พบผลลัพธ์ทั้งหมด 283 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงข้อความเพื่อความชอบธรรมและการป้องกันส่วนได้เสียตามคลองธรรม ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
โจทก์เป็นหัวหน้าแผนกบัญชีของบริษัทบริษัทให้ออกจากงานต่อมาจำเลยซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทได้ปิดประกาศไว้ที่สำนักงานของบริษัทแจ้งแก่พนักงานทุกคนมีใจความว่าแฟ้มเอกสารประวัติพนักงานได้ถูกทำลายและสูญหายไปเป็นการกระทำของอดีตหัวหน้าแผนกบัญชี(คือโจทก์)จึงขอความร่วมมือจากพนักงานทุกคนให้ร่วมกันจัดทำแฟ้มประวัติพนักงานการกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวและแก้ไขข่าวที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายการพิมพ์
การที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพาดหัวข่าวว่า'เมียผวจ.เต้นก๋าขู่ประธานสภาบุกโรงพักจวกแหลกโมโหสารภาพ'เป็นข้อความแสดงให้เห็นภาพพจน์ของโจทก์แสดงกิริยากระโดฝ่าขึ้นไปบนสถานีตำรวจทั้งที่มีข้อห้ามโดยไม่เคารพกฎเกณฑ์ข้อบังคับและแสดงอำนาจไม่เกรงกลัวบุคคลใดเข้าไปพูดกับประธานสภาด้วยกิริยาวาจาที่แสดงอาการโมโหในลักษณะตวาดหรือคำรามด้วยถ้อยคำที่ทำให้ประธานสภากลัวว่าจะต้องได้รับอันตรายแก่กายอันเป็นกิริยาวาจาที่สุภาพชนไม่พึงทำทั้งยังเป็นการแสดงอำนาจฝ่าฝืนข้อห้ามข้อบังคับของทางราชการบุกรุกขึ้นไปบนสถานที่ราชการโดยไม่มีสิทธิกระทำโดยชอบซึ่งข่าวนี้ไม่เป็นความจริงและเป็นการใส่ความโจทก์จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ การแก้ข่าวอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดและสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ.2484มาตรา41,43นั้นนอกจากจะต้องลงพิมพ์ในฉบับที่จะออกโฆษณาถัดไปหรือต่อจากเวลาที่ได้รับคำขอให้แก้ข่าวแล้วข้อความที่แก้นั้นจะต้องอยู่ในหน้าเดียวกับเรื่องอันเป็นเหตุให้แก้โดยมีขนาดแนว(คอลัมน์)และตัวอักษรในเนื้อเรื่องเช่นเดียวกันคดีนี้ปรากฏว่าข้อความที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงพิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ลงพาดหัวข่าวในหน้า1ด้วยขนาดอักษรโตที่สุดโตที่สุดในหน้าหนึ่งจำนวน2บรรทัดและด้วยขนาดอักษรโตปรมาณครึ่งหนึ่งของขนาดอักษรโตที่สุดดังกล่าวอีก1บรรทัดส่วนข้อความที่จำเลยอ้างว่าเป็นการแก้ข่าวนั้นกลับลงพิมพ์โฆษณาในหน้า16ด้วยขนาดอักษรตัวเล็กเท่าตัวอักษรทั่วๆไปที่บรรยายเนื้อหาของเรื่องในหนังสือพิมพ์นั้นจึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ.2484มาตรา3สิทธิการฟ้องของโจทก์ทั้งทางแพ่งและทางอาญายังไม่ระงับ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่1ที่2คนละ2,000บาทสถานเดียวจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218จำเลยที่1ที่2ฎีกาว่าไม่ได้สมคบกับจำเลยที่3กระทำผิดตามฟ้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวที่เป็นความเท็จ และการแก้ข่าวที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมาย
การที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพาดหัวข่าวว่า 'เมีย ผวจ. เต้นก๋าขู่ประธานสภา บุกโรงพัก จวกแหลก โมโหสารภาพ' เป็นข้อความแสดงให้เห็นภาพพจน์ของโจทก์แสดงกิริยากระโดดฝ่าขึ้นไปบนสถานีตำรวจทั้งที่มีข้อห้ามโดยไม่เคารพกฎเกณฑ์ข้อบังคับ และแสดงอำนาจไม่เกรงกลัวบุคคลใดเข้าไปพูดกับประธานสภาด้วยกิริยาวาจาที่แสดงอาการโมโหในลักษณะตวาดหรือคำรามด้วยถ้อยคำที่ทำให้ประธานสภากลัวว่าจะต้องได้รับอันตรายแก่กายอันเป็นกิริยาวาจาที่สุภาพชนไม่พึงทำ ทั้งยังเป็นการแสดงอำนาจฝ่าฝืนข้อห้ามข้อบังคับของทางราชการ บุกรุกขึ้นไปบนสถานที่ราชการโดยไม่มีสิทธิกระทำโดยชอบ ซึ่งข่าวนี้ไม่เป็นความจริงและเป็นการใส่ความโจทก์จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
การแก้ข่าวอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดและสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41, 43 นั้น นอกจากจะต้องลงพิมพ์ในฉบับที่จะออกโฆษณาถัดไปหรือต่อจากเวลาที่ได้รับคำขอให้แก้ข่าวแล้วข้อความที่แก้นั้นจะต้องอยู่ในหน้าเดียวกับเรื่องอันเป็นเหตุให้แก้โดยมีขนาดแนว (คอลัมน์) และตัวอักษรในเนื้อเรื่องเช่นเดียวกัน คดีนี้ปรากฏว่าข้อความที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงพิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ ลงพาดหัวข่าวในหน้า 1 ด้วยขนาดอักษรโตที่สุดโตที่สุดในหน้าหนึ่งจำนวน 2 บรรทัด และด้วยขนาดอักษรโตปรมาณครึ่งหนึ่งของขนาดอักษรโตที่สุดดังกล่าวอีก 1 บรรทัด ส่วนข้อความที่จำเลยอ้างว่าเป็นการแก้ข่าวนั้น กลับลงพิมพ์โฆษณาในหน้า 16 ด้วยขนาดอักษรตัวเล็กเท่าตัวอักษรทั่วๆ ไปที่บรรยายเนื้อหาของเรื่องในหนังสือพิมพ์นั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 3 สิทธิการฟ้องของโจทก์ทั้งทางแพ่งและทางอาญายังไม่ระงับ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่1 ที่ 2 คนละ 2,000 บาท สถานเดียว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่าไม่ได้สมคบกับจำเลยที่ 3 กระทำผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
การแก้ข่าวอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดและสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41, 43 นั้น นอกจากจะต้องลงพิมพ์ในฉบับที่จะออกโฆษณาถัดไปหรือต่อจากเวลาที่ได้รับคำขอให้แก้ข่าวแล้วข้อความที่แก้นั้นจะต้องอยู่ในหน้าเดียวกับเรื่องอันเป็นเหตุให้แก้โดยมีขนาดแนว (คอลัมน์) และตัวอักษรในเนื้อเรื่องเช่นเดียวกัน คดีนี้ปรากฏว่าข้อความที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงพิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ ลงพาดหัวข่าวในหน้า 1 ด้วยขนาดอักษรโตที่สุดโตที่สุดในหน้าหนึ่งจำนวน 2 บรรทัด และด้วยขนาดอักษรโตปรมาณครึ่งหนึ่งของขนาดอักษรโตที่สุดดังกล่าวอีก 1 บรรทัด ส่วนข้อความที่จำเลยอ้างว่าเป็นการแก้ข่าวนั้น กลับลงพิมพ์โฆษณาในหน้า 16 ด้วยขนาดอักษรตัวเล็กเท่าตัวอักษรทั่วๆ ไปที่บรรยายเนื้อหาของเรื่องในหนังสือพิมพ์นั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 3 สิทธิการฟ้องของโจทก์ทั้งทางแพ่งและทางอาญายังไม่ระงับ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่1 ที่ 2 คนละ 2,000 บาท สถานเดียว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่าไม่ได้สมคบกับจำเลยที่ 3 กระทำผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหมิ่นประมาท: ลงโทษตามบทหนักเพียงบทเดียว
ในความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อจำเลยผิดตามมาตรา 328แล้ว ก็ไม่จำต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 3071/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหมิ่นประมาทเริ่มนับเมื่อยุติการกระทำผิด และการใส่ความเรื่องหนี้สินถือเป็นหมิ่นประมาท
การปิดประกาศโฆษณาหมิ่นประมาทนั้น เป็นความผิดต่อเนื่องจนกว่าจะมีการปลดป้ายประกาศออกไป ซึ่งถือได้ว่าการกระทำอันเป็นมูลแห่งความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ยุติลง อายุความย่อมจะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการปลดป้ายประกาศออก ดังนั้นแม้จำเลยติดป้ายประกาศหมิ่นประมาทโจทก์ก่อนวันที่โจทก์ไปร้องทุกข์หรือฟ้องคดีเกิน 3 เดือนแต่เมื่อโจทก์ร้องทุกข์และฟ้องคดีไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันปลดป้ายประกาศโฆษณาหมิ่นประมาทออกคดีจึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยปิดประกาศภาพถ่ายโจทก์โดยมีข้อความภาษาอังกฤษกำกับแปลเป็นภาษาไทยว่า โจทก์เป็นหนี้จำเลย 15,910 บาท ยังเรียกเก็บไม่ได้หรือยังไม่ได้ชำระ โดยจำเลยปิดประกาศดังกล่าวในสถานบริการของจำเลยซึ่งมีลูกค้าเข้าไปรับบริการ เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกล่าวหาเรื่องร้าย เป็นการใส่ความโจทก์อันจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ทั้งเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนแม้ว่าเรื่องที่กล่าวหาจะเป็นความจริงก็ไม่เป็นเหตุยกเว้นให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยปิดประกาศภาพถ่ายโจทก์โดยมีข้อความภาษาอังกฤษกำกับแปลเป็นภาษาไทยว่า โจทก์เป็นหนี้จำเลย 15,910 บาท ยังเรียกเก็บไม่ได้หรือยังไม่ได้ชำระ โดยจำเลยปิดประกาศดังกล่าวในสถานบริการของจำเลยซึ่งมีลูกค้าเข้าไปรับบริการ เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกล่าวหาเรื่องร้าย เป็นการใส่ความโจทก์อันจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ทั้งเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนแม้ว่าเรื่องที่กล่าวหาจะเป็นความจริงก็ไม่เป็นเหตุยกเว้นให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความเห็นโดยสุจริตของเจ้าพนักงานตามหน้าที่ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
บรรยายฟ้องว่าจำเลยจงใจกล่าวข้อความลงในหนังสือถึงกองทัพอากาศมีข้อความว่า โจทก์ถูกปลดจากการเป็นพนักงานของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเพราะโจทก์เป็นบุคคลมีมลทินมัวหมอง ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ได้กล่าวไว้โดยบริบูรณ์ซึ่งถ้อยคำ อันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 แล้ว
ปรากฏตามฟ้องของโจทก์และหนังสือที่โจทก์ส่งศาลว่าโจทก์ขอกลับเข้ารับราชการในกองทัพอากาศ กองทัพอากาศสอบถามไปยังการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยถึงเหตุที่โจทก์ถูกปลดจากการเป็นพนักงานของการท่าอากาศยานฯ จำเลยในฐานะ ผู้ว่าการการท่าอากาศยานฯ จึงมีหนังสือตอบกองทัพอากาศว่าโจทก์ถูกปลดเพราะมีมลทินมัวหมองดังนี้ การที่จำเลยมีหนังสือถึงกองทัพอากาศดังกล่าว มิใช่เป็นการโฆษณาด้วยเอกสารตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่าโจทก์ถูกปลดเพราะถูกกล่าวหาว่าทำโจรกรรมทรัพย์สินของการท่าอากาศยานฯ การที่จำเลยมีหนังสือถึงกองทัพอากาศดังกล่าว จึงเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตของเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
เมื่อการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายในฟ้องไม่เป็นความผิดตามบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแล้ว ศาลชอบที่จะยกฟ้องได้เลยโดยไม่จำต้องไต่สวน
ปรากฏตามฟ้องของโจทก์และหนังสือที่โจทก์ส่งศาลว่าโจทก์ขอกลับเข้ารับราชการในกองทัพอากาศ กองทัพอากาศสอบถามไปยังการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยถึงเหตุที่โจทก์ถูกปลดจากการเป็นพนักงานของการท่าอากาศยานฯ จำเลยในฐานะ ผู้ว่าการการท่าอากาศยานฯ จึงมีหนังสือตอบกองทัพอากาศว่าโจทก์ถูกปลดเพราะมีมลทินมัวหมองดังนี้ การที่จำเลยมีหนังสือถึงกองทัพอากาศดังกล่าว มิใช่เป็นการโฆษณาด้วยเอกสารตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่าโจทก์ถูกปลดเพราะถูกกล่าวหาว่าทำโจรกรรมทรัพย์สินของการท่าอากาศยานฯ การที่จำเลยมีหนังสือถึงกองทัพอากาศดังกล่าว จึงเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตของเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
เมื่อการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายในฟ้องไม่เป็นความผิดตามบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแล้ว ศาลชอบที่จะยกฟ้องได้เลยโดยไม่จำต้องไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความเห็นตามหน้าที่โดยสุจริตของผู้ว่าการท่าอากาศยานฯ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
บรรยายฟ้องว่าจำเลยจงใจกล่าวข้อความลงในหนังสือถึงกองทัพอากาศมีข้อความว่า โจทก์ถูกปลดจากการเป็นพนักงานของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเพราะโจทก์เป็นบุคคลมีมลทินมัวหมองดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ได้กล่าวไว้โดยบริบูรณ์ซึ่งถ้อยคำ อันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 แล้ว ปรากฏตามฟ้องของโจทก์และหนังสือที่โจทก์ส่งศาลว่าโจทก์ขอกลับเข้ารับราชการในกองทัพอากาศ กองทัพอากาศสอบถามไปยังการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยถึงเหตุที่โจทก์ถูกปลดจากการเป็นพนักงานของการท่าอากาศยานฯ จำเลยในฐานะ ผู้ว่าการการท่าอากาศยานฯจึงมีหนังสือตอบกองทัพอากาศว่าโจทก์ ถูกปลดเพราะมีมลทินมัวหมอง ดังนี้ การที่จำเลยมีหนังสือ ถึงกองทัพอากาศดังกล่าว มิใช่เป็นการโฆษณาด้วยเอกสารตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่าโจทก์ถูกปลดเพราะถูกกล่าวหาว่าทำโจรกรรมทรัพย์สินของการท่าอากาศยานฯ การที่จำเลยมีหนังสือถึงกองทัพอากาศดังกล่าว จึงเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตของเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายในฟ้องไม่เป็นความผิดตามบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแล้ว ศาลชอบที่จะยกฟ้องได้เลยโดยไม่จำต้องไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาประกาศจับ แม้มีหมายจับ แต่การกระทำสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง
จำเลยนำข้อความไปลงในหนังสือพิมพ์รายวันว่า "ประกาศจับ ส.(โจทก์)ในข้อหาหรือฐานความผิดยักยอกทรัพย์ ผู้ใดพบเห็นหรือชี้แนะได้ให้นำส่งสถานีตำรวจ ช. (ผู้เสียหาย)" และลงรูปโจทก์ไว้ข้างข้อความดังกล่าว โดยปรากฏว่าขณะจำเลยนำข้อความตามฟ้องและรูปโจทก์ไปลงโฆษณานั้น จำเลยก็ทราบว่าโจทก์รับราชการมีที่อยู่ที่แน่นอน ซึ่งจำเลยอาจนำเจ้าพนักงานไปจับกุมโจทก์ตามหมายจับได้โดยง่าย ไม่มีความจำเป็นต้องลงโฆษณาประกาศจับทางหนังสือพิมพ์และข้อความที่ลงโฆษณาย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นคนทุจริต การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง เรื่องที่จำเลยลงโฆษณาก็เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน แม้พนักงานสอบสวนจะออกหมายจับโจทก์จริง การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโฆษณาประกาศจับผู้ถูกออกหมายจับ แม้เป็นความจริง แต่เป็นการหมิ่นประมาทหากไม่จำเป็นและใส่ความในเรื่องส่วนตัว
จำเลยนำข้อความไปลงในหนังสือพิมพ์รายวันว่า 'ประกาศจับ ส. (โจทก์)ในข้อหาหรือฐานความผิดยักยอกทรัพย์ ผู้ใดพบเห็นหรือชี้แนะได้ให้นำส่งสถานีตำรวจ ช. (ผู้เสียหาย)' และลงรูปโจทก์ไว้ข้างข้อความดังกล่าวโดยปรากฏว่าขณะจำเลยนำข้อความตามฟ้องและรูปโจทก์ไปลงโฆษณานั้น จำเลย ก็ทราบว่าโจทก์รับราชการมีที่อยู่ที่แน่นอน ซึ่งจำเลย อาจนำเจ้าพนักงานไปจับกุมโจทก์ตามหมายจับได้โดยง่ายไม่มีความจำเป็นต้องลงโฆษณาประกาศจับทางหนังสือพิมพ์และข้อความที่ลงโฆษณาย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นคนทุจริต การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง เรื่องที่จำเลยลงโฆษณาก็เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน แม้พนักงานสอบสวนจะออกหมายจับโจทก์จริง การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของหนังสือพิมพ์ไม่ต้องรับผิดทางอาญา หากไม่ได้กระทำการเผยแพร่ข้อความด้วยตนเอง
จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ลงตีพิมพ์ข้อความในหนังสือพิมพ์เพื่อจำหน่ายตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ผู้เดียว การที่จะให้ จำเลยที่ 1 รับผิดในทางอาญาจะต้องได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำการอันใดอันหนึ่งซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดเพียงแต่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์โดยมิได้กระทำการอันใด จะให้ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วยหาได้ไม่