให้บุคคลอื่นฟังที่บ้าน อ.และส. ซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถานเป็นทำนองปรึกษาหารือกันว่าควรจะดำเนินการอย่างใดเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ต่อพระพุทธศาสนา และหาทางขจัดความมัวหมองในพระพุทธศาสนาให้สิ้นไป หากพระภิกษุ ช. กระทำผิดจริงก็ควรจะสึกออกไป หากไม่จริงก็เอาผิดกับผู้พูดเรื่องนี้และต่อมาได้มีการร้องเรียนต่อศึกษาธิการอำเภอจอมบึงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของพระภิกษุ ช. และได้มีบันทึกเสนอต่อตามลำดับจนกระทั่งถึงเจ้าคณะภาคฝ่ายมหานิกายจังหวัดราชบุรีเพื่อสอบหาข้อเท็จจริงจึงถือได้ว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาใส่ความผู้เสียหายให้ถูกดูหมิ่นเกลียดชังหรือเสียหายแต่เป็นการกระทำในการแสดงข้อความโดยสุจริตด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(3) ทั้งนี้เพื่อขจัดข่าวลือในทางที่จะทำให้พุทธศาสนาเสื่อมหมดสิ้นไป จำเลยไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339-2340/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นเพื่อขจัดข่าวลือเกี่ยวกับพระภิกษุโดยสุจริต ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยนำแถบบันทึกเสียงที่ผู้ชายพูดกับผู้หญิงในลักษณะของการให้สัมภาษณ์เป็นใจความว่าผู้เสียหายได้ลักลอบได้เสียกับพระภิกษุ ช. เจ้าอาวาสวัดจอมบึงซึ่งเป็นเจ้าคณะอำเภอ มาเปิดให้บุคคลอื่นฟังที่บ้าน อ.และส. ซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถาน เป็นทำนองปรึกษาหารือกันว่าควรจะดำเนินการอย่างใดเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ต่อพระพุทธศาสนา และหาทางขจัดความมัวหมองในพระพุทธศาสนาให้สิ้นไป หากพระภิกษุ ช. กระทำผิดจริงก็ควรจะสึกออกไป หากไม่จริงก็เอาผิดกับผู้พูดเรื่องนี้และต่อมา ได้มีการร้องเรียนต่อศึกษาธิการอำเภอจอมบึงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของพระภิกษุ ช. และได้มีบันทึกเสนอต่อตามลำดับจนกระทั่งถึงเจ้าคณะภาคฝ่ายมหานิกาย จังหวัดราชบุรีเพื่อสอบหาข้อเท็จจริง จึงถือได้ว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาใส่ความผู้เสียหายให้ถูกดูหมิ่นเกลียดชังหรือเสียหายแต่เป็นการกระทำในการแสดงข้อความโดยสุจริตด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำตามป.อ. มาตรา 329(3) ทั้งนี้เพื่อขจัดข่าวลือในทางที่จะทำให้พุทธศาสนาเสื่อมหมดสิ้นไป จำเลยไม่มีความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เสรีภาพแสดงความคิดเห็นของรัฐมนตรี – การวิจารณ์การสั่งคดีของอัยการ
การที่จำเลยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า "การที่อัยการเขต 8(หมายถึง ตัว โจทก์) สั่งกลับคำสั่งของอัยการจังหวัดไม่ให้ฟ้องนาย โสภณกิจประสาน เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากก่อให้เกิดบรรทัดฐานเช่นนี้ จะทำให้เกิดการทุจริตกันอย่างใหญ่โต..."และว่า จำเลยจะสอบสวนกรมอัยการซึ่ง ทุก วันนี้เละเทะจนไม่น่าจะปล่อยปละละเลยอีกต่อไปได้ ประเด็นที่จะสอบคืออัยการพิเศษประจำเขต 8 สั่งไม่ฟ้องนาย โสภณ ไม่รู้ว่าไปสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวนที่ไหนมาสั่งคดีสำคัญ และเรื่องนี้จำเลยจะจัดการสะสาง ทั้งตัว เล็กตัว ใหญ่ และว่า จำเลยรู้ว่ามีการรับเงินรับทองนั้น เป็นการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์สั่งไม่ฟ้องนาย โสภณกิจประสานแม้โจทก์จะอ้างว่ามีอำนาจสั่งไม่ฟ้องนาย โสภณ แต่ การสั่งไม่ฟ้องมีพฤติการณ์ที่ทำให้น่าสงสัยหลายประการ และจำเลยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้รับการร้องเรียนจากภริยาและมารดาผู้ตายว่า การที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวเป็นการ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยเห็นว่าพฤติการณ์ในการสั่งไม่ฟ้องเป็นที่น่าสงสัยว่าจะเป็นการไม่ชอบประกอบกับเป็นคดีที่มีอิทธิพลซึ่งประชาชนรวมทั้งสื่อมวลชนให้ความสนใจ เมื่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไปสัมภาษณ์ความเห็นของจำเลยจำเลยก็ให้สัมภาษณ์ไปตาม ความคิดเห็นของตน แม้ถ้อยคำที่ใช้ จะรุนแรงอยู่บ้าง แต่ก็เห็นได้ว่า ได้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและติ ชมด้วย ความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของจำเลยในฐานะ ที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน และในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงกระทำเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงไม่เป็นความผิดฐาน หมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามที่โจทก์ฟ้อง คดีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเอง และต้องห้ามฎีกาโดย มาตรา 218219 และ 220 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้า อธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้ วินิจฉัยก็รับฎีกาไว้พิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งฟ้องคดีอาญา, การสอบสวนเพิ่มเติม, อำนาจสั่งคดีของอัยการ, และการวินิจฉัยของศาลเกี่ยวกับพฤติการณ์น่าสงสัย
การที่จำเลยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า "การที่อัยการเขต 8(หมายถึงตัวโจทก์) สั่งกลับคำสั่งของอัยการจังหวัดไม่ให้ฟ้องนายโสภณกิจประสาน เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากก่อให้เกิดบรรทัดฐานเช่นนี้ จะทำให้เกิดการทุจริตกันอย่างใหญ่โต..."และว่า จำเลยจะสอบสวนกรมอัยการซึ่งทุกวันนี้เละเทะจนไม่น่าจะปล่อยปละละเลยอีกต่อไปได้ ประเด็นที่จะสอบคืออัยการพิเศษประจำเขต 8สั่งไม่ฟ้องนายโสภณ ไม่รู้ว่าไปสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวนที่ไหนมาสั่งคดีสำคัญ และเรื่องนี้จำเลยจะจัดการสะสางทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ และว่า จำเลยรู้ว่ามีการรับเงินรับทองนั้น เป็นการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์สั่งไม่ฟ้องนายโสภณกิจประสานแม้โจทก์จะอ้างว่ามีอำนาจสั่งไม่ฟ้องนายโสภณ แต่การสั่งไม่ฟ้องมีพฤติการณ์ที่ทำให้น่าสงสัยหลายประการ และจำเลยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับการร้องเรียนจากภริยาและมารดาผู้ตายว่า การที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยเห็นว่าพฤติการณ์ในการสั่งไม่ฟ้องเป็นที่น่าสงสัยว่าจะเป็นการไม่ชอบประกอบกับเป็นคดีที่มีอิทธิพลซึ่งประชาชนรวมทั้งสื่อมวลชนให้ความสนใจ เมื่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไปสัมภาษณ์ความเห็นของจำเลย จำเลยก็ให้สัมภาษณ์ไปตามความคิดเห็นของตน แม้ถ้อยคำที่ใช้จะรุนแรงอยู่บ้าง แต่ก็เห็นได้ว่าได้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตใจและติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของจำเลยในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนและในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงกระทำเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามที่โจทก์ฟ้อง คดีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเอง และต้องห้ามฎีกาโดยมาตรา 218,219 และ 220 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาถ้าอธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ก็รับฎีกาไว้พิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งคดีอาญาโดยอัยการพิเศษประจำเขต, การสอบสวนเพิ่มเติม, และเจตนาใส่ร้าย - ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษา
การที่จำเลยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า"การที่อัยการเขต8(หมายถึงตัวโจทก์)สั่งกลับคำสั่งของอัยการจังหวัดไม่ให้ฟ้องนายโสภณกิจประสานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหากก่อให้เกิดบรรทัดฐานเช่นนี้จะทำให้เกิดการทุจริตกันอย่างใหญ่โต..."และว่าจำเลยจะสอบสวนกรมอัยการซึ่งทุกวันนี้เละเทะจนไม่น่าจะปล่อยปละละเลยอีกต่อไปได้ประเด็นที่จะสอบคืออัยการพิเศษประจำเขต8สั่งไม่ฟ้องนายโสภณไม่รู้ว่าไปสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวนที่ไหนมาสั่งคดีสำคัญและเรื่องนี้จำเลยจะจัดการสะสางทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่และว่าจำเลยรู้ว่ามีการรับเงินรับทองนั้นเป็นการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์สั่งไม่ฟ้องนายโสภณกิจประสานแม้โจทก์จะอ้างว่ามีอำนาจสั่งไม่ฟ้องนายโสภณแต่การสั่งไม่ฟ้องมีพฤติการณ์ที่ทำให้น่าสงสัยหลายประการและจำเลยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับการร้องเรียนจากภริยาและมารดาผู้ตายว่าการที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยเห็นว่าพฤติการณ์ในการสั่งไม่ฟ้องเป็นที่น่าสงสัยว่าจะเป็นการไม่ชอบประกอบกับเป็นคดีที่มีอิทธิพลซึ่งประชาชนรวมทั้งสื่อมวลชนให้ความสนใจเมื่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไปสัมภาษณ์ความเห็นของจำเลยจำเลยก็ให้สัมภาษณ์ไปตามความเห็นของตนแม้ถ้อยคำที่ใช้จะรุนแรงอยู่บ้างแต่ก็เห็นได้ว่าแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของจำเลยในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนและในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงกระทำเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามที่โจทก์ฟ้อง.
คดีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเองและต้องห้ามฎีกาโดยมาตรา218,219และ220แห่งป.วิ.อ.ถ้าอธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัยก็รับฎีกาไว้พิจารณาได้ตามป.วิ.อ.มาตรา221.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 572/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นติชมการกระทำที่ไม่เหมาะสมของพระภิกษุโดยสุจริต ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ปกครองทางด้านการแสดงภาพยนตร์และเป็นเจ้าของไข้ของ จ. ได้กล่าวต่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์จำเลยที่ 2 ว่า "นอกจากไม่นับถือ ไม่เชื่อถือแล้ว ยังเห็นว่าศิษย์ตถาคตผู้นุ่งเหลืองห่มเหลือง ประพฤติตัวไม่อยู่ในสมณวิสัยด้วย"และ "ทุก ๆ วันที่ปัญหาเดือดร้อนรำคาญมากกับหมอเถื่อน หมอดีทั้งที่เป็นฆราวาส ทั้งห่มผ้าเหลือง วันหนึ่ง ๆ มีเป็นสิบ ๆ คนไปรออยู่หน้าห้อง กล้องถ่ายรูปก็พร้อม เราก็กันไว้ไม่ให้ไปเพราะการรักษาควรจะเป็นเรื่องของแพทย์ เปิ้ลจะหายหรือไม่ก็อยู่ที่หมอไม่ใช่อยู่กับคนที่ยืนสวดมนต์ ชักลูกประคำพวกนี้ อยากจะบอกฝากไปถึงด้วยว่า ถ้าอยากดังนักก็ขอให้ไปดังที่อื่น คนป่วยของผมต้องการพักผ่อนอย่าได้ไปรบกวนกันเลย" การที่จำเลยที่ 1 กล่าวเช่นนั้นเนื่องจากโจทก์ที่ 2 เป็นพระภิกษุ ได้ไปทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้แก่ จ. ซึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัสถึงขนาดแพทย์ห้ามเยี่ยมในห้องพักคนไข้ของโรงพยาบาลที่ จ. นอนพักรักษาตัวอยู่ชิดเตียงที่ จ. นอนป่วยอันเป็นสิ่งไม่ควรปฏิบัติตามวิสัยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา อันมีเหตุให้จำเลยที่ 1 เชื่อโดยสุจริตว่าการกระทำของโจทก์มิใช่กิจอันอยู่ในสมณวิสัย จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมหรือติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งการประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุในศาสนาประจำชาติ อันเป็นวิสัยของจำเลยที่ 1 ชอบที่จะกระทำได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1)(3) จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของและเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่ลงข้อความดังกล่าวจึงไม่มีความผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 572/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นติชมการกระทำของพระสงฆ์โดยสุจริต ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ปกครองทางด้านการแสดงภาพยนตร์และเป็นเจ้าของไข้ของ จ. ได้กล่าวต่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์จำเลยที่ 2 ว่า 'นอกจากไม่นับถือ ไม่เชื่อถือแล้วยังเห็นว่า ศิษย์ตถาคตผู้นุ่งเหลืองห่มเหลือง ประพฤติตัวไม่อยู่ในสมณวิสัยด้วย' และ 'ทุกๆ วันที่ปัญหาเดือดร้อนรำคาญมากกับหมอเถื่อนหมอดี ทั้งที่เป็นฆราวาส ทั้งห่มผ้าเหลือง วันหนึ่งๆ มีเป็นสิบๆ คนไปรออยู่หน้าห้อง กล้องถ่ายรูปก็พร้อม เราก็กันไว้ไม่ให้ไป เพราะการรักษาควรจะเป็นเรื่องของแพทย์ เปิ้ลจะหายหรือไม่ก็อยู่ที่หมอ ไม่ใช่อยู่กับคนที่ยืนสวดมนต์ชักลูกประคำพวกนี้ อยากจะบอกฝากไปถึงด้วยว่า ถ้าอยากดังนักก็ขอให้ไปดังที่อื่น คนป่วยของผมต้องการพักผ่อนอย่าได้ไปรบกวนกันเลย' การที่จำเลยที่ 1 กล่าวเช่นนั้นเนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นพระภิกษุได้ไปทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้แก่ จ. ซึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัสถึงขนาดแพทย์ห้ามเยี่ยมในห้องพักคนไข้ของโรงพยาบาลที่ จ. นอนพักรักษาตัวอยู่ชิดเตียงที่ จ. นอนป่วยอันเป็นสิ่งไม่ควรปฏิบัติตามวิสัยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา อันมีเหตุให้จำเลยที่ 1 เชื่อโดยสุจริตว่าการกระทำของโจทก์มิใช่กิจอันอยู่ในสมณวิสัยจึงเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม หรือติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งการประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุในศาสนาประจำชาติ อันเป็นวิสัยของจำเลยที่ 1 ชอบที่จะกระทำได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329(1)(3) จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของและเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่ลงข้อความดังกล่าวจึงไม่มีความผิดด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 29