พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12264/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้และการรับสภาพหนี้ใหม่: ฟ้องข้ามอายุความแม้มีการทำหนังสือรับสภาพหนี้
สำเนาใบกำกับภาษีระบุชื่อจำเลยเป็นลูกค้าทุกฉบับ และยอดหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้มีรายการหักทอนกันระหว่างโจทก์และจำเลยหลายรายการ ระบุยอดสุดท้ายว่าเป็นรายการที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์ คงเหลือ 314,965.05 บาท เท่ากับรายการตามหนังสือรับสภาพหนี้ ปรากฏว่ามีการส่งอะไหล่ครั้งสุดท้ายระบุวันที่ 18 ตุลาคม 2540 โดยไม่ปรากฏว่าได้มีกำหนดเวลาชำระค่าอะไหล่กันไว้ ถือว่าเป็นหนี้ที่ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก ดังนั้น ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจะมีอายุความ 2 ปี ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย หรือมีอายุความ 5 ปี ดังที่โจทก์ฎีกา ก็เป็นที่เห็นได้ว่า หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 เป็นการจัดทำขึ้นหลังจากขาดอายุความแล้ว หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจึงเป็นการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ ซึ่งโจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายใน 2 ปี นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพความรับผิดดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35 ประกอบมาตรา 193/28 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6785/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอชดเชยภาษีอากรเท็จ & สัญญาชดใช้ความเสียหาย: จำเลยต้องคืนเงินและชดใช้ดอกเบี้ยตามสัญญา
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งสินค้าออกตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าออกทั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษีสำหรับใบขนสินค้าขาออกทั้งสองฉบับดังกล่าว เมื่อบัตรภาษีดังกล่าวจำเลยที่ 2 นำไปใช้ชำระภาษีอากรแล้ว จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนบัตรภาษีซึ่งขอรับโอนบัตรภาษีโดยให้สัญญาต่อโจทก์ว่าถ้าหากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดๆ จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษี เนื่องจากมิได้ส่งสินค้าออกตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาออกทั้งสองฉบับดังกล่าว ซึ่งเป็นกรณีเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 คืนเงินตามมูลค่าบัตรภาษีให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญา มิได้ฟ้องในลักษณะเรียกคืนลาภมิควรได้ ฉะนั้น ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะรับโอนบัตรภาษีไว้โดยสุจริตหรือไม่และมีบัตรภาษีเหลืออยู่หรือไม่ จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดตามสัญญา แต่สัญญามิได้กำหนดเวลาคืนเงินไว้ จึงถือว่าจำเลยที่ 2 ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยต่อเมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 2 คืนเงิน แล้วจำเลยที่ 2 ไม่คืนให้ตามเวลาที่โจทก์กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก และ 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 รับบัตรภาษีจากโจทก์
ตามป.พ.พ. และ พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรฯ มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวนี้ไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความการเรียกคืนลาภมิควรได้
ตามป.พ.พ. และ พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรฯ มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวนี้ไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความการเรียกคืนลาภมิควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกเงินคืนจากการซื้อขายทรัพย์สินที่ถูกเพิกถอน และดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จากจำเลยที่ 3 มาเป็นของโจทก์และโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินและอาคารพิพาทแล้ว ต่อมา ส. ฟ้องขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทดังกล่าวโดยฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกเป็นจำเลย ศาลมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยในคดีดังกล่าว และให้จำเลยในคดีดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทแก่ ส. พร้อมรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ ผลของคดีดังกล่าวย่อมทำให้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทของโจทก์หมดสิ้นไปทันที ทั้งที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่ฝ่ายจำเลยผู้ขายไปครบถ้วนแล้ว กรณีจึงเห็นได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของฝ่ายจำเลยผู้ขาย ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทคืนจากฝ่ายจำเลยผู้ขายได้ การที่ ส. โจทก์ในคดีดังกล่าวยังมิได้ชำระเงินค่าที่ดินและอาคารพิพาทส่วนที่เหลือให้แก่ผู้ขายหรือยังมิได้ดำเนินการบังคับคดีในคดีดังกล่าวเป็นกรณีที่ ส. กับจำเลยในคดีดังกล่าวจะต้องไปว่ากล่าวกันในคดีนั้น หาทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทของโจทก์คดีนี้ที่ถูกเพิกถอนไปแล้วกลับคืนมาอีกไม่
การที่ ส. สละสิทธิไม่ยอมบังคับคดีหรือไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวโดย ส. กับโจทก์ในคดีนี้ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทหลังจากศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้ว ไม่ว่าจะเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระค่าธรรมเนียมและภาษีที่รัฐจะได้รับจากการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือลดค่าใช้จ่ายก็ตาม เป็นเรื่องที่มิได้เกี่ยวกับการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาคืนจากจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ ส. จะปฏิบัติตามคำบังคับของศาลในคดีดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในคดีดังกล่าว มิใช่คดีนี้ การที่โจทก์ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้วไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทจึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทจึงมีอำนาจกระทำได้ มิใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
โจทก์ทวงถามจำเลยที่ 1 ให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540 แล้วเพิกเฉย จึงตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540
การที่ ส. สละสิทธิไม่ยอมบังคับคดีหรือไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวโดย ส. กับโจทก์ในคดีนี้ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทหลังจากศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้ว ไม่ว่าจะเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระค่าธรรมเนียมและภาษีที่รัฐจะได้รับจากการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือลดค่าใช้จ่ายก็ตาม เป็นเรื่องที่มิได้เกี่ยวกับการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาคืนจากจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ ส. จะปฏิบัติตามคำบังคับของศาลในคดีดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในคดีดังกล่าว มิใช่คดีนี้ การที่โจทก์ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้วไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทจึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทจึงมีอำนาจกระทำได้ มิใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
โจทก์ทวงถามจำเลยที่ 1 ให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540 แล้วเพิกเฉย จึงตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินไม่กำหนดเวลาชำระ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าว
สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ผู้ให้กู้ย่อมจะเรียกให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้ได้โดยพลัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 วรรคแรก และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระหนี้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 652 ก่อนก็ได้ จำเลยเพียงแต่ยกเอาข้อความที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมากล่าวในคำฟ้องฎีกาว่าจำเลยอุทธรณ์ว่าอย่างไร ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอย่างไรแต่จำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดข้อไหนอย่างไร เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญายืมสิ่งของ, การผิดนัดชำระหนี้, และการฟ้องเรียกทรัพย์คืน พร้อมดอกเบี้ย
แม้ในใบยืมของระบุว่า หากจำเลยไม่ชดใช้สิ่งของที่ยืมไปก็ขอ ชดใช้เป็นเงินสด หากบิดพลิ้วยอมให้บริษัทดำเนินคดี ยอมชดใช้ ดอกเบี้ยให้บริษัท ว. โดยไม่ได้ระบุให้ชดใช้แก่โจทก์ก็ตามการที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มิใช่ตัวแทนของบริษัท ว. แต่โจทก์ได้โควต้าขายใบยาสูบให้บริษัท ว. โดยโจทก์ต้องซื้อปุ๋ย ยาฆ่าแมลงยาบำรุงต่าง ๆ ทั้งยังมีผู้จัดการบริษัท ว. มาเบิกความรับรองและข้างบนใบยืมของระบุว่าจำเลยยืมสิ่งของจากโจทก์และจำเลยลงชื่อ ผู้ยืมไว้กับโจทก์มีใบส่งสินค้าระบุชื่อร้านโจทก์ซึ่งระบุข้อความ ว่าจำเลยยืมของโจทก์ โจทก์นำใบยืมของบริษัท ว. มาใช้เพราะเพิ่งทำกิจการยาสูบเป็นครั้งแรก ดังนี้ โจทก์เบิกความและอธิบาย ผสมเหตุผลมีน้ำหนักฟังได้ว่าโจทก์มิใช่ตัวแทนบริษัท ว. จำเลยฎีกาว่าศาลชั้นต้นไม่รับฟังพยานเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.4เพราะจำเลยไม่ถามค้านขณะโจทก์เบิกความและไม่ส่งสำเนาให้ โจทก์ก่อนสืบพยาน 3 วัน เป็นการคลาดเคลื่อน ความจริงจำเลยได้ ถามค้าน พยานโจทก์ไว้เกี่ยวกับเอกสารหมาย ล.1 และ ล.2 จึงรับฟัง เป็นพยานหลักฐานได้ แต่จำเลยอุทธรณ์เรื่องเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าว และศาลอุทธรณ์ภาค 2วินิจฉัยว่าการที่จำเลยอ้างในคำให้การว่าจำเลย เป็นนายหน้าบริษัท ว.โจทก์เป็นตัวแทนของเขตจังหวัดพิจิตร เมื่อจำเลยรับของโจทก์ให้จำเลยเซ็นชื่อในใบยืมเพื่ออำพรางการเป็น นายหน้าไม่ประสงค์จะผูกพันนั้น ขัดต่อเหตุผลจะรับฟังเอกสาร หมาย ล.1 ถึง ล.4 เป็นพยานได้หรือไม่ก็ตามไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลง ข้อวินิจฉัยข้างต้นว่าไม่จำต้องวินิจฉัย ดังนี้จำเลยมิได้ฎีกา คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในเรื่องนี้ไว้ศาลฎีกาจึง ไม่วินิจฉัยให้ การที่จำเลยยืมปุ๋ย ยาบำรุงใบยาสูบ และยาฆ่าแมลงจากโจทก์เพื่อทำใบยาสูบ ไม่ว่าจำเลยจะทำเองหรือไม่ เมื่อในใบยืมของไม่ได้กำหนดเวลาคืนสิ่งของไว้แต่ตามพฤติการณ์การให้ยืมสิ่งของดังกล่าวเพื่อใช้ในฤดูทำใบยาสูบ เมื่อสิ้นฤดูแล้วต้องส่งคืนหากใช้ไม่หมดส่วนที่ใช้แล้วไม่อาจส่งคืนได้ก็ต้องใช้ราคา เชื่อว่าจำเลยตกลง กับโจทก์ไว้ว่าต้องส่งคืนสิ่งของเมื่อสิ้นฤดูกาลทำใบยาสูบ ซึ่ง อนุมานได้ว่า ภายในสิ้นเดือนเมษายน 2526 เป็นกรณีที่ไม่ได้กำหนด เวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน การที่จำเลยไม่ส่งคืนของภายใน สิ้นเดือนเมษายน 2526จึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด ต่อมาเมื่อโจทก์ มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยคืนของที่ยืมภายในวันที่ 11 เมษายน 2529 จำเลยไม่คืน จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด นับแต่วันที่ 12 เมษายน 2529 สัญญายืมสิ่งของไม่ต้องปิดอากรแสตมป์เพราะมิได้กำหนดไว้ ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรจึงรับฟัง เป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่ต้องปิดแสตมป์ ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 แม้ในคำฟ้องจะบรรยายว่า จำเลยคืนสิ่งของแก่โจทก์บางส่วนรวมเป็นเงิน 5,790 บาท ต่อมานำเงินมาชำระค่าสิ่งของแก่โจทก์ ยังเหลือสิ่งของรวมเป็นเงิน 48,480 บาท แต่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถาม ให้จำเลยคืนสิ่งของรวม 81,870 บาท นั้น ในหนังสือบอกกล่าวท้ายฟ้อง แสดงรายละเอียดของทรัพย์ที่จำเลยยืมโจทก์ไป 6 รายการ เป็นเงิน 48,480บาท ตรงตามฟ้อง ไม่รวมรายการที่ 7 ค่ากรรมกรขนของ คำฟ้อง กับคำบอกกล่าวจึงไม่ขัดกัน และจำเลยก็เข้าใจข้อหาต่อสู้คดี ได้ถูกต้องคำฟ้องโจทก์ แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และ คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ฟ้องโจทก์ ไม่เคลือบคลุม.