คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 ม. 28 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10862/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากละเมิดทางทะเลและการขาดอำนาจฟ้องของโจทก์
โจทก์ที่ 1 เป็นเพียงผู้ประสานงานดำเนินการขออนุมัติงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จากสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง เพื่อจัดส่งไปให้หน่วยงานของโจทก์ที่ 1 ใช้ในการดำเนินการช่วยเหลือลูกเรือประมงไทยที่ถูกเจ้าหน้าที่ของประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามจับกุมเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการดำเนินการเรียกเก็บเงินคืนแต่อย่างใด การกระทำของโจทก์ที่ 1 หาได้ก่อให้เกิดสิทธิที่โจทก์ที่ 1 จะฟ้องให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าใช้จ่ายคืนได้ โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ที่ 2 เป็นหน่วยงานที่บังคับใช้ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 ในการดำเนินการเรียกเก็บเงินกับเจ้าของเรือที่ใช้หรือยอมให้ใช้เรือของตนทำการประมงหรือเพื่อทำการประมงจนเป็นเหตุให้มีการละเมิดน่านน้ำของต่างประเทศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 28 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.การประมง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2528 เมื่อปรากฏว่าคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง มีหนังสือลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2535 เสนอให้โจทก์ที่ 2 รับผิดชอบในการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลจ่ายไปในการช่วยเหลือลูกเรือประมงที่เกี่ยวข้องเพื่อชดใช้คืนทางราชการ โจทก์ที่ 2 จึงเป็นผู้มีหน้าที่โดยตรงในการติดตามทวงถามหนี้สิน เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิที่ 2 โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้อง
ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 2 ประสงค์จะให้จำเลยชำระคืนเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้นำไปใช้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือลูกเรือประมงไทยกลับจากประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 เมื่อปรากฏว่ารองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีโจทก์ที่ 2 มีหนังสือทวงถามฉบับแรกลงวันที่ 15 ธันวาคม 2536 ให้จำเลยชำระเงิน 479,871.40 บาท แก่โจทก์ที่ 2 ย่อมถือได้ว่า โจทก์ที่ 2 ย่อมอาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินดังกล่าวได้ก่อนหรืออย่างช้าที่สุดในวันที่ 15 ธันวาคม 2536 เป็นต้นไป และแม้จะได้ความต่อไปว่าได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อันเกิดจากการละเมิดน่านน้ำในต่างประเทศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 28 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 แต่บทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติไว้เพียงว่า หากเจ้าของเรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการภายในสามสิบวัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัย ต้องระวางโทษทางอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 64 ทวิ เท่านั้น การที่คณะกรรมการมีมติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542 ให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือลูกเรือประมงไทยกลับจากประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามจำนวน 479,871.40 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับที่โจทก์ที่ 2 เคยมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระมาตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2536 แล้ว มติคณะกรรมการหามีผลต่อการเริ่มนับอายุความทางแพ่งไม่ เพราะมิเช่นนั้นความล่าช้าในการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 มาตรา 28 ทวิ จะเป็นเหตุให้อายุความสามารถขยายออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาได้ เมื่อโจทก์ที่ 2 อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวได้ก่อนหรืออย่างช้าที่สุดในวันที่ 15 ธันวาคม 2536 แต่โจทก์ที่ 2 นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2548 จึงพ้นกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีของโจทก์ที่ 2 จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2944/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทบัญญัติ พ.ร.บ.การประมงยังใช้ได้แม้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการพิจารณาค่าเสียหายชอบด้วยกฎหมาย
แม้คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งได้เข้าควบคุมอำนาจในการปกครองของประเทศและได้ออกประกาศฉบับที่1ลงวันที่23กุมภาพันธ์2534มีผลทำให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2521สิ้นผลลงก็ตามแต่ก็มิได้มีประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับใดยกเลิกพระราชบัญญัติ การประมงพ.ศ.2490มาตรา28ทวิ,64ทวิบทกฎหมายดังกล่าวจึงยังมีผลบังคับอยู่ คณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายอื่นๆเพียงแต่ได้ทำการรวบรวมและคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆซึ่งทางรัฐบาลได้เสียไปอันเกิดจากการละเมิดน่านน้ำของต่างประเทศของจำเลยผู้เป็นเจ้าของเรือซึ่งใช้หรือยอมให้ใช้เรือของตนกระทำการละเมิดและแจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายพระราชบัญญัติการประมงพ.ศ.2490มาตรา28ทวิเท่านั้นมิได้กระทำการพิจารณาวินิจฉัยอรรถคดีเช่นเดียวกับศาลยุติธรรมแต่อย่างใดซึ่งเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็จะมีโทษตามมาตรา64ทวิแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวการกระทำของคณะกรรมการกำหนดค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายอื่นๆฯจึงชอบด้วยกฎหมายหาขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญไม่ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย1ปีและปรับ100,000บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้1ปีศาลอุทธรณ์พิพากษายืนห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคหนึ่งจำเลยฎีกาว่าคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายอื่นๆฯขัดต่อหลักกฎหมายและขาดข้อเท็จจริงสนับสนุนเพียงพอนั้นเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2944/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้ พ.ร.บ.การประมง หลัง คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เข้าควบคุมอำนาจ และความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งคณะกรรมการกำหนดค่าเสียหาย
แม้คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งได้เข้าควบคุมอำนาจในการปกครองของประเทศและได้ออกประกาศ ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2534 มีผลทำให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521สิ้นผลลงก็ตาม แต่ก็มิได้มีประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับใดยกเลิก พ.ร.บ. การประมง พ.ศ.2490 มาตรา 28 ทวิ, 64 ทวิ บทกฎหมายดังกล่าวจึงยังมีผลบังคับอยู่
คณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ฯเพียงแต่ได้ทำการรวบรวมและคำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งทางรัฐบาลได้เสียไปอันเกิดจากการละเมิดน่านน้ำของต่างประเทศของจำเลยผู้เป็นเจ้าของเรือ ซึ่งใช้หรือยอมให้ใช้เรือของตนกระทำการละเมิด และแจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายตาม พ.ร.บ. การประมง พ.ศ.2490 มาตรา28 ทวิ เท่านั้น มิได้กระทำการพิจารณาวินิจฉัยอรรถคดีเช่นเดียวกับศาลยุติธรรมแต่อย่างใด ซึ่งเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็จะมีโทษตามมาตรา 64 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว การกระทำของคณะกรรมการกำหนดค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ฯจึงชอบด้วยกฎหมาย หาขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี และปรับ100,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่า คำสั่งของคณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ฯขัดต่อหลักกฎหมายและขาดข้อเท็จจริงสนับสนุนเพียงพอนั้น เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมาย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว