พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13534/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนขนส่งไม่มีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายจากผู้รับขน หากไม่มีนิติสัมพันธ์ทางสัญญา
ตามใบยืนยันการจอง จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องเฉพาะเมื่อมีการออกใบตราส่งซึ่งระบุไว้ชัดเจนว่า จำเลยเป็นเพียงตัวแทนของผู้ขนส่งรายบริษัท ร. ไม่ใช่ผู้ขนส่ง พฤติการณ์นับตั้งแต่เริ่มเจรจาตกลงเพื่อทำสัญญาขนส่ง จนกระทั่งมีการทำสัญญาขนส่ง การติดต่อระหว่างการขนส่งที่โจทก์ติดต่อกับบริษัท ร. โดยตรงตลอดระยะเวลาโดยที่จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องเพียงการออกใบตราส่งแทนบริษัท ร. เท่านั้น และยังระบุไว้ว่าออกแทนบริษัทดังกล่าวจึงฟังได้ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่ง เป็นเพียงตัวแทนผู้ขนส่งเท่านั้น
แม้จำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งไม่ถึง 200,000 บาท คดีตามฟ้องแย้งจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับอุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ส่งมายังศาลฎีกาแล้ว และปรากฏว่าข้อเท็จจริงในฟ้องแย้งกับฟ้องโจทก์เกี่ยวเนื่องกันดังที่วินิจฉัยมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงรับพิจารณาให้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 44
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่ง จำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ในฐานะตัวแทนและตัวการ หากจำเลยจ่ายเงินค่าใช้จ่ายและค่าระวางในการขนส่งครั้งพิพาทแทนไป ก็ย่อมเป็นการจ่ายแทนผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการของจำเลย ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยได้จ่ายเงินค่าใช้จ่ายและค่าระวางใด ๆ เป็นเงินทดรองแทนไปก่อนหรือไม่ก็ตาม จำเลยย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินดังกล่าวเอาจากโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์ทั้งในทางสัญญารับขน และสัญญาตัวการตัวแทนกับจำเลย
แม้จำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งไม่ถึง 200,000 บาท คดีตามฟ้องแย้งจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับอุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ส่งมายังศาลฎีกาแล้ว และปรากฏว่าข้อเท็จจริงในฟ้องแย้งกับฟ้องโจทก์เกี่ยวเนื่องกันดังที่วินิจฉัยมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงรับพิจารณาให้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 44
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่ง จำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ในฐานะตัวแทนและตัวการ หากจำเลยจ่ายเงินค่าใช้จ่ายและค่าระวางในการขนส่งครั้งพิพาทแทนไป ก็ย่อมเป็นการจ่ายแทนผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการของจำเลย ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยได้จ่ายเงินค่าใช้จ่ายและค่าระวางใด ๆ เป็นเงินทดรองแทนไปก่อนหรือไม่ก็ตาม จำเลยย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินดังกล่าวเอาจากโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์ทั้งในทางสัญญารับขน และสัญญาตัวการตัวแทนกับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7772/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือ ตำรวจพบของกลางน้อย ไม่พบรายได้จากละเมิด สั่งชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนหนังสือ
ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ร่วม 40,000 บาท สูงเกินไป ค่าเสียหายหากมีจริงก็ไม่เกิน 1,000 บาท นั้น เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดค่าสินไหมทดแทน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในคดีส่วนแพ่งไม่เกินสองแสนบาท และไม่ปรากฏว่าผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาคดีนี้ได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ ทั้งจำเลยที่ 1 มิได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จึงต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 41
การที่โจทก์ร่วมนำตัวเลข รูปภาพและเครื่องหมายต่าง ๆ มาปรับใช้เป็นโจทย์ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์เพื่อให้นักเรียนสามารถคิดวิธีทำและหาคำตอบได้ในเวลาอันรวดเร็วในหนังสือ "Smart Center Mental Arithmetic System Course 1 Book 1" และ "Smart Center Mental Arithmetic System Course 1 Book 2" นั้นมิได้มีเพียงทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ หนังสือของโจทก์ร่วมทั้งสองเล่มดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นงานนิพนธ์ที่โจทก์ร่วมได้สร้างสรรค์ขึ้นเป็นเรื่องราวในรูปของหนังสือด้วยความวิริยะอุตสาหะโดยใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้วยการแสดงออกซึ่งการริเริ่มของโจทก์ร่วมเองโดยมิได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอันเป็นงานวรรณกรรมตามความหมายในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 หาใช่เป็นเพียงความคิด หรือขั้นตอนกรรมวิธี หรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางคณิตศาสตร์อันไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 6 วรรคสอง และโจทก์ร่วมมีสำเนาหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้เพื่อแสดงว่าโจทก์ร่วมได้แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ผลงานหนังสือของโจทก์ร่วมทั้งสองเล่มดังกล่าวต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรมหนังสือทั้งสองเล่มดังกล่าว จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และเป็นผู้เสียหายย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมหนังสือทั้งสองเล่มนั้น
ตามคำฟ้องในคดีก่อนโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวกเป็นคดีแพ่งว่า ระหว่างวันที่ 8 มีนาคม 2549 ถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2550 จำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมให้เปิดโรงเรียนเลิศคณิต สมาร์ท เซ็นเตอร์ สาขาพัทลุง กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์และผิดสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์และเรียกค่าเสียหาย แต่คดีนี้โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน 2553 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 3 กรกฎาคม 2553 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสามละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรมของโจทก์ร่วมที่ตำบลป่าพะยอม อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง และเรียกค่าสินไหมทดแทน การฟ้องจำเลยที่ 1 เรียกค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ในคดีนี้เป็นการฟ้องโดยอ้างการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์คนละครั้งกับในคดีก่อน การฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีนี้จึงไม่ใช่เป็นการฟ้องจำเลยที่ 1 ในเรื่องเดียวกันกับคดีที่โจทก์ร่วมฟ้องในคดีก่อนอันจะเป็นฟ้องซ้อน ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
โจทก์และโจทก์ร่วมบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรมของผู้เสียหายด้วยการคัดลอกนำเอาข้อความบางส่วนที่เป็นสาระสำคัญในหนังสือ "Smart Center Mental Arithmetic System Course 1 Book 1" และ "Smart Center Mental Arithmetic System Course 1 Book 2" ไปทำซ้ำ ดัดแปลง และผสมรวมกับข้อความอื่นในหนังสือของฝ่ายจำเลยแล้วจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มใหม่เป็นหนังสือใช้ชื่อว่า "MAGIC ABACUS" เท่านั้น โดยไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามกระทำการดังกล่าวเพื่อการค้า และจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าหนังสือชื่อ "MAGIC ABACUS" นั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมและจำเลยทั้งสามกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่หนังสือนั้นเพื่อการค้าและหากำไรอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) และมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะระบุบทบัญญัติมาตราดังกล่าวในคำขอท้ายฟ้อง ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าวได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่กล่าวในฟ้องซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ร่วมนำตัวเลข รูปภาพและเครื่องหมายต่าง ๆ มาปรับใช้เป็นโจทย์ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์เพื่อให้นักเรียนสามารถคิดวิธีทำและหาคำตอบได้ในเวลาอันรวดเร็วในหนังสือ "Smart Center Mental Arithmetic System Course 1 Book 1" และ "Smart Center Mental Arithmetic System Course 1 Book 2" นั้นมิได้มีเพียงทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ หนังสือของโจทก์ร่วมทั้งสองเล่มดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นงานนิพนธ์ที่โจทก์ร่วมได้สร้างสรรค์ขึ้นเป็นเรื่องราวในรูปของหนังสือด้วยความวิริยะอุตสาหะโดยใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้วยการแสดงออกซึ่งการริเริ่มของโจทก์ร่วมเองโดยมิได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอันเป็นงานวรรณกรรมตามความหมายในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 หาใช่เป็นเพียงความคิด หรือขั้นตอนกรรมวิธี หรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางคณิตศาสตร์อันไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 6 วรรคสอง และโจทก์ร่วมมีสำเนาหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้เพื่อแสดงว่าโจทก์ร่วมได้แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ผลงานหนังสือของโจทก์ร่วมทั้งสองเล่มดังกล่าวต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรมหนังสือทั้งสองเล่มดังกล่าว จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และเป็นผู้เสียหายย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมหนังสือทั้งสองเล่มนั้น
ตามคำฟ้องในคดีก่อนโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวกเป็นคดีแพ่งว่า ระหว่างวันที่ 8 มีนาคม 2549 ถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2550 จำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมให้เปิดโรงเรียนเลิศคณิต สมาร์ท เซ็นเตอร์ สาขาพัทลุง กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์และผิดสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์และเรียกค่าเสียหาย แต่คดีนี้โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน 2553 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 3 กรกฎาคม 2553 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสามละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรมของโจทก์ร่วมที่ตำบลป่าพะยอม อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง และเรียกค่าสินไหมทดแทน การฟ้องจำเลยที่ 1 เรียกค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ในคดีนี้เป็นการฟ้องโดยอ้างการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์คนละครั้งกับในคดีก่อน การฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีนี้จึงไม่ใช่เป็นการฟ้องจำเลยที่ 1 ในเรื่องเดียวกันกับคดีที่โจทก์ร่วมฟ้องในคดีก่อนอันจะเป็นฟ้องซ้อน ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
โจทก์และโจทก์ร่วมบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรมของผู้เสียหายด้วยการคัดลอกนำเอาข้อความบางส่วนที่เป็นสาระสำคัญในหนังสือ "Smart Center Mental Arithmetic System Course 1 Book 1" และ "Smart Center Mental Arithmetic System Course 1 Book 2" ไปทำซ้ำ ดัดแปลง และผสมรวมกับข้อความอื่นในหนังสือของฝ่ายจำเลยแล้วจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มใหม่เป็นหนังสือใช้ชื่อว่า "MAGIC ABACUS" เท่านั้น โดยไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามกระทำการดังกล่าวเพื่อการค้า และจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าหนังสือชื่อ "MAGIC ABACUS" นั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมและจำเลยทั้งสามกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่หนังสือนั้นเพื่อการค้าและหากำไรอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) และมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะระบุบทบัญญัติมาตราดังกล่าวในคำขอท้ายฟ้อง ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าวได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่กล่าวในฟ้องซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13157/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเดิมเนื่องจากพยานหลักฐานไม่ครบถ้วน แม้มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์ได้
ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้กำหนดค่าเสียหายเพิ่มจากที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดไว้ให้เป็นจำนวนตามคำฟ้องของโจทก์นั้น แม้จำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ชำระเพิ่มขึ้นไม่ถึง 200,000 บาท ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 41 แต่เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับอุทธรณ์ส่งมายังศาลฎีกาแล้ว และปรากฏว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานไม่ครบถ้วน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวจึงรับพิจารณาให้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 44
จำเลยที่ 5 ยื่นคำแก้อุทธรณ์ แต่อ้างถึงเหตุที่จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิดเพื่อให้ยกฟ้อง กรณีเช่นนี้ต้องยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เมื่อยื่นเป็นคำแก้อุทธรณ์มาโดยไม่ชอบ จึงไม่วินิจฉัยให้
จำเลยที่ 5 ยื่นคำแก้อุทธรณ์ แต่อ้างถึงเหตุที่จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิดเพื่อให้ยกฟ้อง กรณีเช่นนี้ต้องยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เมื่อยื่นเป็นคำแก้อุทธรณ์มาโดยไม่ชอบ จึงไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่ง, อุทธรณ์ข้ามทุนทรัพย์, ประเด็นข้อเท็จจริง, ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ผู้ส่งทั้งสองซึ่งเอาประกันภัยสินค้าไว้กับโจทก์ไม่ได้ตกลงไว้โดยชัดแจ้งให้จำเลยผู้ขนส่งจำกัดความรับผิดตามใบตราส่งได้นั้น เป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิมาจากบริษัท ย. ผู้เอาประกันภัยรายหนึ่ง 133,585.24 บาท และรับช่วงสิทธิมาจากบริษัท พ. ผู้เอาประกันภัยอีกรายหนึ่ง 76,394.38 บาท แม้โจทก์จะฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยรวมมาเป็นคดีเดียวกันก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามฟ้องดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัยต่างรายกัน จึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่แยกต่างหากจากกันโดยสิ้นเชิง ดังนี้ในการพิจารณาสิทธิในการอุทธรณ์ต้องถือทุนทรัพย์ในสิทธิเรียกร้องแต่ละรายที่โจทก์รับช่วงสิทธิแยกกัน เมื่อทุนทรัพย์ที่โจทก์รับช่วงสิทธิมาแต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 41 แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสั่งรับอุทธรณ์ส่วนดังกล่าวมาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์อีกข้อหนึ่งว่า แม้สินค้าที่ขนส่งจะเป็นอัญมณีแต่ผู้ส่งทั้งสองได้บอกถึงราคาแก่ผู้ขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 แล้ว จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดนั้น แม้วินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์อีกข้อหนึ่งว่า แม้สินค้าที่ขนส่งจะเป็นอัญมณีแต่ผู้ส่งทั้งสองได้บอกถึงราคาแก่ผู้ขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 แล้ว จำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดนั้น แม้วินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6141/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งทางทะเล: จำนวนหน่วยการขนส่งตามใบตราส่ง และข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีทรัพย์สินทางปัญญา
คดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 41 ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยเป็นผู้ขนส่งอื่นจะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าสินค้าดังกล่าวเกิดความเสียหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
ใบตราส่งตามความหมายในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 59(1) หมายถึง ใบตราส่งซึ่งออกโดยผู้ขนส่งที่ออกให้แก่ผู้ส่งของซึ่งเป็นคู่สัญญารับขนของทางทะเลใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งออกให้แก่บริษัท อ. ผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าจึงถือเป็นใบตราส่งตามความหมายดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเพียงผู้ขนส่งอื่น มิใช่คู่สัญญากับผู้ส่งของโดยตรง แต่ได้รับว่าจ้างจากบริษัท น. ซึ่งเป็นผู้ขนส่งอื่นให้ขนส่งสินค้าอีกทอดหนึ่ง ดังนั้น ใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่บริษัท น. จึงไม่ถือเป็นใบตราส่งตามบทบัญญัติดังกล่าว
ใบตราส่งตามความหมายในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 59(1) หมายถึง ใบตราส่งซึ่งออกโดยผู้ขนส่งที่ออกให้แก่ผู้ส่งของซึ่งเป็นคู่สัญญารับขนของทางทะเลใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งออกให้แก่บริษัท อ. ผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าจึงถือเป็นใบตราส่งตามความหมายดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเพียงผู้ขนส่งอื่น มิใช่คู่สัญญากับผู้ส่งของโดยตรง แต่ได้รับว่าจ้างจากบริษัท น. ซึ่งเป็นผู้ขนส่งอื่นให้ขนส่งสินค้าอีกทอดหนึ่ง ดังนั้น ใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่บริษัท น. จึงไม่ถือเป็นใบตราส่งตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8824/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดทุนทรัพย์พิพาทแยกตามสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันแต่ละราย ทำให้การอุทธรณ์ในส่วนที่มีมูลค่าต่ำกว่า 200,000 บาท ต้องห้ามตามกฎหมาย
สิทธิของโจทก์มีมูลมาจากสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันสองรายซึ่งแยกต่างหากจากกันได้ การคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องแยกพิจารณาตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์รับช่วงสิทธิมาจากผู้เอาประกันแต่ละราย เมื่อคดีในส่วนสินค้ากากเมล็ดทานตะวันมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 41
จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานฟังได้ว่า สินค้ากากเมล็ดทานตะวันไม่ได้สูญหายหรือเสียหายในระหว่างการขนส่ง เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่วินิจฉัยว่า สินค้าดังกล่าวสูญหายและเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานฟังได้ว่า สินค้ากากเมล็ดทานตะวันไม่ได้สูญหายหรือเสียหายในระหว่างการขนส่ง เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่วินิจฉัยว่า สินค้าดังกล่าวสูญหายและเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งเมื่อไม่มีหลักฐานสินค้าสูญหายระหว่างขนส่ง
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับขนสินค้าแบบ CY/CY เมื่อโจทก์ไม่นำสืบว่าสินค้าได้สูญหายระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบตู้สินค้าพิพาทให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยที่ ตู้สินค้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย แสดงให้เห็นว่า สินค้าในตู้สินค้า ไม่มีโอกาสสูญหายระหว่างจำเลยที่ 2 ทำการขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 39 ประกอบมาตรา 44 การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า สินค้าที่พิพาทได้สูญหายไประหว่างการขนส่งที่อยู่ ในความดูแล ของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำนวน 75,703.73 บาทนั้น เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจ ในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่ปัญหา ข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีรับขนของทางทะเลที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เพียง 75,703.73 บาทซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับขนสินค้าแบบ CY/CY โจทก์ไม่นำสืบว่า สินค้าได้สูญหายระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ส่งมอบตู้สินค้าพิพาทให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย ตู้สินค้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย แสดงให้เห็นว่า สินค้าในตู้สินค้าไม่มีโอกาสสูญหายระหว่างจำเลยที่ 2 ทำการขนส่ง กรณีไม่อาจถือว่า สินค้าพิพาทสูญหายไประหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 39 ประกอบมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 โจทก์อุทธรณ์ว่า สินค้าที่พิพาทได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ตามมาตรา 39 วรรคสอง, 43,44, 45, 52 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์มานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีทรัพย์สินทางปัญญา: ทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และการโต้เถียงข้อเท็จจริง
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เพียง75,703.73 บาท ซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2เป็นผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับขนสินค้าแบบ CY/CY โจทก์ไม่นำสืบว่าสินค้าได้สูญหายระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2จำเลยที่ 2 ส่งมอบตู้สินค้าพิพาทให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยตู้สินค้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย แสดงให้เห็นว่าสินค้าในตู้สินค้าไม่มีโอกาสสูญหายระหว่างจำเลยที่ 2ทำการขนส่ง กรณีไม่อาจถือว่า สินค้าพิพาทสูญหายไประหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 39ประกอบมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 โจทก์อุทธรณ์ว่า สินค้าที่พิพาทได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา 39 วรรคสอง,43,44,45,52 แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์มานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้