คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 12

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีอากรมีบุริมสิทธิเมื่อค้างชำระในปีปัจจุบันหรือปีก่อนหน้า การอุทธรณ์ไม่ทุเลาการชำระเว้นแต่อธิบดีอนุมัติ
หนี้ค่าภาษีอากรซึ่งมีบุริมสิทธิสามัญนั้นต้องเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปปีหนึ่ง
หนี้ค่าภาษีอากรปี 2503 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบและประเมินเพิ่มให้จำเลยชำระเมื่อปี 2505 แม้จำเลยจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และอุทธรณ์ต่อไปยังศาลก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดี (กรมสรรพากร)
เมื่อผู้ร้องมิได้อ้างว่า มีการอนุมัติของอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะอ้างว่า.หนี้ค่าภาษีอากรถึงกำหนดชำระเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอผัดและผ่อนชำระภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89ทวิ แต่อธิบดีไม่อนุญาต ไม่มีผลทำให้หนี้ถึงกำหนดภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีอากรมีบุริมสิทธิเมื่อค้างชำระในปีปัจจุบันหรือย้อนหลังได้หนึ่งปี การอุทธรณ์ไม่ทุเลาการชำระเว้นแต่ได้รับการอนุมัติ
หนี้ค่าภาษีอากรซึ่งมีบุริมสิทธิสามัญนั้นต้องเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปปีหนึ่ง
หนี้ค่าภาษีอากรปี 2503 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบและประเมินเพิ่มให้จำเลยชำระเมื่อปี 2505 แม้จำเลยจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และอุทธรณ์ต่อไปยังศาลก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากรเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดี(กรมสรรพากร)
เมื่อผู้ร้องมิได้อ้างว่า มีการอนุมัติของอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ย่อมไม่มีเหตุที่จะอ้างว่าหนี้ค่าภาษีอากรถึงกำหนดชำระเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอผัดและผ่อนชำระภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89ทวิ แต่อธิบดีไม่อนุญาต ไม่มีผลทำให้หนี้ถึงกำหนดภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีอากรมีผลบังคับเป็นบุริมสิทธิเมื่อใด แม้มีการอุทธรณ์ก็ไม่ทุเลาหากไม่ได้รับการอนุมัติจากอธิบดี
หนี้ค่าภาษีอากรซึ่งมีบุริมสิทธิสามัญนั้นต้องเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปปีหนึ่ง.
หนี้ค่าภาษีอากรปี 2503 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบและประเมินเพิ่มให้จำเลยชำระเมื่อปี 2505. แม้จำเลยจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และอุทธรณ์ต่อไปยังศาลก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร. เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดี(กรมสรรพากร).
เมื่อผู้ร้องมิได้อ้างว่า มีการอนุมัติของอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์. ย่อมไม่มีเหตุที่จะอ้างว่า.หนี้ค่าภาษีอากรถึงกำหนดชำระเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด.
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอผัดและผ่อนชำระภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89ทวิ. แต่อธิบดีไม่อนุญาต. ไม่มีผลทำให้หนี้ถึงกำหนดภายหลัง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และอำนาจยึดทรัพย์ตามประมวลรัษฎากร
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ที่ห้ามมิให้ยึดซ้ำนั้น จะต้องเป็นการยึดทรัพย์ซ้ำกันในระหว่างเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษา ด้วยกันในทรัพย์รายเดียวกันของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนการที่เจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรยึดไว้ก่อนอันเป็นการยึดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12นั้น ไม่ใช่เป็นการยึดของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงทำการยึดได้ไม่เป็นการยึดซ้ำและการที่เจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรทำการยึดก็ไม่ทำให้ทรัพย์ที่ยึดกลายเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินเพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ยึดยังเป็นของจำเลยจนกว่าจะได้ขายทอดตลาดไป ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เป็นแต่เพียงให้อำนาจพิเศษแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอที่จะยึดทรัพย์สินของผู้ค้างชำระภาษีอากรเพื่อขายทอดตลาดได้โดยไม่ต้องฟ้องต่อศาลเท่านั้น ไม่ได้บัญญัติห้ามไว้ว่าเมื่อยึดมาแล้วมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ทำการยึดหรือห้ามศาลไม่ให้สั่งขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด ฉะนั้น เมื่อทรัพย์ที่ยึดไว้ยังไม่ได้ทำการขายทอดตลาดไป เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ย่อมทำการยึดเพื่อดำเนินการตามคำสั่งศาลได้ ส่วนสิทธิของกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร ในการที่จะได้รับชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่ค้างมีอยู่อย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามบทกฎหมายที่มีบัญญัติไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ซ้ำ: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา vs. เจ้าพนักงานบังคับคดีตามกฎหมายภาษีอากร
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ที่ห้ามมิให้ยึดซ้ำนั้น จะต้องเป็นการยึดทรัพย์ซ้ำกันในระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกันในทรัพย์รายเดียวกันของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนการที่เจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรยึดไว้ก่อนอันเป็นการยึดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 นั้น ไม่ใช่เป็นการยึดของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงทำการยึดได้ไม่เป็นการยึดซ้ำ และการที่เจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรทำการยึดก็ไม่ทำให้ทรัพย์ที่ยึดกลายเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน เพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ยึดยังเป็นของจำเลยจนกว่าจะได้ขายทอดตลาดไป ประมวลรัษฎากรมาตรา 12 เป็นแต่เพียงให้อำนาจพิเศษแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอที่จะยึดทรัพย์สินของผู้ค้างชำระภาษีอากรเพื่อขายทอดตลาดได้โดยไม่ต้องฟ้องต่อศาลเท่านั้น ไม่ได้บัญญัติห้ามไว้ว่าเมื่อยึดมาแล้วมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ทำการยึดหรือห้ามศาลไม่ให้สั่งขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด ฉะนั้น เมื่อทรัพย์ที่ยึดไว้ยังไม่ได้ทำการขายทอดตลาดไป เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ย่อมทำการยึดเพื่อดำเนินการตามคำสั่งศาลได้ ส่วนสิทธิของกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรในการที่จะได้รับชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่ค้างมีอยู่อย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายที่มีบัญญัติไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีซ้ำเกินกำหนดเวลา และการยึดทรัพย์ตามอำนาจประมวลรัษฎากร
คดีก่อน โจทก์บรรยายฟ้องว่า การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของอธิบดีกรมสรรพากรที่เรียกเก็บภาษีจากโจทก์อย่างโจทก์ทำการค้าเองโดยตรงไม่ถูกต้อง เพราะการค้าของโจทก์ในปี 2499 - 2500 เป็นอย่างตัวแทนของบริษัท ฮ. ขอให้แสดงว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานเป็นคำสั่งที่มิชอบ โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าอย่างเป็นผู้ขาย ในคดีหลัง โจทก์บรรยายฟ้องเป็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์ทำการค้าอย่างเป็นตัวแทน และขอให้แสดงว่าการค้าโจทก์รายเดียวกันนี้เป็นเพียงนายหน้าตัวแทน ฟ้องของโจทก์ทั้ง 2 คดีจึงมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า การฟ้องของโจทก์สำหรับปี 2499 - 2500 เป็นการค้ามิใช่โดยตรง หากเป็นเพียงตัวแทน การที่ฟ้องโจทก์ในคดีก่อนถูกยกฟ้องไป ก็เพราะโจทก์หมดสิทธิฟ้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ก็มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าโจทก์หมดสิทธิฟ้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างเดียวหรือไม่ ซึ่งในคดีหลังจำเลยก็ให้การเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ฟ้องเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์คดีหลังจึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การยึดทรัพย์ตามประมวลรัษฎากรมิใช่เป็นกระบวนชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(1) แต่เป็นการยึดทรัพย์ตามอำนาจที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้
อำนาจในการที่จะสั่งยึดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเป็นอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ หาใช่เป็นเรื่องตัวแทนตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่
เมื่อข้อเท็จจริงตามโจทก์ฟ้องประกอบคำให้การจำเลยและสำนวนคดีก่อนเป็นอันวินิจฉัยได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการสืบพยานตามที่โจทก์แถลงไว้ต่อศาลในวันนัดชี้สองสถานต่อไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดสิทธิฟ้องคดีภาษีซ้ำ – ยึดทรัพย์ตามอำนาจประมวลรัษฎากร – ประเด็นซ้ำคดีก่อน
คดีก่อนโจทก์บรรยายฟ้องว่า การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของอธิบดีกรมสรรพากรที่เรียกเก็บภาษีจากโจทก์อย่างโจทก์ทำการค้าเองโดยตรงไม่ถูกต้อง เพราะการค้าของโจทก์ในปี 2499-2500 เป็นอย่างตัวแทนของบริษัท ฮ. ขอให้แสดงว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานเป็นคำสั่งที่มิชอบ โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าอย่างเป็นผู้ขาย ในคดีหลัง โจทก์บรรยายฟ้องเป็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์ทำการค้าอย่างเป็นตัวแทนและขอให้แสดงว่าการค้าของโจทก์รายเดียวกันนี้เป็นเพียงนายหน้าตัวแทน ฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีจึงมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า การฟ้องของโจทก์สำหรับปี 2499-2500 เป็นการค้ามิใช่โดยตรง หากเป็นเพียงตัวแทน การที่ฟ้องโจทก์ในคดีก่อนถูกยกฟ้องไป ก็เพราะโจทก์หมดสิทธิฟ้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ก็มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าโจทก์หมดสิทธิฟ้อง ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างเดียวหรือไม่ ซึ่งในคดีหลังจำเลยก็ให้การเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ฟ้องเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ฟ้องโจทก์คดีหลังจึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การยึดทรัพย์ตามประมวลรัษฎากรมิใช่เป็นกระบวนชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148(1) แต่เป็นการยึดทรัพย์ตามอำนาจที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้
อำนาจในการที่จะสั่งยึดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรเป็นอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้โดยเฉพาะหาใช่เป็นเรื่องตัวแทนตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่
เมื่อข้อเท็จจริงตามโจทก์ฟ้องประกอบคำให้การจำเลยและสำนวนคดีก่อนเป็นอันวินิจฉัยได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการสืบพยานตามที่โจทก์แถลงไว้ต่อศาลในวันนัดชี้สองสถานต่อไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยึดทรัพย์ภาษีอากรอยู่ภายใต้กฎหมายล้มละลาย ทรัพย์สินยังเป็นของลูกหนี้จนกว่าจะมีการขายทอดตลาด
อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายล้มละลาย ฉะนั้น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ยึดทรัพย์ของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระค่าภาษีอากรที่ค้าง แต่ยังไม่ทันได้ขาย จำเลยได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เสียก่อนเช่นนี้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นจึงยังคงอยู่แก่จำเลย และเป็นทรัพย์ที่จำเลยมีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายซึ่งตามกฎหมายย่อมเป็นทรัพย์ที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ไม่มีทางที่จะถือได้ว่าทรัพย์นั้นได้ตกเป็นของแผ่นดินไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบุริมสิทธิภาษีอากร: ระยะเวลาค้างชำระและปีที่ยื่นคำร้องมีผลต่อสิทธิเรียกร้องของรัฐ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256 บัญญัติว่าบุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรนั้น ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากร ในที่ดินทรัพย์สินหรือค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งนั้น ต้องเข้าใจว่าเป็นปีที่ยื่นคำร้องและปีนั้นมีการค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่ด้วย ถ้าปีถัดขึ้นไปอีกปีหนึ่งยังมีการค้างชำระอยู่อีก รัฐบาลก็มีบุริมสิทธิเพียง 2 ปี ดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบุริมสิทธิ์ภาษีอากร: ระยะเวลาค้างชำระและปีที่ยื่นคำร้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256. บัญญัติว่าบุริมสิทธิ์ในมูลค่าภาษีอากรนั้น ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากรในที่ดินทรัพย์สินหรือค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งนั้น ต้องเข้าใจว่าเป็นปีที่ยื่นคำร้องและปีนั้นมีการค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่ด้วยถ้าปีถัดขึ้นไปอีกปีหนึ่งยังมีการค้างชำระอยู่อีกรัฐบาลก็มีบุริมสิทธิเพียง 2 ปีดังกล่าวเท่านั้น
of 13