พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: อำนาจฟ้องคดีมีข้อพิพาท vs. คดีไม่มีข้อพิพาท และการโต้แย้งสิทธิ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันนัดชี้สองสถานว่า คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ให้งดการชี้สองสถาน แล้ววินิจฉัยว่า การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ผู้ได้กรรมสิทธิ์ต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 โจทก์จึงต้องยื่นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(1) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเช่นนี้เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง แม้โจทก์ไม่ได้โต้แย้งไว้ก็มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณืได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24,227
โจทก์ฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ซึ่งได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยได้ให้คนงานของจำเลยมารื้อรั้วสังกะสีซึ่งล้อมที่ดินพิพาทออกทั้งสี่ด้านและทำลายลานคอนกรีตในที่พิพาทของโจทก์บางส่วนเสียหาย ดังนี้แม้ขณะโจทก์ฟ้องศาลยังมิได้มีคำสั่งว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท ก็ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย.(ที่มา-ส่งเสริม)
โจทก์ฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ซึ่งได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยได้ให้คนงานของจำเลยมารื้อรั้วสังกะสีซึ่งล้อมที่ดินพิพาทออกทั้งสี่ด้านและทำลายลานคอนกรีตในที่พิพาทของโจทก์บางส่วนเสียหาย ดังนี้แม้ขณะโจทก์ฟ้องศาลยังมิได้มีคำสั่งว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท ก็ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีครอบครองปรปักษ์: การโต้แย้งสิทธิและข้อกำหนดการยื่นคำร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันนัดชี้สองสถานว่า คดีพอวินิจฉัยได้แล้วให้งดการชี้สองสถาน แล้ววินิจฉัยว่า การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382ผู้ได้กรรมสิทธิ์ต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 โจทก์จึงต้องยื่นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(1)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเช่นนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง แม้โจทก์ไม่ได้โต้แย้งไว้ก็มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24,227 โจทก์ฟ้องอ้างว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ซึ่งได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยได้ให้คนงานของจำเลยมารื้อรั้วสังกะสีซึ่งล้อมที่พิพาทออกทั้งสี่ด้านและทำลายลานคอนกรีตในที่พิพาทของโจทก์บางส่วนเสียหาย ดังนี้แม้ขณะโจทก์ฟ้องศาลยังมิได้มีคำสั่งว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท ก็ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และสิทธิในการยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยไม่ต้องฟ้อง
ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 มีสิทธิยื่นคำร้องขอฝ่ายเดียว เพื่อให้ศาลไต่สวนแสดงว่าตนมีกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนในโฉนดนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 109/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ผ่านคำร้องฝ่ายเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188
ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 มีสิทธิยื่นคำร้องขอฝ่ายเดียว เพื่อให้ศาลไต่สวนแสดงว่าตนมีกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนในโฉนดนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 109/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อจดทะเบียน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลว่าที่ดินโฉนดที่ 259มีชื่อผู้ร้องนายทองสามีผู้ร้องและนางชดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เมื่อ20 ปีเศษมานี้นางชดได้สละกรรมสิทธิ์ส่วนของตนโดยอพยพไปอยู่จังหวัดสระบุรี และมิได้กลับเข้ามาครอบครองที่ดินแปลงนี้อีก และวันที่ 20 ตุลาคม 2493 นางทองสามีผู้ร้องถึงแก่กรรมผู้ร้องจึงได้ครอบครองที่แปลงนี้ทั้งหมดแต่ผู้เดียวโดยสงบเปิดเผยโดยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า10 ปีแล้ว ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนของนางชดและส่วนของนายทองสามีผู้ร้อง. จึงขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินส่วนของนางชดและของนายทองเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง คำร้องขอเช่นว่านี้เป็นการอ้างว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ซึ่งผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอฝ่ายเดียวเพื่อให้ศาลไต่สวนแสดงว่าตนมีกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 78และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188(1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง ต้องมีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ก่อน จึงจะยื่นคำร้องต่อศาลได้
ผู้ครอบครองที่ดินที่มีเพียงใบไต่สวนเท่านั้น จะยื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยทางครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ไม่ได้เพราะใบไต่สวนไม่ใช่หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์
มาตรา 188(1) เป็นบทบัญญัติว่าด้วยวิธีปฏิบัติสำหรับคดีไม่มีข้อพิพาทว่า ต้องดำเนินไปอย่างไรเท่านั้น ไม่ใช่เป็นที่สนับสนุนให้ทุกคนมีสิทธิเสนอคดีไม่มีข้อพิพาททุกเรื่องทุกราย
มาตรา 188(1) เป็นบทบัญญัติว่าด้วยวิธีปฏิบัติสำหรับคดีไม่มีข้อพิพาทว่า ต้องดำเนินไปอย่างไรเท่านั้น ไม่ใช่เป็นที่สนับสนุนให้ทุกคนมีสิทธิเสนอคดีไม่มีข้อพิพาททุกเรื่องทุกราย