พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14634/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งให้วางเงินประกันเพื่อคัดค้านการขายทอดตลาด: ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อน, คำสั่งยกคำร้องเป็นที่สุด
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด โดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ในราคาต่ำเกินสมควรอันเนื่องมาจากความไม่สุจริตหรือการฉ้อฉลหรือความประมาทอย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง นั้น ในวรรคสามของมาตราดังกล่าวให้นำวรรคห้าของมาตรา 296 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งมาตรา 296 วรรคห้า บัญญัติว่า "ในการยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรานี้ หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่อาจได้รับความเสียหายเนื่องจากการยื่นคำร้องดังกล่าวร้องขอ ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตามจำนวน และภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เพื่อประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลนั้นได้ ถ้าผู้ยื่นคำร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย คำสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุด" บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินหรือหาประกันต่อศาลเพื่อประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลที่อาจได้รับความเสียหายเนื่องจากการยื่นคำร้องดังกล่าวร้องขอศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนก่อน แต่กำหนดให้ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจโดยพิจารณาว่ามีพยานหลักฐานเบื้องต้นที่แสดงว่าคำร้องของผู้ร้องไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้าหรือไม่ เมื่อทนายโจทก์แถลงว่า คำร้องของผู้ร้องไม่มีมูลและผู้ร้องยื่นคำร้องเพื่อประวิงคดีให้ชักช้า ขอให้ผู้ร้องนำเงินมาวางเพื่อเป็นประกันค่าเสียหายจำนวน 300,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินประกันค่าเสียหายจำนวน 300,000 บาท ภายใน 15 วัน โดยไม่ไต่สวนก่อนไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่ผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นแล้ว คำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดที่เกิดจากความผิดพลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ต้องยื่นคำร้องภายใน 15 วันนับจากวันที่ทราบข้อเท็จจริง
ผู้ร้องกล่าวอ้างมาในคำร้องว่า ผู้ร้องได้เข้าร่วมประมูลที่ดินแปลงที่ 1 และเป็นผู้ประมูลได้ในราคา 605,000 บาท แต่เมื่อผู้ร้องทำสัญญาซื้อขายเจ้าพนักงานบังคับคดีกลับระบุว่าผู้ร้องเป็นผู้ชนะการประมูลที่ดินแปลงที่ 2 เนื่องจากเกิดจากความผิดพลาดในการจดรายงานการขายทอดตลาดและการทำสัญญาซื้อขาย คำร้องดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เป็นเหตุให้ผู้ร้องต้องเสียหายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลงแต่ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตามมาตรา 296 วรรคสาม เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 และผู้ร้องเข้าทำสัญญาซื้อขายกับเจ้าพนักงานบังคับคดีในวันดังกล่าวตามสำเนาสัญญาซื้อขายฉบับลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 เอกสารท้ายคำร้องคัดค้านขอเพิกถอนการขายทอดตลาดของโจทก์ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2554 แสดงว่าผู้ร้องทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นแล้วนับแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ผู้ร้องเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 จึงพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด คำร้องของผู้ร้องเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12758/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินจำนองหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเจ้าหนี้มีประกัน & อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น แม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เว้นแต่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 110 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 112 ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วน แต่อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 110 วรรคท้าย
คดีนี้หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 และมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 แล้ว ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับทรัพย์จำนอง หรือมอบหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้แทน หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือสอบถามไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่ยึดไว้อันถือได้ว่าเป็นการกระทำแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย แต่กลับปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ต่อไปในวันที่ 8 มิถุนายน 2548 และเพิ่งมามีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2551 ว่าให้สอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลยในคดีนี้ ซึ่งเป็นการสอบถามภายหลังจากที่ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปแล้ว จึงมีผลเท่ากับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือถือได้ว่าได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ประกอบกับทรัพย์จำนองเป็นหลักประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เดิม แม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์เดิมในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในการที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังที่ศาลล่างวินิจฉัย โจทก์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้ได้ โดยหาจำต้องไปยื่นคำร้องในคดีล้มละลายดังที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาไม่
คดีนี้หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 และมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 แล้ว ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับทรัพย์จำนอง หรือมอบหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้แทน หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือสอบถามไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่ยึดไว้อันถือได้ว่าเป็นการกระทำแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย แต่กลับปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ต่อไปในวันที่ 8 มิถุนายน 2548 และเพิ่งมามีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2551 ว่าให้สอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลยในคดีนี้ ซึ่งเป็นการสอบถามภายหลังจากที่ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปแล้ว จึงมีผลเท่ากับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือถือได้ว่าได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ประกอบกับทรัพย์จำนองเป็นหลักประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เดิม แม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์เดิมในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในการที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังที่ศาลล่างวินิจฉัย โจทก์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้ได้ โดยหาจำต้องไปยื่นคำร้องในคดีล้มละลายดังที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: คำให้การและฟ้องแย้งไม่เคลือบคลุม แม้จะอ้างทั้งกรรมสิทธิ์เดิมและได้มาจากการครอบครองปรปักษ์
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทมาเป็นเวลาหลายสิบปี แม้ไม่ได้บรรยายว่าครอบครองมาตั้งแต่เมื่อใด ปีไหน และครบกำหนดเวลาสิบปีเมื่อใดก็ตาม ก็เป็นรายละเอียดที่จำเลยอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม
แม้จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าพื้นที่ในเส้นสีแดงตามแผนที่ท้ายฟ้องน่าเชื่อว่าอยู่ในแนวที่ดินของจำเลย หรือแม้จะอยู่ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายก็ไม่เป็นคำให้การและฟ้องแย้งที่ขัดกันเอง เพราะที่จำเลยให้การและฟ้องแย้งเช่นนั้นเนื่องจากที่ดินของโจทก์และของจำเลยเป็นโฉนดรุ่นเก่าสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีหลักเขตแน่นอน เจ้าของเดิมและจำเลยได้ครอบครองกันเป็นส่วนสัดอย่างเป็นเจ้าของมานานย่อมทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นของจำเลย แต่หากเป็นของโจทก์ทั้งสอง จำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งเป็นคำให้การและฟ้องแย้งที่บรรยายให้เข้าใจสภาพที่ดินพิพาทว่ามีอยู่อย่างไรเป็นกรรมสิทธิ์ของใครอย่างไร คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เคลือบคลุม
แม้จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าพื้นที่ในเส้นสีแดงตามแผนที่ท้ายฟ้องน่าเชื่อว่าอยู่ในแนวที่ดินของจำเลย หรือแม้จะอยู่ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายก็ไม่เป็นคำให้การและฟ้องแย้งที่ขัดกันเอง เพราะที่จำเลยให้การและฟ้องแย้งเช่นนั้นเนื่องจากที่ดินของโจทก์และของจำเลยเป็นโฉนดรุ่นเก่าสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีหลักเขตแน่นอน เจ้าของเดิมและจำเลยได้ครอบครองกันเป็นส่วนสัดอย่างเป็นเจ้าของมานานย่อมทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นของจำเลย แต่หากเป็นของโจทก์ทั้งสอง จำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งเป็นคำให้การและฟ้องแย้งที่บรรยายให้เข้าใจสภาพที่ดินพิพาทว่ามีอยู่อย่างไรเป็นกรรมสิทธิ์ของใครอย่างไร คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาต่ำกว่าตลาด และผู้ซื้อประมูลราคาต่ำโดยไม่สุจริต
หากข้อเท็จจริงได้ความว่า การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ของจำเลย ต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาด ซึ่งมีราคา 8,123,000 บาทหลายเท่าตัว โดยไม่ตรวจสอบราคาอันถูกต้องแท้จริงเสียก่อน และขายทอดตลาดแก่ บ. ไปในราคา 2,335,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาที่ประเมินไว้ ย่อมส่อพฤติการณ์ว่าไม่สุจริตอยู่ในตัว และหาก บ. ผู้ประมูลได้เคยตกลงจะเข้าประมูลในราคาถึง5,000,000 บาท แต่กลับประมูลในราคาต่ำเช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตทำให้จำเลยหลงเชื่อไม่เตรียมหาผู้อื่นมาประมูลสู้ราคา เป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 5 มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งยกคำร้องของจำเลย โดยไม่ไต่สวนพยานจำเลยเสียก่อน และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนโดยอ้างเหตุเดียวกันว่าผู้ซื้อประมูลได้ต่ำกว่าราคาประเมินขณะยึดไม่มาก แต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของสำนักงานที่ดิน ทั้งในการขายทอดตลาดครั้งแรกจำเลยเคยแถลงคัดค้านราคาไว้แต่ไม่ได้หาคนมาสู้ราคาในครั้งที่สอง และไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่า การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินไปโดยไม่สุจริตนั้น เป็นการไม่ชอบ เพราะราคาที่ขายไปทำให้จำเลยเสียหายมากน้อยเพียงใดนั้น ต้องคำนวณจากราคาแท้จริงในท้องตลาด หาใช่คำนวณจากราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ขณะยึดทรัพย์ไม่และที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 อ้างว่าจำเลยมิได้หาคนมาสู้ราคาในครั้งที่สองนั้น เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นเอง โดยคู่ความยังมิได้นำสืบพยานว่า บ.เป็นบุคคลที่จำเลยหามาสู้ราคาหรือไม่ ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยนอกสำนวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยเสียก่อนที่จะมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม
การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งยกคำร้องของจำเลย โดยไม่ไต่สวนพยานจำเลยเสียก่อน และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนโดยอ้างเหตุเดียวกันว่าผู้ซื้อประมูลได้ต่ำกว่าราคาประเมินขณะยึดไม่มาก แต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของสำนักงานที่ดิน ทั้งในการขายทอดตลาดครั้งแรกจำเลยเคยแถลงคัดค้านราคาไว้แต่ไม่ได้หาคนมาสู้ราคาในครั้งที่สอง และไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่า การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินไปโดยไม่สุจริตนั้น เป็นการไม่ชอบ เพราะราคาที่ขายไปทำให้จำเลยเสียหายมากน้อยเพียงใดนั้น ต้องคำนวณจากราคาแท้จริงในท้องตลาด หาใช่คำนวณจากราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ขณะยึดทรัพย์ไม่และที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 อ้างว่าจำเลยมิได้หาคนมาสู้ราคาในครั้งที่สองนั้น เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นเอง โดยคู่ความยังมิได้นำสืบพยานว่า บ.เป็นบุคคลที่จำเลยหามาสู้ราคาหรือไม่ ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยนอกสำนวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยเสียก่อนที่จะมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4471/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ก่อนศาลตัดสิน การไม่นำเสนอคำร้องต่อศาลถือว่าจำเลยมิได้ขาดนัด
ระหว่างศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาสืบพยานโจทก์ฝ่ายเดียวทนายจำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่โดยยื่นต่อพนักงานรับฟ้อง กรณีจึงเป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสอง การที่พนักงานรับฟ้องไม่ได้นำคำร้องเสนอต่อศาล ก่อนที่ศาลจะชี้ขาดตัดสินคดี จะถือว่าทนายจำเลยไม่มาศาลหาได้ไม่ คำร้องของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการขอพิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 อันจะต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่จำเลยขาดนัด และต้องแสดงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นไม่พิจารณาคำร้องของจำเลยแล้วพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย่งกรรมสิทธิ์ทางเข้าออกที่ดิน: ศาลรับฟ้องเมื่อมีแผนที่แสดงที่ดินถูกล้อมจนไม่มีทางออก
แผนที่สังเขปท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง และปรากฏแจ้งชัดจากแผนที่ดังกล่าวว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นรวมทั้งที่ดินของจำเลยล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ เมื่อพิจารณาประกอบคำฟ้องแล้ว เห็นได้ว่าโจทก์เสนอสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา 2 ประการคือ ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม เพราะมีผู้ใช้เข้าออกสู่ทางสาธารณะนานถึง 50 ปีแล้วประการหนึ่ง และทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพราะที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้อีกประการหนึ่ง ฟ้องของโจทก์จึงถูกต้องตามกฎหมาย ศาลซึ่งตรวจคำฟ้องชอบที่จะรับคำฟ้องไว้พิจารณา