พบผลลัพธ์ทั้งหมด 283 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตอบโต้ด้วยสุจริตเพื่อปกป้องชื่อเสียง: ข้อยกเว้นความผิดหมิ่นประมาท
ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย การที่หนังสือพิมพ์ของโจทก์นำรูปจำเลยไปรวมอยู่ในกลุ่มคนร้ายและอาชญากรในหน้าปกหนังสือพิมพ์เป็นการทำให้คนทั้งหลายเข้าใจว่าจำเลยเป็นบุคคลประเภทเดียวกับคนร้ายและอาชญากรเหล่านั้นทำให้จำเลยเสื่อมเสียชื่อเสียง จำเลยย่อมมีสิทธิตอบโต้โดยสุจริต เพื่อให้การกระทำดังกล่าวของโจทก์ไร้ผล ไม่มีคนเชื่อ ดังนั้น การที่จำเลยกล่าวต่อหน้าสาธารณชนว่า "โจทก์เป็นบรรณาธิการ จิตใจต่ำช้ามาก จิตใจเลวทรามต่ำช้ามาก .......ไอ้คนปัญญาทรามอย่างนี้ผมไม่มีวันไปร่วมด้วย" ย่อมทำให้ผู้ที่ได้รับฟังไม่เลื่อมใสโจทก์ อันมีผลทำให้ผลร้ายที่จำเลยได้รับจากการกระทำของโจทก์ลดน้อยถอยลง เป็นการป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนโดยสุจริตตามคลองธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1077/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา: สุจริต ป้องกันตน หรือคลองธรรม มิอาจเป็นเหตุแก้ผิดได้
โจทก์ร่วมเคยให้หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์เกี่ยวกับจำเลยมีข้อความทำนองว่าจำเลยไปแจ้งความเท็จแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจหาว่าโจทก์ร่วมลักทรัพย์ เป็นการพยายามทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ฯลฯไปรับเงินสายหนังมาก็ปลอมลายมือโจทก์ร่วมว่ารับเงินจากจำเลยแล้ว จำเลยจึงเขียนข้อความส่งไปลงพิมพ์โฆษณาโต้ตอบในหนังสือพิมพ์ว่าโจทก์ร่วมเป็นเมียน้อยของจำเลย ทั้งๆ ที่จำเลยรู้อยู่ว่าโจทก์ร่วมมีสามี เป็นผลให้สามีโจทก์ร่วมเข้าใจผิด ดังนี้ การกระทำของจำเลยหาใช่เป็นการแสดงความคิดเห็น หรือข้อความใดโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตน หรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมอันเกิดจากการที่โจทก์ร่วมให้หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์เกี่ยวกับจำเลยไม่ จำเลยไม่อาจอ้างข้อนี้ขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การใส่ความเสียหายต้องความรับผิดของผู้เขียนและบรรณาธิการ
บริษัทโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์มีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้อำนวยการ จำเลยที่ 2 เป็นห้วหน้ากองบรรณาธิการ จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการข่าวในประเทศ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีเงินสวัสดิการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการรวมหนึ่งล้านเก้าแสนแปดหมื่นเจ็ดพัน บาทเศษ และบริษัทโจทก์ยังไม่ได้แบ่งรายได้ค่าโฆษณาเข้าสมทบอีก 1,247,402 บาท 40 สตางค์ จำเลยที่ 2, 3 กับเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการหลายสิบคนเข้าชื่อกันมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 2 ให้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเข้าสมทบเงินสวัสดิการ โจทก์ไม่ยอมจ่าย เพราะเกรงว่าจำเลยที่ 2 จะเอาไปจ่ายให้เฉพาะผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีเหตุที่จะอ้างเช่นนั้นได้ และต่อมาก็ปรากฏว่าเงินสวัสดิการหนึ่งล้านเก้าแสนบาทเศษที่อยู่ที่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ได้จ่ายให้ผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 จนหมดสิ้น จึงไม่ใช่เรื่องโจทก์บิดพลิ้วไม่ยอมจ่ายเงิน ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 เขียนข้อความลงในหน้าหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิไทม์ จำหน่ายโฆษณาแก่ประชาชนทั่วราชอาณาจักรกล่าวหาว่าโจทก์โกงแม้กระทั่งเงินสวัสดิการของออฟฟิสบอยและคนถู-บ้านก็ดี โจทก์มีเหลี่ยมโกงและทำความระยำก็ดี ตลอดจนเปลี่ยนนามสกุลโจทก์ที่ 2 เป็นเบี้ยตระกูล ซึ่งคำว่าเบี้ยวนี้ จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าหมายถึงฉ้อโกง ดังนี้ก็ดี หาเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อป้องกันสวนได้เสียของตน หรือเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมไม่ แต่เป็นเรื่องจำเลยที่ 2 มุ่งใส่ความโจทก์ทั้งสองให้ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เขียนและบรรณาธิการจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประกอบด้วยมาตรา 326
ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 2 ผู้เป็นประธานกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้หมิ่นประมาทโจทก์เพราะมีสาเหตุกันเป็นส่วนตัว ข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่ากระทำไปในฐานะประธานกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 2 ผู้เป็นประธานกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้หมิ่นประมาทโจทก์เพราะมีสาเหตุกันเป็นส่วนตัว ข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่ากระทำไปในฐานะประธานกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การใส่ความให้เสียหายโดยมีเจตนาเฉพาะตัว ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
บริษัทโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์มีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้อำนวยการ จำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการจำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการข่าวในประเทศหนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีเงินสวัสดิการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการรวมหนึ่งล้านเก้าแสนแปดหมื่นเจ็ดพันบาทเศษ และบริษัทโจทก์ยังไม่ได้แบ่งรายได้ค่าโฆษณาเข้าสมทบอีก 1,247,402 บาท 40 สตางค์ จำเลยที่ 2,3 กับเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการหลายสิบคนเข้าชื่อกันมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 2 ให้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเข้าสมทบเงินสวัสดิการ โจทก์ไม่ยอมจ่าย เพราะเกรงว่าจำเลยที่ 2 จะเอาไปจ่ายให้เฉพาะผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีเหตุที่จะอ้างเช่นนั้นได้และต่อมาก็ปรากฏว่าเงินสวัสดิการหนึ่งล้านเก้าแสนบาทเศษที่อยู่ที่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ได้จ่ายให้ผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 จนหมดสิ้น จึงไม่ใช่เรื่องโจทก์บิดพลิ้วไม่ยอมจ่ายเงินฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 เขียนข้อความลงในหน้าหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิไทม์ จำหน่ายโฆษณาแก่ประชาชนทั่วราชอาณาจักรกล่าวหาว่าโจทก์โกงแม้กระทั่งเงินสวัสดิการของออฟฟิสบอยและคนถูบ้านก็ดี โจทก์มีเหลี่ยมโกงและทำความระยำก็ดีตลอดจนเปลี่ยนนามสกุลโจทก์ที่ 2 เป็นเบี้ยวตระกูล ซึ่งคำว่าเบี้ยวนี้ จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าหมายถึงฉ้อโกง ดังนี้ก็ดี หาเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อป้องกันส่วนได้เสียของตน หรือเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมไม่ แต่เป็นเรื่องจำเลยที่ 2 มุ่งใส่ความโจทก์ทั้งสองให้ได้รับความเสียหายจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เขียนและบรรณาธิการจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประกอบด้วยมาตรา 326
ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 2 ผู้เป็นประธานกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้หมิ่นประมาทโจทก์เพราะมีสาเหตุกันเป็นส่วนตัว ข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่ากระทำไปในฐานะประธานกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 2 ผู้เป็นประธานกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้หมิ่นประมาทโจทก์เพราะมีสาเหตุกันเป็นส่วนตัว ข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่ากระทำไปในฐานะประธานกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทด้วยการลงข้อความในหนังสือพิมพ์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อความดังกล่าวทำให้เสียชื่อเสียง จึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใส่ความ ลงข้อความในหนังสือพิมพ์รายวันว่า "ชาวบ้านที่ติดต่อแผนกที่ดิน จ.นครสวรรค์ ร้องกันอู้ จู่ ๆ ถูกสาวก้นแฉะ ทรงศรี ใช้วจีไม่ค่อยรื่นหู เจตน์ สุวรรณ ที่ดินจังหวัดคนตงฉินได้ยินแล้วอบรมซะบ้าง" เป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้นางสาวทรงศรีโจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง ว่าเป็นคนประพฤติไม่ดี ชอบร่วมประเวณีกับชายทั่ว ๆ ไปเป็นประจำไม่เลือกหน้า และได้จำหน่ายจ่ายแจกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวไปทั่วทุกจังหวัด ดังนี้เห็นได้ว่า ฟ้องโจทก์ได้บรรยายและอธิบายความหมายของข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เป็นการใส่ความในประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียหายต่อชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ทั้งได้บรรยายให้เห็นว่าข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ไปนั้น ได้แพร่หลายไปยังบุคคลที่สามอีก เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้อง ถือได้ว่าข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ไปนั้นเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม จึงไม่จำต้องแปลข้อความให้เห็นเป็นอย่างอื่นนอกเหนือที่จำเลยรับสารภาพ จำเลยจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การตีความข้อความและขอบเขตความเสียหายต่อชื่อเสียง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใส่ความ ลงข้อความในหนังสือพิมพ์รายวันว่า 'ชาวบ้านที่ไปติดต่อแผนกที่ดิน จังหวัดนครสวรรค์ ร้องกันอู้จู่ๆถูกสาวก้นแฉะทรงศรีใช้วจีไม่ค่อยรื่นหูเจตน์ สุวรรณ ที่ดินจังหวัดคนตงฉินได้ยินแล้วอบรมซะบ้าง' เป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้นางสาวทรงศรีโจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง ว่าเป็นคนประพฤติไม่ดี ชอบร่วมประเวณีกับชายทั่วๆ ไปเป็นประจำไม่เลือกหน้า และได้จำหน่ายจ่ายแจกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวไปทั่วทุกจังหวัดดังนี้เห็นได้ว่า ฟ้องโจทก์ได้บรรยายและอธิบายความหมายของข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เป็นการใส่ความในประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียหายต่อชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ทั้งได้บรรยายให้เห็นว่าข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ไปนั้น ได้แพร่หลายไปยังบุคคลที่สามอีกเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้อง ถือได้ว่าข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ไปนั้นเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม จึงไม่จำต้องแปลข้อความให้เห็นเป็นอย่างอื่นนอกเหนือที่จำเลยรับสารภาพ จำเลยจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่ข้อความดูหมิ่นผู้อื่นผ่านหนังสือพิมพ์เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393
ฟ้องว่า จำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์ช่องสังคมอยุธยา โดยทิดแก้ว ว่า "วันก่อนเกินผ่านตลาดหัวรอได้ยินเสียเจ๊แต๋ว มาดามของคุณประสิทธิ์ มานะประเสริฐศักดิ์ บก. แหลมทอง ตะโกนลั่นกลางตลาดว่า ถ้าคนที่ชื่อสุชาติ บุญเกษม เดินผ่านหน้าร้านเมื่อไร จะถอดรองเท้าตบหน้าสักที เสียเท่าไหร่ก็ยอม จริงหรือเปล่าจ๊ะเจ๊ "ทิดแก้ว" กลัวจะไม่จริงดังปากว่าเท่านั้นแหละ แฮะ ๆ" ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328 ข้อความดังนี้เป็นข้อความดูหมิ่น เพราะทำให้ผู้เสียหายบังเกิดความอับอาย เป็นการดูหมิ่นด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 เป็นการอ้างบทมาตราที่ผิด ศาลลงโทษจำเลยตามมาตรา 393 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรค 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลความเสียหายจากกลุ่มบุคคลของสมาคมธนาคารไทย ไม่เป็นหมิ่นประมาท หากทำโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะเลขาธิการ ได้แจ้งข่าวการประชุมของสมาคมธนาคารไทย จำเลยที่ 1 ตามมติของที่ประชุม โดยทำเป็นหนังสือเวียนลับเฉพาะถึงสมาชิก แจ้งให้ทราบถึงพฤติการณ์ของบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ไปขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจากธนาคารสมาชิก แล้วไม่มาติดต่อขอรับราชการไปรับของ ทำให้ธนาคารสมาชิกได้รับความเสียหาย โดยในหนังสือเวียนได้ระบุชื่อกลุ่มบุคคลดังกล่าวซึ่งมีชื่อโจทก์รวมอยู่ด้วย เพื่อมิให้ธนาคารสมาชิกได้รับความเสียหายดังที่มีมาอีก เช่นนี้ ถือได้ว่าการแจ้งข่าวดังกล่าวเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 329
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลพฤติการณ์หลอกลวงของบุคคลให้ธนาคารทราบเพื่อป้องกันความเสียหาย ไม่เป็นหมิ่นประมาท
จำเลยที่ 2 ในฐานะเลขาธิการ ได้แจ้งข่าวการประชุมของสมาคมธนาคารไทย จำเลยที่ 1 ตามมติของที่ประชุม โดยทำเป็นหนังสือเวียนลับเฉพาะถึงสมาชิก แจ้งให้ทราบถึงพฤติการณ์ของบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ไปขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจากธนาคารสมาชิกแล้วไม่มาติดต่อขอรับเอกสารไปรับของทำให้ธนาคารสมาชิกได้รับความเสียหาย โดยในหนังสือเวียนได้ระบุชื่อกลุ่มบุคคลดังกล่าวซึ่งมีชื่อโจทก์รวมอยู่ด้วย เพื่อมิให้ธนาคารสมาชิกได้รับความเสียหายดังที่มีมาอีก เช่นนี้ ถือได้ว่าการแจ้งข่าวดังกล่าวเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 329
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและหมิ่นประมาทด้วยเอกสาร การลงโทษตามบทมาตราที่ถูกต้อง
อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้บังคับบัญชามีหน้าที่สอบสวนความผิดทางวินัยแก่โจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการในกรมฯ เมื่อจำเลยทำหนังสืออันมีข้อความเท็จร้องเรียนกล่าวหาโจทก์ต่ออธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขซึ่งอาจทำให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นการแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน
ข้อความที่จำเลยร้องเรียนมีความหมายไปในทางกล่าวหาว่าโจทก์ประพฤติตนไม่สมควรเป็นไปในทำนองเรียกร้องเอาเงินจากจำเลยโดยไม่สุจริต จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 ด้วย
ความผิดในฐานหมิ่นประมาท แม้จะกระทำด้วยเอกสารเป็นหนังสือร้องเรียน แต่ก็หาได้กระทำด้วยการโฆษณาไม่จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 326 เท่านั้น แม้โจทก์จะมิได้อ้างบทมาตรานี้ในคำขอท้ายฟ้อง คงอ้างแต่มาตรา 328 ก็เป็นการอ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษตามบทมาตราที่ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรค 4
หากบทกฎหมายที่จำเลยกระทำผิดกรรมเดียวมีอัตราโทษเท่ากันอยู่ 2 บท ศาลก็ลงโทษบทหนึ่งบทใดในสองบทนั้น
ข้อความที่จำเลยร้องเรียนมีความหมายไปในทางกล่าวหาว่าโจทก์ประพฤติตนไม่สมควรเป็นไปในทำนองเรียกร้องเอาเงินจากจำเลยโดยไม่สุจริต จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 ด้วย
ความผิดในฐานหมิ่นประมาท แม้จะกระทำด้วยเอกสารเป็นหนังสือร้องเรียน แต่ก็หาได้กระทำด้วยการโฆษณาไม่จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 326 เท่านั้น แม้โจทก์จะมิได้อ้างบทมาตรานี้ในคำขอท้ายฟ้อง คงอ้างแต่มาตรา 328 ก็เป็นการอ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษตามบทมาตราที่ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรค 4
หากบทกฎหมายที่จำเลยกระทำผิดกรรมเดียวมีอัตราโทษเท่ากันอยู่ 2 บท ศาลก็ลงโทษบทหนึ่งบทใดในสองบทนั้น