พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19347/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบของผู้ขนส่งและผู้ส่งสินค้าอันตราย: การแบ่งความรับผิดชอบเมื่อเกิดความเสียหายจากการขนส่ง
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 33 บัญญัติหน้าที่ของผู้ส่งของที่ต้องทำก่อนและขณะส่งมอบของที่มีสภาพอันก่อให้เกิดอันตรายได้ให้แก่ผู้ขนส่ง คือ ต้องทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายตามสมควรเพื่อให้รู้ว่าของนั้นมีอันตราย และเมื่อส่งของนั้นให้แก่ผู้ขนส่งต้องแจ้งให้ผู้ขนส่งทราบถึงสภาพอันตรายแห่งของนั้น
สินค้าพิพาทบรรจุลงในกล่องกระดาษ ข้างกล่องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อสินค้า มีสติกเกอร์ที่แสดงว่าเป็นสารเคมีและแสดงอัตราความเป็นกรด ชื่อของสารเคมีปรากฏในใบเสนอราคา ใบกำกับสินค้า ที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์เพื่อใช้ประกอบในการดำเนินพิธีการศุลกากรขาออกและตามใบขนสินค้าขาออก อยู่ในวิสัยที่โจทก์ในฐานะผู้ประกอบกิจการขนส่งจะรู้ว่าเป็นสินค้าที่มีสภาพอันก่อให้เกิดอันตราย หลังจากโจทก์รับสินค้าแล้ว พนักงานของโจทก์จะนำสินค้าไปบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือ ตู้สินค้าที่บรรจุสินค้าพิพาทเป็นแบบ Less than container load - LCL บรรจุสินค้ารวมกับสินค้าของบุคคลอื่นอีกหลายราย ในกรณีขนส่งสินค้าอันตรายขาออกการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีการวางระเบียบวิธีปฏิบัติเป็นพิเศษในการขนส่งสินค้าอันตรายไว้ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้รับจ้างขนส่งแบบบรรจุสินค้าไม่เต็มตู้ที่จะต้องจัดการติดป้ายและเครื่องหมายที่ตู้สินค้าให้ชัดเจน แม้จำเลยที่ 2 จะแจ้งว่าสินค้าพิพาทไม่ใช่สินค้าอันตราย ก็ไม่อาจถือเป็นเหตุให้โจทก์ปัดความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบกิจการเช่นนี้ได้ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 มีส่วนผิดที่ไม่แจ้งว่าสินค้าพิพาทเป็นสินค้าอันตราย โจทก์จึงไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดำเนินการจัดการขนส่ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 จึงเห็นควรให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์กึ่งหนึ่ง
สินค้าพิพาทบรรจุลงในกล่องกระดาษ ข้างกล่องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อสินค้า มีสติกเกอร์ที่แสดงว่าเป็นสารเคมีและแสดงอัตราความเป็นกรด ชื่อของสารเคมีปรากฏในใบเสนอราคา ใบกำกับสินค้า ที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์เพื่อใช้ประกอบในการดำเนินพิธีการศุลกากรขาออกและตามใบขนสินค้าขาออก อยู่ในวิสัยที่โจทก์ในฐานะผู้ประกอบกิจการขนส่งจะรู้ว่าเป็นสินค้าที่มีสภาพอันก่อให้เกิดอันตราย หลังจากโจทก์รับสินค้าแล้ว พนักงานของโจทก์จะนำสินค้าไปบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือ ตู้สินค้าที่บรรจุสินค้าพิพาทเป็นแบบ Less than container load - LCL บรรจุสินค้ารวมกับสินค้าของบุคคลอื่นอีกหลายราย ในกรณีขนส่งสินค้าอันตรายขาออกการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีการวางระเบียบวิธีปฏิบัติเป็นพิเศษในการขนส่งสินค้าอันตรายไว้ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้รับจ้างขนส่งแบบบรรจุสินค้าไม่เต็มตู้ที่จะต้องจัดการติดป้ายและเครื่องหมายที่ตู้สินค้าให้ชัดเจน แม้จำเลยที่ 2 จะแจ้งว่าสินค้าพิพาทไม่ใช่สินค้าอันตราย ก็ไม่อาจถือเป็นเหตุให้โจทก์ปัดความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบกิจการเช่นนี้ได้ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 มีส่วนผิดที่ไม่แจ้งว่าสินค้าพิพาทเป็นสินค้าอันตราย โจทก์จึงไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดำเนินการจัดการขนส่ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 จึงเห็นควรให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์กึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12708/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางสัญญาประกันภัย การชำระค่าสินไหมทดแทน และการขายซากสินค้า
จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งอื่นมีหน้าที่ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่เกิดเหตุมาส่งมอบให้ผู้รับตราส่งที่ท่าเรือฮ่องกง และเมื่อตู้คอนเทนเนอร์ถูกยกขึ้นจากเรือไปวางบนลานพักสินค้าของการท่าเรือฮ่องกง ถือว่าหน้าที่ในการขนส่งสินค้าของจำเลยที่ 2 ได้สิ้นสุดลง ตู้คอนเทนเนอร์ที่ได้ส่งมอบไว้ที่การท่าเรือฮ่องกงถือว่าไม่ได้อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 แล้ว การพบเหตุเพลิงไหม้ภายในตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าพิพาทหลังจากมีการลากตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวไปยังโรงพักสินค้า ไม่อาจถือได้ว่าความเสียหายของสินค้าภายในตู้คอนเทนเนอร์เกิดในระหว่างที่ตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39
การติดเครื่องหมายและสัญลักษณ์ไว้ที่ถังให้เห็นได้ชัดเจนนั้นไม่ใช่เจตนารมณ์ของกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการแจ้งถึงสภาพอันตรายของสินค้าให้ผู้ขนส่งทราบ เพื่อให้ผู้ขนส่งทราบสภาพอันอาจก่อให้เกิดอันตรายและกระทำการเพื่อป้องกันด้วยการจัดระวางสินค้าอันตรายให้เหมาะสมและปิดเครื่องหมายอันตรายไว้ที่ตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าอันตรายนั้นด้วย แต่หากผู้ขนส่งได้ทราบถึงอันตรายของสินค้า เช่น มองเห็นจากเครื่องหมายอันตรายที่ติดประทับอยู่ที่ถังบรรจุสินค้า ก็อาจทำให้จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดในความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายอันเกิดขึ้นเนื่องในการขนส่งสินค้าอันตรายนั้นตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 34 (2)
ความรับผิดของผู้ส่งของในกรณีที่ผู้ส่งของไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้บัญญัติถึงเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. กำหนด 10 ปี กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความของผู้ขนส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 มาใช้บังคับแก่ผู้ส่งของได้
พยานหลักฐานมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่า สินค้าอาจต้องมีการตรวจสอบถึงประสิทธิภาพในการทำงาน แต่การที่ส่งกลับมาตรวจสอบประสิทธิภาพที่ประเทศไทย รวมทั้งเปลี่ยนกล่องบรรจุสินค้าใหม่จะมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งเมื่อผู้ซื้อทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว แสดงเจตนาไม่ยอมรับสินค้าดังกล่าว ถือว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นแก่สินค้าดังกล่าวแล้ว การนำออกประมูลขายที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกงจึงน่าจะเป็นวิธีการบรรเทาความเสียหายของสินค้าได้ดีกว่าวิธีอื่น กรณีถือว่าสินค้าเสียหายอย่างสิ้นเชิงโดยปริยาย
เมื่อความเสียหายที่แท้จริงของผู้เอาประกันภัยนั้นคือการไม่ได้รับสินค้าที่มีสภาพถูกต้องครบถ้วน ณ สถานที่ส่งมอบปลายทาง อันมูลค่าสินค้าในเวลาและสถานที่นั้นย่อมต้องรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหลายที่อาจเกิดขึ้นเพิ่มเติมด้วย ประกอบกับสินค้าในคดีคือเครื่องจักรและปั๊มน้ำ 110 หน่วย ที่ต้องถูกขนส่งจากกรุงเทพมหานครไปยังประเทศเอลซัลวาดอร์ ซึ่งการเดินทางมีระยะทางไกลและต้องใช้เวลาในการเดินทางทางเรือค่อนข้างนานนั้นเป็นสินค้าใหม่ ราคาสินค้าตามท้องตลาดที่ปลายทางจึงอาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกด้วย การที่โจทก์จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยเต็มตามสัญญาซึ่งสูงกว่าราคาสินค้าที่เป็นราคา ซีไอเอฟ (CIF) ร้อยละ 10 ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาประกันภัยไป จึงเชื่อได้ว่าเป็นการจ่ายโดยชอบตามความเสียหายที่แท้จริงแล้ว โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย
การติดเครื่องหมายและสัญลักษณ์ไว้ที่ถังให้เห็นได้ชัดเจนนั้นไม่ใช่เจตนารมณ์ของกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการแจ้งถึงสภาพอันตรายของสินค้าให้ผู้ขนส่งทราบ เพื่อให้ผู้ขนส่งทราบสภาพอันอาจก่อให้เกิดอันตรายและกระทำการเพื่อป้องกันด้วยการจัดระวางสินค้าอันตรายให้เหมาะสมและปิดเครื่องหมายอันตรายไว้ที่ตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าอันตรายนั้นด้วย แต่หากผู้ขนส่งได้ทราบถึงอันตรายของสินค้า เช่น มองเห็นจากเครื่องหมายอันตรายที่ติดประทับอยู่ที่ถังบรรจุสินค้า ก็อาจทำให้จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดในความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายอันเกิดขึ้นเนื่องในการขนส่งสินค้าอันตรายนั้นตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 34 (2)
ความรับผิดของผู้ส่งของในกรณีที่ผู้ส่งของไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้บัญญัติถึงเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. กำหนด 10 ปี กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความของผู้ขนส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 มาใช้บังคับแก่ผู้ส่งของได้
พยานหลักฐานมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่า สินค้าอาจต้องมีการตรวจสอบถึงประสิทธิภาพในการทำงาน แต่การที่ส่งกลับมาตรวจสอบประสิทธิภาพที่ประเทศไทย รวมทั้งเปลี่ยนกล่องบรรจุสินค้าใหม่จะมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งเมื่อผู้ซื้อทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว แสดงเจตนาไม่ยอมรับสินค้าดังกล่าว ถือว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นแก่สินค้าดังกล่าวแล้ว การนำออกประมูลขายที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกงจึงน่าจะเป็นวิธีการบรรเทาความเสียหายของสินค้าได้ดีกว่าวิธีอื่น กรณีถือว่าสินค้าเสียหายอย่างสิ้นเชิงโดยปริยาย
เมื่อความเสียหายที่แท้จริงของผู้เอาประกันภัยนั้นคือการไม่ได้รับสินค้าที่มีสภาพถูกต้องครบถ้วน ณ สถานที่ส่งมอบปลายทาง อันมูลค่าสินค้าในเวลาและสถานที่นั้นย่อมต้องรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหลายที่อาจเกิดขึ้นเพิ่มเติมด้วย ประกอบกับสินค้าในคดีคือเครื่องจักรและปั๊มน้ำ 110 หน่วย ที่ต้องถูกขนส่งจากกรุงเทพมหานครไปยังประเทศเอลซัลวาดอร์ ซึ่งการเดินทางมีระยะทางไกลและต้องใช้เวลาในการเดินทางทางเรือค่อนข้างนานนั้นเป็นสินค้าใหม่ ราคาสินค้าตามท้องตลาดที่ปลายทางจึงอาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกด้วย การที่โจทก์จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยเต็มตามสัญญาซึ่งสูงกว่าราคาสินค้าที่เป็นราคา ซีไอเอฟ (CIF) ร้อยละ 10 ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาประกันภัยไป จึงเชื่อได้ว่าเป็นการจ่ายโดยชอบตามความเสียหายที่แท้จริงแล้ว โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5970/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้าอันตราย: ประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่งและผู้รับขนส่ง
ขณะจำเลยนำสินค้าถ่านไม้ซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องกระดาษขนาดใหญ่มาส่งมอบให้แก่ตัวแทนของโจทก์ที่ท่าเรือกรุงเทพ จำเลยผู้ส่งของมิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายอันแสดงว่าเป็นสินค้าอันตรายที่ข้างกล่องกระดาษดังกล่าว ทั้งมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าได้ทราบถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้นั้น อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 33 ที่บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้ส่งสินค้าอันตรายจะต้องปฏิบัติ และมาตรา 34 ได้บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ส่งของไว้โดยเฉพาะในกรณีละเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 ดังนั้นผู้ส่งของจะต้องรับผิดในความเสียหายต่อผู้ขนส่งตามมาตรา 34(2) ประกอบด้วยมาตรา 33
แม้จำเลยไม่ติดป้ายแสดงสินค้าอันตราย แต่เมื่อโจทก์ผู้ขนส่งทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าแล้ว ความเสียหายจึงมิได้เกิดจากการที่โจทก์ไม่ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าอันเนื่องมาจากการที่จำเลยไม่ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายตามสมควรหรือไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในความเสียหายตามมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ ได้
การที่ผู้ขนส่งไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งแก่จำเลยหรือตัวแทนว่าได้เกิดความเสียหายพร้อมแจ้งถึงสภาพโดยทั่วไปของความเสียหายดังกล่าวภายใน 90 วันนับแต่วันที่เกิดความเสียหายแก่ผู้ส่งของเป็นเพียงเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งไม่ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 37ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
สาเหตุที่ทำให้ถ่านไม้เกิดลุกไหม้จนเกิดความเสียหายขึ้นนั้น นอกจากจะเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยในการบรรจุสินค้าดังกล่าวแล้วยังมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการจัดวางตู้สินค้าที่บรรจุถ่านไม้ที่ไม่เหมาะสม โดยวางปะปนกับตู้สินค้าอื่นและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้ถ่านไม้เกิดความร้อนสะสมขึ้นอย่างช้า ๆ และลุกไหม้ขึ้น อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและด้วยความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ขนส่งด้วย ดังนั้น ในการที่จะให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์มากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยคำนึงถึงข้อสำคัญว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223
แม้จำเลยไม่ติดป้ายแสดงสินค้าอันตราย แต่เมื่อโจทก์ผู้ขนส่งทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าแล้ว ความเสียหายจึงมิได้เกิดจากการที่โจทก์ไม่ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าอันเนื่องมาจากการที่จำเลยไม่ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายตามสมควรหรือไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในความเสียหายตามมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ ได้
การที่ผู้ขนส่งไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งแก่จำเลยหรือตัวแทนว่าได้เกิดความเสียหายพร้อมแจ้งถึงสภาพโดยทั่วไปของความเสียหายดังกล่าวภายใน 90 วันนับแต่วันที่เกิดความเสียหายแก่ผู้ส่งของเป็นเพียงเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งไม่ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 37ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
สาเหตุที่ทำให้ถ่านไม้เกิดลุกไหม้จนเกิดความเสียหายขึ้นนั้น นอกจากจะเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยในการบรรจุสินค้าดังกล่าวแล้วยังมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการจัดวางตู้สินค้าที่บรรจุถ่านไม้ที่ไม่เหมาะสม โดยวางปะปนกับตู้สินค้าอื่นและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้ถ่านไม้เกิดความร้อนสะสมขึ้นอย่างช้า ๆ และลุกไหม้ขึ้น อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและด้วยความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ขนส่งด้วย ดังนั้น ในการที่จะให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์มากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยคำนึงถึงข้อสำคัญว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5970/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ส่งสินค้าอันตรายและการประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่งในการขนส่งทางทะเล
จำเลยผู้ส่งของมิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายแสดงว่าเป็นสินค้าอันตรายที่ข้างกล่องกระดาษ ทั้งมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าได้ทราบถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33 อย่างไรก็ตาม มาตรา 34 ได้บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ส่งของไว้โดยเฉพาะในกรณีละเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 ไว้ว่า ถ้าผู้ส่งของไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 และผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นมีดังต่อไปนี้ (1)?(2) ผู้ส่งของยังคงต้องรับผิดในความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายทั้งปวงอันเกิดขึ้นหรือเป็นผลเนื่องจากการขนส่งของนั้น ซึ่งหมายความว่า ผู้ส่งของจะต้องรับผิดในความเสียหายต่อผู้ขนส่งตามมาตรา 34(2) ประกอบกับมาตรา 33 ดังกล่าว เมื่อผู้ขนส่งไม่ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งของนั้น หากโจทก์ในฐานะผู้ขนส่งทราบถึงสภาพอันตรายของสินค้าของจำเลยผู้ส่งของอยู่แล้ว โจทก์ก็สามารถใช้ความระมัดระวังในการขนส่งสินค้าดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพอันตรายของสินค้านั้นได้ กรณีนี้โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
จำเลยบรรจุสินค้าถ่านไม้ลงในถุงพลาสติกแล้วรัดด้วยหนังยางไม่ได้ปิดผนึกจนอากาศเข้าไม่ได้และไม่ติดป้ายแสดงสินค้าอันตราย เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของไอเอ็มดีจี โค้ด และประกาศกรมเจ้าท่า เรื่อง การกำหนดชั้นของสิ่งของและสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ แม้ความเสียหายจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ในการจัดระวางบรรทุกสินค้าด้วย แต่ก็ถือว่าต่างก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นจึงเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง
โจทก์ไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือให้จำเลยทราบถึงความเสียหายภายใน 90 วัน เป็นเพียงเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ซึ่งไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
จำเลยบรรจุสินค้าถ่านไม้ลงในถุงพลาสติกแล้วรัดด้วยหนังยางไม่ได้ปิดผนึกจนอากาศเข้าไม่ได้และไม่ติดป้ายแสดงสินค้าอันตราย เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของไอเอ็มดีจี โค้ด และประกาศกรมเจ้าท่า เรื่อง การกำหนดชั้นของสิ่งของและสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ แม้ความเสียหายจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ในการจัดระวางบรรทุกสินค้าด้วย แต่ก็ถือว่าต่างก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นจึงเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง
โจทก์ไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือให้จำเลยทราบถึงความเสียหายภายใน 90 วัน เป็นเพียงเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ซึ่งไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ส่งของต้องแจ้งลักษณะอันตรายของสินค้าเพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง หากไม่แจ้งต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น
ประกาศกรมเจ้าท่ากำหนดว่า "สารหรือสิ่งของใดจัดอยู่ในชั้นและประเภทใดให้เป็นไปตาม INTERNATIONALMARITMEDANGEROUSGOODS CODE(IMDGCODE) ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (INTERNATIONALMARITIMEORGANIZATION หรือ IMO)" ดังนั้น สิ่งของใดจะเป็นสิ่งของอันตรายบ้างนั้นก็ต้องเป็นไปตามที่ IMDGCODE กำหนดไว้ที่ประเทศไทยต้องยอมรับในฐานะที่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 (THEINTERNATIONALCONVENTIONFORTHESAFETYOFLIFEATSEA1974) เมื่อ IMDGCODE ระบุว่า ถ่านที่มาจากพืชเป็นของที่ลุกไหม้ได้โดยธรรมชาติ เพราะสามารถร้อนตัวขึ้นช้า ๆ และติดไฟได้เองในอากาศ ดังนั้นถ่านไม้โกงกางสินค้าของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งของที่อาจเกิดอันตรายได้
ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33 กำหนดให้ผู้ส่งของมีหน้าที่ต้องทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อบรรจุตามสมควรเพื่อให้ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งต้องแจ้งถึงสภาพอันตรายของสิ่งของนั้นด้วยก็โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ขนส่งได้มีโอกาสดูแลรักษาสินค้าด้วยความระมัดระวังและถูกต้องอันจะเป็นการปกป้องผู้ขนส่งและบุคคลอื่นมิให้ได้รับอันตรายหรือต้องเสียหายจากสิ่งของอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวสิ่งของนั้นเองได้ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 มิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อที่บรรจุถ่านไม้โกงกางตามสมควรเพื่อให้โจทก์ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งมิได้แจ้งถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้โกงกางให้โจทก์ทราบด้วย คงแจ้งให้โจทก์ทราบแต่เพียงว่าเป็นถ่านไม้โกงกางเช่นนี้ เมื่อถ่านไม้โกงกางเกิดติดไฟขึ้นเองในตู้สินค้าที่บรรจุหีบห่อถ่านไม้โกงกางสินค้าจำเลยที่ 1 จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในตู้สินค้าอื่นที่โจทก์รับขนไปด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33 กำหนดให้ผู้ส่งของมีหน้าที่ต้องทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อบรรจุตามสมควรเพื่อให้ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งต้องแจ้งถึงสภาพอันตรายของสิ่งของนั้นด้วยก็โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ขนส่งได้มีโอกาสดูแลรักษาสินค้าด้วยความระมัดระวังและถูกต้องอันจะเป็นการปกป้องผู้ขนส่งและบุคคลอื่นมิให้ได้รับอันตรายหรือต้องเสียหายจากสิ่งของอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวสิ่งของนั้นเองได้ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 มิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อที่บรรจุถ่านไม้โกงกางตามสมควรเพื่อให้โจทก์ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งมิได้แจ้งถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้โกงกางให้โจทก์ทราบด้วย คงแจ้งให้โจทก์ทราบแต่เพียงว่าเป็นถ่านไม้โกงกางเช่นนี้ เมื่อถ่านไม้โกงกางเกิดติดไฟขึ้นเองในตู้สินค้าที่บรรจุหีบห่อถ่านไม้โกงกางสินค้าจำเลยที่ 1 จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในตู้สินค้าอื่นที่โจทก์รับขนไปด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ส่งของสินค้าอันตรายต่อความเสียหายจากการขนส่งทางทะเล กรณีไม่แจ้งลักษณะสินค้า
ประกาศกรมเจ้าท่ากำหนดว่า "สารหรือสิ่งของใดจัดอยู่ในชั้นและประเภทใดให้เป็นไปตาม INTERNATIONAL MARITIME DANGEROUS GOODS CODE (IMDG CODE) ขององค์การทางการค้าระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL MARITIME ORGANIZATION หรือ IMO)" ดังนั้น สิ่งของใดจะเป็นสิ่งของอันตรายบ้างนั้น ก็ต้องเป็นไปตามที่ IMDG CODE กำหนดไว้ที่ประเทศไทยต้องยอมรับในฐานะที่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วย ความปลอดภัยแก่ชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 (THE INTERNATIONAL CONVENTION FOR THE SAFETY OF LIFE AT SEA 1974) เมื่อ IMDG CODE ระบุว่า ถ่านที่มาจากพืชเป็นของที่ลุกไหม้ได้โดยธรรมชาติ เพราะสามารถร้อนตัวขึ้นช้า ๆ และติดไฟได้เองในอากาศ ดังนั้น ถ่านไม้โกงกางสินค้าของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งของที่อาจเกิด อันตรายได้
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33 กำหนดให้ผู้ส่งของมีหน้าที่ต้องทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อบรรจุตามสมควรเพื่อให้ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งต้องแจ้งถึงสภาพอันตรายของสิ่งของ นั้นด้วย ก็โดยมีจุดประสงค์เพื่อจะให้ผู้ขนส่งได้มีโอกาสดูแลรักษาสินค้าด้วยความระมัดระวังและถูกต้อง อันจะเป็น การปกป้องผู้ขนส่งและบุคคลอื่นมิให้ได้รับอันตรายหรือต้องเสียหายจากสิ่งของอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวสิ่งของนั้นเองได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ผู้ส่งของมิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อที่บรรจุถ่านไม้โกงกาง ตามสมควรเพื่อให้โจทก์ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งมิได้แจ้งถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้โกงกางให้โจทก์ทราบด้วย คงแจ้งให้โจทก์ทราบแต่เพียงว่าเป็นถ่านไม้โกงกาง เช่น เมื่อถ่านไม้โกงกางเกิดติดไฟขึ้นเองในตู้สินค้าที่บรรจุหีบห่อถ่านไม้โกงกางสินค้าของจำเลยที่ 1 จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในตู้สินค้าอื่น ๆ ที่โจทก์รับขน ไปด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33 กำหนดให้ผู้ส่งของมีหน้าที่ต้องทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อบรรจุตามสมควรเพื่อให้ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งต้องแจ้งถึงสภาพอันตรายของสิ่งของ นั้นด้วย ก็โดยมีจุดประสงค์เพื่อจะให้ผู้ขนส่งได้มีโอกาสดูแลรักษาสินค้าด้วยความระมัดระวังและถูกต้อง อันจะเป็น การปกป้องผู้ขนส่งและบุคคลอื่นมิให้ได้รับอันตรายหรือต้องเสียหายจากสิ่งของอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวสิ่งของนั้นเองได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ผู้ส่งของมิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อที่บรรจุถ่านไม้โกงกาง ตามสมควรเพื่อให้โจทก์ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งมิได้แจ้งถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้โกงกางให้โจทก์ทราบด้วย คงแจ้งให้โจทก์ทราบแต่เพียงว่าเป็นถ่านไม้โกงกาง เช่น เมื่อถ่านไม้โกงกางเกิดติดไฟขึ้นเองในตู้สินค้าที่บรรจุหีบห่อถ่านไม้โกงกางสินค้าของจำเลยที่ 1 จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในตู้สินค้าอื่น ๆ ที่โจทก์รับขน ไปด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์