พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย: สิทธิของผู้ซื้อและขอบเขตอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ว่าด้วยวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนที่ 4 ว่าด้วยการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดโดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่รวบรวมได้มาโดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นการดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่อยู่ในอำนาจจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 ไม่ ทั้งตามมาตรา 22 (1) ก็ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป ส่วนมาตรา 111 และ 112 ที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นอ้างก็เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับในกรณีที่ลูกหนี้ตกเป็นบุคคลล้มละลาย หาได้ใช้บังคับในกรณีที่เจ้าหนี้ตกเป็นบุคคลล้มละลายเช่นนี้ด้วยไม่ ดังนั้น หากเป็นความจริงตามข้ออ้างของผู้ร้องว่า ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายดังกล่าวย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี เพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อสิทธิเรียกร้องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ผู้ซื้อมีสิทธิเป็นเจ้าหนี้
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด โดยเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมิติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในคดีหมายเลขคดีแดงที่ 317/2544 ของศาลล้มละลายกลางเป็นการดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินที่ได้มาจากการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตาม เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการซื้อขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่า ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลายโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และการเข้าเป็นคู่ความของผู้ซื้อ
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ส่วนที่ 4 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นการดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินที่ได้มาจากการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตาม กรณีหาใช่เป็นเรื่องซื้อขายความหรือแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกันโดยมิชอบอันจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ ดังนั้น หากผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลย ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8235/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย: การร้องสอดเพื่อคุ้มครองและบังคับสิทธิ
ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อได้ซึ่งสินทรัพย์และสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้เดิมบุคคลล้มละลายในคดีของศาลชั้นต้นหมายเลขแดงที่ 1139/2544 มีต่อจำเลยที่ 2 ในคดีนี้จากการประกาศขายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 สิทธิของเจ้าหนี้เดิมที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตกเป็นของผู้ร้องแล้ว ทั้งผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหมายเรียกจำเลยที่ 2 ไปให้การเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินอันถือได้ว่าเป็นการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีล้มละลายแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีล้มละลายมีสิทธิร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดต้องมีคำขอบังคับชัดเจน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย หากไม่มี ศาลไม่รับพิจารณา
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดโดยอ้างว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และคู่ความขอให้ศาลไกล่เกลี่ยเพื่อประนีประนอมยอมความต่อกัน หากศาลมีคำพิพากษาตามยอมจะเป็นผลเสียหายแก่ผู้ร้องสอด จึงเป็นกรณีจำเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอดที่มีอยู่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ผู้ร้องสอดอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ ส่วนโจทก์เดิมและจำเลยอยู่ในฐานะเป็นจำเลย เมื่อคำร้องสอดดังกล่าวมีลักษณะเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1 (3) จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามมาตรา 172 วรรคสอง แต่คำร้องสอดของผู้ร้องสอดไม่มีคำขอบังคับโดยชัดแจ้ง จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องจากการประมูลในคดีล้มละลาย: การร้องสอดเพื่อคุ้มครองสิทธิ
ผู้ร้องเป็นผู้เข้าประมูลซื้อทรัพย์สินในการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยสิทธิเรียกร้องที่ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อได้รวมถึงสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อกองทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองในคดีนี้ด้วยและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดว่าผู้ร้องไม่สุจริตหรือการขายดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ประการใด สิทธิของผู้ร้องผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 123 ทั้งขณะผู้ร้องยื่นคำร้องสอด จำเลยทั้งสองถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหมายเรียกจำเลยทั้งสองไปให้การเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน อันถือได้ว่าเป็นการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีล้มละลายแล้ว เมื่อสิทธิของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีนี้ตกเป็นของผู้ร้องจากการขายทอดตลาดดังกล่าวแล้วผู้ร้องจึงเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวข้องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีล้มละลาย มีสิทธิร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ประกอบ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 153 (เดิม) โดยไม่จำต้องมีผู้ใดมาโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องก่อนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7483/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้ปกครองของผู้เยาว์กรณีมีการร้องสอด และการพิจารณาคำร้องของผู้เยาว์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านผู้คัดค้านที่ 1 และขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ แม้ตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 จะใช้ข้อความว่า ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยได้รับความยินยอมของโจทก์ (ผู้ร้อง) นั้น ก็เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านที่ 2 ร้องสอดใช้สิทธิของตนเองเพื่อโต้แย้งกับผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) มิใช่มาตรา 57 (2) จึงสามารถใช้สิทธิเสมือนว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามมาตรา 58 แม้ต่อมาผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 จะได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องและคำคัดค้านและศาลจะได้สั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 จากสารบบความก็คงมีผลเฉพาะคดีของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีคำร้องและคำคัดค้านเดิมตามลำดับที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้คำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 ตกไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4551/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนมติผู้ถือหุ้น ต้องฟ้องบริษัทโดยตรง แม้การจดทะเบียนกระทำผ่านกรรมการ
ป.พ.พ. มาตรา 1157 บัญญัติว่า "การตั้งกรรมการขึ้นใหม่นั้น ตั้งใครเมื่อใด ท่านให้นำความไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ตั้งจงทุกครั้ง" การที่บริษัท ว. โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจเป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจของกรรมการตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้รับจดทะเบียนไว้ จึงเป็นกรณีที่บริษัท ว. เป็นผู้นำความเกี่ยวกับการตั้งกรรมการขึ้นใหม่ไปจดทะเบียนตามบทกฎหมายดังกล่าว หากโจทก์เห็นว่า การกระทำของบริษัท ว. เป็นการกระทำที่มิชอบทำให้โจทก์ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัทได้รับความเสียหายเพราะต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ก็ชอบที่จะ ต้องฟ้องบริษัท ว. ในฐานะที่กระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ให้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีโดยตรง เพราะแม้การจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นจะได้กระทำโดยจำเลยที่ 1 แต่ก็เป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัท ว. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหาก การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และบริษัทอื่นเป็นจำเลยกรณีจึงไม่มีบุคคลที่อาจต้องรับผิดตามคำขอของโจทก์มาในฟ้อง อันเป็นเหตุให้ศาลไม่อาจจะพิพากษาบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ได้ ตลอดทั้งไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ศาลจะต้องรับฟ้องคดีไว้เพื่อรอให้บริษัท ว. ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เพราะไม่อาจบังคับได้ตามคำฟ้องมาแต่ต้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1940/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสินสมรสจากการขายฝากโดยไม่ยินยอมคู่สมรส ไม่กระทบสิทธิแม้ถูกขับไล่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและบ้านพิพาทว่า จำเลยขายฝากที่ดินพร้อมบ้านพิพาทแก่โจทก์และพ้นกำหนดไถ่ถอนแล้ว ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นสามีของจำเลย จำเลยขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้อง ขอให้เพิกถอนสัญญาขายฝาก ดังนี้ แม้ศาลพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารก็ไม่กระทบสิทธิของผู้ร้องในฐานะคู่สมรสที่ยังคงมีอยู่ในกรณีการขายฝากของโจทก์จำเลยตามที่ผู้ร้องอ้าง สิทธิของผู้ร้องสอดจะมีอยู่เพียงใด ก็คงมีอยู่เพียงนั้นคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการบังคับคดี: สิทธิของผู้รับโอนเมื่อผู้โอนดำเนินการในชั้นบังคับคดีโดยไม่มีสิทธิ
โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นตามคำพิพากษาให้แก่ผู้ร้อง โดยโจทก์และผู้ร้องได้มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทราบแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้ย่อมสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษาในคดีนี้จึงตกเป็นของผู้ร้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะรับเงินตามคำพิพากษาจากจำเลยทั้งสาม การที่โจทก์ยื่นคำแถลงขอรับเงินที่จำเลยที่ 2 นำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับตามคำแถลงของโจทก์อันเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับตามคำพิพากษาทั้ง ๆ ที่โจทก์สิ้นสิทธิดังกล่าวไปแล้ว เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กรณีนี้ผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิ จึงชอบที่จะร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)