พบผลลัพธ์ทั้งหมด 283 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 572/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความคิดเห็นติชมการกระทำของพระสงฆ์โดยสุจริต ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ปกครองทางด้านการแสดงภาพยนตร์และเป็นเจ้าของไข้ของ จ. ได้กล่าวต่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์จำเลยที่ 2 ว่า 'นอกจากไม่นับถือ ไม่เชื่อถือแล้วยังเห็นว่า ศิษย์ตถาคตผู้นุ่งเหลืองห่มเหลือง ประพฤติตัวไม่อยู่ในสมณวิสัยด้วย' และ 'ทุกๆ วันที่ปัญหาเดือดร้อนรำคาญมากกับหมอเถื่อนหมอดี ทั้งที่เป็นฆราวาส ทั้งห่มผ้าเหลือง วันหนึ่งๆ มีเป็นสิบๆ คนไปรออยู่หน้าห้อง กล้องถ่ายรูปก็พร้อม เราก็กันไว้ไม่ให้ไป เพราะการรักษาควรจะเป็นเรื่องของแพทย์ เปิ้ลจะหายหรือไม่ก็อยู่ที่หมอ ไม่ใช่อยู่กับคนที่ยืนสวดมนต์ชักลูกประคำพวกนี้ อยากจะบอกฝากไปถึงด้วยว่า ถ้าอยากดังนักก็ขอให้ไปดังที่อื่น คนป่วยของผมต้องการพักผ่อนอย่าได้ไปรบกวนกันเลย' การที่จำเลยที่ 1 กล่าวเช่นนั้นเนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นพระภิกษุได้ไปทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้แก่ จ. ซึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัสถึงขนาดแพทย์ห้ามเยี่ยมในห้องพักคนไข้ของโรงพยาบาลที่ จ. นอนพักรักษาตัวอยู่ชิดเตียงที่ จ. นอนป่วยอันเป็นสิ่งไม่ควรปฏิบัติตามวิสัยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา อันมีเหตุให้จำเลยที่ 1 เชื่อโดยสุจริตว่าการกระทำของโจทก์มิใช่กิจอันอยู่ในสมณวิสัยจึงเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม หรือติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งการประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุในศาสนาประจำชาติ อันเป็นวิสัยของจำเลยที่ 1 ชอบที่จะกระทำได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329(1)(3) จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของและเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่ลงข้อความดังกล่าวจึงไม่มีความผิดด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนคดีหมิ่นประมาท: การฟ้องคดีซ้ำจากข้อความหมิ่นประมาทเดียวกัน
แม้ข้อความที่ พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ ฟ้องว่าจำเลยลงพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจะเป็นคนละบทความกันและลงพิมพ์ต่างหน้ากันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ แต่ ก็เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมในหนังสือพิมพ์ซึ่ง จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาฉบับเดียวกัน ทั้งเป็นข้อความที่กล่าวถึง โจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวและ พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ กับโจทก์คดีนี้ต่าง ก็เป็นพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีต่อ ศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5)28(1) ด้วยกันการที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยอีกจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีหมิ่นประมาท: การฟ้องคดีเดียวกันโดยโจทก์คนละคนแต่เป็นพนักงานอัยการด้วยกัน
แม้ข้อความที่พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ฟ้องว่าจำเลยลงพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจะเป็นคนละบทความกันและลงพิมพ์ต่างหน้ากันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ แต่ก็เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมในหนังสือพิมพ์ ซึ่งจำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาฉบับเดียวกัน ทั้งเป็นข้อความที่กล่าวถึงโจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวและพนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์กับโจทก์คดีนี้ต่างก็เป็นพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5),28(1) ด้วยกันการที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยอีกจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การลงข้อความเชื่อมโยงถึงการทุจริต ย่อมทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนรู้เห็น
จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาและเจ้าของหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์จำหน่ายแพร่หลายแก่บุคคลทั่วไปในเขตจังหวัดอุบลราชธานีและเป็นเจ้าของนามปากกาว่า "ขุนช้าง"จำเลยได้ลงข่าวเกี่ยวกับโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีมีข้อความว่า "ชอบใจที่พล.อ.สิทธิ จิรโรจน์ ร.ม.ต. มหาดไทย กล่าวว่า ทำไมผู้กำกับจึงมาร้องตอนนี้ ทั้ง ๆ ที่เรื่องมีมานาน ขุนช้างว่า คงพึ่งคิดวิธีทำอาญาให้เป็นแพ่งได้กระมังจริงไหมครับพ.ต.อ.นิยม ไกรลาศ" อัน เป็นข้อความเกี่ยวโยง กับกรณีกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่การเงินกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการจำนวนหลายล้านบาท ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปที่ได้อ่านข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเข้าใจว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริตยักยอกเงินของทางราชการ ข้อความที่จำเลยลงโฆษณานอกจากจำเลยอ้างถึงข้อความที่พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ กล่าวแล้ว จำเลยไม่ได้อ้างถึงข้อความจริงอันใดให้จำเลยแสดงความคิดเห็นเช่นนั้นทั้งผู้ได้อ่านก็ไม่ได้รู้ถึงความจริงอันควรเชื่อหรือไม่ว่าเป็นดังจำเลยกล่าว แต่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริต จึงไม่ใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ทั้งไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตตาม ป.อ. มาตรา 329 ข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 และเมื่อเป็นความผิดตามมาตรานี้แล้วก็ไม่ต้องยกมาตรา326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การยืนยันข้อเท็จจริงโดยมิชอบ และเจตนาใส่ความ
จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาและเจ้าของหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์จำหน่ายแพร่หลายแก่บุคคลทั่วไปในเขตจังหวัด อุบลราชธานีและเป็นเจ้าของนามปากกาว่า "ขุนช้าง" จำเลยได้ลงข่าวเกี่ยวกับโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด อุบลราชธานี มีข้อความว่า "ขอบใจที่ พล.อ. สิทธิ จิรโรจน์ ร.ม.ต.มหาดไทยกล่าวว่าทำไมผู้กำกับจึงมาร้องตอนนี้ ทั้ง ๆ ที่เรื่องมีมานานขุนช้างว่าคงพึ่งคิดวิธีทำอาญาให้เป็นแพ่งได้กระมังจริงไหมครับพ.ต.อ. นิยม ไกรลาศ " อันเป็นข้อความที่เกี่ยวโยงกับกรณีกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่การเงินกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัด อุบลราชธานีซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการจำนวนหลายล้านบาท ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปที่ได้อ่านข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเข้าใจว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริตยักยอกเงินของทางราชการ ข้อความที่จำเลยลงโฆษณานอกจากจำเลยอ้างถึงข้อความที่พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ กล่าวดังกล่าวแล้ว จำเลยไม่ได้อ้างถึงข้อความจริงอันใดให้จำเลยแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งผู้ได้อ่านก็ไม่ได้รู้ถึงความจริงอันควรเชื่อหรือไม่ว่าเป็นดังจำเลยกล่าว แต่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริต จึงไม่ใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำทั้งไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และเมื่อเป็นความผิดตามมาตรานี้แล้ว ก็ไม่ต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทผ่านสื่อสิ่งพิมพ์: การติชมด้วยความเป็นธรรมและการเจตนา
จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาและเจ้าของหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์จำหน่ายแพร่หลายแก่บุคคลทั่วไปในเขตจังหวัดอุบลราชธานีและเป็นเจ้าของนามปากกาว่า "ขุนช้าง" จำเลยได้ลงข่าวเกี่ยวกับโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีมีข้อความว่า "ชอบใจที่ พล.อ.สิทธิ จิรโรจน์ ร.ม.ต.มหาดไทยกล่าวว่า ทำไมผู้กำกับจึงมาร้องตอนนี้ ทั้ง ๆ ที่เรื่องมีมานานขุนช้างว่าคงพึ่งคิดวิธีทำอาญาให้เป็นแพ่งได้กระมังจริงไหมครับพ.ต.อ.นิยม ไกรลาศ" อันเป็นข้อความที่เกี่ยวโยงกับกรณีกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่การเงินกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการจำนวนหลายล้านบาทย่อมทำให้บุคคลทั่วไปที่ได้อ่านข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเข้าใจว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริตยักยอกเงินของทางราชการข้อความที่จำเลยลงโฆษณานอกจากจำเลยอ้างถึงข้อความที่พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ กล่าวดังกล่าวแล้วจำเลยไม่ได้อ้างถึงข้อความจริงอันใดให้จำเลยแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งผู้ได้อ่านก็ไม่ได้รู้ถึงความจริงอันควรเชื่อหรือไม่ว่าเป็นดังจำเลยกล่าว แต่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริต จึงไม่ใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ทั้งไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และเมื่อเป็นความผิดตามมาตรานี้แล้ว ก็ไม่ต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อปกป้องอาชีพและเศรษฐกิจของชาติ ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
โจทก์เขียนข้อความในหนังสือพิมพ์ของโจทก์กล่าวหา ส. หรือน. หรือมัคคุเทศก์หมายเลข 116 ซึ่งหมายถึงจำเลยว่า มีพฤติการณ์หลอกลวงต้มตุ๋นนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ชอบหาโสเภณีราคาถูกไปย้อมแมวว่าเป็นนางแบบ เรียกค่าตัวสูงลิ่วและชักชวนชาวมาเลเซียมาเปิดซ่องที่หาดใหญ่ จำเลยย่อมเข้าใจโดยสุจริตว่า ข้อความในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นข้อความที่กล่าวหาจำเลย น่าจะทำความเสื่อมเสียหรือกระทบกระเทือนต่ออาชีพและฐานะของจำเลยซึ่งทำงานเป็นมัคคุเทศก์ การที่จำเลยมีจดหมายไปถึงนายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย ให้รับทราบพฤติการณ์ของโจทก์ว่าไม่ให้ความร่วมมือแก่สมาคมดังกล่าว และเป็นคนบ่อนทำลายเศรษฐกิจของชาติด้านการท่องเที่ยว ควรหลีกเลี่ยงการสมาคมและให้ข่าวแก่โจทก์ เพราะอาจนำบทความไปเผยแพร่เกิดความเสียหายแก่วงการธุรกิจการท่องเที่ยว ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม และเป็นการป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความคิดเห็นเพื่อปกป้องอาชีพและผลประโยชน์ส่วนตน ไม่เป็นความผิดหมิ่นประมาท
โจทก์เขียนข้อความในหนังสือพิมพ์ของโจทก์กล่าวหา ส. หรือ น. หรือ มัคคุเทศก์หมายเลข 116 ซึ่ง หมายถึง จำเลยว่า มีพฤติการณ์หลอกลวงต้มตุ๋นนักท่องเที่ยวชาว มาเลเซีย ชอบหาโสเภณีราคาถูกไปย้อมแมวว่าเป็นนางแบบ เรียกค่าตัวสูงลิ่วและชักชวนชาว มาเลเซียมาเปิดซ่อง ที่ หาดใหญ่ จำเลยย่อมเข้าใจโดยสุจริตว่า ข้อความในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นข้อความที่กล่าวหาจำเลย น่าจะทำความเสื่อมเสียหรือกระทบกระเทือนต่อ อาชีพและฐานะ ของจำเลยซึ่ง ทำงานเป็นมัคคุเทศก์ การที่จำเลยมีจดหมายไปถึง นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย ให้รับทราบพฤติการณ์ของโจทก์ว่าไม่ให้ความร่วมมือแก่สมาคมดังกล่าว และเป็นคนบ่อนทำลายเศรษฐกิจของชาติด้าน การท่องเที่ยว ควรหลีกเลี่ยงการสมาคมและให้ข่าวแก่โจทก์ เพราะอาจนำบทความไปเผยแพร่เกิดความเสียหายแก่วงการธุรกิจการท่องเที่ยว ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการแสดงความคิดเห็นโดย สุจริตเพื่อ ความชอบธรรมและเป็นการป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตน ตาม คลองธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐาน หมิ่นประมาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความคิดเห็นเพื่อปกป้องอาชีพและผลประโยชน์ส่วนตนโดยสุจริต ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
โจทก์เขียนข้อความในหนังสือพิมพ์ของโจทก์กล่าวหาส. หรือ น. หรือมัคคุเทศก์ หมายเลข 116 ซึ่งหมายถึงจำเลยว่ามีพฤติการณ์หลอกลวงต้มตุ๋น นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ชอบหาโสเภณี ราคาถูกไปย้อมแมว ว่าเป็นนางแบบ เรียกค่าตัวสูงลิ่ว และชักชวนชาวมาเลเซียมาเปิดซ่องที่หาดใหญ่จำเลยย่อมเข้าใจโดยสุจริตว่า ข้อความในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นข้อความที่กล่าวหาจำเลย น่าจะทำความเสื่อมเสียหรือกระทบกระเทือนต่ออาชีพและฐานะของจำเลยซึ่งทำงานเป็นมัคคุเทศก์ การที่จำเลยมีจดหมายไปถึงนายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทยให้รับทราบพฤติการณ์ของโจทก์ว่าไม่ให้ความร่วมมือแก่สมาคมดังกล่าวและเป็นคนบ่อนทำลายเศรษฐกิจของชาติ ด้านการท่องเที่ยวควรหลีกเลี่ยงการสมาคมและให้ข่าวแก่โจทก์ เพราะอาจนำบทความไปเผยแพร่เกิดความเสียหายแก่วงการธุรกิจ การท่องเที่ยว ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม และเป็นการป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตาม ป.อ. มาตรา 329(1) การกระทำของจำเลย ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6483/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีล้มละลายและการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน ไม่ถือเป็นความผิดหมิ่นประมาท หากเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม
การที่จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลายโดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งจำเป็นต้องกล่าวในคำฟ้องเพื่อให้โจทก์เข้าใจข้อหาได้ชัดเจนนั้น ถือได้ว่าเป็นข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 331 ส่วนที่จำเลยนำข้อความเกี่ยวกับการฟ้องโจทก์เป็นบุคคลล้มละลายไปลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์นั้น เมื่อข้อความที่ลงในหนังสือพิมพ์เป็นข้อความที่ตรงกับที่จำเลยฟ้องโจทก์ มิได้มีข้อความอื่นนอกเหนือไปจากนั้น อันจะส่อให้เห็นเจตนาไม่สุจริตของจำเลย การที่หนังสือพิมพ์เสนอข้อความดังกล่าวจึงเป็นการรายงานเรื่องที่โจทก์ถูกฟ้องต่อศาลเป็นคดีล้มละลายถือได้ว่าจำเลยได้แจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาล จำเลยย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(4)จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท