พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8212/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างชำระภาษีอากร: อำนาจของกรมสรรพากรและสิทธิของเจ้าหนี้
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าจำเลยค้างชำระภาษีอากรแก่ผู้ร้องเป็นเงิน 3,936,443 บาท (ยังไม่รวมเงินเพิ่มตามกฎหมาย) ผู้ร้องมีประกาศให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 3818, 3924, 10523, 43391 และ 49960 ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อบังคับชำระภาษีอากรค้างก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์และจำเลยยื่นคำคัดค้านโดยมิได้ปฏิเสธหนี้ภาษีอากรที่จำเลยค้างชำระ ทั้งปรากฏตามเอกสารท้ายคำร้องฟังได้ว่าจำเลยค้างชำระภาษีอากรดังกล่าวแก่ผู้ร้องจริง ผู้ร้องจึงมีอำนาจสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่ให้อำนาจผู้ร้องในการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของผู้ค้างชำระภาษีอากรโดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลดังเช่นเจ้าหนี้รายอื่น ๆ เมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นในภายหลังว่าผู้ร้องยึดที่ดินตามที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์กลับคืนมาเป็นชื่อโจทก์ไว้ก่อนแล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นชื่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และไม่อาจถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยอันเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ราคาที่ดินแทนการโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงแก่โจทก์โดยปราศจากภาระติดพัน เนื่องจากที่ดินเป็นของโจทก์ซึ่งมิใช่ลูกหนี้ผู้ร้องจึงไม่ชอบ แม้ผู้ร้องขอเข้ามาในคดีโดยอ้างสิทธิว่าเป็นการร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แต่เนื้อหาตามคำร้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าโจทก์จะบังคับคดีให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ผู้ร้องยึดไว้ก่อนแล้วไม่ได้ ต้องบังคับให้จำเลยชดใช้ราคาที่ดินแทน เป็นการขอให้ศาลทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 302 วรรคหนึ่ง (เดิม) หาใช่เป็นคำร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ไม่ ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องและคำร้องของผู้ร้องชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปตามรูปเรื่องที่ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6653/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: สิทธิของผู้คัดค้านหลังคำสั่งศาลถึงที่สุด และข้อจำกัดในการขอเพิกถอนคำสั่ง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องส่งสำเนาคำร้องขอแก่ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน และประกาศคำร้องขอทางหนังสือพิมพ์รายวันแล้ว ไม่มีผู้ใดยื่นคำคัดค้าน จึงเป็นคดีที่ไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 เมื่อศาลชั้นต้นได้ดำเนินการไต่สวนและมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ การดำเนินกระบวนพิจารณาและคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ถือว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิพิสูจน์ว่าผู้คัดค้านมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ร้อง และคำสั่งศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ไม่ผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) ก็ตาม แต่คดีนี้คำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุดไปแล้วและข้อเท็จจริงตามคำร้องของผู้คัดค้านไม่ปรากฏว่าผู้ร้องโต้แย้งสิทธิอย่างใดแก่ผู้คัดค้านในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ผู้คัดค้านเพียงแต่อ้างว่ามีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ร้องและขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์เท่านั้น มิได้ขอให้มีคำสั่งแสดงว่าผู้คัดค้านมีสิทธิเหนือที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) และไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้
แม้ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ถือว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิพิสูจน์ว่าผู้คัดค้านมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ร้อง และคำสั่งศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ไม่ผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) ก็ตาม แต่คดีนี้คำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุดไปแล้วและข้อเท็จจริงตามคำร้องของผู้คัดค้านไม่ปรากฏว่าผู้ร้องโต้แย้งสิทธิอย่างใดแก่ผู้คัดค้านในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ผู้คัดค้านเพียงแต่อ้างว่ามีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ร้องและขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์เท่านั้น มิได้ขอให้มีคำสั่งแสดงว่าผู้คัดค้านมีสิทธิเหนือที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) และไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินมรดกโดยไม่ชอบ ศาลเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบ และให้เจ้าของเดิมได้กรรมสิทธิ์
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ร้องสอดทั้งสามที่ได้รับการยกให้ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ฉะนั้น เมื่อจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้ขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) และจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนเองแล้วโอนขายต่อไปยัง อ. ตั้งแต่ปี 2544 ที่ดินพิพาทจึงไม่ได้เป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกอีกต่อไป ผู้ร้องสอดทั้งสามแม้จะเป็นทายาทของเจ้ามรดกก็ไม่มีสิทธิใดๆ ในที่ดินพิพาทแล้ว เพราะย่อมต้องมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันผู้จัดการมรดกได้ทำไปภายในขอบอำนาจในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1724 วรรคหนึ่ง และการที่ในปี 2550 จำเลยยังใช้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ฉบับเจ้าของที่ดิน ที่เคยแจ้งสูญหายไปนำเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทในนามของเจ้ามรดก ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิใดๆ แก่ทายาทของเจ้ามรดก การออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทในการนำเดินสำรวจของจำเลยในฐานะทายาทของเจ้ามรดกจึงเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์เป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทคนล่าสุดก็ย่อมเป็นเจ้าของมีสิทธิในที่ดินพิพาท
อนึ่ง ผู้ร้องสอดทั้งสามได้เข้ามาในคดีเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเป็นปฏิปักษ์ต่อโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แม้โจทก์จะได้ถอนฟ้องจำเลยไปหลังจากนั้น แต่ศาลชั้นต้นก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาในฐานที่โจทก์กับผู้ร้องสอดทั้งสามพิพาทกันในที่ดินพิพาท ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีและคำขอของโจทก์ที่เดิมขอให้บังคับจำเลยโดยขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทนั้นอยู่ในสภาพที่เปิดช่องให้บังคับแก่ผู้ร้องสอดทั้งสามผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทได้ จึงชอบที่จะบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ มิใช่แต่เพียงยกคำร้องสอดของผู้ร้องสอดทั้งสามเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้
อนึ่ง ผู้ร้องสอดทั้งสามได้เข้ามาในคดีเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเป็นปฏิปักษ์ต่อโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แม้โจทก์จะได้ถอนฟ้องจำเลยไปหลังจากนั้น แต่ศาลชั้นต้นก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาในฐานที่โจทก์กับผู้ร้องสอดทั้งสามพิพาทกันในที่ดินพิพาท ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีและคำขอของโจทก์ที่เดิมขอให้บังคับจำเลยโดยขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทนั้นอยู่ในสภาพที่เปิดช่องให้บังคับแก่ผู้ร้องสอดทั้งสามผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทได้ จึงชอบที่จะบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ มิใช่แต่เพียงยกคำร้องสอดของผู้ร้องสอดทั้งสามเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองปรปักษ์ในที่งอก: ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์มีสิทธิคัดค้านได้แม้ไม่ได้คัดค้านในชั้นศาล
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่งอกของที่ดินโฉนดเลขที่ 6594 ซึ่งมีชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาว่า ที่งอกของที่ดินโฉนดเลขที่ 6594 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ หากผู้คัดค้านไม่สามารถยื่นฎีกาได้และคดีถึงที่สุด ผู้ร้องก็สามารถนำคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ผู้ร้อง ย่อมจะเกิดความเสียหายแก่ผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ชอบที่จะร้องขอเข้ามาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
แม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนไต่สวนคำร้องขอ ศาลชั้นต้นได้สั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องขอแก่ผู้คัดค้านแล้วก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านมิได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำสั่งหรือคำพิพากษา ต้องถือว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกคดี จึงสามารถพิสูจน์ในชั้นนี้ได้ว่า ผู้คัดค้านมีสิทธิในที่ดินดีกว่าผู้ร้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ที่แสดงกรรมสิทธิ์ในที่งอกไม่ผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) การที่ผู้คัดค้านยื่นฎีกาดังกล่าวพอแปลได้ว่าผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้อง ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไต่สวนคำร้องขอและคำคัดค้านเพื่อวินิจฉัยถึงข้อโต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านไปตามรูปคดี
แม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนไต่สวนคำร้องขอ ศาลชั้นต้นได้สั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องขอแก่ผู้คัดค้านแล้วก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านมิได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำสั่งหรือคำพิพากษา ต้องถือว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกคดี จึงสามารถพิสูจน์ในชั้นนี้ได้ว่า ผู้คัดค้านมีสิทธิในที่ดินดีกว่าผู้ร้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ที่แสดงกรรมสิทธิ์ในที่งอกไม่ผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) การที่ผู้คัดค้านยื่นฎีกาดังกล่าวพอแปลได้ว่าผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้อง ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไต่สวนคำร้องขอและคำคัดค้านเพื่อวินิจฉัยถึงข้อโต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13825/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาท: เจ้าหนี้คำพิพากษาไร้สิทธิคัดค้าน
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสซึ่งผู้ร้องกับ ส. ร่วมกันซื้อมาระหว่างเป็นสามีภริยา ผู้ร้องกับ ส. จดทะเบียนหย่ากัน โดยผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทนั้นตลอดมาและได้ยื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทในส่วนของ ส. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนของ ส. ดังกล่าว ผู้คัดค้านเป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ ส. ในคดีอื่นไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทคดีนี้ จึงไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีเพื่อขอรับความรับรอง หรือคุ้มครองว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และผู้ร้องไม่สมควรได้สิทธิครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านจึงไม่อาจคัดค้านเข้ามาในคดีนี้ได้ อีกทั้งคำคัดค้านนั้นได้ยื่นเข้ามาภายหลังที่คดีถึงที่สุดไปแล้ว แม้ผู้คัดค้านอ้างว่าตนมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ผลของการคัดค้านโดยการร้องสอดตามมาตรา 57 (1) ผู้คัดค้านจะต้องเข้ามาเป็นคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง โดยผู้ร้องมีฐานะเป็นโจทก์ ส่วนผู้คัดค้านมีฐานะเป็นจำเลย ผู้คัดค้านจึงต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังได้กล่าวเพื่อจะได้ใช้สิทธินั้นคัดค้านว่าผู้ร้องมิได้ครอบครองปรปักษ์ เมื่อผู้คัดค้านมิได้อยู่ในฐานะใดฐานะหนึ่งตามเงื่อนไขที่มาตรา 57 (1) บัญญัติ จึงชอบที่ผู้คัดค้านจะต้องดำเนินการตามสิทธิส่วนของตนในคดีอื่น มิใช่โดยการยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13211/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบุคคลภายนอกคดี และการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้วว่า ส. เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ให้ขับไล่ ช. ผู้บุกรุกออกไป กระบวนการบังคับคดีก็ต้องดำเนินไปตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการบังคับคดี ไม่มีกฎหมายรับรองให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีดังกล่าวมีอำนาจมาฟ้องคดีนี้ (โดยมิได้มีคำขอในคดีนี้ ให้ศาลแสดงว่าตนมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่า ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2)) เพื่อขอให้ทบทวนคำพิพากษาศาลฎีกา และห้ามการบังคับในคดีที่ตนเป็นเพียงบุคคลภายนอก โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ในชั้นฎีกาโจทก์กลับอ้างในทำนองว่า ทรัพย์พิพาทไม่ได้เป็นของโจทก์ และจำเลยหรือคู่ความในคดี แต่ทรัพย์พิพาทเป็นของบุคคลภายนอก คือโจทก์ในคดีนี้ โจทก์จึงใช้สิทธิร้องสอด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ศาลชั้นต้นต้องทำการพิจารณาคดีใหม่ โดยโจทก์มิได้โต้แย้งว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยไม่ถูกต้องอย่างไร ที่ถูกควรวินิจฉัยเช่นใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12501/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องสอดของบุคคลภายนอกในคดีหย่าและการสิ้นสุดของสมรส
แม้คำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่จะมีผลให้ถือว่าคำพิพากษาเดิมที่พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดกันเป็นอันเพิกถอนไปในตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสาม แต่คำพิพากษาที่ถูกเพิกถอนนั้นก็มีผลผูกพันเฉพาะโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดี หามีผลต่อผู้ร้องสอดซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีที่อ้างว่าถูกกระทบสิทธิเนื่องจากเป็นผู้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ หลังจากศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวแล้วไม่ ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12501/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ร้องสอดในคดีหย่าเมื่อคำพิพากษาเดิมถูกเพิกถอน และผลกระทบต่อการสมรสใหม่
แม้คำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่จะมีผลให้ถือว่าคำพิพากษาเดิมที่พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดกันเป็นอันเพิกถอนไปในตัว แต่คำพิพากษาที่ถูกเพิกถอนนั้น ก็มีผลผูกพันเฉพาะโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดี หามีผลต่อผู้ร้องสอดซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีที่อ้างว่า ถูกกระทบสิทธิเนื่องจากเป็นผู้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์หลังจากศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวแล้วไม่ ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามมาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9740/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากฉ้อฉลและการรู้เห็นของผู้ซื้อต่อการเสียเปรียบของผู้ขาย
ผู้ร้องสอดเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทมาภายหลังฟ้อง และร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) อันเป็นไปเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตน โดยไม่ได้ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) เพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น คำขอบังคับของผู้ร้องสอดเป็นการขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องสอด และห้ามโจทก์กับจำเลยยุ่งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ร้องสอด เท่ากับเป็นการตั้งประเด็นฟ้องทั้งโจทก์และจำเลย และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 58 วรรคหนึ่ง คดีร้องสอดคดีนี้จึงเสมือนหนึ่งว่าผู้ร้องสอดได้ฟ้องโจทก์และจำเลยเป็นคดีใหม่และเป็นอีกคดีหนึ่งแยกกันได้กับคดีเดิม อันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การแก้ร้องสอดได้ ผู้ร้องสอดจะยกข้อต่อสู้ที่เป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีเดิมมาเป็นข้อต่อสู้ของตนในคดีร้องสอดและฟ้องแย้งนี้ไม่ได้
ขณะทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้จำเลยและผู้ร้องสอดทราบแล้วว่า โจทก์ยื่นคำขออายัดที่ดินเนื่องจากจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายฉบับลงวันที่ 23 มกราคม 2555 แต่จำเลยไม่ยอมมาโอนตามสัญญา เจ้าพนักงานที่ดินได้รับคำขออายัดมีกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ 30 เมษายน 2555 และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 จำเลยและผู้ร้องสอดรับทราบและยืนยันให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้ หากเกิดความเสียหายใดๆ ขอรับผิดชอบเองทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ เข้าเงื่อนไขที่โจทก์ขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง แล้ว
ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เพื่อขอให้มีคำพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ร้องสอด กับห้ามโจทก์และจำเลยยุ่งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ร้องสอด และที่โจทก์ให้การแก้คำร้องสอดและฟ้องแย้งในคดีร้องสอด ก็เป็นไปเพื่อเพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 อันเป็นการเพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดและการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท ที่มีผลให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของจำเลย แล้วโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามคำฟ้องอีกทอดหนึ่ง ระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดจึงไม่ใช่พิพาทกันด้วยเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของโจทก์หรือของผู้ร้องสอด คดีร้องสอดและฟ้องแย้งคดีนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท ตามตาราง 1 ค่าธรรมเนียมศาล (ค่าขึ้นศาล) (2) (ก).
ขณะทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้จำเลยและผู้ร้องสอดทราบแล้วว่า โจทก์ยื่นคำขออายัดที่ดินเนื่องจากจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายฉบับลงวันที่ 23 มกราคม 2555 แต่จำเลยไม่ยอมมาโอนตามสัญญา เจ้าพนักงานที่ดินได้รับคำขออายัดมีกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ 30 เมษายน 2555 และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 จำเลยและผู้ร้องสอดรับทราบและยืนยันให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้ หากเกิดความเสียหายใดๆ ขอรับผิดชอบเองทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ เข้าเงื่อนไขที่โจทก์ขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง แล้ว
ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เพื่อขอให้มีคำพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ร้องสอด กับห้ามโจทก์และจำเลยยุ่งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ร้องสอด และที่โจทก์ให้การแก้คำร้องสอดและฟ้องแย้งในคดีร้องสอด ก็เป็นไปเพื่อเพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 อันเป็นการเพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดและการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท ที่มีผลให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของจำเลย แล้วโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามคำฟ้องอีกทอดหนึ่ง ระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดจึงไม่ใช่พิพาทกันด้วยเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของโจทก์หรือของผู้ร้องสอด คดีร้องสอดและฟ้องแย้งคดีนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท ตามตาราง 1 ค่าธรรมเนียมศาล (ค่าขึ้นศาล) (2) (ก).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634-1635/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-กรรมสิทธิ์ที่ดิน: คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อนหากประเด็นพิพาทซ้ำกับคดีเดิม และการพิจารณาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องพิจารณาจากสัญญา
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่า ผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงที่พิพาท และมีคำขอให้โจทก์โอนที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวคืนให้ผู้ร้องสอด เป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เพื่อต่อสู้คดีกับโจทก์ ในทำนองเดียวกับที่ผู้ร้องสอดได้ฟ้องโจทก์กับพวกไว้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 48/2554 ของศาลชั้นต้น แม้ในคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ แต่ก็มีประเด็นพิพาทเช่นเดียวกับที่ผู้ร้องสอดได้ฟ้องโจทก์กับพวกไว้ในคดีดังกล่าวว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินที่พิพาทหรือไม่ คำร้องสอดของผู้ร้องสอดถือเป็นคำฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องในเรื่องเดียวกัน ผู้ร้องสอดจะยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ไม่ได้ เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ในคดีที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฟ้องขอให้บังคับโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงที่พิพาทคืนแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 282/2545 ของศาลชั้นต้น คดีดังกล่าวศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องความเป็นเจ้าของของที่ดินที่พิพาท จำเลยทั้งสี่จึงสามารถสืบพยานตามคำให้การและฟ้องแย้งในคดีนี้ได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ในคดีที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฟ้องขอให้บังคับโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงที่พิพาทคืนแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 282/2545 ของศาลชั้นต้น คดีดังกล่าวศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องความเป็นเจ้าของของที่ดินที่พิพาท จำเลยทั้งสี่จึงสามารถสืบพยานตามคำให้การและฟ้องแย้งในคดีนี้ได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144