พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20484/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีตามสัญญาประกัน: การเปลี่ยนจากอัยการเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลังแก้กฎหมาย
แม้ขณะที่ผู้คัดค้านผิดสัญญาประกัน พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกัน ตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (8) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นก็ตาม แต่เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมความใน ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง โดยวางหลักเกณฑ์ว่า หัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547 ดังนี้ อำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกันจึงเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้ร้องนับแต่วันดังกล่าวด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับให้เพิกถอนหมายบังคับคดีเฉพาะผู้คัดค้าน รวมถึงการดำเนินการบังคับคดีแก่ผู้คัดค้านตามหมายบังคับคดี ผู้ที่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน มิใช่โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14177/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีสัญญาประกัน: การดำเนินการภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำสั่ง ถือว่าชอบแล้ว แม้บังคับคดีเกินกำหนด
พนักงานอัยการซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการบังคับคดีตามสัญญาประกันจำเลยตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (8) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะบังคับคดี ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกหมายบังคับคดีแก่ผู้ร้อง (ผู้ประกันที่ 1) ในวันที่ 10 มีนาคม 2542 และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2542 ต่อมาวันที่ 9 เมษายน 2542 ศาลชั้นต้นในฐานะที่เป็นผู้บังคับตามสัญญาประกันได้ส่งเงินค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีที่ผู้ร้อง (ผู้ประกันที่ 1) วางต่อศาลชั้นต้นให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ดังนี้ ถือได้ว่าพนักงานอัยการขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้บังคับคดีตามคำสั่งอันเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนในการขอให้บังคับคดีแก่ผู้ร้อง (ผู้ประกันที่ 1) แล้ว เมื่อพนักงานอัยการดำเนินการขอให้บังคับคดีแก่ผู้ร้อง (ผู้ประกันที่ 1) ภายในกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำสั่ง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปบังคับคดีเมื่อใดนั้นเป็นขั้นตอนการดำเนินงานของเจ้าพนักงานบังคับคดี แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปบังคับคดีเกินสิบปีนับแต่วันมีคำสั่ง ก็ถือได้ว่าพนักงานอัยการได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งภายในสิบปีนับแต่วันมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แล้ว แม้ต่อมามี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 34 ให้เพิ่มความเป็นมาตรา 119 วรรคสอง บัญญัติให้ถือว่าหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกันดังกล่าวก็ตาม ก็ต้องถือว่าผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลชั้นต้นได้มีการร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคำสั่งแล้ว ดังนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปโดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตขยายระยะเวลาการบังคับคดีแก่ผู้ร้อง (ผู้ประกันที่ 1) อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6266/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขยายระยะเวลาบังคับคดีตามสัญญาประกัน: การเปลี่ยนแปลงกฎหมายและการมีสำนวนค้างจำนวนมาก
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 ผู้ประกันผิดสัญญาไม่ส่งตัวจำเลยตามกำหนดนัด ศาลสั่งปรับผู้ประกันให้ชำระค่าปรับภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำบังคับ ครบกำหนดระยะเวลาบังคับคดีสิบปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ในวันที่ 21 มีนาคม 2548 ในขณะที่ผู้ประกันผิดสัญญาประกันพนักงานอัยการเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกันตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (8) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการบังคับคดี ต่อมามีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีตามสัญญาประกันตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 34 โดยให้เพิ่มเติมความเป็นวรรคสองของมาตรา 119 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547 กำหนดให้อำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกันเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้ร้องซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมนับแต่วันดังกล่าว เมื่อปรากฏตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้ร้องต้องตรวจสอบสำนวนที่อยู่ในระหว่างบังคับคดีทั้งหมด และปรากฏว่ามีสำนวนที่ค้างการพิจารณาที่กรมบังคับคดีจำนวนมาก ประกอบกับคดีนี้ครบกำหนดระยะเวลาบังคับคดีในวันที่ 21 มีนาคม 2548 ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียง 2 เดือนเศษ นับแต่ผู้ร้องมีอำนาจและหน้าที่ในการบังคับคดี แม้ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีเมื่อสิ้นระยะเวลาบังคับคดีแล้วเป็นเวลานาน 4 ปีเศษ ก็เป็นเพราะมีสำนวนค้างการบังคับคดีเป็นจำนวนมาก ผู้ร้องจึงไม่อาจตรวจสอบได้ด้วยความรวดเร็ว ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ประกอบกับเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะออกคำสั่งขยายระยะเวลาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7888/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีหลังชำระค่าปรับ: อัยการไม่มีหน้าที่บังคับคดีทรัพย์สิน
ในระหว่างฎีกา ปรากฏว่าผู้ประกันจำเลยได้นำตัวจำเลยส่งมอบต่อศาล และได้ยื่นคำร้องขอลดค่าปรับ ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งลดค่าปรับให้คดีถึงที่สุดและผู้ประกันจำเลยได้ชำระค่าปรับต่อศาลชั้นต้นถูกต้องครบถ้วนแล้วศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งงดการบังคับคดีและคืนหลักประกัน ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาพนักงานอัยการที่ว่า พนักงานอัยการไม่มีหน้าที่ดำเนินการบังคับคดีโดยไปนำยึดหรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปนำยึดทรัพย์สินของผู้ประกันจำเลย จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7888/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่พนักงานอัยการในการบังคับคดีตามสัญญาประกัน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำกัดเฉพาะการร้องขอออกหมายบังคับคดี ไม่รวมถึงการยึดทรัพย์
ในระหว่างฎีกาปรากฏว่าผู้ประกันจำเลยได้นำตัวจำเลยส่งมอบต่อศาลและได้ยื่นคำร้องขอลดค่าปรับซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งลดค่าปรับให้คดีถึงที่สุดและผู้ประกันจำเลยได้ชำระค่าปรับต่อศาลชั้นต้นถูกต้องครบถ้วนแล้วศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งงดการบังคับคดีและคืนหลักประกันดังนั้นปัญหาตามฎีกาพนักงานอัยการที่ว่าพนักงานอัยการไม่มีหน้าที่ดำเนินการบังคับคดีโดยไปนำยึดหรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปนำยึดทรัพย์สินของผู้ประกันจำเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3331/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจบังคับคดีประกัน จำเป็นต้องใช้ทนายของแผ่นดิน (พนักงานอัยการ) ไม่ใช่ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี
เมื่อมีการผิดสัญญาประกันจำเลยเกิดขึ้น พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายของแผ่นดินต้องเป็นผู้ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้นตามพ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (8) ซึ่งหมายถึงการขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและจัดการอื่นใดในทางอรรถคดี รวมถึงการนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของผู้ประกันเพื่อเป็นผลให้ได้เงินค่าปรับตามคำสั่งศาล หาใช่หน้าที่ของศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของศาลไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการบังคับตามสัญญาประกัน: พนักงานอัยการมีหน้าที่ดำเนินคดีบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกัน ไม่ใช่หน้าที่ของศาลหรือนายประกัน
เมื่อมีการผิดสัญญาประกันจำเลยเกิดขึ้น พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความของแผ่นดินเป็นผู้ดำเนินคดี หาใช่หน้าที่ของศาลเจ้าหน้าที่ของศาลหรือนายประกันที่จะเป็นผู้นำยึดทรัพย์ที่วางประกันไม่่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลและการหมดอายุสิทธิบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันและอนุญาตให้ผ่อนชำระค่าปรับเดือนละ 3,000 บาท แต่ผู้ประกันมิได้ชำระค่าปรับต่อศาลตั้งแต่เดือนแรกและตลอดมา การที่ผู้ประกันไม่ชำระค่าปรับตามที่ศาลมีคำสั่งให้ผ่อนชำระแม้แต่เพียงเดือนแรก ผู้ประกันย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลทั้งหมด พนักงานอัยการจึงมีอำนาจที่จะดำเนินการในการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประกัน โดยขอให้ศาลบังคับให้ผู้ประกันชำระค่าปรับทั้งหมดได้ทันทีนับแต่วันที่ผู้ประกันผิดนัด แต่ทั้งนี้ก็จะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลที่สั่งปรับผู้ประกันภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำสั่ง เมื่อพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดีเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลและการสิ้นสิทธิเรียกร้องบังคับคดีเกิน 10 ปี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันและอนุญาตให้ผ่อนชำระค่าปรับเดือนละ 3,000 บาท แต่ผู้ประกันมิได้ชำระค่าปรับต่อศาลตั้งแต่เดือนแรกและตลอดมา การที่ผู้ประกันไม่ชำระค่าปรับตามที่ศาลมีคำสั่งให้ผ่อนชำระแม้แต่เพียงเดือนแรกผู้ประกันย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลทั้งหมดพนักงานอัยการจึงมีอำนาจที่จะดำเนินการในการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประกัน โดยขอให้ศาลบังคับให้ผู้ประกันชำระค่าปรับทั้งหมดได้ทันทีนับแต่วันที่ผู้ประกันผิดนัด แต่ทั้งนี้ก็จะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลที่สั่งปรับผู้ประกันภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำสั่ง เมื่อพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดีเกินกว่า10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดีจากสัญญาประกัน: พนักงานอัยการต้องดำเนินการภายใน 10 ปีนับจากคำสั่งศาล
เมื่อศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ถ้าผู้ประกันไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลย่อมเป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะต้องดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น แต่เนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าจะบังคับอย่างไร จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาใช้บังคับ คือจะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลภายใน 10 ปี เมื่อพนักงานอัยการมาร้องขอให้ศาลบังคับคดีเกินกว่า 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไป
ศาลยึดโฉนดที่ผู้ประกันนำมาให้ศาลยึดไว้ประกอบสัญญาประกันก็เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้ เมื่อการบังคับชำระหนี้ไม่อาจกระทำได้ ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะยึดโฉนดของผู้ประกันไว้ต่อไป
ศาลยึดโฉนดที่ผู้ประกันนำมาให้ศาลยึดไว้ประกอบสัญญาประกันก็เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้ เมื่อการบังคับชำระหนี้ไม่อาจกระทำได้ ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะยึดโฉนดของผู้ประกันไว้ต่อไป