พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5373/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าภาษี, การกระทำของตัวแทน, และผลกระทบต่อหุ้นส่วนในคดีภาษีอากร
จำเลยที่1เป็นผู้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่1พอใจราคาตามที่จำเลยที่1สำแดงและเห็นว่าใบเสร็จรับเงินในการเสียภาษีอากรขาเข้าจำนวนเงินตรงกับหลักฐานการนำเข้าจึงตรวจปล่อยสินค้าไปต่อมาโจทก์ที่1ตรวจพบว่าใบเสร็จรับเงินในการเสียภาษีอากรขาเข้าเป็นเอกสารปลอมโดยจำเลยที่6ซึ่งมีจำเลยที่7เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ทำปลอมขึ้นและใช้แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่1ทำให้สำคัญผิดว่าจำเลยที่1ชำระภาษีอากรขาเข้าถูกต้องแล้วจึงตรวจปล่อยสินค้าไปกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเรื่องที่รัฐใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาค่าภาษีในกรณีที่จำเลยที่1ยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการถูกต้องพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่1รับใบขนสินค้ารับรองเอกสารกับทั้งได้ตรวจสอบสินค้าของจำเลยที่1เป็นที่ถูกต้องแล้วจึงบันทึกตรวจปล่อยส่งมอบสินค้าให้จำเลยที่1รับไปจากอารักขาของโจทก์ที่1กรณีจึงมิใช่จำเลยที่1หลีกเลี่ยงซ่อนเร้นการเสียภาษีหรือไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรียกเก็บภาษีอันจะถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา27และ99แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากรพ.ศ.2469ส่วนความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่1ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่2ถึงที่5ดังนั้นคดีนี้จึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา167เดิม(มาตรา193/31ที่แก้ไขใหม่) แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำเลยที่1ยังมิได้ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์แต่จำเลยที่1และที่3ได้ให้การต่อสู้คดีโดยยกเหตุอายุความขึ้นต่อสู้และคดีฟังได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วจำเลยที่1ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจ้าของสินค้าและจำเลยที่3หุ้นส่วนผู้จัดการจึงมีสิทธิจะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้และการที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้การที่จำเลยที่1และที่3ยื่นคำให้การต่อสู้เรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59(1)ให้ถือว่าทำแทนซึ่งกันและกันจำเลยที่2ที่4และที่5ซึ่งเป็นหุ้นส่วนย่อมได้รับผลแห่งอายุความด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7295/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการเพิกถอนคำบังคับที่ไม่ถูกต้องตามคำพิพากษา และการกักขังแทนค่าปรับ
อำนาจของศาลที่จะเพิกถอนหรือมีคำสั่งในเรื่องการบังคับตามบทบัญญัติในมาตรา 27 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น หาใช่อำนาจของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะไม่ ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการออกคำบังคับของศาลชั้นต้นไม่ได้เป็นไปตามคำพิพากษา ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะเพิกถอนคำบังคับตามคำพิพากษาดังกล่าวแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเป็นเงิน109,663,779.20 บาท ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าปรับ จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา29, 30 โดยออกหมายกักขังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดามีกำหนด 2 ปีแทนค่าปรับ ก็ต้องถือว่าเป็นการกักขังแทนค่าปรับทั้งหมดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกกักขังแทนค่าปรับจำนวน 109,663,779.20 บาท ครบกำหนด2 ปี ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงไม่ต้องชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอีก
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเป็นเงิน109,663,779.20 บาท ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าปรับ จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา29, 30 โดยออกหมายกักขังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดามีกำหนด 2 ปีแทนค่าปรับ ก็ต้องถือว่าเป็นการกักขังแทนค่าปรับทั้งหมดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกกักขังแทนค่าปรับจำนวน 109,663,779.20 บาท ครบกำหนด2 ปี ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงไม่ต้องชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อภาษีเป็นองค์ประกอบความผิด แม้ พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มิได้บังคับให้ต้องมีเจตนา
บทบัญญัติของมาตรา16แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่9)พ.ศ.2482ซึ่งบัญญัติว่า"การกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช2469นั้นให้ถือว่าเป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่"หาได้ลบล้างองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27ที่ว่าจะต้องกระทำ"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ให้สิ้นไปไม่เพราะมาตรา16หมายความถึงแต่เพียงมิให้คำนึงถึงเจตนาแห่งการกระทำเท่านั้นส่วนความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลนั้นยังคงต้องเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27อยู่คำว่า"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ตามความหมายของกฎหมายในขณะนั้นย่อมหมายถึงความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลต่างหากจากเจตนากระทำการจำเลยทั้งสองจะมีความผิดต่อเมื่อข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ว่ามีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล การที่จำเลยทั้งสองสำแดงในใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าตามเอกสารที่ผู้ขายส่งมาให้เมื่อเปิดหีบห่อออกตรวจก็พบเห็นได้ชัดเจนว่ามีสินค้าเกินจำนวนซึ่งจำเลยยอมชำระค่าภาษีอากรเพิ่มกับเบี้ยปรับตามคำสั่งของกรมศุลกากรแสดงถึงความสุจริตใจไม่มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงไม่เสียภาษีจำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อภาษีเป็นองค์ประกอบความผิด แม้มีกฎหมายเฉพาะยกเว้น แต่ต้องพิสูจน์เจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
บทบัญญัติของมาตรา16แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่9)พ.ศ.2482ซึ่งบัญญัติว่า"การกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช2469นั้นให้ถือว่าเป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่"หาได้ลบล้างองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27ที่ว่าจะต้องกระทำ"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ให้สิ้นไปไม่เพราะมาตรา16หมายความถึงแต่เพียงมิให้คำนึงถึงเจตนาแห่งการกระทำเท่านั้นส่วนความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลนั้นยังคงต้องเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27อยู่คำว่า"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ตามความหมายของกฎหมายในขณะนั้นย่อมหมายถึงความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลต่างหากจากเจตนากระทำการจำเลยทั้งสองจะมีความผิดต่อเมื่อข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ว่ามีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล การที่จำเลยทั้งสองสำแดงในใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าตามเอกสารที่ผู้ขายส่งมาให้เมื่อเปิดหีบห่อออกตรวจก็พบเห็นได้ชัดเจนว่ามีสินค้าเกินจำนวนซึ่งจำเลยยอมชำระค่าภาษีอากรเพิ่มกับเบี้ยปรับตามคำสั่งของกรมศุลกากรแสดงถึงความสุจริตใจไม่มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงไม่เสียภาษีจำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อภาษี: แม้ยื่นสำแดงไม่ถูกต้อง แต่หากไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี ย่อมไม่มีความผิด
คำว่า"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"เป็นองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา27ซึ่งบทบัญญัติมาตรา16แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่9)พ.ศ.2482หาได้ลบล้างองค์ประกอบความผิดดังกล่าวให้สิ้นไปไม่เพราะเพียงแต่มิให้คำนึงถึงเจตนาแห่งการกระทำส่วนความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลที่จะฉ้อค่าภาษียังคงเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27อยู่ซึ่งเป็นเจตนาต่างหากจากเจตนากระทำการเมื่อจำเลยไม่มีเจตนาที่จะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลจำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งออกยาเสพติดผิดกฎหมาย: การพิจารณาความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร
เฮโรอีนจำนวน3,491กิโลกรัมที่จำเลยพยายามนำหรือพาออกนอกราชอาณาจักรเป็นของที่มีไว้เป็นความผิดไม่อาจเสียภาษีได้มิใช่เป็นการนำหรือพาออกไปนอกราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา27อีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดศุลกากร: เฮโรอีนไม่อาจเสียภาษี การนำออกนอกราชอาณาจักรไม่ใช่การหลีกเลี่ยงภาษี
เฮโรอีนที่จำเลยพยายามนำหรือพาออกนอกราชอาณาจักรเป็นของที่มีไว้เป็นความผิดไม่อาจเสียภาษีได้ การที่จำเลยนำหรือพาออกนอกราชอาณาจักรนั้นมิใช่เป็นการนำหรือพาออกไปนอกราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา27 อีกกระทงหนึ่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469: ราคาของและค่าอากรที่ใช้คำนวณโทษ
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่งบัญญัติในเรื่องกำหนดโทษปรับไว้ว่า "สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว" นั้นคำว่า "ราคาของ" ตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงราคาของที่แท้จริงไม่ใช่ราคาของที่สำแดงไว้ขาด ส่วนคำว่า "ค่าอากร" นั้นก็มิได้จำกัดไว้ว่าให้คิดเฉพาะค่าอากรที่ชำระขาดไปเช่นกัน จึงหมายถึงค่าอากรตามอัตราที่ต้องชำระโดยไม่คำนึงถึงว่าได้ชำระค่าอากรไปแล้วหรือไม่เพียงใด เพราะเป็นเรื่องกฎหมายบัญญัติให้นำราคาของกับค่าอากรมาเป็นหลักในการกำหนดอัตราโทษปรับมิใช่เพื่อให้ผู้กระทำผิดชำระค่าอากรแต่อย่างใด จึงจะแปลว่ากฎหมายมุ่งหมายให้คิดเฉพาะราคาของกับค่าอากรที่ยังขาดอยู่มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ปรับสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากร โดยไม่หักค่าอากรที่ชำระแล้ว
ค่าปรับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27ที่ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วนั้น หมายถึงปรับสี่เท่าของราคาของที่แท้จริงรวมกับค่าอากรที่ต้องชำระโดยไม่คำนึงว่าได้ชำระค่าอากรไปแล้วหรือไม่เพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ปรับสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากร
ค่าปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ที่ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วนั้น หมายถึงปรับสี่เท่าของราคาของที่แท้จริงรวมกับค่าอากรที่ต้องชำระโดยไม่คำนึงว่าได้ชำระค่าอากรไปแล้วหรือไม่เพียงใด