พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10866/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำทรัพย์สินส่วนตัวลงเป็นหุ้นในห้างหุ้นส่วน ทำให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของห้างหุ้นส่วน แม้จะยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์
โจทก์และ ธ. ซึ่งมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาทได้นำที่ดินพิพาทมาลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. แม้จะไม่มีการจดทะเบียนโอนในโฉนดที่ดิน ที่ดินพิพาทก็ย่อมเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. เป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้าง จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จึงมีคำสั่งให้อายัดและยึดที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10252/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและจำนองที่ดินเนื่องจากการฉ้อฉล โดยพิจารณาถึงความสุจริตของผู้รับจำนอง
เอกสารหมาย จ. 4 เป็นเอกสารที่โจทก์อ้างอิงและยื่นต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามข้อ 15 แห่งข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2544 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ดังนั้น แม้ไม่มีพยานโจทก์ปากใดเบิกความถึงเอกสาร ดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถหยิบยกเอกสารดังกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
เอกสารหมาย จ. 4 เป็นหนังสือทั่วไปที่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 แจ้งไปยังกรรมการผู้จัดการ ของธนาคารจำเลยที่ 4 รวมทั้งแจ้งถึงผู้จัดการธนาคารอื่นว่า จำเลยที่ 1 และบุคคลอื่นตามบัญชีรายชื่อผู้ค้างชำระภาษีอากรดังกล่าว มีบัญชีเงินฝากอยู่ที่ธนาคารหรือไม่ หากมีเป็นเงินฝากประเภทใด เลขที่บัญชีใด จำนวนเท่าใด แล้วแจ้งให้สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 ทราบ โดยไม่ได้แจ้งว่าโจทก์กำลังจะบังคับชำระหนี้ที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 จำนองไว้กับจำเลยที่ 4 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 รู้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้าง ทำให้โจทก์เสียเปรียบ ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้จดทะเบียนรับจำนอง ที่ดินพิพาทโดยมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเลยที่ 4 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริต ก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอนการฉ้อฉล การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238
เอกสารหมาย จ. 4 เป็นหนังสือทั่วไปที่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 แจ้งไปยังกรรมการผู้จัดการ ของธนาคารจำเลยที่ 4 รวมทั้งแจ้งถึงผู้จัดการธนาคารอื่นว่า จำเลยที่ 1 และบุคคลอื่นตามบัญชีรายชื่อผู้ค้างชำระภาษีอากรดังกล่าว มีบัญชีเงินฝากอยู่ที่ธนาคารหรือไม่ หากมีเป็นเงินฝากประเภทใด เลขที่บัญชีใด จำนวนเท่าใด แล้วแจ้งให้สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 ทราบ โดยไม่ได้แจ้งว่าโจทก์กำลังจะบังคับชำระหนี้ที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 จำนองไว้กับจำเลยที่ 4 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 รู้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้าง ทำให้โจทก์เสียเปรียบ ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้จดทะเบียนรับจำนอง ที่ดินพิพาทโดยมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเลยที่ 4 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริต ก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอนการฉ้อฉล การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3766/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลสิทธิซื้อขาย vs. บุริมสิทธิภาษีอากร: การยึดทรัพย์หลังสัญญาซื้อขาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 วางหลักไว้ว่า การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นย่อมไม่กระทบถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายนั้น คำว่าสิทธิอื่น ๆต้องเป็นสิทธิที่เทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิ แต่กรณีของโจทก์แม้จะได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนที่นายอำเภอจะมีคำสั่งให้ยึดที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าว และโจทก์ได้ชำระราคาให้จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่สิทธิของโจทก์เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาดังกล่าวได้ก่อนบุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 เท่านั้น ต่างจากหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อรัฐ เป็นหนี้บุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253 ทั้งขณะที่นายอำเภอมีคำสั่งให้ยึดที่ดินและบ้านพิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระภาษีนั้น ที่ดินและบ้านพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 อยู่ ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจจดทะเบียนซื้อขายโอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12 ทวิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินและบ้านพิพาทดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3691/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ภาษีอากรค้าง: การเฉลี่ยชำระตามสัดส่วนและลำดับความสำคัญของหนี้
กรณีไม่อาจนำคำสั่งของกรมสรรพากรที่ ป. 65/2539 เรื่อง การชำระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับบางส่วน ตามข้อ 1 (3) ที่กำหนดให้การชำระภาษีและเงินเพิ่มต้องมีการเฉลี่ยตามสัดส่วนของจำนวนภาษี เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับนั้นมาใช้ได้ เพราะมิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป แต่เป็นเพียงคำสั่งภายในของโจทก์แจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมาชำระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับ ตามประมวลรัษฎากรบางส่วนโดยมิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้งการประเมินภาษีเท่านั้น จึงไม่อาจใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ต้องดำเนินการตาม
ภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับต่างก็เป็นภาษีอากรค้างตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคแรก การนำเงินฝากในธนาคารอันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ไปหักออกจากหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็เป็นการกระทำเพื่อให้กรมสรรพากรซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 นั่นเอง แต่เมื่อหนี้ภาษีอากรค้างดังกล่าวมีหลายจำนวน และกรณีมีข้อสงสัยว่าจะต้องนำเงินตามบัญชีเงินฝากไปชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเบี้ยปรับ กรณีจึงตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ลูกหนี้ ผู้ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ด้วยการนำเงินฝากดังกล่าวไปหักหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มก่อน
ภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับต่างก็เป็นภาษีอากรค้างตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคแรก การนำเงินฝากในธนาคารอันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ไปหักออกจากหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็เป็นการกระทำเพื่อให้กรมสรรพากรซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 นั่นเอง แต่เมื่อหนี้ภาษีอากรค้างดังกล่าวมีหลายจำนวน และกรณีมีข้อสงสัยว่าจะต้องนำเงินตามบัญชีเงินฝากไปชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเบี้ยปรับ กรณีจึงตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ลูกหนี้ ผู้ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ด้วยการนำเงินฝากดังกล่าวไปหักหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3691/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับ โดยการหักจากทรัพย์สินของผู้ถูกบังคับคดี ศาลตีความตามประโยชน์ของผู้เสียภาษี
ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 89/2 เบี้ยปรับและเงินเพิ่มในหมวดนี้ซึ่งหมายถึงในหมวดภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่มก็เป็นภาษีอากรประเมินตามมาตรา 77 และมาตรา 12 วรรคแรก บัญญัติว่า ภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่งตามลักษณะนี้ เมื่อถึงกำหนดชำระถ้ามิได้เสียหรือนำส่งให้ถือเป็นภาษีอากรค้างดังนั้น การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งรวมทั้งเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ เมื่อถึงกำหนดชำระจึงย่อมถือว่าเป็นหนี้ภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 วรรคแรกทั้งสิ้น
หนี้ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับต่างก็เป็นภาษีอากรค้างตามความหมายของประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12 วรรคแรก และการที่นำเงินฝากในธนาคารอันเป็นทรัพย์สินของจำเลยไปหักออกจากหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มก็เป็นการกระทำเพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 วรรคสอง แต่เมื่อหนี้ภาษีอากรค้างมีหลายจำนวนและกรณีที่มีข้อสงสัยว่าจะต้องนำเงินตามบัญชีเงินฝากไปชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเงินเพิ่มหรือเบี้ยปรับ กรณีจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยผู้ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11ด้วยการนำเงินฝากดังกล่าวไปหักหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มก่อน
คำสั่งกรมสรรพากรมิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป แต่เป็นเพียงคำสั่งภายในของโจทก์แจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมาชำระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากรฯ บางส่วนโดยมิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้งการประเมินภาษีเท่านั้น กรณีหาอาจใช้บังคับแก่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ต้องดำเนินการดังกล่าวไม่
หนี้ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับต่างก็เป็นภาษีอากรค้างตามความหมายของประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12 วรรคแรก และการที่นำเงินฝากในธนาคารอันเป็นทรัพย์สินของจำเลยไปหักออกจากหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มก็เป็นการกระทำเพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 วรรคสอง แต่เมื่อหนี้ภาษีอากรค้างมีหลายจำนวนและกรณีที่มีข้อสงสัยว่าจะต้องนำเงินตามบัญชีเงินฝากไปชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเงินเพิ่มหรือเบี้ยปรับ กรณีจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยผู้ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11ด้วยการนำเงินฝากดังกล่าวไปหักหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มก่อน
คำสั่งกรมสรรพากรมิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป แต่เป็นเพียงคำสั่งภายในของโจทก์แจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมาชำระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากรฯ บางส่วนโดยมิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้งการประเมินภาษีเท่านั้น กรณีหาอาจใช้บังคับแก่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ต้องดำเนินการดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5655/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอายัดทรัพย์สิน-ค่าจ้าง: ผลกระทบต่อลูกจ้าง-นายจ้าง และอำนาจศาลแรงงาน
อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางได้มีคำวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคท้าย อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า คดีอยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางหรือไม่ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่งว่า "อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 ทศ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงมีคำสั่งให้อายัดทรัพย์สินของบุคคลที่มีอยู่ในความครอบครองจำเลยทั้งหมดมีกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่ลงในคำสั่งอายัด" ซึ่งวิธีอายัดทรัพย์สินให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม และ ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ กับระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอายัดทรัพย์สินตามความในมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร พ.ศ. 2539 ข้อ 15 ได้ระบุเรื่องผลการอายัดไว้ในข้อ (2) (ก) ว่า "สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงิน การอายัดสิทธิเรียกร้องแห่งรายได้เป็นคราว ๆ ซึ่งรวมถึงจำนวนเงินที่ถึงกำหนดชำระภายหลังการอายัดนั้นด้วย แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาว่าคำสั่งอายัดนั้นรวมถึงเงินที่ต้องชำระภายหลังการอายัดด้วยหรือไม่" เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยมีหนังสืออายัดค่าจ้างของโจทก์ ซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยเป็นคราว ๆ โดยมิได้ระบุยกเว้นเงินที่จะถึงกำหนดชำระแก่โจทก์ภายหลังการอายัด คำสั่งอายัดจึงรวมถึงค่าจ้างที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยภายหลังการอายัดด้วยจนกว่าคำสั่งอายัดจะสิ้นผล เมื่อต่อมาศาลอาญาได้มีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาการอายัดทรัพย์สินของโจทก์ออกไปอีก 180 วัน ระยะเวลาการอายัดที่ศาลอาญาขยายให้ดังกล่าวมีผลครอบคลุมถึงค่าจ้างในระยะเวลาที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างและดอกเบี้ยตามที่ฟ้องให้แก่โจทก์
ธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่งว่า "อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 ทศ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงมีคำสั่งให้อายัดทรัพย์สินของบุคคลที่มีอยู่ในความครอบครองจำเลยทั้งหมดมีกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่ลงในคำสั่งอายัด" ซึ่งวิธีอายัดทรัพย์สินให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม และ ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ กับระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอายัดทรัพย์สินตามความในมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร พ.ศ. 2539 ข้อ 15 ได้ระบุเรื่องผลการอายัดไว้ในข้อ (2) (ก) ว่า "สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงิน การอายัดสิทธิเรียกร้องแห่งรายได้เป็นคราว ๆ ซึ่งรวมถึงจำนวนเงินที่ถึงกำหนดชำระภายหลังการอายัดนั้นด้วย แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาว่าคำสั่งอายัดนั้นรวมถึงเงินที่ต้องชำระภายหลังการอายัดด้วยหรือไม่" เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยมีหนังสืออายัดค่าจ้างของโจทก์ ซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยเป็นคราว ๆ โดยมิได้ระบุยกเว้นเงินที่จะถึงกำหนดชำระแก่โจทก์ภายหลังการอายัด คำสั่งอายัดจึงรวมถึงค่าจ้างที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยภายหลังการอายัดด้วยจนกว่าคำสั่งอายัดจะสิ้นผล เมื่อต่อมาศาลอาญาได้มีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาการอายัดทรัพย์สินของโจทก์ออกไปอีก 180 วัน ระยะเวลาการอายัดที่ศาลอาญาขยายให้ดังกล่าวมีผลครอบคลุมถึงค่าจ้างในระยะเวลาที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างและดอกเบี้ยตามที่ฟ้องให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดอายุความบังคับชำระหนี้ภาษีอากร ทำให้ไม่สามารถฟ้องล้มละลายได้
หนี้ภาษีอากรที่เป็นภาษีอากรค้าง อธิบดีกรมสรรพากรผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องขอให้ศาลออกหมายยึดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 และมาตรา 30แต่ต้องดำเนินการภายใน 10 ปี นับแต่วันที่เกิดสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อจำเลยได้รับแบบแจ้งการประเมินในวันที่ 31 สิงหาคม 2530 จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินการที่กรมสรรพากรโจทก์นำหนี้ภาษีอากรค้างมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2541 เป็นการล่วงเลยระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้แล้ว ส่วนการที่จำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนเป็นเพียงขั้นตอนในการบังคับชำระหนี้และวิธีการในการชำระหนี้เท่านั้น ไม่มีผลทำให้ระยะเวลาในการบังคับชำระหนี้ขยายออกไป โจทก์หมดสิทธิในการบังคับชำระหนี้แล้วจึงไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและผลของการแจ้งการประเมินภาษี การอายัดทรัพย์สิน และการฟ้องล้มละลาย
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี 2526 และ 2527 ถือว่าเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว เป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เพราะประมวลรัษฎากรมาตรา 12 ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีจึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(5) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินกำหนดให้จำเลยชำระเงินค่าภาษีอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินโดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2530 อายุความจึงเริ่มต้นนับใหม่เมื่อพ้น 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2530 ซึ่งอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
การยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม จึงต้องใช้อำนาจภายในกำหนดเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 นับแต่วันที่อาจใช้อำนาจตามมาตรานี้ได้ แต่กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามมาตรา 271 มิใช่อายุความอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้การที่โจทก์มีคำสั่งอายัดเงินมัดจำขวดและลังที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากบริษัท บ. และบริษัทดังกล่าวส่งเงินอายัดให้โจทก์เมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2534 ก็เป็นเพียงขั้นตอนในการบังคับคดีเท่านั้นไม่ใช่การกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 18มิถุนายน 2541 เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2530ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้วโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลย จึงไม่อาจนำหนี้มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้
การยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม จึงต้องใช้อำนาจภายในกำหนดเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 นับแต่วันที่อาจใช้อำนาจตามมาตรานี้ได้ แต่กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามมาตรา 271 มิใช่อายุความอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้การที่โจทก์มีคำสั่งอายัดเงินมัดจำขวดและลังที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากบริษัท บ. และบริษัทดังกล่าวส่งเงินอายัดให้โจทก์เมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2534 ก็เป็นเพียงขั้นตอนในการบังคับคดีเท่านั้นไม่ใช่การกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 18มิถุนายน 2541 เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2530ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้วโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลย จึงไม่อาจนำหนี้มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลาย: การแจ้งประเมินภาษีและการบังคับคดีทำให้สะดุดหยุดลง แต่มีกรอบเวลา 10 ปี
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี 2526 และ 2527 ถือว่า เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว เป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เพราะประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี จึงเป็นเหตุให้ อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินกำหนดให้จำเลยชำระเงินค่าภาษีอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินโดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2530 อายุความ จึงเริ่มต้นนับใหม่เมื่อพ้น 30 วัน นับแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2530 ซึ่งอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
การยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ให้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. โดยอนุโลมจึงต้องใช้อำนาจภายในกำหนดเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 นับแต่วันที่อาจใช้อำนาจตามมาตรานี้ได้ แต่กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามมาตรา 271 มิใช่อายุความอันจะอยู่ในบังคับแห่ง บทบัญญัติว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ. จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ การที่โจทก์มี คำสั่งอายัดเงินมัดจำขวดและลังที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากบริษัท บ. และบริษัทดังกล่าวส่งเงินอายัดให้โจทก์เป็นเพียง ขั้นตอนในการบังคับคดีเท่านั้น ไม่ใช่การกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี ไม่ทำให้อายุความ สะดุดหยุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกิน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิ ที่จะบังคับคดีแก่จำเลย จึงไม่อาจนำหนี้มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้
การยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ให้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. โดยอนุโลมจึงต้องใช้อำนาจภายในกำหนดเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 นับแต่วันที่อาจใช้อำนาจตามมาตรานี้ได้ แต่กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามมาตรา 271 มิใช่อายุความอันจะอยู่ในบังคับแห่ง บทบัญญัติว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ. จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ การที่โจทก์มี คำสั่งอายัดเงินมัดจำขวดและลังที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากบริษัท บ. และบริษัทดังกล่าวส่งเงินอายัดให้โจทก์เป็นเพียง ขั้นตอนในการบังคับคดีเท่านั้น ไม่ใช่การกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี ไม่ทำให้อายุความ สะดุดหยุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกิน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิ ที่จะบังคับคดีแก่จำเลย จึงไม่อาจนำหนี้มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8296/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ภาษีค้างชำระ แม้จะมีการอุทธรณ์ แต่ไม่ทุเลาการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องต่อศาลว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการยึดและอายัดทรัพย์ของโจทก์ซึ่งไม่มีกฎหมายระบุให้ต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนฟ้องคดีเหมือนการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษี ซึ่งโจทก์จะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯประกอบมาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากร การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์เพราะเห็นว่าเป็นการข้ามขั้นตอนจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อพิเคราะห์คำฟ้องของโจทก์แล้ว ศาลฎีกาสามารถวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยอ้างแต่เพียงว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้มีเงินได้ตามการประเมินเท่านั้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ตามมาตรา 31 แห่งประมวลรัษฎากรนั้น การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ดังนั้น เมื่อปรากฏจากคำฟ้องว่าโจทก์ไม่ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการประเมินภายในกำหนดเวลา ค่าภาษีดังกล่าวจึงถือเป็นภาษีอากรค้างตามมาตรา 12อธิบดีของจำเลยย่อมมีอำนาจสั่งยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ตามมาตรา 12 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร การที่จำเลยสั่งให้เจ้าพนักงานของจำเลยยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ตามฟ้องจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยอ้างแต่เพียงว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้มีเงินได้ตามการประเมินเท่านั้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ตามมาตรา 31 แห่งประมวลรัษฎากรนั้น การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ดังนั้น เมื่อปรากฏจากคำฟ้องว่าโจทก์ไม่ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการประเมินภายในกำหนดเวลา ค่าภาษีดังกล่าวจึงถือเป็นภาษีอากรค้างตามมาตรา 12อธิบดีของจำเลยย่อมมีอำนาจสั่งยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ตามมาตรา 12 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร การที่จำเลยสั่งให้เจ้าพนักงานของจำเลยยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ตามฟ้องจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว