พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14113/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: คำพิพากษาตามยอมผูกพันคู่ความ แม้ไม่ได้ถูกฟ้องในคดีก่อน
ในคดีก่อน จำเลยได้ฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 2 และบริวารออกจากที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาซื้อขายที่ดิน อันเป็นเอกสารฉบับเดียวกันกับที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องขอให้เพิกถอน ต่อมาโจทก์ที่ 2 และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับที่ดินพิพาท โดยในสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า ภายใน 3 เดือน หากโจทก์ที่ 2 ประสงค์จะซื้อที่ดินคืน จำเลยยินยอมขายคืนให้ หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โจทก์ที่ 2 และบริวารยินยอมขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาท สัญญาประนีประนอมได้กล่าวถึงที่ดินพิพาทแปลงเดียวกัน ซึ่งล้วนเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี ต้องถือว่ามีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองนำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทฉบับเดิมซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนมาฟ้องเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ถูกฟ้องในคดีก่อน แต่ไม่ว่าโจทก์ที่ 1 จะอยู่ในฐานะเป็นสามีของโจทก์ที่ 2 หรือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา148
ในคดีก่อน จำเลยขอให้บังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้โจทก์ที่ 2 และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท โจทก์ที่ 1 สามีของโจทก์ที่ 2 ยื่นคำร้องขอกันส่วนอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์ทั้งสอง จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเพียงบริวารของโจทก์ที่ 2 ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบริวารของโจทก์ที่ 2 จึงมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ 1 คำร้องขอกันส่วนของโจทก์ที่ 1 ในคดีก่อนและคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ที่ร่วมกับโจทก์ที่ 2 คดีนี้ มีประเด็นแห่งคดีทั้งสองเป็นประเด็นเดียวกัน คือ ให้วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทหรือไม่ เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นรายเดียวกันและศาลเคยวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีก่อนไปแล้ว คำฟ้องของโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ด้วย
ในคดีก่อน จำเลยขอให้บังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้โจทก์ที่ 2 และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท โจทก์ที่ 1 สามีของโจทก์ที่ 2 ยื่นคำร้องขอกันส่วนอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์ทั้งสอง จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเพียงบริวารของโจทก์ที่ 2 ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบริวารของโจทก์ที่ 2 จึงมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ 1 คำร้องขอกันส่วนของโจทก์ที่ 1 ในคดีก่อนและคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ที่ร่วมกับโจทก์ที่ 2 คดีนี้ มีประเด็นแห่งคดีทั้งสองเป็นประเด็นเดียวกัน คือ ให้วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทหรือไม่ เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นรายเดียวกันและศาลเคยวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีก่อนไปแล้ว คำฟ้องของโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835-1836/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: สิทธิครอบครองต้องพิสูจน์ได้ว่าครอบครองแทนกันหรือไม่ และพยานหลักฐานใดเชื่อถือได้
ในคดีเดิมโจทก์ที่1และที่3ฟ้องจำเลยอ้างสิทธิในที่ดินโฉนดเลขที่3083และที่ดินมือเปล่าที่พิพาทแต่คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่3083เท่านั้นมิได้ขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินมือเปล่าดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นที่ดินมือเปล่าจนได้สิทธิหรือไม่แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่1และที่3โดยการเช่าซึ่งยังไม่สิ้นอายุนั้นเป็นการวินิจฉัยนอกคำขอท้ายฟ้องและถือไม่ได้ว่าเป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีเดิมคำฟ้องในสำนวนคดีหลังจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคแรกประกอบมาตรา148วรรคแรกและข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินพิพาทที่เป็นที่ดินมือเปล่าดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันคู่ความในสำนวนคดีหลังที่ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสิบมีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลยโดยจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสิบหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประนีประนอมยอมความครอบคลุมหนี้สินแล้ว แม้ไม่ได้ระบุชัดเจน
ในคดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้ส่งมอบสินส่วนตัวและแบ่งสินสมรสโจทก์ให้การว่า โจทก์เป็นหนี้ธนาคาร ก. จำนวน 50,000 บาทซึ่งกู้มาใช้ในครอบครัว หากจะต้องแบ่งสินสมรสให้จำเลยจะต้องหักเงินจำนวน 25,000 บาท ให้โจทก์ด้วย ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมถึงที่สุดโดยไม่ได้กล่าวถึงหนี้จำนวน 50,000 บาท ดังกล่าว เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ให้ธนาคาร ก. ไปแล้ว โจทก์มาฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดครึ่งหนึ่งเป็นคดีนี้ กรณีเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 วรรคแรก เพราะปัญหาหนี้สินที่โจทก์นำมาฟ้องนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อน ซึ่งได้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีแล้ว แม้ศาลจะมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ในชั้นชี้สองสถานในคดีก่อนก็ตาม และข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ว่าโจทก์จำเลยไม่ติดใจเรียกร้องมากไปกว่านี้อีกย่อมหมายถึงหนี้สินที่โจทก์ฟ้องนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ศาลยกฟ้องเนื่องจากประเด็นและคู่ความซ้ำกับคดีถึงที่สุดแล้ว
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีล้มละลาย ศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัว คดีถึงที่สุดโจทก์นำมูลหนี้จำนวนเดิมมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสอง ล้มละลายเป็นคดีนี้อีก คู่ความในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคู่ความ เดียวกัน ประเด็นพิพาทก็อาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 2 โอนขายที่ดินแก่ บุคคลภายนอกไปแล้วหรือไม่ และจำเลยทั้งสองมี หนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ จึงเป็น ฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคแรก ประกอบด้วย มาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องเรียกค่าเช่าที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ฟ้องร้องไว้ก่อนหน้านี้ ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
แม้คดีก่อนมีประเด็นในเรื่องโจทก์ขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยขอให้ถอนชื่อจำเลยทั้งสองออกจากโฉนดที่พิพาทและให้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน และคดีนี้มีประเด็นเฉพาะเงินค่าเช่าห้องแถวซึ่งปลูกอยู่ในที่พิพาทที่จำเลยทั้งสี่ได้เรียกเก็บจากผู้เช่าระหว่างที่จำเลยที่ 4 ครอบครองที่พิพาทก็ตามแต่ค่าเช่าดังกล่าวเป็นดอกผลของที่พิพาทซึ่งมีมาตั้งแต่เมื่อโจทก์ฟ้องในคดีก่อนประเด็นในเรื่องกรรมสิทธิ์กับประเด็นในเรื่องค่าเช่า จึงเกี่ยวเนื่องจากมูลกรณีเดียวกัน โจทก์อาจฟ้องในเรื่องค่าเช่าพร้อมกับฟ้องในเรื่องกรรมสิทธิ์ได้ กรณ๊จึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคแรก โจทก์จะรื้อร้องฟ้องในเรื่องค่าเช่าซึ่งอยู่ในประเด็นกรรมสิทธิ์ที่พิพาทซึ่งถึงที่สุดแล้วไม่ได้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเรื่องก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเรียกค่าเช่าที่ดินหลังคดีกรรมสิทธิ์ถึงที่สุด ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ หากเป็นดอกผลของทรัพย์สินพิพาท
แม้คดีก่อนมีประเด็นในเรื่องโจทก์ขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยขอให้ถอนชื่อจำเลยทั้งสองออกจากโฉนดที่พิพาทและให้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน และคดีนี้มีประเด็นเฉพาะเงินค่าเช่าห้องแถวซึ่งปลูกอยู่ในที่พิพาทที่จำเลยทั้งสี่ได้เรียกเก็บจากผู้เช่าระหว่างที่จำเลยที่ 4 ครอบครองที่พิพาทก็ตามแต่ค่าเช่าดังกล่าวเป็นดอกผลของที่พิพาทซึ่งมีมาตั้งแต่เมื่อโจทก์ฟ้องในคดีก่อนประเด็นในเรื่องกรรมสิทธิ์กับประเด็นในเรื่องค่าเช่า จึงเกี่ยวเนื่องจากมูลกรณีเดียวกัน โจทก์อาจฟ้องในเรื่องค่าเช่าพร้อมกับฟ้องในเรื่องกรรมสิทธิ์ได้ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคแรก โจทก์จะรื้อร้องฟ้องในเรื่องค่าเช่าซึ่งอยู่ในประเด็นกรรมสิทธิ์ที่พิพาทซึ่งถึงที่สุดแล้วไม่ได้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเรื่องก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871-1872/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีพิพาทการรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ศาลฎีกาได้พิพากษาให้โจทก์แบ่งที่ดินในโฉนดให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ในสำนวนแรก และแบ่งให้แก่นาง พ. มารดาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในสำนวนหลัง ต่อมาโจทก์และจำเลย ได้พิพาทกันในชั้นบังคับคดี เกี่ยวกับการรังวัดแบ่งแยกที่ดินในโฉนดดังกล่าว ว่ารังวัด แบ่งแยกถูกต้องตรงตามคำพิพากษาฎีกาหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้นัด พร้อมทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าตรงที่พิพาทด้านเหนือให้ เจ้าพนักงานรังวัด แบ่งให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองสำนวน นี้เพียงแค่ติดสวนของโจทก์ เมื่อช่างแผนที่ไปรังวัด แบ่งแยกเสร็จแล้วโจทก์ไม่รับรอง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า รูปแผนที่แบ่งแยกซึ่งช่างแผนที่ทำมานั้นถูกต้องตรงกับข้อตกลงของโจทก์ จำเลยแล้ว มีคำสั่งให้แบ่งแยกที่พิพาทให้จำเลยทั้งสองสำนวน ตามรูปแผนที่แบ่งแยกดังกล่าว คดีถึงที่สุด ฉะนั้นที่โจทก์ฟ้องคดี ทั้งสองสำนวนนี้ว่า จำเลยทั้งสองสำนวนได้สมคบกันออกรูปแผนที่ หลังโฉนดซึ่ง เป็นที่พิพาทกันในคดีก่อนขัดกับคำพิพากษาฎีกา เป็นเหตุให้ ที่ดินของโจทก์ขาดไป. จึงเป็นการโต้เถียงว่า การรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทไม่ถูกต้องตรงตามคำพิพากษาฎีกา อัน เป็นประเด็นเดียวกัน กับประเด็นที่โจทก์จำเลยพิพาทกันใน ชั้นบังคับคดี ซึ่งได้มีคำพิพากษา หรือคำสั่งถึงที่สุดดังกล่าว แล้ว ฟ้องของโจทก์ทั้งสองสำนวนนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871-1872/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นการรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทซ้ำกับคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลยกฟ้อง
ศาลฎีกาได้พิพากษาให้โจทก์แบ่งที่ดินในโฉนดให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ในสำนวนแรกและแบ่งให้แก่นาง พ. มารดาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในสำนวนหลัง ต่อมาโจทก์และจำเลย ได้พิพาทกันในชั้นบังคับคดี เกี่ยวกับการรังวัดแบ่งแยกที่ดินในโฉนดดังกล่าว ว่ารังวัด แบ่งแยกถูกต้องตรงตามคำพิพากษาฎีกาหรือไม่ศาลชั้นต้นได้นัด พร้อมทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าตรงที่พิพาทด้านเหนือให้ เจ้าพนักงานรังวัด แบ่งให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองสำนวน นี้เพียงแค่ติดสวนของโจทก์ เมื่อช่างแผนที่ไปรังวัด แบ่งแยกเสร็จแล้วโจทก์ไม่รับรองศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ารูปแผนที่แบ่งแยกซึ่งช่างแผนที่ทำมานั้นถูกต้องตรงกับข้อตกลงของโจทก์ จำเลยแล้ว มีคำสั่งให้แบ่งแยกที่พิพาทให้จำเลยทั้งสองสำนวน ตามรูปแผนที่แบ่งแยกดังกล่าวคดีถึงที่สุดฉะนั้นที่โจทก์ฟ้องคดี ทั้งสองสำนวนนี้ว่า จำเลยทั้งสองสำนวนได้สมคบกันออกรูปแผนที่ หลังโฉนดซึ่ง เป็นที่พิพาทกันในคดีก่อนขัดกับคำพิพากษาฎีกา เป็นเหตุให้ ที่ดินของโจทก์ขาดไป. จึงเป็นการโต้เถียงว่า การรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทไม่ถูกต้องตรงตามคำพิพากษาฎีกาอัน เป็นประเด็นเดียวกัน กับประเด็นที่โจทก์จำเลยพิพาทกันใน ชั้นบังคับคดี ซึ่งได้มีคำพิพากษา หรือคำสั่งถึงที่สุดดังกล่าว แล้ว ฟ้องของโจทก์ทั้งสองสำนวนนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ