คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 27

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดศุลกากรต้องมีพยานหลักฐานชัดเจน หากโจทก์ไม่นำสืบพยาน ศาลลงโทษไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร เป็นผู้ลักลอบนำพาเลื่อยยนต์ ซึ่งเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดผลิตในต่างประเทศซึ่งยังมิได้เสียภาษีและยังมิได้ผ่านศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลที่จะต้องเรียกค่าภาษีอากรขาเข้า หรือมิฉะนั้น จำเลยได้ซื้อรับจำนำ รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ และช่วยพาเอาไปเสียช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้น ซึ่งของดังกล่าวโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นลักลอบนำพาหนี้ศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากรที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียว เพราะความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวเป็นคนละความผิดกันจะลงโทษจำเลยในทั้งสองข้อหาดังกล่าวย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยให้การว่า "ขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ" ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยกระทำต่อพระราชบัญญัติศุลกากรฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรของจำเลย เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยในความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดทางศุลกากร: โจทก์ต้องนำสืบพยานให้ชัดเจนถึงฐานความผิดที่จำเลยกระทำ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรเป็นผู้ลักลอบนำพาเลื่อยยนต์ ซึ่งเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดผลิตในต่างประเทศซึ่งยังมิได้เสียภาษีและยังมิได้ผ่านศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลที่จะต้องเรียกค่าภาษีอากรขาเข้า หรือมิฉะนั้น จำเลยได้ซื้อ รับจำนำ รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ และช่วยพาเอาไปเสีย ช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้น ซึ่งของดังกล่าวโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นลักลอบนำพาหนีศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากรที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียว เพราะความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวเป็นคนละความผิดกันจะลงโทษจำเลยในทั้งสองข้อหาดังกล่าวย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยให้การว่า "ขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ" ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยกระทำต่อพระราชบัญญัติศุลกากรฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรของจำเลย เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยในความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนและการสืบพยาน: ศาลไม่สามารถลงโทษฐานความผิดที่ไม่ปรากฏจากการสืบพยานได้
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ร่วมกันลักลอบนำเลื่อยโซ่ยนต์ที่ยังมิได้เสียภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือจำเลยได้ร่วมกันซื้อรับจำนำ ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่ายหรือรับไว้ซึ่งเลื่อยดังกล่าว โดยรู้ว่าเป็นของที่ลักลอบหนีศุลกากร เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ หากโจทก์เห็นว่าคำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยรับสารภาพในความผิดฐานใด โจทก์ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยไม่ได้คดีไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ (หมายถึงย้อนไปจดคำให้การให้ชัดเจนใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจน การไม่สืบพยาน และผลกระทบต่อการลงโทษ
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ร่วมกันลักลอบนำเลื่อยโซ่ยนต์ที่ยังมิได้เสียภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือจำเลยได้ร่วมกันซื้อรับจำนำ ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่ายหรือรับไว้ซึ่งเลื่อยดังกล่าว โดยรู้ว่าเป็นของที่ลักลอบหนีศุลกากร เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ หากโจทก์เห็นว่าคำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยรับสารภาพในความผิดฐานใด โจทก์ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยไม่ได้ คดีไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ (หมายถึง ย้อนไปจดคำให้การให้ชัดเจนใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพจำเลย, การอธิบายฟ้อง, และหน้าที่โจทก์ในการสืบพยานเพื่อพิสูจน์ความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลลงโทษจำเลยกับพวกฐานใดฐานหนึ่งระหว่างร่วมกันลักลอบนำเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางที่เจ้าพนักงานยึดไว้อันเป็นของที่ผลิตในต่างประเทศที่ยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากรและโดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี หรือร่วมกันซื้อ รับจำนำ ช่วยซ่อนเร้นช่วยจำหน่าย หรือรับไว้ ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ของกลาง โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่มีผู้ลักลอบนำหนีศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้น ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27,27 ทวิ จำเลยทั้งสองให้การว่าได้รับทราบคำฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว ให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดและเป็นความจริงตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ไม่ขอต่อสู้และไม่ต้องการทนายความ ซึ่งคำว่าทราบหมายความว่ารู้หรือเข้าใจ แสดงว่าศาลได้อธิบายฟ้องให้จำเลยฟังเข้าใจแล้ว จำเลยจึงได้ให้การเท้าความว่าจำเลยได้ทราบคำฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว และโจทก์เองก็ได้ลงลายมือชื่อไว้ในคำให้การของจำเลยและรายงานกระบวนพิจารณาด้วย หากโจทก์เห็นว่า คำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้ง โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลง ขอสืบพยานต่อไปเพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดของจำเลย เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใดแน่ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ และคดีไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนและพิพากษาใหม่แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำไม้กับความผิดฐานพยายามทำไม้ และการจ่ายสินบนรางวัลตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(5) บัญญัติว่า"ทำไม้" หมายความว่า ตัด ฟัน กานโค่นลิดเลื่อนผ่าถาก ทอน ขุดชักลากไม้ในป่าหรือนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ " ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำไม้โดยการตัด ฟัน พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มิได้ให้ความหมายพิเศษของคำว่า ตัด ฟัน และการกระทำอื่น ๆ อันเป็นการทำไม้ไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำเหล่านั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525ได้ให้ความหมายของคำว่า "ตัด" ว่า ทำให้ขาดด้วยของมีคม ทอนคำว่า "ฟัน" หมายถึง เอาของมีคมเช่นดาบฟันลงไป เช่น ฟันคลื่นคือเอาหัวเรือตัดคลื่นไป "กาน" หมายถึงตัดเพื่อให้แตกใหม่ "โค่น"หมายถึง ล้มหรือทำให้ล้มอย่างต้นไม้ล้ม ทลายลง "ลิด" หมายถึงเด็ดหรือตัดเพื่อแต่ง "เลื่อย" หมายถึง ตัดด้วยเลื่อย ความหมายของคำว่า "ทำไม้" ไม่ว่าด้วยวิธี ตัด ฟัน กานโค่นลิด เลื่อย ผ่าถาก ทอน ขุด ชักลาก หรือนำไม้ออกจากป่า ล้วนแต่ทำให้เห็นว่าต้องเป็นการทำให้ต้นไม้ขาดจากลำต้นหรือจากพื้นดินที่ต้นไม้นั้นปลูกอยู่ทั้งสิ้น ซึ่งวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484ที่ห้ามมิให้ทำไม้โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และถือเป็นความเป็นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 และ 73 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้นก็เพื่อมิให้มีการทำลายป่าและเพื่อรักษาทรัพยากรและความสมดุล ทางธรรมชาติไว้ เมื่อปรากฏว่าต้นยางที่จำเลยตัดมีขนาดเส้นรอบวงของลำต้นตรงที่ถูกตัดถึง 1.80 เมตร และสูง 16 เมตร มีร่องรอยการตัดด้วยเลื่อยเพียง 2 รอย สึกเพียง 1 นิ้ว และยาว 5 นิ้วเท่านั้น ต้นยางดังกล่าวมิได้โค่นล้มหรือตายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นเพียงการลงมือกระทำความผิดฐานทำไม้แต่กระทำไปไม่ตลอดเป็นความผิดฐานพยายามทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ มิใช่ความผิดสำเร็จ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบ จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของค่าปรับตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ปรากฏว่า พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายสินบนกับรางวัลและปรากฏตามพระราชบัญญัติ ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489มาตรา 7 และ 8 ว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาลซึ่งคดีนี้ไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายของกลางได้ ทั้งให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางที่ศาลสั่งริบ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ในราชกิจจานุเบกษาซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขอแก้ไขเพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้แล้วประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามาจึงยังไม่ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4589/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อมาโดยสุจริต แม้จะถูกยึดเนื่องจากความผิดในการนำเข้า โจทก์มีสิทธิเรียกคืนได้
โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตจากโจทก์ร่วมผู้เป็นพ่อค้าขายรถยนต์ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท และมีสิทธิติดตามเอาคืนตามอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมีอำนาจยึดรถยนต์พิพาทเพราะร.นำเข้าโดยสำแดงเท็จและหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อจำกัดอันเกี่ยวแก่การนำเข้า อันพึงยึดและริบตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 24,27,99 แต่ขณะโจทก์รับโอนมาศาลยังมิได้พิพากษาให้ริบหรือตกเป็นของแผ่นดิน โดยโจทก์ขอรถยนต์พิพาทคืนภายในกำหนด30 วัน นับแต่ถูกยึด จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามลักลอบนำเงินตราออกนอกประเทศ: การกระทำถึงขั้นลงมือแล้วหรือไม่
จำเลยจะเดินทางไปต่างประเทศ เครื่องบินจะออกเวลา 8.40นาฬิกา จำเลยเดินทางไปถึงท่าอากาศยาน ได้ผ่านการตรวจจากเจ้าหน้าที่สายการบินและรับบัตรที่นั่งผู้โดยสารกับบัตรรับกระเป๋าเดินทางแล้วเวลา 8.15 นาฬิกา ขณะที่เจ้าหน้าที่สายการบินกำลังจะนำกระเป๋าเดินทางของจำเลยลำเลียงขึ้นเครื่องบินและจำเลยกำลังจะเดินเข้าไปในช่องทางเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ศุลกากรได้ตรวจค้นตัวจำเลยและกระเป๋าเดินทางของจำเลยพบเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา9,100ดอลลาร์ ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้นำออกนอกราชอาณาจักร เมื่อจำเลยรับบัตรที่นั่งผู้โดยสารแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเดินทางออกไปจากประเทศไทยและใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จพ้นขั้นตระเตรียมการแล้ว จำเลยมีเจตนานำเงินตราที่ต้องจำกัดหรือต้องห้ามออกไปนอกประเทศจึงมีความผิดฐานพยายามกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพยายามลักลอบนำเงินตราออกนอกประเทศ: การกระทำถึงขั้นลงมือแล้วหรือไม่
จำเลยจะเดินทางไปต่างประเทศ เครื่องบินขึ้นเวลา 8.40 นาฬิกาจำเลยไปถึงท่าอากาศยานรับบัตรที่นั่งผู้โดยสารและบัตรรับกระเป๋าเดินทางแล้ว เวลา 8.15 นาฬิกา ขณะจำเลยเดินเข้าช่องทางเดินเพื่อไปยังเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ตรวจพบเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ9,100ดอลลาร์ ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้นำออกนอกราชอาณาจักรที่จำเลย การกระทำของจำเลยเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเดินทางออกไปจากประเทศไทย และใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จโดยพ้นขั้นตระเตรียมการแล้ว ดังนี้ จำเลยมีเจตนานำเงินตราที่ต้องจำกัด หรือต้องห้ามออกไปนอกประเทศ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามกระทำความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: ยาเสพติดและศุลกากร - ลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด
ความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 15,66 วรรคสองและฐานพยายามส่งเฮโรอีนออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 15,65 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80ซึ่งเฮโรอีนของกลางถูกจับได้ที่ท่าอากาศยานเป็นจำนวนเดียวกันจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท และในขณะเดียวกันก็เป็นการพยายามนำของต้องห้ามโดยยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรออกนอกราชอาณาจักรอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 27 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 ด้วย แม้จะเป็นความผิดต่างพระราชบัญญัติกัน ก็ไม่เป็นการกระทำผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก คงรวมเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท
of 29