คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230-231/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีค่าเสียหายจากการตาย และการพิสูจน์ความประมาทเลินเล่อของผู้เกี่ยวข้อง
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยาน ศ. เพิ่มเติมหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จโดยอ้างว่า ศ. เป็นบุคคลที่นั่งไปในรถยนต์ของจำเลยขณะเกิดเหตุด้วยนั้นหากเป็นความจริงจำเลยก็อาจทราบได้ตั้งแต่หลังจากเกิดเหตุและก่อนถูกฟ้องคดีแล้วการที่จำเลยไม่ทราบจึงเป็นเพราะจำเลยไม่ขวนขวายเอาใจใส่คดีของจำเลยเองศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคท้ายแล้ว โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายจะมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ตายหรือไม่อย่างไรเป็น สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ร่วมไม่เกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายและได้ฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยในมูลละเมิดไปแล้วหากโจทก์ร่วมจะฟ้องคดีเองโจทก์ร่วมจะต้องฟ้องภายในอายุความการที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมมีผลเสมือนเป็นการฟ้องคดีเพราะเป็นการขอบังคับให้เป็นไปตามสิทธิที่โจทก์ร่วมมีอยู่เมื่อนับจากวันเกิดเหตุเป็นเวลาเกิน1ปีแล้วคดีของโจทก์ร่วมจึงขาดอายุความ เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ตายและ ว.ลูกจ้างจำเลยไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5424/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดีมรดก: สิทธิทายาท vs. คำขอระงับการพิจารณาคดี
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรของล.และส.เมื่อล.ถึงแก่กรรม ส.ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของล.ได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของล.ให้แก่โจทก์และโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอาศัยอยู่ในที่พิพาทอีกต่อไปจึงได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่พิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยอ้างว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในที่พิพาทในฐานะผู้ร้องเป็นบุตรของล.มีสิทธิได้รับมรดกที่พิพาทร่วมกับโจทก์ ดังนี้การที่ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมดังกล่าวเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ แม้ตามคำร้องของผู้ร้องจะร้องสอดขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมแต่ก็ถือได้ว่าเป็นการร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อต่อสู้กับโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) แต่การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามบทมาตราดังกล่าว คำร้องจะต้องแสดงโดยแจ้งชัดว่าสภาพแห่งสิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับความรับรองและคุ้มครองว่ามีอยู่อย่างไร พร้อมทั้งคำขอบังคับตามสิทธิที่ได้รับรองและคุ้มครองด้วย แม้ตามคำร้องของผู้ร้องที่อ้างว่ามีส่วนได้เสียในที่พิพาทเพราะผู้ร้องมีสิทธิได้รับมรดกที่พิพาทร่วมกับโจทก์นั้น ถือได้ว่าคำร้องได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งสิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับความรับรองและคุ้มครองแล้วก็ตาม แต่ที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งงดการพิจารณาคดีนี้ไว้ก่อนจนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งแต่งตั้งทายาทโดยธรรมคนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมดของล.เป็นผู้จัดการมรดกของล.สืบแทน ส.ต่อไปนั้น มิใช่เป็นคำบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่ได้รับรองหรือคุ้มครองตามนัยแห่งมาตรา 57(1)จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5424/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเป็นคู่ความที่สาม: สิทธิในการได้รับมรดก และขอบเขตคำร้องที่ชอบ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรของ ล. และ ส.เมื่อ ล.ถึงแก่กรรม ส.ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ล.ได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ล.ให้แก่โจทก์และโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอาศัยอยู่ในที่พิพาทอีกต่อไปจึงได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่พิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยอ้างว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในที่พิพาทในฐานะผู้ร้องเป็นบุตรของ ล.มีสิทธิได้รับมรดกที่พิพาทร่วมกับโจทก์ ดังนี้การที่ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมดังกล่าวเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ แม้ตามคำร้องของผู้ร้องจะร้องสอดขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมแต่ก็ถือได้ว่าเป็นการร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อต่อสู้กับโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) แต่การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามบทมาตราดังกล่าว คำร้องจะต้องแสดงโดยแจ้งชัดว่าสภาพแห่งสิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับความรับรองและคุ้มครองว่ามีอยู่อย่างไร พร้อมทั้งคำขอบังคับตามสิทธิที่ได้รับรองและคุ้มครองด้วย แม้ตามคำร้องของผู้ร้องที่อ้างว่ามีส่วนได้เสียในที่พิพาทเพราะผู้ร้องมีสิทธิได้รับมรดกที่พิพาทร่วมกับโจทก์นั้น ถือได้ว่าคำร้องได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งสิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับความรับรองและคุ้มครองแล้วก็ตาม แต่ที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งงดการพิจารณาคดีนี้ไว้ก่อนจนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งแต่งตั้งทายาทโดยธรรมคนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมดของ ล.เป็นผู้จัดการมรดกของ ล.สืบแทน ส.ต่อไปนั้น มิใช่เป็นคำบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่ได้รับรองหรือคุ้มครองตามนัยแห่งมาตรา 57 (1) จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดเรียกร้องที่ดินจากโจทก์ ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินมีโฉนดของโจทก์จำเลยให้การต่อสู้คดี ต่อมาผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้ร้องสอดให้โจทก์มีชื่อในโฉนดถือกรรมสิทธิ์แทนผู้ร้องสอดขอให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้เป็นชื่อของผู้ร้องสอด ดังนี้ คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเป็นการเรียกร้องที่ดินพิพาทจากโจทก์ ทั้งโจทก์ก็ให้การแก้คำร้องสอดปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไว้แทนผู้ร้องสอด จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ผู้ร้องสอดต้องเสียค่าขึ้นศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยตาราง 1 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี: ผู้ร้องไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัท และไม่เป็นนายจ้างโจทก์ จึงไม่มีอำนาจคัดค้านการฟ้อง
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลย และผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมาย ผู้ร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยซึ่งกระทำเป็นการส่วนตัว จึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการร้องคัดค้านคดีแรงงาน: ผู้ถือหุ้นเดิมที่ถูกจำกัดอำนาจ ย่อมไม่มีสิทธิร้องคัดค้านในฐานะนายจ้าง
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยและผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมายผู้ร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยซึ่งกระทำเป็นการส่วนตัวจึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการและการร้องคัดค้านฟ้อง: ผู้ไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ไม่อาจร้องคัดค้านฟ้องแทนบริษัทได้
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยและผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมาย ผู้ร้องร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลย เป็นการกระทำเป็นส่วนตัวซึ่งไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4525/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคู่ความจากการสอดคดี: ศาลต้องพิจารณาคดีใหม่โดยมีคู่ความครบถ้วน
ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม มาตรา 58 การพิจารณาพิพากษาคดีจึงต้องกระทำโดยมีคู่ความสามฝ่าย ศาลจะแยกพิจารณาพิพากษาหาได้ไม่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่มีผู้ร้องสอดเข้ามาในคดี เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ตามมาตรา 243(2),247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4525/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับคำร้องสอดและการพิจารณาคดีใหม่เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้รับคำร้องสอด
ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้แล้วผู้ร้องสอดย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ การพิจารณาพิพากษาคดีจึงต้องกระทำโดยมีคู่ความทั้งสามฝ่าย การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่มีผู้ร้องสอดเข้ามาในคดี เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกามีอำนาจสั่งยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้ ในกรณีที่ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) นั้น ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาที่เสียมาทั้งหมดให้แก่คู่ความ ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเพื่อคัดค้านคำพิพากษาเรื่องหนี้มรดก ต้องยื่นระหว่างพิจารณาคดี ไม่ใช่หลังมีคำพิพากษา
กรณีตามคำร้องของผู้ร้องสอดเป็นการขอให้เพิกถอนคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งมิใช่กรณีที่จะร้องสอดในชั้นบังคับคดีเพราะผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีมาแต่ต้น ผู้ร้องเป็นทายาทของ ป. เช่นเดียวกับจำเลยที่ 3การร้องสอดของผู้ร้องมีลักษณะเข้ามาเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิในการรับมรดกของตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)ซึ่งเป็นการเข้ามาต่อสู้คดีกับโจทก์ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องดังกล่าวขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น หาใช่มายื่นภายหลังศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วไม่
of 19