พบผลลัพธ์ทั้งหมด 283 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4249/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ศาลยืนความผิดมาตรา 326 แม้เกินอำนาจศาลแขวงตามมาตรา 328
ความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 เป็นบทความผิดลักษณะฉกรรจ์ของความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กฎหมายหาได้บัญญัติแยกการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กับความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 ออกต่างหากจากกันไม่ เมื่อเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 แล้ว ก็ไม่จำต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับมาลงโทษอีกดังนี้ เมื่อศาลแขวงไม่มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 เพราะเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาและได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดตามมาตรา 328 ไปแล้ว เมื่อจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยการโฆษณาที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 326 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4249/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา: ศาลแขวงปรับบทลงโทษตามมาตรา 328 มิได้ แม้เป็นบทหนักกว่า
ความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 เป็นบทความผิดลักษณะฉกรรจ์ของความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กฎหมายหาได้บัญญัติแยกการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กับความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 ออกต่างหากจากกันไม่
ศาลแขวงไม่มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 328 เพราะเกินอำนาจพิจารณาพิพากษา และได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดตามมาตรา 328 ไปแล้วเท่านั้น หาใช่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 326 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามมาตรา 326 จึงชอบแล้ว
ศาลแขวงไม่มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 328 เพราะเกินอำนาจพิจารณาพิพากษา และได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดตามมาตรา 328 ไปแล้วเท่านั้น หาใช่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 326 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามมาตรา 326 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวผู้เขียนด้วยนามปากกา: พยานหลักฐานต้องชัดเจนและมีเหตุผลน่าเชื่อถือ
การใช้นามปากกาแทนชื่อจริง บุคคลทั่วไปจะรู้จักแต่นามปากกาไม่สามารถรู้ชื่อจริงได้ แม้จะเป็นบุคคลหรือเจ้าพนักงานตำรวจในท้องที่นั้นก็ตาม เพราะการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจในท้องที่นั้นไม่ได้ทำให้เกิดความรู้ขึ้นมา ได้ว่านามปากกาใดเป็นของผู้ใด คำเบิกความของ พันตำรวจโท อ. ไม่ได้แสดงเหตุผลที่น่าเชื่อถือว่าตนรู้ได้อย่างไรว่าจำเลยที่ 2 ใช้นามปากกาว่าคมแฝกพยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนัก คดีรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้เขียนคอลัมน์สังคมบ้านเรา ในหนังสือพิมพ์บ.โดยใช้นามปากกาว่าคมแฝก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การติชมด้วยความสุจริต vs. ใส่ความทำลายชื่อเสียง และขอบเขตการโฆษณาคำพิพากษา
ข้อความที่จำเลยที่ 1 ลงพิมพ์โฆษณาว่าโจทก์เรียกเงิน 5 ล้าน ในการถ่ายภาพนู้ด นั้น จำเลยที่ 1 มิได้อ้างถึงข้อความ จริงอันใดเลยในการแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งไม่มีข้อความ ที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะปกป้องโจทก์ แต่กลับ เป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 มุ่งประสงค์ใส่ความ เพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริง เข้าใจผิด ดูหมิ่น เกลียดชังโจทก์ อันส่งผลกระทบต่อเกียรติยศและสถานะในทางสังคมของโจทก์หาใช่เป็นการติ ชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่ จึงเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับการยกเว้นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 การที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332 กำหนดให้คดี หมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง (2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์ หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยให้จำเลย เป็นผู้ชำระค่าโฆษณานั้นเป็นการให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณา คำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณา คำขออภัยด้วย ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัยด้วย จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือจากโทษ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคหนึ่ง ทั้งการที่สั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำพิพากษา ของศาลทั้งหมดนั้นก็เกินความจำเป็น สมควรให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำพิพากษาของศาลโดยย่อพอได้ใจความ โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า บริษัท ข.จำเลยที่ 2 เป็นผู้ใส่ความโจทก์หรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำ ความผิดหรือรู้ว่าข้อความที่ตีพิมพ์เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ดังนั้น ลำพังแต่เพียงได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและ จำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป จึงไม่พอรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากหนังสือเสนอแนวทางปรับปรุงการบริหาร การกระทำของผู้บริหารระดับสูงไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท
โจทก์ทำงานกับจำเลยในหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคลการที่โจทก์เห็นปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารของผู้จัดการทั่วไป โจทก์จึงมีหนังสือถึงประธานกรรมการจำเลยซึ่งมีข้อความว่า "ผู้จัดการทั่วไปขาดการเรียนรู้ถึงการบริหารงาน ทำงานไม่เป็น ปฏิบัติไป ในทางลิดรอนสิทธิอำนาจในการบริหารงานของหัวหน้าแผนก งานทุกอย่างจะต้องผ่านการเห็นชอบทำให้พนักงานทำงานกันไม่ได้ เต็มที่เนื่องจากการหวาดกลัว การวิตกว่าจะถูกตัดค่าจ้าง และหรือจ่ายค่าชดเชยแก่โรงแรม" และขอเข้าพบประธานกรรมการเพื่อต้องการเสนอปัญหา และประสงค์ที่จะเสนอข้ออันควรปรับปรุงแก้ไขต่อประธานกรรมการผู้มีอำนาจในการตัดสินใจได้ อันเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่เป็นฝ่ายบริหารระดับสูงด้วยคนหนึ่งเท่านั้นทั้งถ้อยคำตามหนังสือไม่มีข้อความตอนใดดูถูกดูหมิ่นอันเป็นการหมิ่นประมาทผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลใด ๆ ของจำเลยอันถือได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรง การกระทำของโจทก์อาจเป็น ผลดีต่อจำเลยก็ได้ เมื่อโจทก์ไม่มีความผิดใดในอันที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการเลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าและค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากหนังสือร้องเรียนปัญหาการบริหารของผู้บังคับบัญชา
โจทก์ทำงานกับจำเลยในหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล การที่โจทก์เห็นปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารของผู้จัดการทั่วไป โจทก์จึงมีหนังสือถึงประธานกรรมการจำเลยซึ่งมีข้อความว่า "ผู้จัดการทั่วไปขาดการเรียนรู้ถึงการบริหารงาน ทำงานไม่เป็น ปฏิบัติไปในทางลิดรอนสิทธิอำนาจในการบริหารงานของหัวหน้าแผนก...งานทุกอย่างจะต้องผ่านการเห็นชอบ...ทำให้พนักงานทำงานกันไม่ได้เต็มที่เนื่องจากการหวาดกลัว การวิตกว่าจะถูกตัดค่าจ้างและหรือจ่ายค่าชดเชยแก่โรงแรม" และขอเข้าพบประธานกรรมการเพื่อต้องการเสนอปัญหา และประสงค์ที่จะเสนอข้ออันควรปรับปรุงแก้ไขต่อประธานกรรมการผู้มีอำนาจในการตัดสินใจได้ อันเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่เป็นฝ่ายบริหารระดับสูงด้วยคนหนึ่งเท่านั้น ทั้งถ้อยคำตามหนังสือไม่มีข้อความตอนใดดูถูกดูหมิ่นอันเป็นการหมิ่นประมาทผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลใด ๆ ของจำเลย อันถือได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรง การกระทำของโจทก์อาจเป็นผลดีต่อจำเลยก็ได้ เมื่อโจทก์ไม่มีความผิดใดในอันที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงพิจารณาคดีหมิ่นประมาท: แยกความผิดเป็นกรรมต่างได้ หากมีโทษไม่เกินอำนาจ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326,328,83ต่อศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องแยกเป็น3ข้อแต่ละข้อวันเวลาเกิดเหตุต่างกันและการกระทำของจำเลยไม่เหมือนกันแต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองจึงเป็นความผิดหลายกรรมมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทที่ศาลจะต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา328ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90เมื่อปรากฏว่าความผิดฟ้องข้อ1เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา15ประกอบด้วยมาตรา22(5)ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326ตามฟ้องข้อ1นี้ได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดีแม้ว่าความผิดตามฟ้องข้อ2และข้อ3จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา328ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกิน200,000บาทเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงพิจารณาคดีหมิ่นประมาท การแบ่งแยกความผิดหลายกรรม และการพิจารณาเฉพาะข้อที่อยู่ในอำนาจ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328,83 ต่อศาลแขวง โดยบรรยายฟ้องแยกเป็น 3 ข้อ แต่ละข้อวันเวลาเกิดเหตุต่างกันและการกระทำของจำเลยไม่เหมือนกันแต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองจึงเป็นความผิดหลายกรรมมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทที่ศาลจะต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เมื่อปรากฏว่าความผิดฟ้องข้อ 1เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22(5)ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ตามฟ้องข้อ 1 นี้ได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดีแม้ว่าความผิดตามฟ้องข้อ 2 และข้อ 3 จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกิน 200,000 บาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงพิจารณาคดีหมิ่นประมาทหลายกรรม การแยกพิจารณาเฉพาะกรรมที่อยู่ในอำนาจ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 326, 328,83 ต่อศาลแขวง โดยบรรยายฟ้องแยกเป็น 3 ข้อ แต่ละข้อวันเวลาเกิดเหตุต่างกันและการกระทำของจำเลยไม่เหมือนกัน แต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองจึงเป็นความผิดหลายกรรม มิใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทที่ศาลจะต้องลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 328 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90เมื่อปรากฏว่าความผิดตามฟ้องข้อ 1 เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 326 ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22 (5) ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับความผิดตาม ป.อ.มาตรา 326 ตามฟ้องข้อ 1 นี้ได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดี แม้ว่าความผิดตามฟ้องข้อ 2 และข้อ 3 จะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 328 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใส่ความหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การติชมด้วยความเป็นธรรม vs. การยืนยันข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า วันที่ 23 ธันวาคม 2532 เวลากลางวันจำเลยที่ 1 ใส่ความโจทก์ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ โดยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า "อย่างไรก็ตาม ได้รับเอกสารสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า ส.ส.พรรครัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น 4 คน คือ นายไชยยศ จิรเมธากร (โจทก์)ส.ส. อุดรธานี นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ ส.ส. อุดรธานี นายอุดร ทองน้อย ส.ส.ยโสธร และนายประณต เสริฐวิชา ส.ส. ร้อยเอ็ด ทั้ง 4 คน เป็น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ตนมีหลักฐานต่าง ๆ พร้อมแล้ว และพร้อมที่จะไปพิสูจน์กันในศาล หากต้องการ" โดยจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะให้หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์ข้อความที่จำเลยที่ 1ให้สัมภาษณ์เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชนทั่วไป ข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมว่า โจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดที่บ่งชี้ว่า โจทก์ได้ร่วมกับผู้มีชื่อหลอกลวงคนงานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นอันแสดงว่าโจทก์เป็นบุคคลทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือไม่เหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ประการใด ทั้งไม่อาจเข้าใจได้ว่า โจทก์มีส่วนร่วมในการฉ้อโกงแรงงานดังกล่าว ข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์นั้นยังไม่ถือว่าเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง
จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า โจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น และจำเลยที่ 2 นำข้อความที่จำเลยที่ 1ให้สัมภาษณ์ไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ โดยพาดหัวข่าวว่า "แฉ 4 ส.ส. ประชาธิปัตย์พัวพันตุ๋นคนงานไปประเทศญี่ปุ่น" ซึ่งข้อความที่พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ที่จำเลยที่ 2นำไปลงพิมพ์นั้น ไม่ตรงกับข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ ทั้งเนื้อข่าวที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ตีพิมพ์แต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ว่า มีหลักฐานว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น จำเลยที่ 2มิได้อ้างข้อความจริงใดเลยในการแสดงความคิดเห็นในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์เช่นนั้น และข้อความที่จำเลยที่ 2 ลงพิมพ์พาดหัวข่าวก็เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงเพื่อให้ประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทุกคนเชื่อว่า โจทก์มีส่วนร่วมทุจริตฉ้อโกงแรงงานราษฎร ไม่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ จึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 328
ศาลล่างทั้งสองให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โฆษณาคำพิพากษาในลักษณะใด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ชัดแจ้ง และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกา และจำเลยที่ 4ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 และมาตรา 225
จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า โจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น และจำเลยที่ 2 นำข้อความที่จำเลยที่ 1ให้สัมภาษณ์ไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ โดยพาดหัวข่าวว่า "แฉ 4 ส.ส. ประชาธิปัตย์พัวพันตุ๋นคนงานไปประเทศญี่ปุ่น" ซึ่งข้อความที่พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ที่จำเลยที่ 2นำไปลงพิมพ์นั้น ไม่ตรงกับข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ ทั้งเนื้อข่าวที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ตีพิมพ์แต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ว่า มีหลักฐานว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น จำเลยที่ 2มิได้อ้างข้อความจริงใดเลยในการแสดงความคิดเห็นในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์เช่นนั้น และข้อความที่จำเลยที่ 2 ลงพิมพ์พาดหัวข่าวก็เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงเพื่อให้ประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทุกคนเชื่อว่า โจทก์มีส่วนร่วมทุจริตฉ้อโกงแรงงานราษฎร ไม่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ จึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 328
ศาลล่างทั้งสองให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โฆษณาคำพิพากษาในลักษณะใด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ชัดแจ้ง และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกา และจำเลยที่ 4ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 และมาตรา 225