คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6659/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: ฎีกาของผู้ขาดนัดยื่นคำให้การ และผลกระทบต่อผู้ร้องสอด
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเพราะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ให้การไว้ ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท หาใช่ผู้ร้องสอดแล้ว หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและมีคำสั่ง ให้ขับไล่จำเลย คำสั่งที่ให้ขับไล่นี้ย่อมใช้บังคับแก่ผู้ร้องสอดได้ ตามมาตรา 142(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6659/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ สิทธิฎีกาจำกัด ผู้ร้องสอดไม่มีสิทธิครอบครอง
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเพราะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ให้การไว้ ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 249
ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ.มาตรา57 (1) อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท หาใช่ผู้ร้องสอดแล้ว หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลย คำสั่งที่ให้ขับไล่นี้ย่อมใช้บังคับแก่ผู้ร้องสอดได้ตามมาตรา 142 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดต้องมีคำขอให้บังคับคู่ความชัดเจน หากไม่มี ศาลไม่รับพิจารณา แม้แสดงสิทธิในทรัพย์สิน
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่า ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้นำที่ดินสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจำนวน 2 แปลง ตามฟ้องออกขายแล้วนำเงินมาแบ่งกันคนละครึ่งนั้น ความจริงผู้ร้องสอดมีส่วนร่วมในการซื้อที่ดินดังกล่าวมาตั้งแต่แรก ผู้ร้องสอดได้ซื้อทรัพย์สินดังกล่าวโดยกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นมาจ่ายค่าซื้อทรัพย์บางส่วนและบางส่วนได้ใช้เงินส่วนตัวชำระไป เฉพาะส่วนของจำเลยและโจทก์นั้นรวมราคาทรัพย์สินทั้งสองรายการเป็นเงินไม่เกิน 100,000 บาท จึงขอร้องสอดเข้าเป็นคู่ความเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(1) เมื่อคำร้องสอดเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1 (3) จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามมาตรา 172 แต่คำร้องสอดของผู้ร้องไม่มีคำขอให้ศาลบังคับคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีผู้ร้องสอดชนะคดีในประเด็นข้อพิพาท จึงไม่เป็นคำร้องสอดที่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
แม้ตามคำร้องสอดระบุว่า โจทก์และจำเลยมีสิทธิในทรัพย์สินเพียง 100,000 บาท เท่านั้น การที่โจทก์มาฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์กับจำเลย โดยตีราคาทรัพย์สินเป็นเงิน 1,600,000 บาท และขอแบ่งกรรมสิทธิ์เป็นเงิน 800,000บาท คำร้องสอดดังกล่าวแสดงถึงสิทธิของผู้ร้องสอดว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันคิดเป็นเงิน 1,500,000 บาท ก็ตาม ก็มิใช่คำขอบังคับตามความหมายในมาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดต้องมีคำขอบังคับชัดเจน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่า ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้นำที่ดินสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจำนวน 2 แปลงตามฟ้องออกขายแล้วนำเงินมาแบ่งกันคนละครึ่งนั้นความจริงผู้ร้องสอดมีส่วนร่วมในการซื้อที่ดินดังกล่าวมาตั้งแต่แรก ผู้ร้องสอดได้ซื้อทรัพย์สินดังกล่าวโดยกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นมาจ่ายค่าซื้อทรัพย์บางส่วนและบางส่วน ได้ใช้เงินส่วนตัวชำระไป เฉพาะส่วนของจำเลยและโจทก์นั้นรวมราคาทรัพย์สินทั้งสองรายการเป็นเงินไม่เกิน 100,000 บาท จึงขอร้องสอดเข้าเป็นคู่ความเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)เมื่อคำร้องสอดเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1(3) จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามมาตรา 172 แต่คำร้องสอดของผู้ร้องไม่มีคำขอให้ศาลบังคับ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีผู้ร้องสอดชนะคดีในประเด็นข้อพิพาท จึงไม่เป็นคำร้องสอดที่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะรับไว้พิจารณา แม้ตามคำร้องสอดระบุว่า โจทก์และจำเลยมีสิทธิในทรัพย์สินเพียง 100,000 บาท เท่านั้น การที่โจทก์มาฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์กับจำเลย โดยตีราคาทรัพย์สินเป็นเงิน1,600,000 บาท และขอแบ่งกรรมสิทธิ์เป็นเงิน 800,000 บาทคำร้องสอดดังกล่าวแสดงถึงสิทธิของผู้ร้องสอดว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันคิดเป็นเงิน 1,500,000 บาท ก็ตาม ก็มิใช่คำขอบังคับตามความหมายในมาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: การแย่งการครอบครองและคำฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนฟ้อง/ถูกฟ้องคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวาร ให้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 485 ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดต่อสู้คดีว่า เดิมที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 465 มีจำนวน 12 ไร่เป็นของ ป.มารดาผู้ร้องสอด แต่ ป.ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นเนื้อที่ 17ไร่เศษ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2529 ผู้ร้องสอดได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวจาก ป. แล้วผู้ร้องสอดได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาและได้ซื้อเพิ่มเติมจากบุคคลภายนอกทางทิศตะวันออกของที่ดิน รวมแล้ว 23 ไร่เศษ ผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยทำกิน ตามคำร้องสอดดังกล่าวเท่ากับว่าผู้ร้องสอดอ้างว่า ที่พิพาทเป็นของผู้ร้องสอดทั้งหมด ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่พิพาทของโจทก์เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ผู้ร้องสอดจึงไม่อาจอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง ได้
คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความตามป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) ซึ่งตามมาตรา 58 ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องสอดได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมาตรา142 (1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ศาลย่อมพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดได้หาเกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครอง การทำประโยชน์ และการเข้ามาเป็นคู่ความในคดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวาร ให้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 485 ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดต่อสู้คดีว่าเดิมที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 465 มีจำนวน 12 ไร่เป็นของ ป.มารดาผู้ร้องสอด แต่ ป. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นเนื้อที่ 17 ไร่เศษ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2529ผู้ร้องสอดได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวจาก ป. แล้วผู้ร้องสอดได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาและได้ซื้อเพิ่มเติม จากบุคคลภายนอกทางทิศตะวันออกของที่ดิน รวมแล้ว 23 ไร่เศษ ผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยทำกิน ตามคำร้องสอดดังกล่าวเท่ากับว่าผู้ร้องสอดอ้างว่า ที่พิพาทเป็นของผู้ร้องสอดทั้งหมด ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่พิพาทของโจทก์เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของ ผู้อื่นเท่านั้น ผู้ร้องสอดจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง ได้ คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)ซึ่งตามมาตรา 58 ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องสอดได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมาตรา 142(1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็น ของโจทก์ ศาลย่อมพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดได้ หาเกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นคู่ความและการหมดอายุสิทธิร้องสอดคดี การครอบครองปรปักษ์ และผลของการจดทะเบียนสิทธิ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นไปแล้ว คดีได้เสร็จสิ้นกระบวนการสมบูรณ์แล้วตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนให้ผู้ร้องเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามคำสั่งศาลชั้นต้นตั้งแต่ก่อนวันที่ผู้ร้องสอดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเกิน10 ปี การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นก็ไม่มีอีกต่อไป ผู้ร้องสอดจึงไม่มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) ในคดนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์เป็นผลให้ได้กรรมสิทธิ์เมื่อจดทะเบียนแล้ว ผู้สอดร้องขอไม่มีสิทธิ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นไปแล้ว คดีได้เสร็จสิ้นกระบวนการสมบูรณ์แล้วตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนให้ผู้ร้องเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามคำสั่งศาลชั้นต้น ตั้งแต่ก่อนวันที่ผู้ร้องสอดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเกิน 10 ปีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นก็ไม่มีอีกต่อไป ผู้ร้องสอดจึงไม่มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1)ในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดีแพ่ง: สิทธิในการฟ้องต่างหาก vs. การเข้าร่วมในคดีเดิม, ผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณา
ตามคำร้องของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดอ้างว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และผู้ร้องสอด เป็นการละเมิดต่อผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยตรงจากจำเลยทั้งสอง แต่โจทก์กลับนำสิทธิของผู้ร้องสอดมายื่นฟ้องต่อศาลโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอด ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ร้องสอด โดยข้ออ้างของผู้ร้องสอดนี้มีสภาพแห่งข้อหาเช่นเดียวกับคำฟ้องของโจทก์ ดังนี้ เป็นการที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองและโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องสอดถือได้ว่าเป็นกรณีจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 57(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ผู้ร้องสอดจึงชอบที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ แต่คดีนี้ ผู้ร้องสอดเพิ่งมายื่นคำร้องสอด เมื่อเป็นเวลาหลังจากโจทก์ฟ้องคดีเกือบ 2 ปี โดยโจทก์ได้นำพยานโจทก์เข้าเบิกความและตอบคำถามค้านของทนายจำเลยทั้งสองจนเสร็จสิ้นแล้ว หากจะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามา ก็จะทำให้กระบวนพิจารณาชักช้าและยุ่งยากขึ้นไปอีก ทั้งสิทธิของผู้ร้องสอดมีอยู่อย่างไร ผู้ร้องสอดก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องเป็นอีกคดีต่างหากได้อยู่แล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องสอดคดีและการพิจารณาความเหมาะสมของระยะเวลาการยื่นคำร้อง
ตามคำร้องของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดอ้างว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และผู้ร้องสอด เป็นการละเมิดต่อผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยตรงจากจำเลยทั้งสอง แต่โจทก์กลับนำสิทธิของผู้ร้องสอดมายื่นฟ้องต่อศาลโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอด ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ร้องสอด โดยข้ออ้างของผู้ร้องสอดนี้มีสภาพแห่งข้อหาเช่นเดียวกับคำฟ้องของโจทก์ ดังนี้ เป็นการที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองและโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องสอดถือได้ว่าเป็นกรณีจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 57 (1) แห่ง ป.วิ.พ. ผู้ร้องสอดจึงชอบที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ แต่คดีนี้ ผู้ร้องสอดเพิ่งมายื่นคำร้องสอด เมื่อเป็นเวลาหลังจากโจทก์ฟ้องคดีเกือบ 2 ปี โดยโจทก์ได้นำพยานโจทก์เข้าเบิกความและตอบคำถามค้านของทนายจำเลยทั้งสองจนเสร็จสิ้นแล้ว หากจะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามา ก็จะทำให้กระบวนพิจารณาชักช้าและยุ่งยากขึ้นไปอีก ทั้งสิทธิของผู้ร้องสอดมีอยู่อย่างไร ผู้ร้องสอดก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องเป็นอีกคดีต่างหากได้อยู่แล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดี
of 19