คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 188 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติประชุมใหญ่เจ้าของร่วม: สิทธิในการฟ้องร้องและการดำเนินการทางกฎหมายที่ถูกต้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้เข้าร่วมประชุมนิติบุคคลอาคารชุด ส. จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2559 และวันที่ 14 พฤษภาคม 2559 โดยเจ้าของร่วมจำนวนมากที่มอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าร่วมประชุมออกเสียงลงคะแนนแทนโดยใบมอบฉันทะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ผู้รับมอบฉันทะจึงไม่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมและออกเสียงแทนได้ นอกจากนี้ลายมือชื่อเจ้าของร่วมที่เข้าร่วมประชุมทั้งสองครั้งตามบัญชีรายชื่อนั้นไม่ปรากฏรายละเอียดว่าเกี่ยวข้องกับการประชุมอย่างไรจึงไม่สามารถใช้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินได้ การประชุมและการลงคะแนนตามมติที่ประชุมจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย รายงานการประชุมใหญ่เป็นเท็จ ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประชุมใหญ่ทั้งสองครั้ง และให้เพิกถอนรายงานการประชุมทั้งสองฉบับ ตามคำร้องดังกล่าวเท่ากับผู้ร้องกล่าวอ้างว่าการประชุมใหญ่สามัญดังกล่าวมีผู้มาประชุมซึ่งมีเสียงลงคะแนนรวมกันน้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนเสียงลงคะแนนทั้งหมดตามพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 43 แต่พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 ไม่มีบทบัญญัติถึงการดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมที่ฝ่าฝืนนั้นแต่อย่างใด จึงต้องวินิจฉัยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ซึ่งตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการกล่าวอ้างว่า การลงมติของคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดมีเจ้าของร่วมร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ไม่มีลักษณะเป็นการประชุมกันจริง เช่นนี้ การประชุมดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการประชุมใหญ่สามัญของเจ้าของร่วมซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดในวันที่ 30 เมษายน 2559 และวันที่ 14 พฤษภาคม 2559 แต่ต้องถือว่าการประชุมใหญ่สามัญของนิติบุคคลอาคารชุดมิได้เกิดขึ้นจริงและไม่มีการประชุมกันจริง คงมีเพียงการลงมติซึ่งนำไปใช้อ้างต่อนายทะเบียนเพื่อใช้ในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนมติดังกล่าวจึงมิใช่การร้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ที่ผิดระเบียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 1195 ที่ต้องขอให้เพิกถอนภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันลงมติ เมื่อวินิจฉัยว่า กรณีไม่ใช่เป็นการยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมตามมาตรา 1195 การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอฝ่ายเดียวเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้ แต่กรณีตามคำร้องของผู้ร้องไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนรับรองให้ผู้ร้องกระทำเช่นนั้นได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ประการใด ผู้ร้องชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้โดยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6310/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการฟ้องคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อรับรองสิทธิ
การที่บุคคลใดครอบครองที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นไว้ โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีจนได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และมีความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้สิทธิของตนที่มีอยู่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามบทบัญญัติของกฎหมาย ย่อมมีสิทธิที่จะเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) แม้ผู้ร้องทราบดีว่า ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท มิใช่ไม่ทราบว่าใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือไม่ทราบชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์และในการรังวัดขอออกโฉนดที่ดิน ผู้คัดค้านที่ 3 ได้ให้การว่า ไม่ได้ขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของใคร แต่ผู้ร้องก็มิได้กล่าวอ้างในคำร้องขอว่า ผู้คัดค้านที่ 3 ได้กระทำอย่างใด ๆ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องเลย คงบรรยายข้อเท็จจริงเพียงว่าหลังจากเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินเลขที่ 378 ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ผู้ร้องยังคงครอบครองและทำประโยชน์ที่ดินด้านทิศตะวันตก เนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ โดยเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านหรือรอนสิทธิมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกินกว่ายี่สิบปีตามเงื่อนไขของการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์ประการเดียว และผู้ร้องก็เพียงขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ มิได้ขอให้บังคับเอาแก่ผู้คัดค้านที่ 3 ด้วย ดังนี้ เมื่อผู้ร้องประสงค์ที่จะให้สิทธิของผู้ร้องที่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์ได้รับการรับรองหรือคุ้มครอง โดยมิได้กล่าวหาว่าผู้คัดค้านที่ 3 หรือบุคคลคนอื่นใดโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 188 (1) มิได้เริ่มคดีโดยฟ้องผู้คัดค้านทั้งสามอย่างคดีมีข้อพิพาท จึงเป็นการใช้สิทธิทางศาลที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10545/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: สิทธิการฟ้องร้องต้องมีกฎหมายรองรับ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์กระบะพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) บุคคลใดต้องใช้สิทธิทางศาลจะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้ แต่กรณีคำร้องขอของผู้ร้องการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์รถยนต์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติรับรองให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทต่อศาล ปัญหาว่าผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายรองรับ การขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ในบ้านที่ปลูกบนที่ดินผู้อื่นมิได้เป็นกรณีที่กฎหมายอนุญาต
กรณีบุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนหรือรับรองว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าบ้านที่ผู้ร้องปลูกอยู่บนที่ดินของผู้อื่นเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องนั้น ไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนรับรองให้ผู้ร้องกระทำได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีนี้ หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่เกี่ยวกับบ้านหลังดังกล่าวประการใด ผู้ร้องก็ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจโดยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 สำหรับ ป.ที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดินฯ นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติถึงวิธีการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินที่ได้กรรมสิทธิ์มาด้วยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 มิใช่กฎหมายใกล้เคียงที่อาจนำมาใช้แก่กรณีของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6592/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุน: สิทธิทางศาลต้องมีกฎหมายรองรับ
กรณีที่บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ การที่ผู้ร้องทั้งสองร้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าอาจทำเป็นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทได้ ดังนั้น ผู้ร้องทั้งสองจะเริ่มคดีโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเปลี่ยนจากไม่มีข้อพิพาทเป็นมีข้อพิพาทเมื่อมีคำคัดค้าน ทำให้ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นการยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (2) ต่อศาลจังหวัดอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 188 (1) แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเข้ามา คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)
การที่ศาลแขวงสุพรรณบุรีไม่รับโอนคดีและส่งสำนวนคืนศาลจังหวัดสุพรรณบุรีจึงเป็นเรื่องที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีและศาลแขวงสุพรรณบุรีต่างไม่รับคดีของผู้ร้องไว้พิจารณา แม้อุทธรณ์ของผู้ร้องจะมีเนื้อหาเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลแขวงสุพรรณบุรีที่ไม่ยอมรับโอนคดี แต่เมื่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีรับสำนวนคืนมาจากศาลแขวงสุพรรณบุรีแล้ว ทั้งคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าระหว่างศาลจังหวัดสุพรรณบุรีกับศาลแขวงสุพรรณบุรี ศาลใดจะต้องพิจารณาคดีนี้ต่อไป ผู้ร้องชอบที่จะยื่นอุทธรณ์คดีนี้ต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8504/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบุตรชอบด้วยกฎหมาย: วิธีฟ้องที่ถูกต้องตามสถานะบิดา (มีชีวิต/เสียชีวิต) และสิทธิในการรับมรดก
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1555 หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยเสนอข้อหาทำเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แต่ถ้าบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือให้เริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลตามมาตรา 188 (1)
ผู้ตายซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดย ยื่นคำร้องขอมิใช่เสนอคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1558 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่ร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นบุตร หาใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการให้ ถูกต้องตาม ป.พ.พ. ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายบัญญัติรองรับเฉพาะเจาะจง แม้มีเหตุตามกฎหมายแพ่งก็ไม่เพียงพอ
การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 และมาตรา 188(1) ต้องพิจารณาจากกฎหมายสารบัญญัติกล่าวคือ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าหากผู้ร้องทำนิติกรรมยกที่ดินให้ผู้ใดไปแล้ว ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมยกให้ดังกล่าวเป็นโมฆะได้แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ที่ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมเป็นโมฆะได้ก็เป็นเพียงหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่จะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะเท่านั้น หาได้รับรองให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะแต่อย่างใดผู้ร้องจึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายรองรับเฉพาะเจาะจง แม้มีเหตุโมฆะก็ไม่อาจใช้สิทธิได้
การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) ต้องพิจารณาจากกฎหมายสารบัญญัติ กล่าวคือ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้
เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าหากผู้ร้องทำนิติกรรมยกที่ดินให้ผู้ใดไปแล้ว ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมยกให้ดังกล่าวเป็นโมฆะได้ แม้ ป.พ.พ.มาตรา 156 ที่ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมเป็นโมฆะได้ ก็เป็นเพียงหลักเกณท์ของกฎหมายที่จะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะเท่านั้น หาได้รับรองให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: การครอบครองต้องสงบ เปิดเผย และต่อเนื่อง หากมีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องสิทธิอาจถูกกระทบ
คำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินกล่าวว่า ผู้ร้องทั้งสองได้ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 2645 ย่อมมีความหมายว่า ผู้ร้องทั้งสองได้ร่วมกันครอบครองที่ดินทั้งโฉนด ไม่จำต้องระบุเนื้อที่ดินความกว้างยาว อาณาเขต หรือแนบสำเนาโฉนดมา และที่กล่าวว่าได้ครอบครองเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว ก็มีความหมายว่าได้ครอบครองติดต่อกันมาจนถึงวันยื่นคำร้องขอเกินกว่าสิบปี เป็นการเริ่มครอบครองเมื่อก่อนสิบปี เป็นคำร้องขอที่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 แล้วไม่เคลือบคลุม ตามคำร้องขอกล่าวว่าผู้ร้องทั้งสองได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งรับรองกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งสองอันเป็นการจะต้องใช้สิทธิทางศาล ผู้ร้องทั้งสองหาได้กล่าวว่ามีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้องทั้งสองอันจะต้องทำเป็นคำฟ้องบุคคลผู้โต้แย้งสิทธิไม่ผู้ร้องทำเป็นคำร้องขอชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 188 แล้ว ที่ดินพิพาทมีการจดทะเบียนเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตลอดมาเกือบทุกปีนับแต่ที่ฝ่ายผู้ร้องอ้างว่าได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทการอ้างว่าได้เข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจึงถูกกระทบสิทธิมาตลอด ไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาสิบปีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1382 การครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากผู้คัดค้านจดทะเบียนรับโอนมาจนถึงวันยื่นคำร้องขอก็ยังไม่ครบสิบปี แม้จะฟังว่าฝ่ายผู้ร้องได้ครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทมาโดยตลอด ผู้ร้องทั้งสองก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์.
of 2