พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่การพิสูจน์สินค้าต้องห้ามนำเข้า: ผู้นำเข้าต้องพิสูจน์แหล่งกำเนิดเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดตามกฎหมายศุลกากร
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 53 ห้ามมิให้นำสินค้าที่ผลิตหรือมีกำเนิดในประเทศจีนคอมมิวนิสต์หรือซึ่งมาจากประเทศจีนคอมมิวนิสต์เข้ามาในราชอาณาจักร ผู้ใดนำสินค้าดังกล่าวนี้เข้ามาในราชอาณาจักร มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรฐานนำของต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อจำเลยเป็นผู้นำเขากวางอ่อนของกลางเข้ามาในราชอาณาจักร คงโต้เถียงกันว่าเขากวางอ่อนของกลางเป็นของที่มีกำเนิดในประเทศจีนคอมมิวนิสต์หรือไม่ หน้าที่การพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย ตามนัยแห่งมาตรา 100 พระราชบัญญัติศุลกากร
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2516)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่พิสูจน์สินค้าต้องห้ามนำเข้า: จำเลยต้องพิสูจน์แหล่งกำเนิดสินค้าที่นำเข้า
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 53 ห้ามมิให้นำสินค้าที่ผลิตหรือมีกำเนิดในประเทศจีนคอมมิวนิสต์หรือซึ่งมาจากประเทศจีนคอมมิวนิสต์เข้ามาในราชอาณาจักร ผู้ใดนำสินค้าดังกล่าวนี้เข้ามาในราชอาณาจักร มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรฐานนำของต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อจำเลยเป็นผู้นำเขากวางอ่อนของกลางเข้ามาในราชอาณาจักร คงโต้เถียงกันว่าเขากวางอ่อนของกลางเป็นของที่มีกำเนิดในประเทศจีนคอมมิวนิสต์หรือไม่ หน้าที่การพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย ตามนัยแห่งมาตรา 100 พระราชบัญญัติศุลกากร
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2516)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดพยายามขนสินค้าออกนอกราชอาณาจักรและการโยงโทษตามกฎหมายศุลกากร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบังอาจพยายามขนสินค้าผ่านเขตแดนทางบกออกนอกราชอาณาจักรเข้าไปในเขตประเทศกัมพูชานอกทางอนุมัติแต่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่ขัดขวางจับกุมเสียก่อน ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2480 มาตรา 5 อันมีบทลงโทษตามมาตรา 10 มาตรา 10 นี้ บัญญัติว่า ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 5 ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 จึงเห็นได้ว่ามาตรา 10 ดังกล่าวนั้นโยงไปให้เอาโทษในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 มาใช้บังคับเมื่อจำเลยกระทำผิดโดยฝ่าฝืนมาตรา 5,10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) ซึ่งการพยายามกระทำความผิดตามมาตรา 5 ก็มีโทษเช่นเดียวกับการกระทำผิดสำเร็จ ศาลก็ลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ได้เต็มตามที่มาตรา 10 ให้โยงมาใช้ แม้โจทก์จะได้อ้างมาตรา 80 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาด้วยก็จะถือว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษเพียงฐานพยายาม คือสองในสามของโทษสำหรับความผิดสำเร็จหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดพยายามขนสินค้าออกนอกราชอาณาจักร และการโยงมาตรากฎหมายเพื่อกำหนดโทษ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบังอาจพยายามขนสินค้าผ่านเขตแดนทางบกออกนอกราชอาณาจักรเข้าไปในเขตประเทศกัมพูชานอกทางอนุมัติแต่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่ขัดขวางจับกุมเสียก่อน ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2480 มาตรา 5อันมีบทลงโทษตามมาตรา 10 มาตรา 10 นี้ บัญญัติว่าผู้ฝ่าฝืนมาตรา 5 ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 จึงเห็นได้ว่ามาตรา 10ดังกล่าวนั้นโยงไปให้เอาโทษในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 27 มาใช้บังคับ เมื่อจำเลยกระทำผิดโดยฝ่าฝืนมาตรา 5, 10แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) ซึ่งการพยายามกระทำความผิดตามมาตรา 5 ก็มีโทษเช่นเดียวกับการกระทำผิดสำเร็จ ศาลก็ลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ได้เต็มตามที่ มาตรา 10ให้โยงมาใช้ แม้โจทก์จะได้อ้างมาตรา 80 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาด้วยก็จะถือว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษเพียงฐานพยายาม คือสองในสามของโทษสำหรับความผิดสำเร็จหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2247/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469: ปรับรวมสำหรับความผิดครั้งเดียว
โทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิแม้จะมิได้บัญญัติว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เหมือนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ก็ตามก็มีความหมายว่าเป็นโทษสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เช่นเดียวกัน จึงต้องปรับจำเลยทุกคนรวมกัน จะนำเอาประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31 ที่ให้ปรับเรียงตามตัวบุคคลมาในกรณีนี้ไม่ได้เพราะ พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสุกรออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านศุลกากร และการริบยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด
เรือยนต์ชนิดเพลาใบจักรที่ใช้บรรทุกสุกรที่มีชีวิตอันเป็นของที่ไม่ต้องเสียภาษีออกนอกราชอาณาจักร โดยมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง ซึ่งเป็นความผิดอย่างหนึ่งตามมาตรา 27แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯ นั้น ไม่ใช่ยานพาหนะที่ใช้ในการย้าย ถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี หรือที่ต้องจำกัดหรือต้องห้าม ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ว่าให้ริบเสียสิ้น จึงริบเรือยนต์พร้อมเครื่องจักรของกลางไม่ได้
สิ่งของที่นำเข้าหรือออกนอกราชอาณาจักร จะต้องเสียภาษีศุลกากรหรือไม่นั้น จะต้องกำหนดไว้ในกฎหมายจึงเป็นเรื่องที่ศาลต้องรู้เอง
หน้าที่พิสูจน์ที่ตกอยู่แก่จำเลยตามมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯนั้น เป็นเรื่องการฟ้องร้องเกี่ยวด้วยของที่ยึด เพราะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรหรือเป็นของที่พึงริบ หรือเพื่อเอาค่าปรับตามพระราชบัญญัตินี้ หากจำเลยมีข้อโต้เถียงว่าเสียภาษีศุลกากรถูกต้องแล้ว หรือนำเข้าหรือนำออกเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ต่างกับกรณีของจำเลยคดีนี้ที่ปฏิเสธว่ามิได้นำสุกรออกนอกราชอาณาจักร แต่เป็นการขนหรือบรรทุกในประเทศลาว ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน
สิ่งของที่นำเข้าหรือออกนอกราชอาณาจักร จะต้องเสียภาษีศุลกากรหรือไม่นั้น จะต้องกำหนดไว้ในกฎหมายจึงเป็นเรื่องที่ศาลต้องรู้เอง
หน้าที่พิสูจน์ที่ตกอยู่แก่จำเลยตามมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯนั้น เป็นเรื่องการฟ้องร้องเกี่ยวด้วยของที่ยึด เพราะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรหรือเป็นของที่พึงริบ หรือเพื่อเอาค่าปรับตามพระราชบัญญัตินี้ หากจำเลยมีข้อโต้เถียงว่าเสียภาษีศุลกากรถูกต้องแล้ว หรือนำเข้าหรือนำออกเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ต่างกับกรณีของจำเลยคดีนี้ที่ปฏิเสธว่ามิได้นำสุกรออกนอกราชอาณาจักร แต่เป็นการขนหรือบรรทุกในประเทศลาว ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยการประกอบตัวถังรถใหม่เป็นหนึ่งเดียวกับตัวรถ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร และต้องริบทั้งตัวรถและตัวถัง
จำเลยนำรถยนต์นั่งที่เปลี่ยนตัวถังใหม่แล้วทั้งคันเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 บัญญัติให้ริบทั้งสิ่งของที่นำข้ามา และยานพาหนะที่ใช้ในการขนย้ายนั้นด้วยการที่จำเลยใช้อุบายประกอบตัวถังเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับรถแล้วนำเข้ามาโดยหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีศุลกากรสำหรับตัวถังรถที่เปลี่ยนใหม่โดยเจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล จึงเป็นของอันต้องริบทั้งตัวถังรถยนต์และตัวรถอันเป็นยานพาหนะขนย้ายนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานนำของต้องจำกัดเข้าประเทศโดยใช้เอกสารปลอม แม้ชำระภาษีแล้ว ก็ยังถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ได้แยกการกระทำผิดไว้หลายอย่างหลายชนิด แต่ละชนิดเป็นความผิดอยู่ในตัวเอง ไม่เกี่ยวข้องกัน
ความผิดฐานนำของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักร ไม่จำต้องมีองค์ประกอบในเรื่องมีเจตนาจะฉ้อภาษีรัฐบาล
จำเลยใช้เอกสารปลอมสั่งอาวุธปืนซึ่งเป็นของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากร จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญาและมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แล้วก็ตาม จำเลยก็ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 อีก
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2513)
ความผิดฐานนำของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักร ไม่จำต้องมีองค์ประกอบในเรื่องมีเจตนาจะฉ้อภาษีรัฐบาล
จำเลยใช้เอกสารปลอมสั่งอาวุธปืนซึ่งเป็นของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากร จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญาและมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แล้วก็ตาม จำเลยก็ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 อีก
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานนำของต้องจำกัดเข้าประเทศ แม้ชำระภาษีแล้ว ก็ยังมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ได้แยกการกระทำผิดไว้หลายอย่างหลายชนิด แต่ละชนิดเป็นความผิดอยู่ในตัวเอง ไม่เกี่ยวข้องกัน
ความผิดฐานนำของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักร ไม่จำต้องมีองค์ประกอบในเรื่องมีเจตนาจะฉ้อภาษีรัฐบาล
จำเลยใช้เอกสารปลอมสั่งอาวุธปืนซึ่งเป็นของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากร จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา และมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แล้วก็ตาม จำเลยก็ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 อีก
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2513)
ความผิดฐานนำของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักร ไม่จำต้องมีองค์ประกอบในเรื่องมีเจตนาจะฉ้อภาษีรัฐบาล
จำเลยใช้เอกสารปลอมสั่งอาวุธปืนซึ่งเป็นของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากร จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา และมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แล้วก็ตาม จำเลยก็ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 อีก
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในความผิดศุลกากร: ศาลมีอำนาจพิจารณาคืนของกลางให้เจ้าของได้ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว โดยอาศัยหลักประมวลกฎหมายอาญา
ศาลลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13)พ.ศ.2499 มาตรา 4(คือมาตรา 27 ทวิ) ฐานพาเอาของที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษี ด้วยการพาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น เป็นความผิดขึ้นใหม่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละอย่างกันความผิดฐานนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2467 มาตรา 27 ซึ่งมีบัญญัติให้ลงโทษไว้แต่เดิม และมีมาตรา 32 เป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางในความผิดฐานนั้น ฉะนั้น มาตรา 32 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่เสียภาษีจึงมิใช่เป็นบทริบทรัพย์ในความผิดตามมาตรา 27 ทวิ เพราะเป็นความผิดคนละอย่าง การริบทรัพย์ตามมาตรา 27 ทวิ มิได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร จึงอยู่ในบังคับแห่งหลักว่าด้วยการริบทรัพย์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 เมื่อการริบทรัพย์ในกรณีแห่งความผิดของจำเลยเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 แล้ว การขอคืนทรัพย์ของกลางในคดีนี้ผู้ร้องก็ย่อมร้องขอคืนได้ภายใน 1 ปีนับแต่วันคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ด้วย
คดีเดิมศาลพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 32 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว คำพิพากษาในคดีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมนั้นไม่ผูกพันผู้ร้อง ซึ่งร้องขอคืนของกลางเพราะเป็นคนภายนอก ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15-16 และ 17/2512)
คดีเดิมศาลพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 32 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว คำพิพากษาในคดีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมนั้นไม่ผูกพันผู้ร้อง ซึ่งร้องขอคืนของกลางเพราะเป็นคนภายนอก ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15-16 และ 17/2512)