คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 121

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3637/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีอากรขององค์การโทรศัพท์ และการใช้หนังสือมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐาน
พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497มาตรา 19 บัญญัติให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3637/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้รับการยกเว้นภาษีอากรแสตมป์ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้
พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 มาตรา 19 บัญญัติให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ และรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของข้าราชการต่อการยักยอกเงินของทางราชการจากความประมาทเลินเล่อและการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล อธิบดีซึ่งเป็นผู้แทนของกรมโจทก์มอบอำนาจให้ผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องคดีแทน ดังนี้อากรสำหรับการมอบอำนาจซึ่งกรมโจทก์เป็นฝ่ายที่ต้องเสียจึงเป็นอันไม่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร มาตรา 121 โจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 3 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 4 ให้มีหน้าที่และรับผิดชอบโดยตรงในด้านการเงินและทะเบียนยานพาหนะ แต่จำเลยที่ 3 ไม่เคยตรวจตราอย่างใกล้ชิดในการเก็บรักษาเงิน และไม่ดูแลในการนำเงินส่งคลังให้เป็นไปตามระเบียบเป็นการประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฉวยโอกาสยักยอกเงินของทางราชการไป จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 4 มีตำแหน่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธร ย่อมต้องมีหน้าที่รับผิดชอบงานในหน่วยราชการที่ตนมีหน้าที่ควบคุมอยู่ แม้จะมอบหมายหน้าที่การเงินให้จำเลยที่ 3 ดูแลแทน จำเลยที่ 4 ก็ยังต้องมีหน้าที่ดูแลมิให้เกิดการเสียหาย เมื่อจำเลยที่ 4 ปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบในการรักษาเงินโดยไม่เก็บรักษา กุญแจไว้กับตนกลับมอบให้จำเลยที่ 3 ซึ่งถือกุญแจอยู่อีก 1 ดอก เป็น การเปิดช่องให้มีการยักยอกเงินสะดวกขึ้นเมื่อมอบหมายให้จำเลยที่ 3ปฏิบัติหน้าที่แทนตนก็มิได้ตรวจตราควบคุมดูแลการนำเงินเข้าและออกจากที่เก็บตลอดจนมิได้ตรวจสอบทะเบียนเงินยืมและเร่งรัดให้มีการส่งใบสำคัญหักล้างเงินยืมตามระเบียบจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ร่วมกันปลอมใบยืมและเบิกเงินไปโดยผิดระเบียบถึง 29 ครั้ง ถือว่า เป็นความประมาทเลินเล่อ เมื่อเกิดความเสียหายอันเป็นผล ของความประมาทเลินเล่อดังกล่าวจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐต่อความเสียหายทางการเงินจากความประมาทเลินเล่อ
โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล อธิบดีซึ่งเป็นผู้แทนของกรมโจทก์มอบอำนาจให้ผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องคดีแทน ดังนี้อากรสำหรับการมอบอำนาจซึ่งกรมโจทก์เป็นฝ่ายที่ต้องเสียจึงเป็นอันไม่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร มาตรา 121 โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 3 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 4 ให้มีหน้าที่และรับผิดชอบโดยตรงในด้านการเงินและทะเบียนยานพาหนะ แต่จำเลยที่ 3 ไม่เคยตรวจตราอย่างใกล้ชิดในการเก็บรักษาเงิน และไม่ดูแลในการนำเงินส่งคลังให้เป็นไปตามระเบียบเป็นการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฉวยโอกาสยักยอกเงินของทางราชการไป จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 4 มีตำแหน่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธร ย่อมต้องมีหน้าที่รับผิดชอบงานในหน่วยราชการที่ตนมีหน้าที่ควบคุมอยู่ แม้จะมอบหมายหน้าที่การเงินให้จำเลยที่ 3 ดูแลแทน จำเลยที่ ก็ยังต้องมีหน้าที่ดูแลมิให้เกิดการเสียหาย เมื่อจำเลยที่ 4 ปล่อยละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบในการรักษาเงินโดยไม่เก็บรักษากุญแจไว้กับตนกลับมอบให้จำเลยที่ 3 ซึ่งถือกุญแจอยู่อีก 1 ดอกเ เป็นการเปิดช่องให้มีการยักยอกเงินสะดวกขึ้น เมื่อมอบหมายให้จำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่แทนตนก็มิได้ตรวจตราควบคุมดูแลการนำเงินเข้าและออกจากที่เก็บตลอดจนมิได้ตรวจสอบทะเบียบเงินยืมและเร่งรัดให้มีการส่งใบสำคัญหักล้างเงินยืมตามระเบียบจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันปลอมใบยืมและเบิกเงินไปโดยผิดระเบียบถึง 29 ครั้ง ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อ เมื่อเกิดความเสียหายอันเป็นผลของความประมาทเลินเล่อดังกล่าวจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้โจทก์เป็นหน่วยงานรัฐ
โจทก์เป็นส่วนราชการของรัฐบาลฟ้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันที่ไม่ปิดอากรแสตมป์ เมื่อตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 17(ก) กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ต้องเสียค่าอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ หาใช่ฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นรัฐบาลอันจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามความหมายในมาตรา 121 แห่งประมวลรัษฎากรไม่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งผิดสัญญาได้รับทุนจากกระทรวงกลาโหมโจทก์ไปศึกษาต่างประเทศแล้วกลับมารับราชการไม่ครบกำหนดตามสัญญา เมื่อสัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
แม้จำเลยที่ 2 จะขาดนัด โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจริงเมื่อเอกสารสัญญาค้ำประกันใช้เป็นหลักฐานในคดีมิได้คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ใบมอบอำนาจ, การรับข้อเท็จจริง, ประเด็นยุติ, ข้อกล่าวอ้างใหม่ในชั้นฎีกา
กรมมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ใบมอบอำนาจไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 121
ใบมอบอำนาจท้ายฟ้อง ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง
จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่มีสำเนาใบมอบอำนาจติดท้ายฟ้องส่งให้แก่จำเลย ปรากฏว่าเมื่อจำเลยรับสำเนาฟ้องแล้วได้ดำเนินคดีเรื่อยมา เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดี 2 วัน เกินกำหนดเวลากฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่มีผลประการใด
เมื่อจำเลยให้การรับว่า จำเลยได้ขับรถยนต์แฉลบลงข้างทางตามฟ้องโจทก์ ข้อเท็จจริงก็รับฟังเป็นยุติจากคำฟ้องโจทก์คำให้การจำเลย แม้โจทก์จะนำสืบว่าจำเลยขับรถยนต์ชนต้นไม้เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2504 (ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์ชนต้นไม้ วันที่ 6 มกราคม 2504) ก็ไม่เป็นเหตุถึงกับทำให้ศาลยกฟ้องโจทก์
ข้อเท็จจริงที่ว่า กรมอนามัยได้ใช้ราคารถยนต์ให้แก่องค์การยูนิเซฟแล้วหรือไม่ จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จะยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ใบมอบอำนาจ, การรับข้อเท็จจริง, ประเด็นยุติ, การยกข้อกล่าวหาไม่ทันเวลา
กรมมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ใบมอบอำนาจไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 121
ใบมอบอำนาจท้ายฟ้อง ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง
จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่มีสำเนาใบมอบอำนาจติดท้ายฟ้องส่งให้แก่จำเลย ปรากฏว่า เมื่อจำเลยรับสำเนาฟ้องแล้วได้ดำเนินคดีเรื่อยมา เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดี 2 วัน เกินกำหนดเวลากฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่มีผลประการใด
เมื่อจำเลยให้การรับว่า จำเลยได้ขับรถยนต์แฉลบลงข้างทางตามฟ้องโจทก์ ข้อเท็จจริงก็รับฟังเป็นยุติจากคำฟ้องโจทก์คำให้การจำเลย แม้โจทก์จะนำสืบว่าจำเลยขับรถยนต์ชนต้นไม้เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2504 (ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ชนต้นไม้ วันที่ 6 มกราคม 2504) ก็ไม่เป็นเหตุถึงกับทำให้ศาลยกฟ้องโจทก์
ข้อเท็จจริงที่ว่า กรมอนามัยได้ใช้ราคารถยนต์ให้แก่องค์การยูนิเซฟแล้วหรือไม่ จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จะยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายสินค้า: หน้าที่, ความรับผิด, อายุความ และขอบเขตการฟ้องเรียกทรัพย์สิน
(1) องค์การสรรพาหารเป็นราชการไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ไม่ว่าเป็นเอกสารประเภทใด (2) กรณีที่จำเลยมิใช่แต่เพียงเป็นสื่อกลางให้เขาทำสัญญากัน หากแต่จำเลยยังรับสินค้าไปจำหน่าย และชำระเงินค่าสินค้าคืนให้ตัวการโดยจำเลยได้รับบำเหน็จเป็นผลประโยชน์ และจำเลยยังมีอำนาจครอบครองสินค้า แล้วส่งมอบแก่ผู้ซื้อเรียกและรับเงินค่าสินค้า ทั้งหนังสือก็ยังระบุว่าหนังสือสัญญารับเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า อนึ่งการจัดหาระวางเรือโดยจำเลยตกลงกับผู้รับผลแทน โดยองค์การสรรพาหารเสียค่าระวางเองนั้น ย่อมเป็นการที่จำเลยทำในฐานเป็นตัวแทน มิใช่เป็นนายหน้าส่วนการที่จำเลยรับสินค้าไป แม้จะมีผู้ควบคุมโดยต้องตกลงราคากับผู้ควบคุมก่อนนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำตามคำสั่งขององค์การ(ตัวการ) (3) การส่งสินค้า เมื่อมีข้อผูกพันอย่างใดก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลงแม้บริษัทจำเลยจะมีวัตถุประสงค์ทำกิจการเช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม เมื่อจำเลยรับสินค้าไปขายแล้ว หักเอาบำเหน็จออกจากเงินที่ขายสินค้าไว้แล้วก็ต้องคืนเงินค่าสินค้าที่รับไปจำเลยจะยกเรื่องวัตถุประสงค์ของบริษัทมาสู้ เพื่อไม่ต้องคืนค่าสินค้าให้เขาหาได้ไม่
อนึ่ง เป็นการมิชอบในการที่จะอ้างว่าองค์การตั้งขึ้นไม่ชอบ ได้เงินมาไม่ชอบ เพราะถึงอย่างไรก็ต้องคืนเงินที่ตนรับไปในฐานตัวแทนให้แก่ตัวการตามกฎหมาย
(4) เมื่อองค์การสรรพาหารเป็นราชการในสังกัดสำนักคณะรัฐมนตรี โจทก์ โจทก์ ก็มีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สินที่ยังตกอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนได้ (5) ถึงแม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่า จำเลยละเมิดสัญญาตัวแทน คือ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาแต่โจทก์มิได้เรียกค่าเสียหายเนื่องจากตัวแทนทำให้เกิดขึ้นแก่ตัวการหากแต่เรียกเอาเงินที่จำเลยหักไว้เกินคืน คือ เรียกเอาทรัพย์ของตนซึ่งอยู่ที่จำเลยนั่นเองคืน นั้น คดีมีอายุความ 10 ปี (6) ถึงแม้เอกสารที่โจทก์อ้างท้ายฟ้องปรากฏว่าจำเลยมิได้เป็นผู้รับสินค้าและการส่งสินค้าออกก็ทำในนามขององค์การสรรพาหาร โจทก์ก็ย่อมนำสืบถึงหน้าที่และความรับผิดของตัวแทนตามสัญญาได้ ไม่ใช่เป็นการสืบแก้ไขเอกสาร (7) การที่บริษัทขนส่งยอมรับสินค้าของจำเลยที่ 1 บรรทุกเพิ่มเติมลงไปอีก ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทรับขน ส่วนองค์การสรรพาหารมิใช่ผู้รับขน จะเรียกเอาค่าระวางจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ถึงแม้องค์การสรรพาหารจะเถียงว่าเป็นผู้เหมาลำเป็นเจ้าของระวางคนอื่นไม่มีสิทธิบรรทุกก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะมิได้มีสัญญารับขนกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่บริษัทรับขนจะต้องรับผิดต่อองค์การสรรพาหารเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายสลากกินแบ่งไม่ต้องออกใบรับเงินและเสียอากรแสตมป์ เพราะเป็นการโอนตราสาร ไม่ใช่การซื้อขาย
ขายสลากกินแบ่งเป็นเงินเกินกว่าร้อยบาทก็ไม่ต้องออกใบรับปิดอากรแสตมป์
of 2