คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ม. 5

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์จากการขาดขั้นการประดิษฐ์สูง และประเด็นอำนาจฟ้อง
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ได้ออกโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 จึงไม่สมบูรณ์นั้นจำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ซึ่งในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้ยกประเด็นนี้ขึ้นอุทธรณ์ด้วย แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง และหากศาลฎีกาเห็นสมควรก็ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ได้
ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ม่านเหล็กบังตาชนิดติดกับประตูเหล็กยึดและพับได้ ได้มีการออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ใบม่านชนิดพับซ้อนแบบยึดและพับได้ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นการประดิษฐ์ประเภทเดียวกันกับการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ มีข้อถือสิทธิตามคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์แตกต่างกับข้อถือสิทธิของประเทศอังกฤษคือ ตามคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ขอบด้านหนึ่งของใบม่านหักเป็นมุม และอีกด้านหนึ่งไม่หักเป็นมุม ส่วนตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษขอบใบม่านทั้งสองด้านหักเป็นมุม ดังนี้ ข้อแตกต่างตามข้อถือสิทธิดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย การใช้งานมีลักษณะทำนองเดียวกันไม่ปรากฏว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ใช้งานหรือมีประสิทธิภาพดีกว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของประเทศอังกฤษที่ได้ออกไว้ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์จึงมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น อันจะถือว่าเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์เป็นการประดิษฐ์ที่ไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์จึงเป็นสิทธิบัตรที่ได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 5 (2) ซึ่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าสิทธิบัตรนั้นเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ โจทก์ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวและไม่ถูกโต้แย้งสิทธิแต่อย่างใด โจทก์จึงหามีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยที่ 2 อธิบดีกรมทะเบียนการค้ารับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่จำเลยที่ 1 หรือให้ยกคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 ในฐานะประธานคณะกรรมการสิทธิบัตรได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7377/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขาดขั้นการประดิษฐ์สูง และการฟ้องซ้ำ
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยโดยโจทก์ทั้งสองอ้างว่าสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์เพราะขัดต่อ พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 5 และปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองซึ่งได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ใบม่านเหล็กบังตาสำหรับประตูเหล็กยืดได้ถูกจำเลยอาศัยสิทธิบัตรการประดิษฐ์ดังกล่าวของจำเลยฟ้องเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาหลายเรื่องว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ม่านเล็กบังตาชนิดติดกับประตูเหล็กยึดและพับได้ของจำเลยและให้ยกคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ใบม่านบังตาสำหรับประตูเหล็กยึดของโจทก์ที่ 2 ผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับผลิตภัณฑ์ที่โจทก์ที่ 2 ออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยได้ตามบทบัญญัติมาตรา 54 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522
ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 31 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรของจำเลยนั้น เมื่ออธิบดีกรมทะเบียนการค้าได้มีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรตามมาตรา 28 แล้ว บุคคลที่เห็นว่าตนมีสิทธิรับสิทธิบัตรดีกว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรหรือเห็นว่าคำขอรับสิทธิบัตรนั้นไม่ชอบด้วยมาตรา 5 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 หรือมาตรา 14 มีสิทธิยื่นคำคัดค้านต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ภายใน 180 วัน นับแต่วันประกาศโฆษณาตามมาตรา 28การคัดค้านดังกล่าวเป็นเพียงกระบวนการเพื่อประกอบการพิจารณาของอธิบดีกรมทะเบียนการค้าว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรเป็นผู้มีสิทธิรับสิทธิบัตรและจะสั่งให้รับจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอรับสิทธิบัตรนั้นหรือไม่ แต่หากสิทธิบัตรที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าสั่งให้รับจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกให้ไปนั้นได้ออกไปโดยไม่ชอบตามมาตรา 5 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 หรือมาตรา 14แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แล้ว มาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวก็ให้ถือว่าสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์ และบุคคลผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นได้ตามมาตรา 54 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. นั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 261 ของจำเลยเห็นว่า สิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยไม่สมบูรณ์เพราะขัดต่อมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แม้โจทก์ทั้งสองมิได้ยื่นคำคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตรของจำเลยภายใน 180 วัน นับแต่วันประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรนั้น โจทก์ทั้งสองก็มีอำนาจฟ้อง การที่โจทก์ทั้งสองมิได้ยื่นคำคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตรของจำเลยตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 31จึงหาได้ตัดสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยตามที่ได้รับความคุ้นครองอยู่ในมาตรา 54 วรรคสองไม่
คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 13183/2530 ของศาลแพ่งเป็นกรณีที่จำเลยฟ้องโจทก์ที่ 2 และพวกขอให้ศาลยกคำวินิจฉัยของคณะกรรมการสิทธิบัตรที่วินิจฉัยว่าคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่เหมือนหรือลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ของผู้ใดและให้ยกคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 ซึ่งคดีดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทว่า แบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่ 2 เหมือนหรือลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ๎ม่านเหล็กบังตาตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยหรือไม่ ส่วนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2923/2529 ของศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 และพวกฟ้องจำเลยฐานละเมิดเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยไปร้องทุกข์กล่าวโทษเป็นคดีอาญาว่าโจทก์ที่ 1 และพวกกระทำความผิดอาญาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลยและคดีอาญานั้นถึงที่สุดโดยพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง ทำให้โจทก์ที่ 1 กับพวกเสียหาย ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 และพวกเช่นนั้นหรือไม่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีทั้งสองดังกล่าวจึงเป(นคนละประเด็นกันกับประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ ซึ่งมีประเด็นว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยเป็นสิทธิบุตรที่ไม่สมบูรณ์และโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นได้หรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงมิใช่ประเด็นที่ศาลใน 2 คดีก่อนได้วินิจฉัยไว้โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงไม่ฟ้องซ้ำกันกับคดีแพ่งทั้งสองดังกล่าว
ข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยเมื่อเปรียบเทียบกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของประเทศอังกฤษแล้ว ปรากฏว่าข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของจำเลยและข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษดังกล่าวต่างมีข้อถือสิทธิเป็นสิ่งประดิษฐ์ในม่านแบบยืดและพับได้ ซึ่งปลายม่านทั้งสองด้านม้วนเป็นรูปก้นหอย ด้านหนึ่งม้วนตามเข็มนาฬิกา อีกด้านหนึ่งม้วนทวนเข็มนาฬิกาเหมือนกัน แผ่นใบม่านสวมสอดเข้าด้วยกันในลักษณะสามารถยืดออกและพับได้ โดยมีข้อแตกต่างกัน คือ ปลายใบม่านของการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษหักมุมทั้งสองด้าน ส่วนปลายใบม่านของการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยหักเป็นมุมด้านเดียว ซึ่งข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย ทั้งไม่ปรากฏว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยใช้งานได้ดีกว่าการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษเพราะข้อถือสิทธิที่แตกต่างกันดังกล่าวอย่างไร ดังนี้การประดิษฐ์ใบม่านเหล็กบังตาชนิดติดกับประตูเหล็กแบบยืดและพับได้ ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยมิใช่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น อันจะถือว่าเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 จำเลยย่อมไม่อาจขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ดังกล่าวได้ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยจึงเป็นสิทธิบุตรที่ได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 (2) อันเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นได้ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลชอบที่จะไม่รับฟังพยานเอกสาร ที่โจทก์ทั้งสองนำสืบถึงสิทธิบัตรของประเทศอังกฤษ เพราะเอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาซึ่งจำเลยได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวไว้แล้วนั้นจำเลยมิได้กล่าวไว้ในฟ้องอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยโดยอ้างว่า สิทธิบัตรของจำเลยได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตรพ.ศ.2522 เป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้กรม-ทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลย หากกรมทะเบียนการค้าไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง ซึ่งเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยเช่นนั้นแล้ว กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ จะต้องไปดำเนินการเพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยตามพระราชบัญญัตินั้นต่อไป หาใช่เป็นการพิพากษาบังคับกรมทะเบียนการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีตามที่จำเลยฎีกาไม่ เพียงแต่ศาลล่างทั้งสองใช้ถ้อยคำคลาดเคลื่อนไปเท่านั้น ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความ 10,000 บาท แทนโจทก์นั้นจึงไม่ชอบ เพราะตาราง 6 ท้ายป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 1,500 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยผิดหมวดกฎหมาย
ตามคำฟ้องโจทก์มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์โครงสำหรับยึดหลอดนีออนที่จำเลยนำไปขอรับสิทธิบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522มาตรา 56 หรือไม่ หากฟังได้ว่าไม่ใช่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ สิทธิบัตรพิพาทที่จำเลยได้รับมาก็ออกโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 ศาลย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรพิพาทได้ตามมาตรา 64 แต่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า ผลิตภัณฑ์ที่จำเลยขอรับสิทธิบัตรไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่หรือเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นประดิษฐ์สูงขึ้นและไม่เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม การได้รับสิทธิบัตรพิพาทของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 54 ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ไปวินิจฉัยเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยบทบัญญัติในหมวด 2 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 แต่สิทธิบัตรพิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเป็นสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบไว้ในหมวด 3 เป็นบทกฎหมายต่างหมวดกันหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าจะเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์กับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ได้ มีข้อบัญญัติแตกต่างกันหลายประการ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับประเด็นตามที่โจทก์ฟ้อง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่าย-ใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นกล่าวได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246และ 247 คดีนี้แม้คู่ความจะสืบพยานมาเสร็จสิ้นแล้ว แต่เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควร ก็ชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เนื่องจากวินิจฉัยผิดหมวดกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์โดยอาศัยบทบัญญัติในหมวด 2 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522แต่สิทธิบัตรพิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเป็นสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบไว้ในหมวด 3 เป็นบทกฎหมายต่างหมวดกันหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าจะเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์กับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ได้ มีข้อบัญญัติแตกต่างกันหลายประการ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับประเด็นตามที่โจทก์ฟ้อง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นกล่าวได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),246 และมาตรา 247 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์: ศาลฎีกายกประเด็นข้อกฎหมายความต่างหมวดสิทธิบัตรการประดิษฐ์และออกแบบ
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์โดยอาศัยบทบัญญัติในหมวด2แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522แต่สิทธิบัตรพิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเป็นสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบไว้ในหมวด3เป็นบทกฎหมายต่างหมวดกันหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าจะเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์กับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ได้มีข้อบัญญัติแตกต่างกันหลายประการคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับประเด็นตามที่โจทก์ฟ้องปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นกล่าวได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5),246และมาตรา247วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์: ศาลฎีกายกประเด็นข้อกฎหมายความสงบเรียบร้อย ย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาใหม่
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์โดยอาศัยบทบัญญัติในหมวด2แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522แต่สิทธิบัตรพิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเป็นสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบไว้ในหมวด3เป็นบทกฎหมายต่างหมวดกันหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าจะเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์กับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ได้มีข้อบัญญัติแตกต่างกันหลายประการคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับประเด็นตามที่โจทก์ฟ้องปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นกล่าวได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5),246และมาตรา247วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์หากมีการเปิดเผยสาระสำคัญก่อนยื่นขอรับสิทธิบัตร ทำให้การผลิตขายไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ม่านเหล็กบังตาต่อกรมทะเบียนการค้าแต่เป็นการประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญในเอกสารที่ได้เผยแพร่อยู่ก่อนวันขอรับสิทธิบัตรมิใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่โจทก์จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522มาตรา5แม้อธิบดีกรมทะเบียนการค้าจะออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ตามคำขอของโจทก์ก็ตามก็เป็นสิทธิบัตรที่ได้ออกไปโดยไม่ชอบถือว่าเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา55การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายการที่จำเลยผลิตและขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ในการพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาของศาลฎีกาสำเนาคำพิพากษาคดีส่วนอาญาของศาลอุทธรณ์และใบสำคัญคดีถึงที่สุดตามคำแถลงของจำเลยเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลฎีกามีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวเข้าสู่สำนวนความในชั้นฎีกาได้และจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์หากมีการเปิดเผยการประดิษฐ์ก่อนยื่นคำขอ แม้จำเลยผลิตเลียนแบบก็ไม่ถือว่าละเมิด
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยร่วมกันทำเทียมและเลียนแบบผลิตภัณฑ์ม่านเหล็กบังตาตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่261ของโจทก์โดยผลิตและใช้กรรมวิธีการผลิตตามสิทธิบัตรหรือใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ขายและมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ม่านเหล็กบังตาตามข้อถือสิทธิของสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่261ของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายและไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ขอให้ห้ามมิให้จำเลยกระทำการละเมิดดังกล่าวอันเป็นมูลกรณีเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522มาตรา85,86และ88โดยโจทก์อ้างในฟ้องคดีอาญานั้นว่าจำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันผลิตผลิตภัณฑ์หรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์หรือใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายและได้ร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ม่านเหล็กบังตาที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีหรือใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเลขที่261ของโจทก์โดยจำเลยทั้งสี่ลอกหรือเลียนแบบการประดิษฐ์ของโจทก์โดยไม่สุจริตเช่นเดียวกับที่โจทก์อ้างในคดีนี้คดีจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยงเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวซึ่งคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวนั้นนอกจากผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นแล้วในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งคดีนี้ศาลยังต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46อีกด้วย เมื่อปรากฏตามคำแถลงของจำเลยที่3และที่4สำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีอาญาและสำเนาใบสำคัญคดีถึงที่สุดว่าคดีอาญาดังกล่าวได้ถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวคดีนี้สำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และใบสำคัญคดีถึงที่สุดนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีดังนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลฎีกามีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวเข้าสู่สำนวนความในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87(2)และจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว เมื่อได้มีการออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ม่านเหล็กบังตาแบบยืดและพับได้ไว้ในต่างประเทศก่อนโจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์และก่อนโจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรเช่นนั้นการประดิษฐ์ดังกล่าวได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญในเอกสารที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วการประดิษฐ์ที่โจทก์ขอรับสิทธิบัตรดังกล่าวจึงเป็นการประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญในเอกสารที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตรมิใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่โจทก์จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522มาตรา5สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์จึงเป็นสิทธิบัตรที่ได้ออกโดยไม่ชอบด้วยมาตรา5ดังกล่าวซึ่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่งให้ถือว่าเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์การประดิษฐ์ตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522แต่ประการใดแม้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันผลิตและขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์: การประดิษฐ์ซ้ำและการคุ้มครองทางกฎหมาย
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยร่วมกันทำเทียมและเลียนแบบผลิตภัณฑ์ม่านเหล็กบังตาตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 261ของโจทก์โดยผลิตและใช้กรรมวิธีการผลิตตามสิทธิบัตรหรือใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ ขายและมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ม่านเหล็กบังตาตามข้อถือสิทธิของสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 261 ของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายและไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ขอให้ห้ามมิให้จำเลยกระทำการละเมิดดังกล่าวอันเป็นมูลกรณีเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 85,86 และ 88 โดยโจทก์อ้างในฟ้องคดีอาญานั้นว่า จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันผลิตผลิตภัณฑ์หรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์ หรือใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย และได้ร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ม่านเหล็กบังตาที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีหรือใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเลขที่ 261 ของโจทก์โดยจำเลยทั้งสี่ลอกหรือเลียนแบบการประดิษฐ์ของโจทก์โดยไม่สุจริตเช่นเดียวกับที่โจทก์อ้างในคดีนี้ คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ซึ่งคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวนั้นนอกจากผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นแล้วในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งคดีนี้ศาลยังต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 อีกด้วย
เมื่อปรากฏตามคำแถลงของจำเลยที่ 3 และที่ 4 สำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีอาญาและสำเนาใบสำคัญคดีถึงที่สุดว่า คดีอาญาดังกล่าวได้ถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวคดีนื้ สำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และใบสำคัญคดีถึงที่สุดนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ดังนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกามีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวเข้าสู่สำนวนความในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) และจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว
เมื่อได้มีการออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ม่านเหล็กบังตาแบบยืดและพับได้ไว้ในต่างประเทศก่อนโจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ และก่อนโจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรเช่นนั้น การประดิษฐ์ดังกล่าวได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญในเอกสารที่ได้เผยแพร่อยู่แล้ว การประดิษฐ์ที่โจทก์ขอรับสิทธิบัตรดังกล่าวจึงเป็นการประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญในเอกสารที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตร มิใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่โจทก์จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522มาตรา 5 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์จึงเป็นสิทธิบัตรที่ได้ออกโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 ดังกล่าว ซึ่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ การประดิษฐ์ตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรพ.ศ.2522 แต่ประการใด แม้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันผลิตและขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรต้องมีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นเหนือสิ่งที่มีอยู่แล้ว การออกสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ถือเป็นเหตุให้ฟ้องได้
การประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำชนิดใช้สารกรองมีงานที่ปรากฏอยู่แล้วไม่ปรากฏว่าเครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรของจำเลยมีประสิทธิภาพในการกรองน้ำดีกว่าหรือสามารถแก้ปัญหาข้อขัดข้องที่เครื่องกรองน้ำตามสิทธิบัตรที่มีงานที่ปรากฏอยู่แล้วไม่อาจแก้ไขได้แต่อย่างใดจึงไม่เพียงพอจะถือได้ว่าไม่เป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้โดยง่ายต่อบุคคลผู้มีความชำนาญในระดับสามัญของงานประเภทนั้น อันจะถือว่าเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นได้ การออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ให้แก่จำเลยจึงไม่ชอบและเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้างได้ตามมาตรา 54 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จำเลยไม่มีสิทธิขอบังคับให้โจทก์ยุติการผลิตเครื่องกรองน้ำของโจทก์ แต่การที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์ยุติการขายเครื่องกรองน้ำโดยจะดำเนินคดีแก่โจทก์เป็นการบอกกล่าวที่จะใช้สิทธิตามกฎหมายที่จำเลยมีอยู่ในขณะบอกกล่าว จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
of 3