คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 12

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8296/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ทางภาษี: การอุทธรณ์ไม่ทุเลาการบังคับคดี เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดทรัพย์ค้างชำระได้
โจทก์บรรยายฟ้องเป็นสองตอน ตอนแรกเป็นการบรรยายเกี่ยวกับการที่โจทก์ถูกประเมินให้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมว่าโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งในขณะที่ฟ้องคดีนี้เรื่องยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตอนที่สองโจทก์บรรยายว่า ภายหลังการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว จำเลยมอบให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยยึดที่ดินของโจทก์ 3 แปลง กับอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ และต่อมาได้ประกาศขายทอดตลาดที่ดิน ซึ่งโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่มีสิทธิยึด และอายัดทรัพย์ของโจทก์ เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้มีเงินได้ที่แท้จริง จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่หรือวินิจฉัยสั่งให้ดำเนินการยึดทรัพย์ของโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร ขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินและเพิกถอนคำสั่งอายัดเงินในบัญชีของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องต่อศาลว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการยึดและอายัดทรัพย์ของโจทก์ ซึ่งไม่มีกฎหมายระบุให้ต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนฟ้องคดีเหมือนการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษี ซึ่งโจทก์จะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ประกอบมาตรา 30 (2) แห่งประมวลรัษฎากร การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์เพราะ เห็นว่าเป็นการข้ามขั้นตอนตามมาตรา 30 (2) จึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยอ้างแต่เพียงว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้มีเงินได้ตามการประเมินเท่านั้น ซึ่งปัญหาว่าโจทก์เป็นผู้มีเงินได้ดังกล่าวหรือไม่ ยังไม่มีข้อยุติเพราะยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร เมื่อปรากฏว่า โจทก์ไม่ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการประเมินภายในกำหนดเวลา ค่าภาษีดังกล่าวจึงถือเป็นภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีของจำเลยย่อมมีอำนาจสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ตามมาตรา 12 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร การที่จำเลยสั่งให้เจ้าพนักงานของจำเลยยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ตามฟ้อง จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับชำระหนี้ภาษีอากร 10 ปี และผลกระทบต่อการยึดทรัพย์หลังพ้นกำหนด
การใช้วิธีการยึดอายัดทรัพย์สินและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 นั้นมีกำหนดเวลา 10 ปี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2526ซึ่งถือว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทราบการประเมินแล้วไม่ชำระ จำเลยที่ 1ชอบที่จะใช้อำนาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี การที่จำเลยที่ 1 กับพวกยึดทรัพย์สินของโจทก์ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 1 ย่อมหมดสิทธิที่จะใช้วิธีการนี้บังคับแก่โจทก์
กำหนดเวลาบังคับชำระหนี้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่จะบังคับแก่ผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากร ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่อายุความ กรณีไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับชำระภาษีอากร 10 ปี: สิทธิเรียกร้องของเจ้าพนักงานประเมิน
การใช้วิธีการยึดอายัดทรัพย์สินและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 นั้น มีกำหนดเวลา10 ปี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 271โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2526 ซึ่งถือว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทราบการประเมินแล้วไม่ชำระ จำเลยที่ 1 ชอบที่จะใช้อำนาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี การที่จำเลยที่ 1 กับพวกยึดทรัพย์สินของโจทก์ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 1 ย่อมหมดสิทธิที่จะใช้วิธีการนี้บังคับแก่โจทก์
กำหนดเวลาบังคับชำระหนี้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12วรรคสี่ ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่จะบังคับแก่ผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากร ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. จึงไม่ใช่อายุความกรณีไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ภาษีอากรเกิน 10 ปี และผลกระทบต่ออายุความ การฟ้องล้มละลายไม่สะดุดอายุความ
การใช้วิธีการยึดทรัพย์สินและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12มีกำหนด 10 ปี ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2526 ถือว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ไม่ชำระภาษีอากรตามการประเมิน จำเลยที่ 1 มีอำนาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี การที่จำเลยที่ 1ยึดทรัพย์สินโจทก์ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาแล้วจึงหมดสิทธิจะใช้วิธีการนี้กับโจทก์
ก่อนที่จะพ้น 10 ปี นับแต่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมิน จำเลยที่ 1ฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2536 นั้น ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(2) เนื่องจากกำหนดเวลาบังคับชำระหนี้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่จะบังคับแก่ผู้ที่ค้างชำระภาษีอากร ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่อายุความ กรณีไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ภาษี, การสะดุดหยุดของอายุความ, การรับสภาพหนี้, และการฟ้องร้องภายใน 2 ปี
จำเลยได้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ค้างชำระให้แก่เจ้าพนักงานของโจทก์เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2529 มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ 16 ตุลาคม2540 และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ
หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2524 ซึ่งจำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2529 และวันที่ 18มีนาคม 2529 จำเลยไม่ได้ชำระ เมื่อนับถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2540และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540 เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้วคดีของโจทก์ส่วนนี้เป็นอันขาดอายุความ
อายุความจะสะดุดหยุดลงได้ก็เมื่อมีกรณีต้องด้วยมาตรา 193/14แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนการยึดทรัพย์ตามประมวลรัษฎากรหาได้เป็นการกระทำอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่
จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือยอมรับชำระหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์ หนังสือดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้รับสภาพความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/28 วรรคสอง ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าว มีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/35 จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพความรับผิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540 เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ภาษีและผลของการยอมรับหนี้เป็นหนังสือ
จำเลยได้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ค้างชำระให้แก่เจ้าพนักงานของโจทก์เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2529 มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2540 และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้วคดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ
หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2524 ซึ่งจำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2529 และวันที่ 18 มีนาคม 2529จำเลยไม่ได้ชำระ เมื่อนับถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2540 และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว คดีของโจทก์ส่วนนี้เป็นอันขาดอายุความ
อายุความจะสะดุดหยุดลงได้ก็เมื่อมีกรณีต้องด้วยมาตรา 193/14แห่ง ป.พ.พ. ส่วนการยึดทรัพย์ตาม ป.รัษฎากรหาได้เป็นการกระทำอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่
จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือยอมรับชำระหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์ หนังสือดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้รับสภาพความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/28 วรรคสอง ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าว มีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/35 จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพความรับผิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540 เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ภาษี การรับสภาพหนี้ และผลของการยึดทรัพย์
จำเลยได้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ค้างชำระให้แก่เจ้าพนักงานของโจทก์เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2529 มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันดังกล่าวแต่เมื่อนับถึงวันที่ 16 ตุลาคม2540 และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ
หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2524 ซึ่งจำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2529 และวันที่ 18 มีนาคม2529 จำเลยไม่ได้ชำระ เมื่อนับถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2540 และวันที่ 11พฤศจิกายน 2540 เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว คดีของโจทก์ส่วนนี้เป็นอันขาดอายุความ
อายุความจะสะดุดหยุดลงได้ก็เมื่อมีกรณีต้องด้วยมาตรา 193/14แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนการยึดทรัพย์ตามประมวลรัษฎากรหาได้เป็นการกระทำอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่
จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือยอมรับชำระหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์หนังสือดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้รับสภาพความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/28 วรรคสอง ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/35

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7939/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงาน และอำนาจของศาลในการปรับปรุงยอดรายรับเมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้
คดีนี้เจ้าพนักงานได้ทำการประเมินว่าในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 จำเลยมียอดรายรับจากมูลค่าสินค้าส่งออกกับเงินชดเชยในรูปบัตรภาษีและมูลค่าการส่งออกรวมเป็นรายรับทั้งสิ้น 234,333,578 บาท แต่จำเลยไม่นำบัญชีและเอกสารไปให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบไต่สวน เจ้าพนักงานประเมินจึงใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 71(1) ประเมินให้จำเลยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ตามมาตรา 27จำเลยไม่ได้โต้แย้งการประเมินและไม่ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 30 ซึ่งมีผลทำให้จำเลยไม่อาจนำคดีมาฟ้องศาลเพื่อโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานของโจทก์และทำให้หนี้ภาษีอากรที่ถูกประเมินดังกล่าวเป็นภาษีอากรค้างอันจะถูกโจทก์บังคับชำระได้ตามมาตรา 12 เท่านั้นแต่เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ดังกล่าวโจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ด้วยการนำพยานหลักฐานเข้าสืบ เพื่อให้รับฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีรายรับเป็นเงินจำนวน 234,333,578 บาทตามการประเมิน แต่รับฟังได้เพียงว่าจำเลยมีรายรับเพียง 222,404,146.96 บาทศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจปรับปรุงยอดรายรับและแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5551/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ภาษีอากรค้างในคดีล้มละลาย การนำทรัพย์สินลูกหนี้มาชำระหนี้ภาษีและเงินเพิ่ม
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ทวิ วรรคแรก กำหนดให้ถือว่า เงินเพิ่มตามมาตรา 27 เป็นเงินภาษี และมาตรา 12 วรรคแรก กำหนดว่าภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่ง เมื่อถึงกำหนด ชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียหรือนำส่งให้ถือเป็นภาษีอากรค้าง ดังนั้น การที่ลูกหนี้ค้างชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำ ปี 2528 รวมทั้งเงินเพิ่ม เนื่องจากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตาม กำหนดและเงินเพิ่มใหม่ จึงถือเป็นหนี้ภาษีอากรค้างตาม ความหมายของมาตรา 12 วรรคแรกทั้งสิ้น การที่เจ้าหนี้ นำเงินฝากในธนาคารอันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ไปหักออกจาก หนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นการกระทำเพื่อให้เจ้าหนี้ ได้รับชำระภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 วรรคสอง นั่นเอง หาใช่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใดไม่ แม้เจ้าหนี้จะอ้างคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.65/2539 เรื่อง การชำระภาษี เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับบางส่วน ข้อ 1(3) ที่ระบุว่า การชำระภาษีและเงินเพิ่มต้องมี การเฉลี่ยตามสัดส่วนของจำนวนภาษีและเงินเพิ่มนั้น ก็เป็น เพียงคำสั่งภายในของกรมสรรพากรเจ้าหนี้ที่แจ้งให้ เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีผู้มี หน้าที่เสียภาษีมาชำระหนี้ เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับ ตามประมวลรัษฎากรบางส่วนมิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้ง การประเมินภาษีเท่านั้น มิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคล ทั่วไป ดังนั้น จึงไม่อาจใช้บังคับแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ต้องดำเนินตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5551/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหนี้ภาษีอากรค้างชำระจากทรัพย์สินลูกหนี้ และการใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากรกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคล เงินเพิ่ม และเงินเพิ่มใหม่ที่ลูกหนี้ค้างชำระนั้น ต่างก็เป็นภาษีอากรค้างตามความหมายของ ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคแรกและการที่เจ้าหนี้นำเงินฝากในธนาคารเจ้าหนี้อันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ ไปหักออกจากหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็เป็นการกระทำเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 วรรคสอง นั่นเอง หาใช่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร
การชำระภาษีและเงินเพิ่มต้องมีการเฉลี่ยตามสัดส่วนของจำนวนภาษีและเงินเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.65/2539 เรื่องการชำระภาษี เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับบางส่วน ข้อ 1 (3) นั้น คำสั่งดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป เป็นเพียงคำสั่งภายในของกรมสรรพากรเจ้าหนี้แจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมาชำระหนี้ เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากรบางส่วนมิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้งการประเมินภาษีเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่อาจใช้บังคับแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ต้องดำเนินการตาม
of 13