พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าของขวัญและเครื่องมือช่างโดยไม่ผ่านศุลกากร การตีความข้อยกเว้นอากร และเจตนาฉ้อภาษี
การประกอบอาชีพค้าเพชรเพียงแต่อาศัยความรู้ความชำนาญในเรื่องเพชรเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพอื่นธรรมดาทั่วไป ถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบวิชาชีพ เครื่องชั่งเพชรที่จำเลยนำเข้ามาจึงมิใช่เป็นของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้ในวิชาชีพอันจะได้รับยกเว้นอากร การยกเว้นอากรตาม พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503ภาค 4 ประเภทที่ 5 ยกเว้นให้เฉพาะของส่วนตัว สำหรับผู้นำเข้าใช้เอง เมื่อเป็นบทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้น จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดจำกัดเฉพาะของส่วนตัวสำหรับผู้นำเข้าใช้เอง ไม่อาจตีความขยายออกไปให้ครอบคลุมถึงของที่ผู้นำเข้าได้นำเข้ามาเป็นของขวัญแก่ผู้อื่นว่ามีผลเท่ากับผู้นำเข้าใช้เอง ดังนั้น ไข่มุก ที่จำเลยนำเข้ามาเพื่อฝากคนรักของจำเลยจึงมิใช่ของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้าพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง แม้เพชรและพลอยของกลางจะเป็นของที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรในการนำเข้า แต่เจตนาฉ้อ ภาษีของ รัฐบาล อันเป็นองค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับเจตนาพิเศษของมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากรพ.ศ. 2469 นั้น เป็นองค์ประกอบความผิดสำหรับความผิดบางฐานเท่านั้นเฉพาะความผิดฐานนำของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรนี้ แม้จำเลยจะมิได้มีเจตนาพิเศษที่จะฉ้อ ค่าภาษีของ รัฐบาล ก็เป็นความผิดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการยกเว้นอากร, วิชาชีพ, เจตนาฉ้อค่าภาษี และความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องในคดีศุลกากร
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร มิได้นิยามความหมายของคำว่า "วิชาชีพ"เอาไว้ จึงต้องถือตามความหมายที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า "อาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญ" ตามความหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การประกอบอาชีพใดจะถือว่าเป็นการประกอบวิชาชีพก็ต่อเมื่อจะต้องอาศัยหลักวิชาการแขนงใดแขนงหนึ่ง เช่น วิชาชีพกฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม ฯลฯ หรือวิชาชีพอื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกันนี้ การประกอบอาชีพค้าเพชร ผู้ประกอบอาชีพนี้เพียงแต่อาศัยความรู้ความชำนาญในเรื่องเพชรเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพอื่นธรรมดาทั่วไปเท่านั้น หาจำต้องอาศัยหลักวิชาการเฉพาะทางแขนงใดแขนงหนึ่งดังเช่นวิชาชีพต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น การประกอบอาชีพค้าเพชรจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบวิชาชีพ เครื่องชั่งเพชรที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรจึงมิใช่เป็นของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้ในวิชาชีพ อันจะได้รับยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ภาค 4 ประเภทที่ 5
การยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลอากร พ.ศ.2503 ภาค 4 ประเภทที่ 5 กฎหมายยกเว้นให้แก่ของส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้าพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้น จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด จำกัดเฉพาะของส่วนตัวสำหรับผู้นำเข้าใช้เอง ไม่อาจตีความขยายออกไปให้ครอบคลุมถึงของที่ผู้นำเข้าได้นำเข้ามาฝากเป็นของขวัญแก่ผู้อื่นว่ามีผลเท่ากับผู้นำเข้าใช้เองได้ ดังนั้น ไข่มุกที่จำเลยนำเข้ามาเพื่อฝากคนรักของจำเลยจึงมิใช่ของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง อันจะได้รับยกเว้นอากรตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
เจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลอันเป็นองค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับเจตนาพิเศษของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 นั้น เป็นองค์ประกอบความผิดสำหรับความผิดบางฐานเท่านั้น เฉพาะความผิดฐานนำของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรแม้จำเลยจะมิได้มีเจตนาพิเศษที่จะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลก็เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักลอบนำเพชรและพลอยที่ตกแต่งแล้วอันเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ ซึ่งได้รับการยกเว้นอากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยที่นำเอาเพชรและพลอยเข้ามาในราชอาณาจักรและบรรยายด้วยว่า แม้เพชรและพลอยจะได้รับยกเว้นอากร แต่ต้องผ่านศุลกากรตามวิธีการศุลกากรเพื่อการควบคุมเงินตราและวิธีการนำเข้าของประเภทนี้กับบรรยายว่าจำเลยไม่ได้นำผ่านศุลกากรเสียให้ถูกต้อง จำเลยจึงมีความผิดในเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงข้อห้ามเกี่ยวกับเพชรและพลอยที่นำเข้านั้น ฟ้องของโจทก์จึงบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควร เท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยก็ฎีกาในปัญหาข้อนี้ได้
การยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลอากร พ.ศ.2503 ภาค 4 ประเภทที่ 5 กฎหมายยกเว้นให้แก่ของส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้าพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้น จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด จำกัดเฉพาะของส่วนตัวสำหรับผู้นำเข้าใช้เอง ไม่อาจตีความขยายออกไปให้ครอบคลุมถึงของที่ผู้นำเข้าได้นำเข้ามาฝากเป็นของขวัญแก่ผู้อื่นว่ามีผลเท่ากับผู้นำเข้าใช้เองได้ ดังนั้น ไข่มุกที่จำเลยนำเข้ามาเพื่อฝากคนรักของจำเลยจึงมิใช่ของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง อันจะได้รับยกเว้นอากรตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
เจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลอันเป็นองค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับเจตนาพิเศษของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 นั้น เป็นองค์ประกอบความผิดสำหรับความผิดบางฐานเท่านั้น เฉพาะความผิดฐานนำของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรแม้จำเลยจะมิได้มีเจตนาพิเศษที่จะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลก็เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักลอบนำเพชรและพลอยที่ตกแต่งแล้วอันเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ ซึ่งได้รับการยกเว้นอากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยที่นำเอาเพชรและพลอยเข้ามาในราชอาณาจักรและบรรยายด้วยว่า แม้เพชรและพลอยจะได้รับยกเว้นอากร แต่ต้องผ่านศุลกากรตามวิธีการศุลกากรเพื่อการควบคุมเงินตราและวิธีการนำเข้าของประเภทนี้กับบรรยายว่าจำเลยไม่ได้นำผ่านศุลกากรเสียให้ถูกต้อง จำเลยจึงมีความผิดในเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงข้อห้ามเกี่ยวกับเพชรและพลอยที่นำเข้านั้น ฟ้องของโจทก์จึงบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควร เท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยก็ฎีกาในปัญหาข้อนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าของข้ามแดน การตีความข้อยกเว้นอากร และองค์ประกอบความผิดฐานหลีกเลี่ยงศุลกากร
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร มิได้นิยามความหมายของคำว่า "วิชาชีพ" เอาไว้ จึงต้องถือตามความหมายที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า "อาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญ" ตามความหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การประกอบอาชีพใดจะถือว่าเป็นการประกอบวิชาชีพก็ต่อเมื่อจะต้องอาศัยหลักวิชาการแขนงใดแขนงหนึ่งเช่น วิชาชีพกฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม ฯลฯ หรือวิชาชีพอื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกันนี้ การประกอบอาชีพค้าเพชร ผู้ประกอบอาชีพนี้เพียงแต่อาศัยความรู้ความชำนาญในเรื่องเพชรเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพอื่นธรรมดาทั่วไปเท่านั้น หาจำต้องอาศัยหลักวิชาการเฉพาะทางแขนงใดแขนงหนึ่งดังเช่นวิชาชีพต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นการประกอบอาชีพค้าเพชรจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบวิชาชีพเครื่องชั่งเพชรที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรจึงมิใช่เป็นของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้ในวิชาชีพ อันจะได้รับยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 4ประเภทที่ 5 การยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503ภาค 4 ประเภทที่ 5 กฎหมายยกเว้นให้แก่ของส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้าพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้นจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด จำกัดเฉพาะของส่วนตัวสำหรับผู้นำเข้าใช้เอง ไม่อาจตีความขยายออกไปให้ครอบคลุมถึงของที่ผู้นำเข้าได้นำเข้ามาฝากเป็นของขวัญแก่ผู้อื่นว่ามีผลเท่ากับผู้นำเข้าใช้เองได้ ดังนั้น ไข่มุกที่จำเลยนำเข้ามาเพื่อฝากคนรักของจำเลยจึงมิใช่ของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง อันจะได้รับยกเว้นอากรตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น เจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลอันเป็นองค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับเจตนาพิเศษของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 นั้น เป็นองค์ประกอบความผิดสำหรับความผิดบางฐานเท่านั้น เฉพาะความผิดฐานนำของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรแม้จำเลยจะมิได้มีเจตนาพิเศษที่จะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลก็เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักลอกนำเพชรและพลอยที่ตกแต่งแล้วอันเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ ซึ่งได้รับการยกเว้นอากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยที่นำเอาเพชรและพลอยเข้ามาในราชอาณาจักรและบรรยายด้วยว่า แม้เพชรและพลอยจะได้รับยกเว้นอากร แต่ต้องผ่านศุลกากรตามวิธีการศุลกากรเพื่อการควบคุมเงินตราและวิธีการนำเข้าของประเภทนี้กับบรรยายว่าจำเลยไม่ได้นำผ่านศุลกากรเสียให้ถูกต้อง จำเลยจึงมีความผิดในเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงข้อห้ามเกี่ยวกับเพชรและพลอยที่นำเข้านั้น ฟ้องของโจทก์จึงบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควร เท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยก็ฎีกาในปัญหาข้อนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร: การกระทำของผู้เกี่ยวข้อง, อายุความ, และการเปรียบเทียบปรับ
จำเลยเป็นผู้จัดการของบริษัท ท. จำกัด ได้สั่งเครื่องจักรหลายประเภทเข้ามาในราชอาณาจักร โดยสำแดงในใบขนสินค้า ขาเข้าเพื่อชำระอากรต่ำกว่าราคาที่แท้จริง อันเป็นการกระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติศุลกากร ทั้งฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 และฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรตามมาตรา 27 ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกัน แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรา 99 เพราะขาดอายุความแล้ว ก็ย่อมฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรา 27 ได้ ความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร นอกจากจะเอาความผิดต่อผู้หลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรแล้ว ยังเอาผิดต่อผู้ที่ เกี่ยวข้อง ในการหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรด้วย ฉะนั้น แม้บริษัท ท. จำกัด จะ เป็น ผู้นำเครื่องจักรเข้ามาในราชอาณาจักร แต่เมื่อจำเลย ซึ่ง เป็น ตัวแทน ของบริษัท ท.จำกัดเกี่ยวข้องในการหลีกเลี่ยงภาษีอากรของบริษัทท.จำกัด ด้วย จำเลยย่อมมีความผิดฐานดังกล่าว เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิบดีกรมศุลกากรได้เรียกให้ จำเลยไปตกลงระงับคดี โดยจะเปรียบเทียบปรับแก่จำเลย แต่เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระค่าปรับตามที่ตกลงยินยอมกรณีก็ถือไม่ได้ว่า มีการเปรียบเทียบปรับอันจะทำให้คดีของจำเลยเลิกกันตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 102,102 ทวิ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 ประกอบมาตรา 37(4).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดศุลกากรฐานหลีกเลี่ยงอากรและสำแดงเท็จเป็นความผิดต่างกรรมกัน การเปรียบเทียบปรับต้องทำก่อนฟ้องจึงมีผลระงับคดี
ความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ฐานหลีกเลี่ยงอากร กับมาตรา 99 ฐานสำแดงเท็จ เป็นความผิดต่างกรรมกัน คดีอาญาจะเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37(4) โดยการเปรียบเทียบคดี ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 102,102 ทวิ ก็ต่อเมื่อบุคคล ผู้กระทำความผิดตกลงยินยอมและใช้ค่าปรับก่อนถูกฟ้องเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร แม้ขาดอายุความฟ้องฐานสำแดงเท็จ ก็ยังฟ้องฐานหลีกเลี่ยงภาษีได้ ผู้เกี่ยวข้องกับการหลีกเลี่ยงภาษีย่อมมีความผิด
จำเลยเป็นผู้จัดการของบริษัท ท.จำกัด ได้สั่งเครื่องจักรหลายประเภทเข้ามาในราชอาณาจักร โดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าเพื่อชำระอากรต่ำกว่าราคาที่แท้จริง อันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร ทั้งฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 และฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรตามมาตรา 27 ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกัน แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรา 99 เพราะขาดอายุความแล้ว ก็ย่อมฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรา 27 ได้
ความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร นอกจากจะเอาความผิดต่อผู้หลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรแล้ว ยังเอาผิดต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรด้วย ฉะนั้นแม้บริษัท ท.จำกัด จะเป็นผู้นำเครื่องจักรเข้ามาในราชอาณาจักร แต่เมื่อจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัท ท.จำกัด เกี่ยวข้องในการหลีกเลี่ยงภาษีอากรของบริษัท ท.จำกัดด้วย จำเลยย่อมมีความผิดฐานดังกล่าว
เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิบดีกรมศุลกากรได้เรียกให้จำเลยไปตกลงระงับคดี โดยจะเปรียบเทียบปรับแก่จำเลย แต่เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระค่าปรับตามที่ตกลงยินยอมกรณีก็ถือไม่ได้ว่า มีการเปรียบเทียบปรับอันจะทำให้คดีของจำเลยเลิกกันตามพระราชบัญญัติศุลกากรมาตรา 102, 102 ทวิ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 ประกอบมาตรา 37 (4)
ความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร นอกจากจะเอาความผิดต่อผู้หลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรแล้ว ยังเอาผิดต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรด้วย ฉะนั้นแม้บริษัท ท.จำกัด จะเป็นผู้นำเครื่องจักรเข้ามาในราชอาณาจักร แต่เมื่อจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัท ท.จำกัด เกี่ยวข้องในการหลีกเลี่ยงภาษีอากรของบริษัท ท.จำกัดด้วย จำเลยย่อมมีความผิดฐานดังกล่าว
เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิบดีกรมศุลกากรได้เรียกให้จำเลยไปตกลงระงับคดี โดยจะเปรียบเทียบปรับแก่จำเลย แต่เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระค่าปรับตามที่ตกลงยินยอมกรณีก็ถือไม่ได้ว่า มีการเปรียบเทียบปรับอันจะทำให้คดีของจำเลยเลิกกันตามพระราชบัญญัติศุลกากรมาตรา 102, 102 ทวิ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 ประกอบมาตรา 37 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการยึดของกลางและการตรวจสอบสิทธิในทรัพย์สิน ผู้ซื้อสุจริต
โจทก์ซื้อเพลารถยนต์เก่าของกลางจากพ่อค้าซึ่งขายของเก่าโดยสุจริตในตลาดเทศบาลเมืองหาดใหญ่ ของกลางดังกล่าวจึงใม่ใช่สิ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร เจ้าพนักงานของจำเลยไม่มีอำนาจยึดไว้ ต้องคืนแก่เจ้าของ
การที่จำเลยยึดของกลางไว้เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนของกลาง จำเลยก็ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบหลักฐานก่อน เพราะโจทก์อ้างว่าของกลางเป็นของที่ซื้อมาจากการขายทอดตลาดก่อนถูกยึดถึง 2 ปี โจทก์ฟ้องเรียกของกลางคืนหลังจากยื่นคำร้องเพียง 1 เดือนเศษ ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่คืนของกลางให้แก่โจทก์
การที่จำเลยยึดของกลางไว้เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนของกลาง จำเลยก็ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบหลักฐานก่อน เพราะโจทก์อ้างว่าของกลางเป็นของที่ซื้อมาจากการขายทอดตลาดก่อนถูกยึดถึง 2 ปี โจทก์ฟ้องเรียกของกลางคืนหลังจากยื่นคำร้องเพียง 1 เดือนเศษ ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่คืนของกลางให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์โดยมิชอบ เจ้าพนักงานต้องคืนทรัพย์ให้เจ้าของเมื่อพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่ของหลีกเลี่ยงภาษี
โจทก์ซื้อเพลา รถยนต์ เก่าของกลางจากพ่อค้าซึ่งขายของเก่าโดยสุจริตในตลาดเทศบาลเมืองหาดใหญ่ ของกลางดังกล่าวจึงไม่ใช่สิ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรเจ้าพนักงานของจำเลยไม่มีอำนาจยึดไว้ ต้องคืนแก่เจ้าของ การที่จำเลยยึดของกลางไว้เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนของกลาง จำเลยก็ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบหลักฐานก่อน เพราะโจทก์อ้างว่าของกลางเป็นของที่ซื้อมาจากการขายทอดตลาดก่อนถูกยึดถึง 2 ปี โจทก์ฟ้องเรียกของกลางคืนหลังจากยื่นคำร้องเพียง 1 เดือนเศษ ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่คืนของกลางให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากร, การสำแดงเท็จ, และการระงับคดีอาญา: สิทธิในการโต้แย้งและการคืนหลักประกัน
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร เห็นว่าโจทก์ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น ให้โจทก์นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นประกันค่าภาษีอากรไว้ ทั้งการกระทำของโจทก์มีความผิดฐานสำแดงเท็จตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27 และ 99 จึงมีหนังสือเรียกให้โจทก์ไปตกลงระงับคดีอาญา ซึ่งหากโจทก์ยอมเสียค่าปรับ 2 เท่า ของอากรที่ขาดโดยคำนวณจากราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้าตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ย่อมทำให้คดีอาญาระงับตามมาตรา 102 และ 102 ทวิ เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับจำเลยจึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติศุลกากรกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกล่าวหาหรือคำสั่งของจำเลยที่ตีราคาสินค้าโจทก์แล้วนำไปกำหนดค่าปรับ และโจทก์ไม่มีสิทธิจะบังคับให้จำเลยคืนหลักประกันค่าภาษีอากรจนกว่าโจทก์จะชำระเงินอากรตามจำนวนที่ได้รับแจ้งให้ครบตามมาตรา 112 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3253/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักยึดสินค้าและการประเมินภาษีอากรใหม่ของศุลกากร ไม่เป็นการละเมิด
สินค้าที่โจทก์นำเข้าบางส่วนไม่ตรงกับชนิดและราคาที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าและแบบรายการการค้า จำเลยได้ประเมินราคาสินค้าและภาษีอากรใหม่และแจ้งให้โจทก์ทราบว่าอากรขาดไป และจำเลยเห็นว่ากรณีของโจทก์เป็นความผิดตามมาตรา 99,27 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากรพ.ศ. 2469 สมควรทำความตกลงระงับคดีในชั้นศุลกากรโดยเปรียบเทียบปรับและให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่ขาดให้ครบถ้วน ซึ่งเป็นอำนาจของจำเลยตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ เมื่อโจทก์ไม่ตกลงยินยอมด้วย จำเลยจึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์การกระทำของจำเลยทั้งหมดไม่มีพฤติการณ์ใดที่ส่อว่าจำเลยกลั่นแกล้ง อันเป็นการจงใจให้โจทก์เสียหาย แต่เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายให้ไว้ จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.