คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 142

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีพรากผู้เยาว์ต่อเนื่องในหลายท้องที่ และการพิจารณาคดีที่ยังไม่สมบูรณ์
การพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 319 กฎหมายมุ่งคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล มิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพราก เพื่อมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวนหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการกระทบกระทั่งต่ออำนาจปกครองไม่ว่าโดยตรงหรือปริยาย ทั้งกฎหมายไม่ได้จำกัดคำว่าพรากไปโดยวิธีการอย่างใดและไม่ว่าผู้เยาว์เป็นฝ่ายออกไปจากบ้านเองหรือมีผู้ชักนำก็ย่อมเป็นความผิด จำเลยเป็นผู้แจ้งแก่ผู้เยาว์ขณะอยู่กับโจทก์ร่วมที่จังหวัดอุบลราชธานีว่า หาที่พักได้แล้วที่ เอส.ที.แมนชั่น ผู้เยาว์จึงหนีออกจากบ้านของโจทก์ร่วมเดินทางไปหาจำเลยที่กรุงเทพมหานคร ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยกระทบกระเทือนต่ออำนาจปกครองของโจทก์ร่วมที่จังหวัดอุบลราชธานีแล้ว จำเลยไม่ต้องเดินทางมาที่จังหวัดอุบลราชธานีด้วยตนเอง ผู้เยาว์เดินทางออกจากจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งอยู่ในเขตอำนาจสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรเมืองอุบลราชธานี เมื่อผู้เยาว์เดินทางมาถึงสถานีรถไฟดอนเมืองซึ่งอยู่ในเขตอำนาจสอบสวนของสถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง จากนั้นจำเลยพาผู้เยาว์ไปที่ เอส.ที.แมนชั่น เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจสอบสวนของสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลาง เมื่อผู้เยาว์เดินทางไปในหลายท้องที่ต่างกันจึงเป็นกรณีไม่แน่ว่าการกระทำความผิดได้กระทำในท้องที่ใดระหว่างหลายท้องที่และเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (1), (3) และวรรคสอง ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองอุบลราชธานีอันเป็นท้องที่ที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนและเมื่อโจทก์ร่วมไปแจ้งความร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองอุบลราชธานี พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองอุบลราชธานีซึ่งเป็นท้องที่ที่พบการกระทำความผิดอยู่ก่อนจึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสาม (ข) มีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 140, 141 และ 142 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5217/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีทางพิพาท ศาลต้องวินิจฉัยความกว้างของทางพิพาท แม้ไม่ได้กำหนดประเด็น
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าไม่มีทางพิพาทซึ่งเท่ากับต่อสู้ถึงความกว้างของทางพิพาทด้วย ศาลจึงต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า มีทางพิพาทหรือไม่ถ้ามีกว้างเท่าใด แม้จะไม่ได้กำหนดประเด็นว่าทางพิพาทกว้างเท่าใดเป็นประเด็นพิพาทไว้ก็ตาม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงความกว้างของทางพิพาทจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4396/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและการฟ้องคดีอาญา: การสอบสวนเพิ่มเติมโดยพนักงานสอบสวนกองปราบปรามหลังพนักงานอัยการยังมิได้สั่งฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานและพระราชบัญญัติศุลกากร เดิมพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดา ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุเป็นผู้สอบสวน ต่อมากรมตำรวจได้แต่งตั้งให้ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนคดีนี้แต่ฝ่ายเดียว พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอรับสำนวนการสอบสวน จากพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดาหลายครั้ง แต่ไม่สามารถรับสำนวนการสอบสวนมาได้ ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดากลับส่งสำนวนการสอบสวนไปยัง พนักงานอัยการโดยมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอสำนวนการสอบสวนคืนจากพนักงานอัยการ ซึ่งขณะนั้นยังมิได้มีคำสั่งให้ฟ้องหรือไม่ฟ้อง จำเลยที่ 1 พนักงานอัยการได้คืนสำนวนการสอบสวนดังกล่าวให้แก่พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนต่อไป โดยสอบบุคคลอื่นเป็นผู้ต้องหาอีกหลายคนซึ่งมีจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วยภายหลังพนักงานอัยการได้แนะนำให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามคืนสำนวนการสอบสวน และต่อมามีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามสอบสวนเพิ่มเติมทำการสอบสวนจนเสร็จสิ้น กรณีเช่นนี้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามยังมีอำนาจทำการสอบสวนคดีนี้อยู่การสอบสวนเพิ่มเติมของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามดังกล่าว หาขัดกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 139 ถึง มาตรา 143 ไม่ การสอบสวนของ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงชอบด้วยกฎหมาย และ พนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4396/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและการฟ้องคดีอาญา: การส่งสำนวนระหว่างพนักงานสอบสวนและการสอบสวนเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานและพระราชบัญญัติศุลกากร เดิมพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดา ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุเป็นผู้สอบสวน ต่อมากรมตำรวจได้แต่งตั้งให้ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนคดีนี้แต่ฝ่ายเดียว พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอรับสำนวนการสอบสวน จากพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดาหลายครั้ง แต่ไม่สามารถรับสำนวนการสอบสวนมาได้ ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดากลับส่งสำนวนการสอบสวนไปยัง พนักงานอัยการโดยมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอสำนวนการสอบสวนคืนจากพนักงานอัยการ ซึ่งขณะนั้นยังมิได้มีคำสั่งให้ฟ้องหรือไม่ฟ้อง จำเลยที่ 1 พนักงานอัยการได้คืนสำนวนการสอบสวนดังกล่าวให้แก่พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนต่อไป โดยสอบ บุคคลอื่นเป็นผู้ต้องหาอีกหลายคนซึ่งมีจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วยภายหลังพนักงานอัยการได้แนะนำให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามคืนสำนวนการสอบสวน และต่อมามีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามสอบสวนเพิ่มเติมทำการสอบสวนจนเสร็จสิ้น กรณีเช่นนี้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามยังมีอำนาจทำการสอบสวนคดีนี้อยู่การสอบสวนเพิ่มเติมของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามดังกล่าว หาขัดกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 139ถึง มาตรา 143 ไม่ การสอบสวนของ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงชอบด้วยกฎหมาย และพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1 และที่ 2 ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประทับฟ้องคดีเด็กและเยาวชน ต้องมีตัวจำเลยอยู่ในการควบคุมของศาล
ขณะที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางจำเลยมิได้ถูกควบคุมตัวอยู่ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เพราะหลบหนีไปจากสถานพินิจฯ เมื่อไม่มีตัวจำเลยอยู่ในความควบคุมของศาลในขณะฟ้อง ก็ไม่ชอบที่ศาลจะสั่งประทับฟ้องไว้ ทั้งการควบคุมดังกล่าวก็เป็นการควบคุมในชั้นสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24แก้ไขโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2506 มาตรา 7 ซึ่งอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจ ไม่เกี่ยวกับศาล
"ขัง" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(22) หมายถึงการกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล แต่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชนนั้นไม่ใช่คดีธรรมดา การควบคุมตัวจำเลยในระหว่างการสอบสวน เป็นการควบคุมโดยผู้อำนวยการสถานพินิจ ตัวจำเลยยังมิได้ผ่านเข้ามาอยู่ในความควบคุมของศาลเลยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 33ยังมีความชี้ให้เห็นด้วยว่า จำเลยจะเข้ามาอยู่ในความควบคุมของศาลก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประทับฟ้องคดีเด็กและเยาวชนต้องมีตัวจำเลยในความควบคุมของศาล การควบคุมตัวก่อนฟ้องเป็นอำนาจผู้อำนวยการสถานพินิจ
ขณะที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางจำเลยมิได้ถูกควบคุมตัวอยู่ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เพราะหลบหนีไปจากสถานพินิจฯ เมื่อไม่มีตัวจำเลยอยู่ในความควบคุมของศาลในขณะฟ้อง ก็ไม่ชอบที่ศาลจะสั่งประทับฟ้องไว้ ทั้งการควบคุมดังกล่าวก็เป็นการควบคุมในชั้นสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24แก้ไขโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2506 มาตรา 7 ซึ่งอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจ ไม่เกี่ยวกับศาล
"ขัง" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(22)หมายถึงการกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล แต่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชนนั้นไม่ใช่คดีธรรมดา การควบคุมตัวจำเลยในระหว่างการสอบสวน เป็นการควบคุมโดยผู้อำนวยการสถานพินิจ ตัวจำเลยยังมิได้ผ่านเข้ามาอยู่ ในความควบคุมของศาลเลยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 33 ยังมีความชี้ให้เห็นด้วยว่า จำเลยจะเข้ามาอยู่ในความควบคุมของศาลก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท - การเปรียบเทียบปรับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย - สิทธิฟ้องคดีอาญา
จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท เป็นทั้งความผิดลหุโทษและที่มิใช่ลหุโทษ แต่ชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนตั้งข้อหาในความผิดลหุโทษแต่บทเดียว แล้วเปรียบเทียบปรับไป ถือว่าเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ทำให้คดีเลิกกันอันเป็นเหตุให้สิทธินำคดีมาฟ้องระงับไป พนักงานอัยการมีสิทธิฟ้องจำเลยในความผิดที่มิใช่ลหุโทษอีกได้
คืนเกิดเหตุมีการชุมนุมกันกระทำพิธีสวดมนต์ทำบุญฉลองกระดูกผู้ตายตามพุทธศาสนาบนหอสวดมนต์ จำเลยขึ้นมาส่งเสียงเอะอะอื้อฉาวซ้ำยังกล่าวว่า พระนี่ยุ่งจริง พระไม่มีความหมายแล้วจำเลยนั่งลงใช้มือตบกระดาน 7-8 ครั้งและชักปืนพกออกจากเอวมาถือไว้ หันปากกระบอกปืนมาทางพระ แล้วปืนตกลงยังพื้นหอสวดมนต์ การกระทำของจำเลยดังกล่าว ถึงแม้ผู้ที่ไปชุมนุมกันจะไม่มีปฏิกิริยาวุ่นวายขึ้นก็ตาม ก็ยังถือได้ว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 207

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปรียบเทียบปรับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในความผิดลหุโทษ ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ฟ้องในความผิดที่หนักกว่า
จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทเป็นทั้งความผิดลหุโทษและที่มิใช่ลหุโทษ แต่ชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนตั้งข้อหาในความผิดลหุโทษแต่บทเดียวแล้วเปรียบเทียบปรับไป ถือว่าเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ทำให้คดีเลิกกันอันเป็นเหตุให้สิทธินำคดีมาฟ้องระงับไป พนักงานอัยการมีสิทธิฟ้องจำเลยในความผิดที่มิใช่ลหุโทษอีกได้
คืนเกิดเหตุมีการชุมนุมกันกระทำพิธีสวดมนต์ทำบุญฉลองกระดูกผู้ตายตามพุทธศาสนาบนหอสวดมนต์ จำเลยขึ้นมาส่งเสียงเอะอะอื้อฉาว ซ้ำยังกล่าวว่า พระนี่ยุ่งจริงพระไม่มีความหมายแล้วจำเลยนั่งลงใช้มือตบกระดาน 7-8 ครั้งและชักปืนพกออกจากเอวมาถือไว้ หันปากกระบอกปืนมาทางพระแล้วปืนตกลงยังพื้นหอสวดมนต์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวถึงแม้ผู้ที่ไปชุมนุมกันจะไม่มีปฏิกิริยาวุ่นวายขึ้นก็ตาม ก็ยังถือได้ว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 207

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยอยู่ในอำนาจศาล แม้หลบหนีระหว่างฝากขัง ศาลรับฟ้องได้
คดีอาญา พนักงานอัยการจะต้องส่งตัวจำเลยมาพร้อมกับฟ้องเสมอเว้นแต่จำเลยจะเป็นผู้อยู่ในอำนาจของศาลแล้ว
ศาลชั้นต้นได้รับฝากขังตัวผู้ต้องหาไว้จากพนักงานสอบสวนและออกหมายขังไว้แล้วผู้ต้องหาหลบหนีไปก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง กรณีเช่นนี้นับได้ว่าตัวจำเลยอยู่ในอำนาจศาลในคดีนี้แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับฟ้องและดำเนินการต่อไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเมื่อจำเลยหลบหนี: ศาลรับฟ้องได้หากจำเลยเคยถูกควบคุมตัวโดยอำนาจศาล
คดีอาญา พนักงานอัยการจะต้องส่งตัวจำเลยมาพร้อมกับฟ้องเสมอ เว้นแต่จำเลยจะเป็นผู้อยู่ในอำนาจของศาลแล้ว
ศาลชั้นต้นได้รับฝากขังตัวผู้ต้องหาไว้จากพนักงานสอบสวนและออกหมายขังไว้แล้วผู้ต้องหาหลบหนีไปก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง กรณีเช่นนี้นับได้ว่าตัวจำเลยอยู่ในอำนาจศาลในคดีนี้แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับฟ้องและดำเนินการต่อไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2514)
of 3