คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 27

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร การพิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญา และสิทธิขอคืนของกลาง
ศาลลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13)พ.ศ.2499 มาตรา 4(คือมาตรา 27 ทวิ).ฐานพาเอาของที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษี ด้วยการพาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น. เป็นความผิดขึ้นใหม่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละอย่างกันความผิดฐานนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2467 มาตรา 27. ซึ่งมีบัญญัติให้ลงโทษไว้แต่เดิม และมีมาตรา 32 เป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางในความผิดฐานนั้น. ฉะนั้น มาตรา 32 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร.โดยไม่เสียภาษี.จึงมิใช่เป็นบทริบทรัพย์ในความผิดตามมาตรา27 ทวิ. เพราะเป็นความผิดคนละอย่าง การริบทรัพย์ตามมาตรา 27 ทวิ. มิได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร.จึงอยู่ในบังคับแห่งหลักว่าด้วยการริบทรัพย์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 เมื่อการริบทรัพย์ในกรณีแห่งความผิดของจำเลยเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 แล้ว. การขอคืนทรัพย์ของกลางในคดีนี้ผู้ร้องก็ย่อมร้องขอคืนได้ภายใน 1 ปีนับแต่วันคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ด้วย.
คดีเดิมศาลพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 32 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว. คำพิพากษาในคดีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมนั้นไม่ผูกพันผู้ร้อง. ซึ่งร้องขอคืนของกลางเพราะเป็นคนภายนอก ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15-16 และ 17/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์ในความผิดศุลกากร การพิจารณาการขอคืนทรัพย์ของผู้ร้องที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิด
ศาลลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 (คือมาตรา 27) ฐานพาเอาของที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษี ด้วยการพาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น เป็นความผิดขึ้นใหม่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละอย่างกับความผิดฐานนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2467 มาตรา 27 ซึ่งมีบัญญัติให้ลงโทษไว้แต่เดิม และมีมาตรา 32 เป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางในความผิดฐานนั้น ฉะนั้น มาตรา 32 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีจึงมิใช่เป็นบทริบทรัพย์ในความผิดตามมาตรา 27 ทวิ เพราะเป็นความผิดคนละอย่าง การริบทรัพย์ตามมาตรา 27 ทวิมิได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร จึงอยู่ในบังคับแห่งหลักว่าด้วยการริบทรัพย์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 เมื่อการริบทรัพย์ในกรณีแห่งความผิดของจำเลยเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 แล้ว การขอคืนทรัพย์ของกลางในคดีนี้ผู้ร้องย่อมร้องขอคืนได้ภายใน 1 ปีนับแต่วันคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ด้วย
คดีเดิมศาลพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว คำพิพากษาในคดีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมนั้นไม่ผูกพันผู้ร้อง ซึ่งผู้ร้องขอคืนของกลางเพราะเป็นคนภายนอก ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15-16 และ 17/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612-613/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าสินค้าควบคุม: การได้รับอนุญาตหลังนำเข้าไม่เป็นความผิด หากไม่มีเจตนาฉ้อภาษี
จำเลยสั่งซื้อกาแฟจากต่างประเทศก่อนมีประกาศควบคุม ภายหลังมีประกาศควบคุม จำเลยได้ยื่นคำขอและได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายแล้ว จำเลยย่อมไม่มีความผิด
แม้พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 16 ซึ่งบัญญัติเป็นความผิดโดยมิต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือไม่ก็ตาม แต่จำเลยจะต้องมีเจตนาฉ้อภาษีอยู่ด้วย จึงจะผิดตามนัยฎีกาที่ 942/2503

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิดศุลกากร: ศาลสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ฟ้องไม่ระบุ
จำเลยรับปลิงทะเลของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามข้อจำกัดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 แต่โดยที่มาตรา 27 ทวิ นี้มีกำหนดโทษเบากว่ามาตรา 27 และเพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 จึงเป็นที่เห็นได้ว่าความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 27 จึงได้บัญญัติมาตรา 27 ทวิ ขึ้นส่วนการริบของกลางนั้น มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2482 ระบุถึงการริบทรัพย์อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เมื่อ จำเลยไม่ผิดตามมาตรา 27 แล้ว จึงริบของกลางตามมาตรา17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2482 ไม่ได้ แต่ศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้เพราะมาตรา 27 ทวิ ไม่มีข้อความแสดงว่าจะมิได้ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 33 แห่งประมวลกฎหมายอาญาแม้ฟ้องโจทก์จะมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ก็ตาม แต่ก็มีคำขอให้ริบของกลาง มาแล้ว ดังนั้น ศาลสั่งให้ริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าสินค้าแยกส่วนและการเสียภาษี ศาลฎีกาเห็นว่าการเสียภาษีตามสภาพสินค้า ณ เวลาที่นำเข้าเป็นไปตามกฎหมาย และไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
จำเลยสั่งรถจี๊บ (ไม่มีตัวถัง) 34 คันและเครื่องอุปกรณ์จากญี่ปุ่น เสียภาษีศุลกากรสำหรับรถจี๊บร้อยละ 20 สำหรับเครื่องอุปกรณ์ร้อยละ 25 ของราคา แล้วนำมาประกอบกันเป็นรถนั่งสมบูรณ์จดทะเบียนจำหน่ายไป ซึ่งพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2478 มาตรา 4 และบัญชีต่อท้ายระบุถึงรถไม่มีตัวถังอัตราอากรตามราคาร้อยละ 26 รถมีตัวถังหรือสมบูรณ์แล้วร้อยละ 50 ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เสียภาษีอย่างรถไม่มีตัวถังเป็นการเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรแล้ว พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2479 มาตรา 5 ก็บัญญัติให้เรียกเก็บอากรแก่สิ่งที่นำเข้ามาตามสภาพแห่งของนั้น ณ เวลาที่นำเข้า แต่ที่บัญญัติต่อไปว่า "แต่สิ่งที่สมบูรณ์แล้วหากนำเข้ามาเป็นส่วน ๆ นั้น ....... จะเรียกเก็บตามอัตราที่กำหนดไว้สำหรับสิ่งนั้นเสมือนหนึ่งว่าได้นำเข้ามาโดยประกอบส่วนต่าง ๆ นั้นเข้าด้วยกันโดยสมบูรณ์แล้วก็ได้" นั้น มีความหมายว่า จะเรียกเก็บก็ได้ หรือจะไม่เรียกเก็บก็ได้ ฉะนั้น จำเลยจะต้องเสียอากรเสมือนสิ่งสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อถูกเรียกเก็บ เมื่อยังไม่ถูกเรียกเก็บจำเลยก็ยังไม่ต้องรับผิดชอบเสียอากรเสมือนสิ่งที่สมบูรณ์ เมื่อจำเลยยังไม่ต้องรับผิดเสียอากร ก็ไม่อาจถือว่าจำเลยหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษี
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2479 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรอีกชั้นหนึ่ง ที่จะพิจารณาเรียกเก็บภาษี แต่มิใช่เป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีฯ เป็นผู้พิจารณาและชี้ขาดว่าการนำสิ่งของเข้ามาเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรหรือไม่ การพิจารณาและชี้ขาดว่าผู้ใดทำผิดและถูกลงโทษหรือไม่เป็นอำนาจของศาล
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 29/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราโทษความผิดพ.ร.บ.ศุลกากรและพ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกฯ: ศาลเลือกใช้กฎหมายที่มีโทษหนักกว่าตามประมวลกฎหมายอาญา ม.90
การคำนวณค่าปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 นั้น ต้องถือเอาราคาของในท้องตลาดอันเป็นราคาที่แท้จริงและรวมค่าอากรเข้าด้วย เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
การลักลอบนำข้าวออกนอกประเทศเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 กับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี เท่ากัน แต่การกระทำฐานพยายามนั้นพระราชบัญญัติศุลกากรถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 27 เสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จลงโทษจำคุกได้ถึง 10 ปี แต่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกฯ ลงโทษได้เพียง 2 ใน 3 จำคุกได้อย่างสูง 6 ปี 8 เดือนจึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร อันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90(อ้างฎีกาที่ 1027/2504)
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ศาลต้องนำพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ.2489 มาใช้บังคับในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้จับ
จำเลยทั้ง 3 พยายามนำข้าวออกนอกประเทศ ข้าวสารเป็นของจำเลยที่ 2 จำนวน 6 กระสอบ เป็นของจำเลยที่ 3 จำนวน 6 กระสอบจำเลยที่ 2,3 ไม่ได้สมคบกันส่วนจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2,3ดังนี้ เมื่อค่าปรับทั้งหมด 8,002.56 บาท จึงปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4,001.28 บาท จำเลยที่ 2,3 คนละ 2,000.64บาท จำเลยที่ 2,3 รับสารภาพลดกึ่ง คงปรับคนละ1,000.32 บาท
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32 บัญญัติว่าเรือ...รถ...หากใช้ในการย้าย ถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี...ให้ริบเสียสิ้น นั้น หากเจ้าของมิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำผิดแล้ว ศาลไม่ริบ(อ้างฎีกาที่ 193/2491) ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ไต่สวนข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถยนต์ของกลางรู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำหรือไม่อัยการโจทก์ก็ค้านอยู่ว่ารู้เห็นเป็นใจ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินการไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเรือยนต์หางยาวที่ใช้ในการขนของหลีกเลี่ยงภาษี ศาลรับฟังได้แม้ไม่ได้ระบุระวางบรรทุก
เฉพาะเรือยนต์หางยาวเช่นเรือยนต์หางยาวของกลางคดีนี้เป็นเรือที่รู้จักกันอยู่ทั่วไปว่าเป็นเรือเล็ก ๆ ไม่ใหญ่โตชนิดหนึ่งใช้วิ่งรับส่งในแม่น้ำลำคลอง โดยข้อเท็จจริงไม่มีทางจะฟังว่าเป็นเรือมีระวางบรรทุกเกิน 250 ตันได้เลย ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่รับรู้กันอยู่ทั่วไปดังกล่าว ถึงแม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่า มีระวางบรรทุกเท่าใด ศาลย่อมรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเรือยนต์หางยาวพร้อมด้วยเครื่องของกลางคดีนี้ มีระวางบรรทุกไม่เกิน 250 ตัน เมื่อจำเลยนำไปใช้ในการขนของที่ยังมิได้เสียภาษี จึงต้องริบตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2509).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเรือยนต์หางยาวที่ใช้ขนของหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร โดยไม่จำเป็นต้องระบุระวางบรรทุกในคำฟ้อง
เฉพาะเรือยนต์หางยาวเช่นเรือยนต์หางยาวของกลางคดีนี้เป็นเรือที่รู้จักกันอยู่ทั่วไปว่าเป็นเรือเล็กๆ ไม่ใหญ่โตชนิดหนึ่งใช้วิ่งรับส่งในแม่น้ำลำคลองโดยข้อเท็จจริงไม่มีทางจะฟังว่าเป็นเรือมีระวางบรรทุกเกิน 250 ตัน ได้เลยฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่รับรู้กันอยู่ทั่วไปดังกล่าว ถึงแม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่ามีระวางบรรทุกเท่าใดศาลย่อมรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเรือยนต์หางยาวพร้อมด้วยเครื่องของกลางคดีนี้ มีระวางบรรทุกไม่เกิน 250 ตัน เมื่อจำเลยนำไปใช้ในการขนของที่ยังมิได้เสียภาษี จึงต้องริบตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 32 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการปรับโทษในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร การปรับโทษต่อความผิดต่อครั้งและจำเลย
พระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 บัญญัติเรื่องโทษไว้ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และมาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้าย และเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 แม้ในมาตรา 27 ทวิจะมิได้บัญญัติถึงข้อความเจาะจงลงไปว่าความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ด้วยก็ตาม ก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับมาตรา 27 ฉะนั้น ถ้าศาลจะปรับจำเลยเรียงตัวคนละ 4 เท่าราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ก็จะเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เกินกว่า 4 เท่าขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว และมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า เมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับกฎหมายอื่น ให้ยกเอาบทพระราชบัญญัตินี้ขึ้นบังคับ จึงเอามาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาบังคับไม่ได้ จึงต้องปรับจำเลยรวมกันไม่เกิน 4 เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2509).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ศาลต้องพิจารณาโทษรวมไม่เกิน 4 เท่าของราคาของรวมค่าอากร
พระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 บัญญัติเรื่องโทษไว้ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และมาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้าย และเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 แม้ในมาตรา 27 ทวิ จะมิได้บัญญัติถึงข้อความเจาะจงลงไปว่าความผิดครั้งหนึ่งๆ ด้วยก็ตามก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับมาตรา 27 ฉะนั้น ถ้าศาลจะปรับจำเลยเรียงตัวคนละ 4 เท่า ราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วก็จะเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เกินกว่า 4 เท่า ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าวและมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า เมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับกฎหมายอื่น ให้ยกเอาบทพระราชบัญญัตินี้ขึ้นบังคับจึงเอามาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาบังคับไม่ได้จึงต้องปรับจำเลยรวมกันไม่เกิน 4 เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2509)
of 29