คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ถูกโต้แย้งหลังมีคำพิพากษา: การร้องขอเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี
การที่ผู้ร้องนำคำพิพากษาไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน ย่อมถือได้ว่าเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ย่อมจะเกิดความเสียหายแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิ ชอบที่จะร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
กรณีนี้ผู้คัดค้านซึ่งไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอก จึงสามารถพิสูจน์ในชั้นนี้ได้ว่าผู้คัดค้านมีสิทธิดีกว่าผู้ร้อง คำพิพากษาที่แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดี: ผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 3 ไม่ใช่บุคคลภายนอก สิทธิอยู่ในบริษัท, มีฐานะคู่ความ
การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ร้อง สิทธิของผู้ร้องมีอยู่ในบริษัทของจำเลยที่ 1 เพียงใดก็คงมีอยู่อย่างนั้น ไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องร้องสอดเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) อีกทั้งผู้ร้องก็ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ซึ่งถือว่าเป็นคู่ความในคดีอันจะใช้สิทธิต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แล้ว จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดคดี: ผู้ถือหุ้นจำเลยที่ไม่ใช่คู่ความโดยตรง ไม่มีสิทธิร้องสอด
การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ร้อง สิทธิของผู้ร้องมีอยู่ในบริษัทของจำเลยที่ 1 เพียงใดก็คงมีอยู่อย่างนั้น ไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องร้องสอดเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) อีกทั้งผู้ร้องก็ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ซึ่งถือว่าเป็นคู่ความในคดีอันจะใช้สิทธิต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แล้ว จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6554/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือหุ้นจำกัด หนี้สินบริษัท ไม่ผูกพันผู้ถือหุ้น การร้องสอดไม่มีสิทธิ
++ เรื่อง บัญชีเดินสะพัด ตั๋วเงิน ค้ำประกัน จำนอง (ชั้นไม่รับคำร้องสอด) ++
ผู้ร้องสอดเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัด บรรดาหนี้สินของจำเลยที่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก จำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้ร้องสอดยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ผู้ร้องสอดถือตาม ป.พ.พ.มาตรา 1096 หากศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี คำพิพากษาดังกล่าวย่อมกระทบแต่เฉพาะทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ และกิจการของจำเลย หากจะต้องมีการบังคับคดี ผู้ร้องสอดในฐานะผู้ถือหุ้นหาต้องถูกบังคับคดีด้วยไม่ ผู้ร้องสอดย่อมไม่มีความจำเป็นที่จะได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ จึงไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา57(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8995/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คำร้องสอดเป็นฟ้องใหม่เมื่อมีคดีเดิมอยู่แล้ว
การไต่สวนคำร้องขอฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาเป็นกระบวนพิจารณาในศาล เมื่อผู้ร้องยื่นฟ้อง โจทก์ทั้งสี่และคดีอยู่ในระหว่างไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ถือว่าเป็นคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (8) และ 173 วรรคสองแล้ว โดยไม่จำต้องรอให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาก่อนแต่อย่างใด
ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเป็นการตั้งสิทธิในฐานะคู่ความฝ่ายที่สามและเป็นปฏิปักษ์แก่โจทก์ทั้งสี่ และจำเลย คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้อง และผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ เมื่อสิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์ทั้งสี่ กับจำเลยโต้แย้งนี้ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์ทั้งสี่เป็นคดีต่อศาลไว้แล้วและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้อง จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8945/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องสอดของหน่วยงานราชการ: อำเภอไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่มีอำนาจร้องสอดได้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มิได้กำหนดให้อำเภอมีฐานะเป็นนิติบุคคลอย่างเช่นจังหวัด แม้จะมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 122 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 62 วรรคสามและระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2515 ข้อ 4(1) และ ข้อ 5(1) กำหนดให้นายอำเภอหรือกรมการอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ก็ไม่เกี่ยวกับผู้ร้องสอด ซึ่งเป็นส่วนราชการ (อำเภอ) และไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้ผู้ร้องสอดมีฐานะเป็นนิติบุคคล ผู้ร้องสอดจึงไม่มีอำนาจร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้ร้องสอดฎีกาขึ้นมาอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8945/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำเภอไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่มีอำนาจร้องสอดคดี
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มิได้กำหนดให้อำเภอมีฐานะเป็นนิติบุคคลอย่างเช่นจังหวัด แม้จะมี พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่พุทธศักราช 2457 มาตรา 122 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534มาตรา 62 วรรคสาม และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2515 ข้อ 4 (1) และ ข้อ 5 (1) กำหนดให้นายอำเภอหรือกรมการอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ก็ไม่เกี่ยวกับผู้ร้องสอด ซึ่งเป็นส่วนราชการ(อำเภอ) และไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้ผู้ร้องสอดมีฐานะเป็นนิติบุคคล ผู้ร้องสอดจึงไม่มีอำนาจร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้ร้องสอดฎีกาขึ้นมาอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ร้องสอดในคดีขับไล่และการใช้คำพิพากษาแทนเจตนาในคดีละเมิด
คำร้องของผู้ร้องสอดเป็นการเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) อันทำให้มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลย แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ฟ้องผู้ร้องสอดก็ตาม คำสั่งให้ขับไล่ย่อมใช้บังคับแก่ผู้ร้องสอดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) หาเกินคำขอไม่
การที่โจทก์ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นใช้เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ศาลไม่อาจกำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยในคดีละเมิดได้ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ขับไล่จำเลย ผู้ร้องสอดและบริวารออกจากที่พิพาทและทำที่พิพาทให้อยู่ในสภาพเดิม หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4410/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดเป็นคำฟ้อง: สิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำคู่ความ
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) คำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นคำคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง มีผลเป็นการไม่รับคำร้องสอด คำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม มาตรา 227 และไม่ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ผู้ร้องสอดย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคำสั่งเป็นต้นไปตามมาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4410/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตให้สอดเป็นคู่ความเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความ อุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลา
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) คำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นคำคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง มีผลเป็นการไม่รับ คำร้องสอด คำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม มาตรา 227 และไม่ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ผู้ร้องสอด ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่ วันมีคำสั่งเป็นต้นไปตามมาตรา 229
of 19