พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4802/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีปุ๋ยเคมีปลอม: การแยกความผิดฐานขายและผลิต และผลของการมีคำสั่งไม่ฟ้องก่อนหน้านี้
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันขายปุ๋ยเคมีปลอมให้แก่สหกรณ์การเกษตร ก. แตกต่างจากสำนวนการสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรเก้าเลี้ยวในอีกคดีหนึ่งที่กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันนำปุ๋ยเคมีปลอมมาให้สหกรณ์การเกษตร ก. ขาย แต่การกระทำความผิดในข้อหาร่วมกันขายปุ๋ยเคมีปลอมของจำเลยทั้งสองที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้กับที่พนักงานอัยการวินิจฉัยเนื้อหาสาระแห่งคดีแล้วมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องในอีกคดีหนึ่งดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดเดียวกัน มิใช่ความผิดใหม่หรือความผิดที่ต่อเนื่องกันมา เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าได้พยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดี ซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานดังกล่าวได้ จึงต้องห้ามมิให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์สอบสวนจำเลยทั้งสองในเรื่องร่วมกันขายปุ๋ยเคมีปลอมอันเป็นเรื่องเดียวกันนั้นอีกตาม ป.วิ.อ. มาตรา 147 ถือไม่ได้ว่าการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ในข้อหาร่วมกันขายปุ๋ยเคมีปลอมเป็นการสอบสวนโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันขายปุ๋ยเคมีปลอมตามมาตรา 120
ความผิดฐานร่วมกันขายปุ๋ยเคมีปลอมในท้องที่สถานีตำรวจภูธรเก้าเลี้ยว กับความผิดฐานร่วมกันผลิตปุ๋ยเคมีปลอมที่เกิดขึ้นในท้องที่สถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ เป็นความผิดสำเร็จในแต่ละกรรมแยกต่างหากจากกัน แม้จะเป็นกรณีความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ซึ่งทั้งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเก้าเลี้ยวและพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ต่างอาจมีอำนาจสอบสวน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (4) แต่การที่กรมวิชาการเกษตรแยกกล่าวโทษแต่ละข้อหาความผิดต่อพนักงานสอบสวนที่ความผิดแต่ละข้อหาเกิดในเขตอำนาจ กับมีการสอบสวนในแต่ละข้อหาความผิดแยกต่างหากจากกัน จึงมิใช่เป็นกรณีที่มีพนักงานสอบสวนหลายท้องที่มาเกี่ยวข้องซึ่งต้องกำหนดพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนตามมาตรา 19 วรรคสอง การที่ ก. ผู้รับมอบอำนาจจากกรมวิชาการเกษตรไปร้องทุกข์ต่อพันตำรวจตรี ค. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ในความผิดฐานร่วมกันผลิตปุ๋ยเคมีปลอม พันตำรวจตรี ค. จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 18 วรรคสาม การสอบสวนของพันตำรวจตรี ค. ในข้อหาดังกล่าวจึงเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันผลิตปุ๋ยเคมีปลอมได้ตามมาตรา 120
ความผิดฐานร่วมกันขายปุ๋ยเคมีปลอมในท้องที่สถานีตำรวจภูธรเก้าเลี้ยว กับความผิดฐานร่วมกันผลิตปุ๋ยเคมีปลอมที่เกิดขึ้นในท้องที่สถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ เป็นความผิดสำเร็จในแต่ละกรรมแยกต่างหากจากกัน แม้จะเป็นกรณีความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ซึ่งทั้งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเก้าเลี้ยวและพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ต่างอาจมีอำนาจสอบสวน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (4) แต่การที่กรมวิชาการเกษตรแยกกล่าวโทษแต่ละข้อหาความผิดต่อพนักงานสอบสวนที่ความผิดแต่ละข้อหาเกิดในเขตอำนาจ กับมีการสอบสวนในแต่ละข้อหาความผิดแยกต่างหากจากกัน จึงมิใช่เป็นกรณีที่มีพนักงานสอบสวนหลายท้องที่มาเกี่ยวข้องซึ่งต้องกำหนดพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนตามมาตรา 19 วรรคสอง การที่ ก. ผู้รับมอบอำนาจจากกรมวิชาการเกษตรไปร้องทุกข์ต่อพันตำรวจตรี ค. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์ในความผิดฐานร่วมกันผลิตปุ๋ยเคมีปลอม พันตำรวจตรี ค. จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 18 วรรคสาม การสอบสวนของพันตำรวจตรี ค. ในข้อหาดังกล่าวจึงเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันผลิตปุ๋ยเคมีปลอมได้ตามมาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีพรากผู้เยาว์ต่อเนื่องในหลายท้องที่ และการพิจารณาคดีที่ยังไม่สมบูรณ์
การพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 319 กฎหมายมุ่งคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล มิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพราก เพื่อมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวนหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการกระทบกระทั่งต่ออำนาจปกครองไม่ว่าโดยตรงหรือปริยาย ทั้งกฎหมายไม่ได้จำกัดคำว่าพรากไปโดยวิธีการอย่างใดและไม่ว่าผู้เยาว์เป็นฝ่ายออกไปจากบ้านเองหรือมีผู้ชักนำก็ย่อมเป็นความผิด จำเลยเป็นผู้แจ้งแก่ผู้เยาว์ขณะอยู่กับโจทก์ร่วมที่จังหวัดอุบลราชธานีว่า หาที่พักได้แล้วที่ เอส.ที.แมนชั่น ผู้เยาว์จึงหนีออกจากบ้านของโจทก์ร่วมเดินทางไปหาจำเลยที่กรุงเทพมหานคร ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยกระทบกระเทือนต่ออำนาจปกครองของโจทก์ร่วมที่จังหวัดอุบลราชธานีแล้ว จำเลยไม่ต้องเดินทางมาที่จังหวัดอุบลราชธานีด้วยตนเอง ผู้เยาว์เดินทางออกจากจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งอยู่ในเขตอำนาจสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรเมืองอุบลราชธานี เมื่อผู้เยาว์เดินทางมาถึงสถานีรถไฟดอนเมืองซึ่งอยู่ในเขตอำนาจสอบสวนของสถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง จากนั้นจำเลยพาผู้เยาว์ไปที่ เอส.ที.แมนชั่น เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจสอบสวนของสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลาง เมื่อผู้เยาว์เดินทางไปในหลายท้องที่ต่างกันจึงเป็นกรณีไม่แน่ว่าการกระทำความผิดได้กระทำในท้องที่ใดระหว่างหลายท้องที่และเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (1), (3) และวรรคสอง ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองอุบลราชธานีอันเป็นท้องที่ที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนและเมื่อโจทก์ร่วมไปแจ้งความร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองอุบลราชธานี พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองอุบลราชธานีซึ่งเป็นท้องที่ที่พบการกระทำความผิดอยู่ก่อนจึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสาม (ข) มีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 140, 141 และ 142 ได้