พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ถูกกระทบจากการยึดทรัพย์เพื่อบังคับคดีภาษี ผู้มีสิทธิยึดทรัพย์มีสิทธิคัดค้านได้
แม้คดีนี้ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์จนกระทั่งมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสิทธิให้ผู้ร้องมีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทแล้วโดยไม่มีการออกหมายบังคับคดีเพื่อบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ตาม แต่ผู้ร้องอาจนำคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไปใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ ทั้งยังทำให้ผู้คัดค้านสิ้นสิทธิในการบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทที่ยึดไว้เพราะที่ดินพิพาทไม่ใช่ของ ร. ลูกหนี้ของผู้คัดค้านอีกต่อไป ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลและชอบที่จะยื่นคำร้องขอสอดเข้ามาในคดีเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2548 แต่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2551 ผู้คัดค้านอาศัยอำนาจตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร ยึดที่ดินพิพาทของ ร. เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้าง ตามประกาศกรมสรรพากร (ภ.ส. 18) เรื่อง ให้ยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร โดยปิดประกาศดังกล่าวไว้ ณ ที่ดินพิพาทและส่งสำเนาประกาศยึดที่ดินพิพาทให้ ร. โดยชอบแล้ว เมื่อผู้คัดค้านยึดที่ดินพิพาทก่อนที่ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทครบ 10 ปี จึงยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เพราะสิทธิของผู้ร้องถูกกระทบโดยการยึดทรัพย์ของผู้คัดค้านที่อาศัยอำนาจตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร แม้ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีในศาลชั้นต้นจึงถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอก คำสั่งศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) ผู้คัดค้านจึงสามารถพิสูจน์ได้ว่า ที่ดินพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ร.
ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2548 แต่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2551 ผู้คัดค้านอาศัยอำนาจตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร ยึดที่ดินพิพาทของ ร. เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้าง ตามประกาศกรมสรรพากร (ภ.ส. 18) เรื่อง ให้ยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร โดยปิดประกาศดังกล่าวไว้ ณ ที่ดินพิพาทและส่งสำเนาประกาศยึดที่ดินพิพาทให้ ร. โดยชอบแล้ว เมื่อผู้คัดค้านยึดที่ดินพิพาทก่อนที่ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทครบ 10 ปี จึงยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เพราะสิทธิของผู้ร้องถูกกระทบโดยการยึดทรัพย์ของผู้คัดค้านที่อาศัยอำนาจตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร แม้ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีในศาลชั้นต้นจึงถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอก คำสั่งศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) ผู้คัดค้านจึงสามารถพิสูจน์ได้ว่า ที่ดินพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13211/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบุคคลภายนอกคดี และการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้วว่า ส. เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ให้ขับไล่ ช. ผู้บุกรุกออกไป กระบวนการบังคับคดีก็ต้องดำเนินไปตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการบังคับคดี ไม่มีกฎหมายรับรองให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีดังกล่าวมีอำนาจมาฟ้องคดีนี้ (โดยมิได้มีคำขอในคดีนี้ ให้ศาลแสดงว่าตนมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่า ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2)) เพื่อขอให้ทบทวนคำพิพากษาศาลฎีกา และห้ามการบังคับในคดีที่ตนเป็นเพียงบุคคลภายนอก โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ในชั้นฎีกาโจทก์กลับอ้างในทำนองว่า ทรัพย์พิพาทไม่ได้เป็นของโจทก์ และจำเลยหรือคู่ความในคดี แต่ทรัพย์พิพาทเป็นของบุคคลภายนอก คือโจทก์ในคดีนี้ โจทก์จึงใช้สิทธิร้องสอด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ศาลชั้นต้นต้องทำการพิจารณาคดีใหม่ โดยโจทก์มิได้โต้แย้งว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยไม่ถูกต้องอย่างไร ที่ถูกควรวินิจฉัยเช่นใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18460/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์: การซื้อขายที่ดิน แม้ไม่มีสัญญาซื้อขาย และการครอบครองอย่างเปิดเผยต่อเนื่อง
เดิมจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 โจทก์เป็นบุตรเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งถึงแก่ความตายแล้วฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว พอจะแปลความหมายได้ว่า โจทก์ประสงค์ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากเจ้าของที่ดินพิพาท และครอบครองโดยความสงบ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะขอให้คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7109/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาเดิมต่อผู้รับโอนสิทธิ และการครอบครองที่ดินพิพาท
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 5770 เป็นของ ส. เมื่อปี 2534 ส. ฟ้องจำเลยที่ 1 อ้างว่าจำเลยที่ 1 บุกรุกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทอยู่นอกเขตที่ดินของ ส. จึงฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ส. คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพัน ส. และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวก็ตาม แต่โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาจาก ส. โจทก์จึงไม่ใช่บุคคลภายนอกเพราะคำว่าบุคคลภายนอกที่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) นั้น ย่อมหมายถึงบุคคลทั่วไปนอกคดีที่จะยกขึ้นพิสูจน์ต่อสู้ได้ว่าตนมีสิทธิในที่ดินดีกว่าผู้ครอบครอง ดังนั้น คดีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: คำพิพากษาศาลฎีกายันบุคคลภายนอก & การได้มาซึ่งสิทธิโดยการครอบครอง
ศาลฎีกามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และขับไล่ ท. ระหว่างบังคับคดี จำเลยได้ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ไว้ โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) อยู่ในเขตที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ซึ่งเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและใช้ประโยชน์ และจำเลยเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ที่ดินพิพาท โดยรับมอบการครอบครองมาจาก ท. โดยชอบ จนได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท กับมีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงขัดแย้งกันไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินคนละแปลงกันหรือไม่ และจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท กรณีจึงรับฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ใช่คู่ความในคดีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาก็ตาม แต่คำพิพากษาในคดีดังกล่าวก็ใช้ยันจำเลยผู้เป็นบุคคลภายนอกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) การที่จำเลยให้การรับว่าได้รับที่ดินพิพาทมาจาก ท. ซึ่งไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลยได้ อันเป็นการรับมอบที่ดินพิพาทโดยเด็ดขาด มิใช่เพื่อประกันการชำระหนี้แล้วได้ครอบครองโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 1 ปี ทำให้ได้สิทธิครอบครอง โดยไม่ได้ให้การว่าจำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ด้วยเหตุประการอื่น จำเลยจึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติข้างต้น โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ไว้ แม้ว่า ท. ยังไม่ได้ชำระเงินยืมและดอกเบี้ยให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6633/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของบุคคลภายนอกคดี vs คำพิพากษาถึงที่สุด ผลผูกพันเฉพาะคู่ความ การโอนที่ดิน
คดีแรกจำเลยที่ 3 ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 3 ทำขึ้นกับจำเลยที่ 2 และคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าว
คดีนี้แม้ว่าศาลชั้นต้นจะสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกับคดีแรก แต่คำพิพากษาในคดีแรกก็ผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้น หามีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ โจทก์ในฐานะบุคคลภายนอกจึงอาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิ ดีกว่าจำเลยที่ 3 และคำพิพากษาในคดีแรกที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท เพราะเหตุจำเลยที่ 2 รับโอน ที่ดินพิพาทโดยปราศจากอำนาจ ก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) อันจะเข้าข้อยกเว้นที่จะใช้ยันบุคคลภายนอกได้ จึงใช้ยันโจทก์ซึ่งไม่ใช่เป็นคู่ความด้วยไม่ได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงมีอำนาจพิพากษาให้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้
คดีนี้แม้ว่าศาลชั้นต้นจะสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกับคดีแรก แต่คำพิพากษาในคดีแรกก็ผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้น หามีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ โจทก์ในฐานะบุคคลภายนอกจึงอาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิ ดีกว่าจำเลยที่ 3 และคำพิพากษาในคดีแรกที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท เพราะเหตุจำเลยที่ 2 รับโอน ที่ดินพิพาทโดยปราศจากอำนาจ ก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) อันจะเข้าข้อยกเว้นที่จะใช้ยันบุคคลภายนอกได้ จึงใช้ยันโจทก์ซึ่งไม่ใช่เป็นคู่ความด้วยไม่ได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงมีอำนาจพิพากษาให้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นเรื่องกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง และสิทธิของบุคคลภายนอก
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีซึ่งตามกฎหมายจะเพิกถอนไม่ได้เว้นแต่จะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข กลับ หรืองดสืบ โดยคำพิพากษาของศาลในลำดับที่สูงกว่า ทั้งเป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินและอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า
ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบเอ็ด นอกจากอ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีก่อนอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทและขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วยังขอให้พิพากษาว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังเป็นของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดอยู่และขอให้ขับไล่จำเลยด้วย พอแปลความหมายแห่งคำฟ้องได้ว่า โจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป็นบุคคลภายนอกมีความประสงค์ให้ศาลมีคำสั่งพิพากษาว่า โจทก์ทั้งสิบเอ็ดมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสิบเอ็ดตาม ป.พ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงมีอำนาจพิพากษาให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ กรณีไม่ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2พิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง
ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบเอ็ด นอกจากอ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีก่อนอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทและขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วยังขอให้พิพากษาว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังเป็นของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดอยู่และขอให้ขับไล่จำเลยด้วย พอแปลความหมายแห่งคำฟ้องได้ว่า โจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป็นบุคคลภายนอกมีความประสงค์ให้ศาลมีคำสั่งพิพากษาว่า โจทก์ทั้งสิบเอ็ดมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสิบเอ็ดตาม ป.พ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงมีอำนาจพิพากษาให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ กรณีไม่ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2พิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเรื่องกรรมสิทธิ์จากการครอบครองเป็นเด็ดขาด เว้นแต่มีสิทธิอื่นที่ดีกว่า โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าตนมีสิทธิในที่ดินดีกว่าจำเลยได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382เป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีซึ่งตามกฎหมายจะเพิกถอนไม่ได้เว้นแต่จะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดสืบโดยคำพิพากษาของศาลในลำดับที่สูงกว่าทั้งเป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินและอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้เว้นแต่บุคคลภายนอกจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดนอกจากอ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีก่อนอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทและขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วยังขอให้พิพากษาว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังเป็นของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดอยู่และขอให้ขับไล่จำเลยด้วยพอแปลความหมายแห่งคำฟ้องได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป็นบุคคลภายนอกมีความประสงค์ให้ศาลมีคำสั่งพิพากษาว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยและคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสิบเอ็ดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา145วรรคสอง(2)ศาลอุทธรณ์ภาค2จึงมีอำนาจพิพากษาให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าวได้กรณีไม่ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์จากการครอบครอง vs. สิทธิผู้รับโอน: บุคคลภายนอกคดีพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้ แม้ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
การที่ ด.และ ค. ซึ่งเป็นตาและยายของจำเลยที่ 1 ปลูกบ้านในที่พิพาทเพราะคนทั้งสองซื้อที่พิพาทมาจาก บ.และ ผ.เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทคนเดิม หาใช่เพราะ บ.และ ผ.อนุญาตให้คนทั้งสองอยู่อาศัยไม่ และจำเลยทั้งสองได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันโดยสืบทอดมาจากตายายและบิดามารดาของจำเลยที่ 1 มานานหลายสิบปี ที่พิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองโดยการครอบครองตามกฎหมาย แม้ ส.บุตรของบ.และผ.ได้ขอจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาทโดยการครอบครองตามคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม ส.ก็หามีสิทธิดีกว่าอันจะเป็นเหตุให้มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองไม่เพราะ ส.มิใช่ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสองเมื่อ ส.ผู้โอนไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสอง โจทก์ทั้งสี่ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเพราะโจทก์ทั้งสี่ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่า ส.ผู้โอน
แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า ส.ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมายก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลภายนอกคดีสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า เมื่อจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมาย คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยทั้งสอง ตามป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรค 2 (2)
แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า ส.ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมายก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลภายนอกคดีสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า เมื่อจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมาย คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยทั้งสอง ตามป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรค 2 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามกฎหมาย และอำนาจฟ้องขับไล่ของผู้รับโอนสิทธิ
การที่ด.และค.ซึ่งเป็นตาและยายของจำเลยที่1ปลูกบ้านในที่พิพาทเพราะคนทั้งสองซื้อที่พิพาทมาจากบ.และผ.เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทคนเดิมหาใช่เพราะบ.และผ.อนุญาตให้คนทั้งสองอยู่อาศัยไม่และจำเลยทั้งสองได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันโดยสืบทอดมาจากตายายและบิดามารดาของจำเลยที่1มานานหลายสิบปีที่พิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองโดยการครอบครองตามกฎหมายแม้ส. บุตรของบ.และผ.ได้ขอจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาทโดยการครอบครองตามคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วก็ตามส.ก็หามีสิทธิดีกว่าอันจะเป็นเหตุให้มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองไม่เพราะส.มิใช่ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299วรรคสองเมื่อส.ผู้โอนไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองโจทก์ทั้งสี่ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเพราะโจทก์ทั้งสี่ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่าส. ผู้โอน แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่าส. ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมายก็ตามแต่จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลภายนอกคดีสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าเมื่อจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมายคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสอง(2)