พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11720/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจออกหมายจับของผู้พิพากษา และสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเมื่อศาลชั้นต้นปฏิเสธยกเลิกหมายจับ
เมื่อมีการกล่าวหาว่าบุคคลใดกระทำความผิดอาญา บุคคลนั้นย่อมตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (2) พนักงานสอบสวนย่อมยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายจับผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 66 เพื่อให้ได้ตัวมาสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ซึ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (1) กำหนดให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจออกหมายจับได้ ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 59 วรรคสี่ ตอนท้าย กำหนดให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมายจับได้หากความปรากฏต่อศาลในภายหลังว่า มีการออกหมายจับไปโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และมาตรา 68 กำหนดให้หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้นขาดอายุความหรือศาลซึ่งออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน ดังนี้ อำนาจในการออกหมายจับผู้ต้องหาจึงเป็นอำนาจเฉพาะตัวของผู้พิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นยกเลิกหรือเพิกถอนหมายจับ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องจะอุทธรณ์หรือฎีกาอีกไม่ได้
ปัญหาว่าผู้ร้องมีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ปัญหาว่าผู้ร้องมีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9555/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีการกู้ยืมที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน: เฉพาะรัฐเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดี
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 เป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา โดยได้บัญญัติถึงวิธีการและลักษณะการกู้ยืมในกรณีเช่นนี้ไว้ รวมถึงการปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนและวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นมีอำนาจใช้มาตรการดังกล่าว ดังนี้ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมทั้งแปดไม่มีอำนาจฟ้อง จึงไม่อาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดตามพระราชกำหนดดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์และฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้ล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเฉพาะคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องคดีอาญาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาบุกรุก แม้ปรากฏว่าโจทก์อยู่ในฐานะเป็นบุคคลล้มละลายที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น หมายถึง เฉพาะแต่การฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ไม่รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วย และการที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลายก็ไม่มีฐานะถึงขนาดจะตกเป็นผู้ไร้ความสามารถอันจำต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) อีกทั้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5 และ 6 มิได้มีบทมาตราใดกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการแทนลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วด้วย ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3954/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทกองทัพ: การระบุเจาะจงและการตีความหมายของข้อความ
ประเทศไทยมีกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศจำเลยให้สัมภาษณ์และลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับกองทัพโดยมิได้ระบุเจาะจงว่าเป็น กองทัพใด ข้อความที่เกี่ยวกับอาวุธปืนใหญ่ก็มีไว้ใช้ในกองทัพใดก็ได้ส่วนการซื้อเครื่องบิน รถถังและอาวุธต่าง ๆก็ไม่ได้หมายความถึงกองทัพบกโดยเฉพาะ และที่ว่าซื้อมาแล้วก็มากองที่สระบุรี ก็มีความหมายว่า ของที่กองทัพซื้อมาถูกทอดทิ้งไว้ที่จังหวัดสระบุรี ถึงแม้ในจังหวัดสระบุรีจะมีหน่วยงานกองทัพบกเท่านั้น ก็จะตีความหมายเลยไปถึงว่าเป็นกองทัพบกไม่ได้ ดังนั้น จะถือว่าจำเลยใส่ความหมิ่นประมาทกองทัพบกโดยเฉพาะหาได้ไม่ กองทัพบกจึงไม่เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต - การนับกรรมความผิดจากการอนุมัติเบิกเกินบัญชี
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารโจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตโดยจำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยจำเลยไม่มีอำนาจ แม้จะได้ความว่า หลังจากจำเลยลาออกจากโจทก์แล้ว ต่อมาโจทก์ได้ยอมรับการชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่บริษัท ส.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ก็ตาม ก็เป็นเพียงการที่โจทก์ผ่อนผันให้บริษัทดังกล่าวชำระหนี้ที่ก่อไว้เท่านั้น หาเป็นการสละหรือยอมให้หนี้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นระงับไปไม่ เมื่อจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตต่อโจทก์อันเป็นความผิดแล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ โดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายหรือไม่
จำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่มีอำนาจหลายวันด้วยกัน แต่ในแต่ละวันจำเลยจะอนุมัติเพียงครั้งเดียว ดังนี้แม้จำเลยจะมีเจตนาอย่างเดียวกันในอันที่จะให้บริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ชอบเจตนาเช่นนั้นก็มีได้เฉพาะในวันหนึ่งวันหนึ่ง เมื่อสิ้นวันแล้วจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นอีกก็เป็นการกระทำอีกวันหนึ่ง ซึ่งเป็นการกระทำต่างหากจากวันที่ล่วงมาเป็นอีกกรรมหนึ่ง ดังนั้นการที่จำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปวันหนึ่งเป็นการกระทำกรรมหนึ่ง จำเลยอนุมัติทั้งหมด 144 วัน จึงเป็นความผิด 144 กรรม มิใช่เป็นความผิด 338 กรรม ตามที่จำเลยอนุมัติเช็คและใบหักหนี้แต่ละฉบับ
จำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่มีอำนาจหลายวันด้วยกัน แต่ในแต่ละวันจำเลยจะอนุมัติเพียงครั้งเดียว ดังนี้แม้จำเลยจะมีเจตนาอย่างเดียวกันในอันที่จะให้บริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ชอบเจตนาเช่นนั้นก็มีได้เฉพาะในวันหนึ่งวันหนึ่ง เมื่อสิ้นวันแล้วจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นอีกก็เป็นการกระทำอีกวันหนึ่ง ซึ่งเป็นการกระทำต่างหากจากวันที่ล่วงมาเป็นอีกกรรมหนึ่ง ดังนั้นการที่จำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปวันหนึ่งเป็นการกระทำกรรมหนึ่ง จำเลยอนุมัติทั้งหมด 144 วัน จึงเป็นความผิด 144 กรรม มิใช่เป็นความผิด 338 กรรม ตามที่จำเลยอนุมัติเช็คและใบหักหนี้แต่ละฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานเบิกเงินเกินบัญชี การแบ่งกรรมและความรับผิดชอบ
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารโจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังจำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตโดยจำเลยอนุมัติให้บริษัทส. เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยจำเลยไม่มีอำนาจแม้จะได้ความว่าหลังจากจำเลยลาออกจากโจทก์แล้วต่อมาโจทก์ได้ยอมรับการชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่บริษัทส. ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ก็ตามก็เป็นเพียงการที่โจทก์ผ่อนผันให้บริษัทดังกล่าวชำระหนี้ที่ก่อนไว้เท่านั้นหาเป็นการสละหรือยอมให้หนี้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นระงับไม่เมื่อจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตต่อโจทก์อันเป็นความผิดแล้วโจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่คำนึงถึงว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายหรือไม่ จำเลยอนุมัติให้บริษัทส. เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่มีอำนาจหลายวันด้วยกันแต่ในแต่ละวันจำเลยจะอนุมัติเพียงครั้งเดียวดังนี้แม้จำเลยจะมีเจตนาอย่างเดียวกันในอันที่จะให้บริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ชอบเจตนาเช่นนั้นก็มีได้เฉพาะในวันหนึ่งวันหนึ่งเมื่อสิ้นวันแล้วจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นอีกก็เป็นการกระทำอีกวันหนึ่งซึ่งเป็นการกระทำต่างหากจากวันที่ล่วงมาเป็นอีกกรรมหนึ่งดังนั้นการที่จำเลยอนุมัติให้บริษัทส.เบิกเงินเกินบัญชีไปวันหนึ่งเป็นการกระทำกรรมหนึ่งจำเลยอนุมัติทั้งหมด144วันจึงเป็นความผิด144กรรมมิใช่เป็นความผิด338กรรมตามที่จำเลยอนุมัติเช็คและใบหักหนี้แต่ละฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4707/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้ใช้เงินได้ ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง แม้จะมีการชำระหนี้แล้ว ความผิดต่างกรรมต่างวาระ
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายย่อมมีอำนาจที่จะนำเช็คพิพาทมาฟ้องดำเนินคดีแก่จำเลยผู้ออกเช็คพิพาทได้ หลังจากโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแล้ว ส.ได้ชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์นั้นเป็นกรณีที่ความรับผิดในส่วนแพ่งเกี่ยวกับเช็คพิพาทที่มีต่อโจทก์ระงับไปเท่านั้นคดีอาญาหายกเลิกไปไม่ โจทก์ยังคงเป็นผู้เสียหายในส่วนอาญาอยู่ จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทโดยประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 2ที่ 3 ออกเช็คพิพาทในฐานะส่วนตัวต่างหากจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2ที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาท เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงมีความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 2 ที่ 3 อาจมีเจตนาใช้เงินตามเช็คแต่ละฉบับหรือไม่แตกต่างแยกกันได้ ความผิดสำหรับเช็คแต่ละฉบับจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก: ผู้เสียหายมิใช่ผู้มีสิทธิฟ้อง
ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522เป็นความผิดที่รัฐมีหน้าที่ดำเนินการกับผู้กระทำผิดผู้เสียหายซึ่งถูกจำเลยขับรถชนมิใช่ผู้เสียหายในความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์เป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหายเฉพาะข้อหาตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก: ผู้เสียหายไม่ใช่โจทก์โดยตรง
ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522เป็นความผิดที่รัฐมีหน้าที่ดำเนินการกับผู้กระทำผิดผู้เสียหายซึ่งถูกจำเลยขับรถชนมิใช่ผู้เสียหายในความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์เป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหายเฉพาะข้อหาตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีภาษีอากรของตำรวจ: ต้องมีคำขอจากเจ้าพนักงานสรรพากรเท่านั้น
เจ้าพนักงานตำรวจจะดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรซึ่งมีเฉพาะแต่ข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกรมสรรพากร ร้องขอเท่านั้น หาได้มีข้อยกเว้นให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับในกรณีความผิดซึ่งหน้าแต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้เป็นยุติว่าเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรมิได้มีคำขอให้ดำเนินคดีแต่อย่างใดเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนดำเนินคดีการสอบสวนที่ได้กระทำไปจึงไม่ชอบพนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2525)