คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินนิคมสร้างตนเอง: การสงวนที่ดินโดยคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติโดยไม่ต้องมี พ.ร.ฎ. และสิทธิของกรมประชาสงเคราะห์
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 20(4) คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่พิจารณาสงวนที่ดินตามความต้องการของกรมประชาสงเคราะห์ เพื่อจัดตั้งนิคมสร้างตนเองได้ โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินตามความในมาตรา 4,5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478 เพราะพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าฯนั้นแล้ว การที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีมติมอบอำนาจให้กรมประชาสงเคราะห์ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดที่ดินกรมประชาสงเคราะห์จึงมีหน้าที่จัดการที่ดินดังกล่าวนั้นตามมติคณะกรรมการจัดการที่ดินแห่งชาติได้ ถึงแม้ในขณะนั้นจะยังมิได้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองก็ตาม
เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับมอบหมายมาดังกล่าวได้ถูกโจทก์กล่าวอ้างโต้แย้งสิทธิว่าเป็นที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองอยู่ กรมประชาสงเคราะห์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่นั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องสอดของหน่วยงานรัฐในการปกป้องที่ดินนิคมสร้างตนเอง แม้ไม่มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 20(4) คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่พิจารณาสงวนที่ดินตามความต้องการของกรมประชาสงเคราะห์เพื่อจัดตั้งนิคมสร้างตนเองได้ โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินตามความในมาตรา 4, 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478เพราะพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าฯนั้นแล้วการที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีมติมอบอำนาจให้กรมประชาสงเคราะห์ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดที่ดิน กรมประชาสงเคราะห์จึงมีหน้าที่จัดการที่ดินดังกล่าวนั้นตามมติคณะกรรมการจัดการที่ดินแห่งชาติได้ ถึงแม้ในขณะนั้นจะยังมิได้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองก็ตาม
เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับมอบหมายมาดังกล่าวได้ถูกโจทก์กล่าวอ้างโต้แย้งสิทธิว่าเป็นที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองอยู่กรมประชาสงเคราะห์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่นั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกหลังบังคับคดี: บุคคลภายนอกไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาถึงที่สุดได้
ทรัพย์ซึ่งคู่ความในฐานะทายาทพิพาทกันอ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย และคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้ขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันในระหว่างคู่ความ ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ในชั้นบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์เพื่อปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ บุคคลภายนอกจะร้องขอเข้ามาในคดีอ้างว่ามีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาดอยู่ครึ่งหนึ่ง และขอรับเงินส่วนแบ่งจากการขายทอดตลาดโดยคู่ความเดิมไม่ยินยอม หาได้ไม่ เพราะเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกนั้นตั้งประเด็นขึ้นใหม่พิพาทกับคู่ความเดิมเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
หากบุคคลภายนอกมีสิทธิในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดอย่างไรหรือถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด ก็ชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกหลังขายทอดตลาด: บุคคลภายนอกต้องฟ้องคดีใหม่เพื่อเรียกร้องสิทธิ
ทรัพย์ซึ่งคู่ความในฐานะทายาทพิพาทกันอ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย และคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้ขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันในระหว่างคู่ความ ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ในชั้นบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์เพื่อปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ บุคคลภายนอกจะร้องขอเข้ามาในคดีอ้างว่ามีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาดอยู่ครึ่งหนึ่ง และขอรับเงินส่วนแบ่งจากการขายทอดตลาดโดยคู่ความเดิม ไม่ ยินยอม หาได้ไม่ เพราะเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกนั้นตั้งประเด็นขึ้นใหม่พิพาทกับคู่ความเดิมเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
หากบุคคลภายนอกมีสิทธิในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดอย่างไรหรือถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด ก็ชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกหลังขายทอดตลาด: ผู้อ้างสิทธิใหม่ต้องฟ้องคดีใหม่ ไม่สามารถแทรกแซงคดีเดิมได้
ทรัพย์ซึ่งคู่ความในฐานะทายาทพิพาทกันอ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย. และคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้ขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันในระหว่างคู่ความ. ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว. ในชั้นบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์เพื่อปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ. บุคคลภายนอกจะร้องขอเข้ามาในคดีอ้างว่ามีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาดอยู่ครึ่งหนึ่ง. และขอรับเงินส่วนแบ่งจากการขายทอดตลาดโดยคู่ความเดิม.ไม่.ยินยอม. หาได้ไม่. เพราะเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกนั้นตั้งประเด็นขึ้นใหม่พิพาทกับคู่ความเดิมเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว.
หากบุคคลภายนอกมีสิทธิในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดอย่างไร.หรือถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด ก็ชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 226/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดีจำเลยร่วมและการจำกัดสิทธิในการยื่นคำให้การเพิ่มเติมหลังสืบพยานโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และขับไล่จำเลยกับบริวารออกไป จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ในระหว่างพิจารณา เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ จำเลยตาย ศาลตั้งภรรยาจำเลยเป็นคู่ความแทนที่จำเลย ภรรยาจำเลยยื่นคำร้องว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยกับของตนมีสิทธิร่วมกัน ขอเป็นจำเลยร่วม ศาลอนุญาต การที่ร้องสอดเข้ามามิได้แสดงให้เห็นว่าที่ดินส่วนของตนอยู่ตรงไหน ตอนใด และจำเลยเดิมต่อสู้คดีไว้ขัดแย้งต่อสิทธิของตนประการใด ต้องถือว่าร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) หาใช่เข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามไม่ เมื่อจำเลยเดิมไม่มีสิทธิจะยื่นคำให้การอีก จำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 226/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดีของภรรยาจำเลยในฐานะจำเลยร่วม และสิทธิในการยื่นคำให้การเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และขับไล่จำเลยกับบริวารออกไป จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ในระหว่างพิจารณา เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จจำเลยตาย ศาลตั้งภรรยาจำเลยเป็นคู่ความแทนที่จำเลย ภรรยาจำเลยยื่นคำร้องว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยกับของตนมีสิทธิร่วมกัน ขอเป็นจำเลยร่วม ศาลอนุญาต การที่ร้องสอดเข้ามามิได้แสดงให้เห็นว่าที่ดินส่วนของตนอยู่ตรงไหนตอนใด และจำเลยเดิมต่อสู้คดีไว้ขัดแย้งต่อสิทธิของตนประการใด ต้องถือว่าร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) หาใช่เข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามไม่ เมื่อจำเลยเดิมไม่มีสิทธิจะยื่นคำให้การอีก จำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดในชั้นอุทธรณ์ฎีกาต้องเป็นประเด็นที่เคยยกขึ้นในศาลชั้นต้น การตั้งประเด็นใหม่ทำไม่ได้
มีส่วนได้เสียเพราะเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์ที่จำเลยทำยอมความโอนให้โจทก์ไปและศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว ดังนี้ จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์และฎีกาในอายุความอุทธรณ์ฎีกาเพื่อทำลายสัญญายอมความไม่ได้ เพราะเหตุที่ผู้ร้องยกขึ้นอุทธรณ์เป็นการตั้งประเด็นใหม่ ไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้น จึงขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องสอดคดีแพ่งของผู้เสียหายในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับการยักยอกทรัพย์และการโอนทรัพย์สินหลีกเลี่ยงการบังคับคดี
ผู้เสียหายในคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างพิจารณา มีสิทธิร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 ในคดีแพ่ง ซึ่งบุคคลอื่นฟ้องจำเลยโดยสมยอมกันโดยทุจริตเพื่อโอนทรัพย์สินของจำเลยไปให้พ้นการบังคับคดีอันเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเสียเปรียบ
สิทธิที่จะร้องสอดในกรณีเช่นนี้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นหนี้แน่นอนเพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) มิได้กำหนดห้ามไว้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องสอดในคดีแพ่งของผู้เสียหายในคดีอาญา แม้คดีอาญายังไม่ถึงที่สุด เพื่อคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินจากการโอนออกไป
ผู้เสียหายในคดีอาญา ฐานยักยอกทรัพย์ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างพิจารณา มีสิทธิร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 ในคดีแพ่ง ซึ่งบุคคลอื่นฟ้องจำเลยโดยสมยอมกันโดยทุจริต เพื่อโอนทรัพย์สินของจำเลยไปให้พ้นการบังคับคดีอันเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเสียเปรียบ
สิทธิที่จะร้องสอดเช่นนี้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นหนี้แน่นอนเพราะประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) มิได้กำหนดห้ามไว้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2503)
of 19