คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 199

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13262/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, วางเพลิงเผาทรัพย์, และซ่อนเร้นศพ ผู้กระทำต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปส่ง บ. ที่บ้านแล้วย้อนกลับไปยังกระท่อมที่เกิดเหตุอีกครั้งหนึ่ง และร่วมกับจำเลยที่ 1 ยกร่างของผู้ตายขึ้นรถกระบะคันเกิดเหตุ ทั้งขณะที่จำเลยที่ 1 นำฟางมาคลุมร่างของผู้ตาย และนำยางในรถยนต์มาวางทับ แล้วตระเตรียมน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นรถกระบะนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็อยู่ในเหตุการณ์ด้วย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องจุดไฟเผารถกระบะคันเกิดเหตุและร่างของผู้ตายเพื่ออำพรางคดี จากนั้นจำเลยที่ 3 ก็นั่งไปด้วยในรถกระบะที่จำเลยที่ 1 ขับ โดยมีจำเลยที่ 2 ขับรถอีกคันหนึ่งแล่นติดตามไป แล้วจำเลยทั้งสามร่วมกันจุดไฟเผารถกระบะคันเกิดเหตุพร้อมร่างของผู้ตายซึ่งอยู่ในรถดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันจุดไฟเผารถกระบะคันเกิดเหตุโดยเข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว เป็นการกระทำโดยมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จึงไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย แต่การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้ใช้ความระมัดระวังตรวจดูให้ดีก่อนว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วหรือไม่ ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 2 และที่ 3 จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น
ความผิดฐานร่วมกันซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย ตาม ป.อ. มาตรา 199 นั้น การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานนี้ ผู้กระทำจะต้องซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพซึ่งหมายความถึงร่างกายของคนที่ตายแล้ว แต่เมื่อขณะที่ผู้ตายถูกเผา ผู้ตายยังไม่ถึงแก่ความตาย ร่างกายของผู้ตายในขณะนั้นจึงไม่ใช่ศพ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพ อันเป็นองค์ประกอบความผิด การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และกรณีเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10547/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่เพียงพอพิสูจน์การกระทำผิดร่วมกันปล้นทรัพย์และซ่อนเร้นศพ ศาลยกฟ้อง
ข้อหาร่วมกันซ่อนเร้นศพตาม ป.อ. มาตรา 199 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงเป็นคดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกไม่เกินห้าปี ถ้าจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง แต่ก็มีอำนาจที่จะฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริงได้ หาจำต้องรับฟังเป็นเด็ดขาดตามคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าคนร้ายร่วมกันปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วเอาศพไปซ่อนไว้เป็นการกระทำต่อเนื่องกัน แต่พยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอให้รับฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนร่วมในการปล้นทรัพย์ผู้ตายและซ่อนเร้นศพผู้ตายอย่างไร พยานหลักฐานของโจทก์จึงยังไม่เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10547/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่เพียงพอฟังว่าจำเลยมีส่วนร่วมปล้นทรัพย์และซ่อนเร้นศพ แม้จะรับสารภาพ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง
ข้อหาร่วมกันซ่อนเร้นศพ ตาม ป.อ. มาตรา 199 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงเป็นคดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปี แม้จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีอำนาจฟังพยานโจทก์ จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำผิดจริง หาจำต้องรับฟังเป็นเด็ดขาดตามคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อตามทางพิจารณาได้ความว่าคนร้ายร่วมกันปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วเอาศพผู้ตายไปซ่อนไว้เป็นการกระทำต่อเนื่องกัน และพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอให้รับฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนร่วมในการปล้นทรัพย์ผู้ตายและซ่อนเร้นศพผู้ตายอย่างไร พยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้องจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9060/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 กรณีโจทก์ร่วมฎีกาโดยไม่ได้รับอนุญาต
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เฉพาะในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 199 ประกอบมาตรา 83 เพียงข้อเดียว ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ต่างพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 83 ดังกล่าว โดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 83 อีกไม่ได้ เพราะต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 เว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา หรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 แต่โจทก์ร่วมฎีกาโดยไม่ปรากฏว่ามีผู้อนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ฎีกาของโจทก์ร่วมจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10278/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลากศพเพื่อปิดบังการตายและอำพรางคดี ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 199
จำเลยลากศพผู้ตายไปไว้ที่ถนนสาธารณะหน้าบ้านห่างออกไปประมาณ 30 เมตร แม้บริเวณนั้นไม่อาจปิดบังการตายได้ ก็เป็นการกระทำเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตายและเพื่ออำพรางการกระทำความผิดของตนด้วย ประกอบกับจำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานนี้มาตั้งแต่ต้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเคลื่อนย้ายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย และเพื่ออำพรางคดีตาม ป.อ. มาตรา 199

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยทรมาน, ลักทรัพย์, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, ร่วมกันทำลายศพ: ศาลแก้โทษและกระทงความผิด
จำเลยที่ 3 มีส่วนร่วมปรึกษาหารือกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยตลอดว่าจะทำอย่างไรต่อไปไม่ใช่เพียงแต่ร่วมทางไปโดยจำยอม แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ใช่ผู้ลงมือทำร้ายและฆ่าผู้ตายทั้งสอง แต่เป็นผู้ควบคุมตัวผู้ตายที่ 2 อันเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังและขับรถอีกคันหนึ่งติดตามไปตลอดทาง อันมีการแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อให้การกระทำความผิดทั้งหมดสำเร็จผล จึงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา หาใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังที่จำเลยที่ 3 ฎีกาไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 3 ฟังไม่ขึ้น
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ตายที่ 2 และฆ่าผู้ตายที่ 2 โดยทรมานและกระทำทารุณโหดร้ายเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยทรมานและกระทำทารุณโหดร้ายอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ให้ประหารชีวิต ลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) แล้วคงจำคุกตลอดชีวิต เมื่อลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้วจึงไม่อาจนำโทษความผิดฐานอื่นมาลงแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้อีกและศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาแก้ข้อนี้นั้นไม่ถูกต้อง ขัดต่อ ป.อ. มาตรา 91 ที่บัญญัติว่า สำหรับความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ซึ่งจะกระทำไม่ได้เฉพาะโทษประหารชีวิตที่โดยสภาพแล้วไม่อาจกำหนดโทษอื่นได้อีกเท่านั้น กรณีจึงต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วก็คงลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ตลอดชีวิตตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดโทษและเรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ร่วม, การจำกัดสิทธิฎีกา, ความผิดฐานทำลายพยานหลักฐาน และการพิจารณาความเสียหายที่แท้จริง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานใดต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและฐานลักทรัพย์ซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ส่วนความผิดเกี่ยวกับการทำลายพยานหลักฐานไม่ใช่ความผิดต่อสาธารณชน แต่เป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐโดยตรง แม้จำเลยจะย้ายศพ จ. ผู้ตายเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตายก็ตามโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาผู้ตายก็ไม่ได้เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ ข้อหาทำลายพยานหลักฐานจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยสถานหนักในข้อหาทำลายพยานหลักฐาน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในข้อหาดังกล่าวแล้วพิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลล่างให้จำคุกจำเลยเกินห้าปีโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ข้อห้ามฎีกาดังกล่าวนี้ย่อมใช้บังคับโจทก์ร่วมด้วย เพราะ ป.วิ.อ. มาตรา 2 (14) ได้นิยามศัพท์คำว่า "โจทก์" ไว้ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4683/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีฆ่าผู้อื่น โดยประเด็นสำคัญอยู่ที่การพิสูจน์ความผิดฐานมีอาวุธปืน และการย้ายศพเพื่อปิดบังความตาย
จำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามฟ้องโจทก์แต่ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน โจทก์นำสืบแต่เพียงว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ โดยโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลย เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนหรือไม่ และอาวุธปืนดังกล่าวมีเครื่องหมายของเจ้าพนักงาน ประทับหรือไม่ เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณาพยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักพอลงโทษจำเลยในฐานะนี้ สำหรับความผิดฐานย้ายศพเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ว่า ศพของผู้ตายถูกเคลื่อนย้ายไปเพียง 20 เมตรและย้ายไปอยู่ในที่เปิดเผยสามารถถูกพบได้โดยง่ายจึงไม่มีลักษณะเป็นการย้ายเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายอันจะเป็นความผิดในฐานนี้จำเลยจึงไม่มีความผิดในฐานนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6202/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีทำลายหลักฐาน: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากความผิด
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 199เป็นความผิดเกี่ยวกับการทำลายพยานหลักฐาน ไม่ใช่ความผิดต่อสาธารณชน จึงเป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐโดยตรงแม้จำเลยทั้งห้าจะร่วมกันย้ายศพ บ. เพื่อปิดบังเหตุแห่งการตายก็ตาม โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาของบ. ก็ยังเรียกไม่ได้ว่าเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าในข้อหาความผิดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6202/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีทำลายพยานหลักฐาน: บิดามารดาผู้ตายไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา199เป็นความผิดเกี่ยวกับการทำลายพยานหลักฐานไม่ใช่ความผิดต่อสาธารณชนจึงเป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐโดยตรงแม้จำเลยทั้งห้าจะร่วมกันย้ายศพผู้ตายเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตายก็ตามโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาของผู้ตายก็ยังเรียกไม่ได้ว่าเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา2(4)จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าในข้อหาความผิดดังกล่าว อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 3