คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 145 วรรคสอง (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8185/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ทางสาธารณะ & ค่าฤชาธรรมเนียม: สิทธิในการใช้ยันบุคคลภายนอก และอำนาจศาลในการสั่งจ่าย
ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีถึงที่สุดว่า ทางหน้าตึกที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างกำแพงคอนกรีตและเทพื้นคอนกรีตเป็นทางที่เจ้าของที่ดินอุทิศให้เป็นทางสาธารณะ จึงเป็นทางสาธารณะ จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิกระทำเช่นนั้นได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินเป็นคุณแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองอาจใช้ยันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่ผู้ร้องจะพิสูจน์ได้ว่าผู้ร้องมีสิทธิดีกว่า ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคสอง (2)
ในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ศาลต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ดังนั้น ในกรณีนี้แม้โจทก์ที่ 2 ไม่ได้มีคำขอมาในคำคัดค้านให้ผู้ร้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ที่ 2 ด้วย ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจสั่งให้ผู้ร้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ที่ 2 ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 167

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8185/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางสาธารณะ-สิทธิในที่ดิน: คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันบุคคลภายนอก หากพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีสิทธิดีกว่า
ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีถึงที่สุดว่าทางหน้าตึกที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างกำแพงคอนกรีตและเทพื้นคอนกรีตเป็นทางที่เจ้าของที่ดินอุทิศให้เป็นทางสาธารณะจึงเป็นทางสาธารณะจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิกระทำเช่นนั้นได้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินเป็นคุณแก่โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองอาจใช้ยันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้เว้นแต่ผู้ร้องจะพิสูจน์ได้ว่าผู้ร้องมีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสอง(2) ในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ศาลต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีดังนั้นในกรณีนี้แม้โจทก์ที่2ไม่ได้มีคำขอมาในคำคัดค้านให้ผู้ร้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ที่2ด้วยศาลชั้นต้นก็มีอำนาจสั่งให้ผู้ร้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ที่2ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา167

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรื่องครอบครองปรปักษ์ แต่บุคคลภายนอกพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้ ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิที่ดีกว่าผู้โอน
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่าจำเลยที่1มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตามแต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสอง(2)คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ผูกพันโจทก์ เมื่อฟังว่าจำเลยที่1ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแม้จำเลยที่2จะอ้างว่าได้รับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตจำเลยที่2ก็ ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: บุคคลภายนอกพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้ แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรื่องครอบครองปรปักษ์
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อฟังว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าได้รับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตจำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินภายใต้ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และการครอบครองปรปักษ์ที่ต้องพ้นระยะห้ามโอน
ที่ดินพิพาทมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยโจทก์ได้รับมาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ดังนั้นสิทธิของโจทก์ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จะต้องเป็นไปตาม พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวมีข้อบังคับว่า ภายในกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันได้รับโฉนดที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้นอกจากการตกทอดทางมรดก หรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี ดังนั้น แม้ส.บุตรจำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทจากผ. สามีโจทก์และรับมอบการครอบครองตั้งแต่วันที่ซื้อตลอดมา จนกระทั่งจำเลยรับโอนครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมาถึงวันที่ยื่นคำร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่จำเลยจะนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หาได้ไม่ แม้จำเลยจะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ใช่คู่ความในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง(2) โจทก์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของตน โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาฟ้องศาลได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจถูกเพิกถอนได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นด้วยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษายืน แต่ไม่เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: โจทก์มีชื่อในโฉนดย่อมมีสิทธิครอบครอง จำเลยต้องพิสูจน์การครอบครองปรปักษ์
โจทก์มีชื่อ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนด ที่ดิน พิพาท ซึ่งป.พ.พ. มาตรา 1373 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าว จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทด้วย เจตนาเป็นเจ้าของติดต่อ กันเป็นเวลา 10 ปี แม้จำเลยจะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่าจำเลยได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดย การครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่ เมื่อโจทก์ซึ่ง เป็นบุคคลภายนอกคดีสามารถพิสูจน์ได้ ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ คำสั่งของศาลชั้นต้นย่อมไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคสอง(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าของทายาทเจ้าของเดิม
คำสั่งศาลที่แสดงว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ แต่เมื่อจำเลยพิสูจน์ได้ว่าโจทก์เข้าอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยเจ้าของเดิม และโจทก์ไม่เคยแสดงการเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของเดิมและจำเลยซึ่งเป็นทายาท จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ และเมื่อจำเลยไม่ต้องการให้โจทก์อาศัยต่อไปโจทก์ก็ต้องออกจากที่ดินพิพาท
of 2