คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 27

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10911/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานนำเข้าของต้องห้ามโดยไม่เสียภาษี: การฟ้องซ้ำซ้อนและการคุ้มกันตามกฎหมายศุลกากร
การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาเป็นการกระทำในวันเวลาเดียวกันโดยเป็นการร่วมกันนำหรือพาเอาของต้องห้ามต้องจำกัดเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรและค่าภาษีศุลกากร และร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งของต้องห้ามต้องจำกัดดังกล่าวอันเป็นของจำนวนเดียวกัน โดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงค่าอากร ซึ่งโจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองหลายกรรมต่างกันในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ นั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยทั้งสองรับสารภาพนั้นมีลักษณะเป็นการกระทำผิดต่อเนื่องกันในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองกรณีนี้เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 หรือ มาตรา 27 ทวิ เพียงฐานใดฐานหนึ่งเท่านั้น โดยสภาพของการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน กรณีไม่อาจเป็นความผิดทั้งสองฐานซึ่งเป็นความผิดสองกระทง เมื่อปรากฏว่าคำสั่งงดการฟ้องร้องของอธิบดีกรมศุลกากรมีผลเป็นการคุ้มกันจำเลยทั้งสองที่จะถูกฟ้องร้องในกรณีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ ดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว และกรณีเป็นเรื่องจำเลยทั้งสองกระทำความผิดในคราวเดียวกัน โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีปรับและการกักขังแทนค่าปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร และ ป.อ. กรณีศาลชั้นต้นมิได้กำหนดวิธีการบังคับ
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยโดยมิได้กำหนดวิธีการบังคับค่าปรับเมื่อ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการบังคับค่าปรับไว้จึงต้องนำ ป.อ. มาตรา 29, 30 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับอันเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลมาใช้บังคับตาม ป.อ. มาตรา 17 ทั้งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และเมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดวิธีการบังคับค่าปรับไว้ ดังนี้ จะกักขังแทนค่าปรับเกินกำหนด 1 ปีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9157/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักลอบนำเข้าบุหรี่, ขัดขวางเจ้าพนักงาน, และการริบของกลาง (รถยนต์) ที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา
เจ้าพนักงานตำรวจตั้งจุดตรวจและเรียกจำเลยที่ขับรถเพื่อจะผ่านจุดตรวจให้หยุดรถเพื่อตรวจการที่จำเลยไม่ยอมหยุดรถและขับผ่านจุดตรวจสกัดหลบหนีไป เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งของการหลบหนี เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องไม่ได้ความว่าจำเลยกระทำอื่นใดนอกเหนือไปจากนี้ การกระทำของจำเลยจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
จำเลยใช้รถยนต์เก๋งเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานลักลอบนำบุหรี่ต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าอากร รถยนต์เก๋งจึงเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการขนของที่มิได้เสียค่าภาษีซึ่งต้องริบตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 32
การที่จำเลยนำบุหรี่ต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรตามกฎหมาย และมีบุหรี่จำนวนเดียวกันนั้นโดยมิได้ปิดอากรแสตมป์ยาสูบในวันเวลาเดียวกัน เป็นการกระทำที่มีเจตนาในผลของการกระทำอย่างเดียวกัน คือหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีศุลกากรและปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายแม้จะผิดต่อกฎหมายหลายบท ก็เป็นการกระทำกรรมเดียว
คดีที่ไม่มีผู้นำจับต้องจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทำความผิดร้อยละยี่สิบของราคาของกลางหรือค่าปรับตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 8 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า "อากร" ใน พ.ร.บ.ศุลกากร และการปรับปรุงฐานภาษีเพื่อลงโทษปรับที่ถูกต้อง
คำว่า "อากร" ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หาหมายรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยด้วยไม่ ที่ศาลล่างทั้งสองนำค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยสำหรับรถยนต์ของกลางมารวมเป็นค่าอากรอีกจำนวนหนึ่งนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำว่า 'ค่าอากร' ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ไม่รวมภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีมหาดไทย
คำว่า "ค่าอากร" ตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หาหมายรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยด้วยไม่ ที่ศาลล่างทั้งสองนำค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยสำหรับรถยนต์ของกลางมารวมเป็นค่าอากรอีกจำนวนหนึ่งนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5399/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท กรณีหลีกเลี่ยงภาษีอากรจากบุหรี่ลักลอบเข้า และโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
การที่จำเลยช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับไว้โดยประการใดๆ ซึ่งบุหรี่ซิกาแรตของกลางที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร แล้วมีไว้ในครอบครองและมีไว้เพื่อขายซึ่งบุหรี่จำนวนเดียวกันอันเป็นยาสูบที่มีน้ำหนักเกินกว่าห้าร้อยกรัมซึ่งมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมาย แม้การกระทำนั้นจะผิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลายฉบับแต่ก็มุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันคือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
ความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งยาสูบที่มีผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดให้ลงโทษปรับแก่ผู้กระทำความผิดเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ซึ่งแม้มาตรา 27 ทวิ จะมิได้บัญญัติข้อความเจาะจงลงไปว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเช่นเดียวกับมาตรา 27 ก็ตาม แต่มาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 ดังนั้น ในเรื่องโทษนี้ก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ นั่นเอง ไม่ใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่าๆ กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดทางศุลกากรนอกราชอาณาจักร: เจตนาประสงค์ต่อผลในราชอาณาจักร ทำให้ความพยายามเป็นความผิดในราชอาณาจักร
แม้เหตุจะเกิดที่นอกราชอาณาจักรแต่เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร เพราะเรือที่รับช่วงน้ำมันจะต้องนำน้ำมันของกลางไปจำหน่ายให้แก่เรือที่ทำการประมงในทะเลอาณาเขตซึ่งอยู่ในเขตราชอาณาจักรไทย กรณีต้องด้วย ป.อ. มาตรา 5 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า การพยายามกระทำการใดซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักรให้ถือว่าการพยายามกระทำความผิดได้กระทำในราชอาณาจักร และการพยายามกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดซึ่งถือเสมือนเป็นความผิดสำเร็จโดยมีโทษเช่นเดียวกับความผิดสำเร็จ จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469
1/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลและการกระทำความผิดทางศุลกากรนอกอาณาเขต: การพยายามกระทำความผิดสำเร็จในราชอาณาจักร
บริเวณทะเลจุดที่เกิดเหตุอยู่ในเขตต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีอำนาจตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่จะป้องกันมิให้มีการละเมิดกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการศุลกากรได้ ประเทศไทยได้ประกาศเขตอำนาจในเขตต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2538 แล้ว ดังนั้น ในขณะเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจึงมีอำนาจตรวจค้นเรือใดๆ ที่สงสัยว่าจะละเมิดกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการศุลกากรและจับกุมผู้ต้องสงสัยว่ากระทำผิดต่อกฎหมายและระเบียบดังกล่าวในทะเลซึ่งเป็นเขตต่อเนื่องได้ การจับกุมจำเลยกับพวกจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. ตลอดจนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2538 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุแล้ว
จำเลยลอยเรือเพื่อให้เรือลำอื่นที่ชักธงชาติไทยมารับช่วงน้ำมันไปจำหน่ายแก่เรือประมงอีกทอดหนึ่ง แม้เหตุจะเกิดที่นอกราชอาณาจักรแต่เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักรเพราะเรือที่รับช่วงน้ำมันจะต้องนำน้ำมันไปจำหน่ายให้แก่เรือประมงที่ทำการประมงในทะเลอาณาเขตซึ่งอยู่ในเขตราชอาณาจักรไทย การกระทำของจำเลยจึงอยู่ในขั้นพยายามต้องด้วย ป.อ. มาตรา 5 วรรคสอง จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5792/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานนำเข้ายาเสพติดเพื่อจำหน่าย: การพิจารณาความชัดเจนของคำฟ้องและการลงโทษ
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรจำนวน 22 เม็ด ตามคำฟ้องข้อ 1 ข แยกกับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามคำฟ้องข้อ 1 ค ก็ตาม แต่คำฟ้องข้อ 1 ค โจทก์ได้บรรยายไว้โดยแจ้งชัดแล้วว่าเมทแอมเฟตามีนที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายดังกล่าวเป็นเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยนำมาจากประเทศกัมพูชาเข้ามาในราชอาณาจักรจึงเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกัน ซึ่งมีจำนวนหน่วยการใช้และปริมาณน้ำหนักสารบริสุทธิ์ที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นการนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายเท่ากัน ทั้งโจทก์ได้อ้างบทมาตราขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายแล้ว ถือได้ว่าคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายไว้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยกระทำความผิดฐานนำเมทแอมเฟตามีนของกลางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) (6) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8065/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนฐานความผิด ศาลต้องอธิบายฟ้องและสอบถามจำเลย หากโจทก์ไม่สืบพยาน ศาลยกฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักลอบนำเนื้อโคแช่แข็งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่นำผ่านท่าเข้าและไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมปศุสัตว์ หรือจำเลยช่วยซ่อนเร้น รับซื้อ หรือรับจำนำ ช่วยพาเอาไปเสีย โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ซึ่งเป็นคนละฐานความผิดกัน จำเลยให้การรับสารภาพโดยไม่ได้ระบุว่ารับสารภาพฐานใด ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับไว้ซึ่งของอันควรรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรนั้น เห็นว่า รายงานกระบวนพิจารณาระบุว่าจำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยาน คดีเสร็จการพิจารณารอฟังคำพิพากษา มีโจทก์ลงลายมือชื่อในรายงานไว้ด้วย ที่โจทก์อ้างว่าเป็นหน้าที่ของศาลต้องอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและสอบถามคำให้การจำเลยก็ตาม เมื่อโจทก์เห็นว่าคำให้การจำเลยไม่ชัดเจน ไม่ได้ระบุว่ารับสารภาพในความผิดฐานใด ชอบที่โจทก์จะทักท้วง และขอสืบพยานเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานใดในสองฐานที่โจทก์บรรยายฟ้องมา เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานใด จึงไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องโจทก์มาชอบแล้ว
of 29