คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 12

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7729/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยึดทรัพย์เพื่อชำระภาษีอากร: นายอำเภอชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ขอขยายเวลาอุทธรณ์
นายอำเภอมีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12ที่จะสั่งยึดที่ดินของโจทก์โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจในเหตุที่ว่านี้มีสิทธิขอให้ศาลใช้วิธีคุ้มครองโดยให้งดการบังคับคดีของกรมสรรพากรจำเลยในระหว่างขอขยายเวลาอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือในระหว่างพิจารณาคดีของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 โจทก์จึงขอให้งดการขายทอดตลาดที่ดินของโจทก์ในระหว่างนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7729/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยึดทรัพย์สินค่าภาษีค้างชำระของนายอำเภอและการคุ้มครองการบังคับคดี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 นายอำเภอแห่งท้องที่มีอำนาจสั่งยึดทรัพย์สินที่ดินของโจทก์ผู้ต้องรับผิดค่าภาษีอากรค้างได้ โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจในเหตุที่ว่านี้มีสิทธิขอให้ศาลใช้วิธีคุ้มครองโดยให้งดการบังคับคดีของกรมสรรพากรในระหว่างขอขยายเวลาอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือในระหว่างพิจารณาคดีของศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 264 แต่อย่างใด ดังนั้น การขายทอดตลาดที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือตามที่นายอำเภอสั่งยึดตามฟ้อง ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 12 จึงอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอ เพียงแต่นายอำเภอจะต้องระมัดระวังใช้อำนาจมิให้ขัดกับคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งจะมีมาในภายหลังเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนที่ดินหลังการขายทอดตลาด แม้มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมจากคดีแพ่ง ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนคำสั่ง
การที่จำเลยทั้งสามนำที่ดินจำนวน 23 แปลง ของจำเลยที่ 2ที่ผู้ร้องซื้อจากการขายทอดตลาดรวมอยู่ด้วยมาเป็นหลักประกันการทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้น แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวจะมีผลจนกว่าจำเลยที่ 2 จำชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาเป็นหลักประกันศาลชั้นต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายอื่นจึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่นำมาเป็นหลักประกันไวต่อศาลออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้ การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300และเมื่อกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้อง แต่เจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)กรณีไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาด แม้มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมชั่วคราว
การที่จำเลยทั้งสามนำที่ดินจำนวน 23 แปลง ของจำเลยที่ 2ที่ผู้ร้องซื้อจากการขายทอดตลาดรวมอยู่ด้วยมาเป็นหลักประกันการทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้น แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวจะมีผลจนกว่าจำเลยที่ 2 จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตาม แต่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาเป็นหลักประกันศาลชั้นต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.หรือกฎหมายอื่น จึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 290 กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่นำมาเป็นหลักประกันไว้ต่อศาลออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้
การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300 และเมื่อกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้อง แต่เจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมา ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา57 (1) กรณีไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนที่ดินหลังการขายทอดตลาด แม้มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมจากศาลคดีแพ่ง
การที่จำเลยทั้งสามนำที่ดินจำนวน23แปลงของจำเลยที่2ที่ผู้ร้องซื้อจากการขายทอดตลาดรวมอยู่ด้วยมาเป็นหลักประกันการทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่2ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใดๆเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้นแม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่2ทำไว้ต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวจะมีผลจนกว่าจำเลยที่2จำชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ที่ดินที่จำเลยที่2นำมาเป็นหลักประกันศาลชั้นต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใดๆเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือกฎหมายอื่นจึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่2ที่นำมาเป็นหลักประกันไวต่อศาลออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้ การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300และเมื่อกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้องแต่เจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวเช่นนี้ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)กรณีไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการล้มละลายทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินทั้งหมด แม้มีหนี้ภาษีเกิดขึ้นก่อนศาลสั่งยกเลิก
ตามประมวลรัษฎากรอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ขณะเกิดมูลกรณีนี้ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนมีนาคมทุกๆปีและต้องยื่นแบบรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในกำหนดดังกล่าวด้วยส่วนผู้ประกอบการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของตนทุกเดือนภาษีและต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภายในวันที่15ของเดือนถัดไปดังนี้แสดงว่ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละปีได้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีถัดไปส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าก็ได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์สำหรับปี2521และปี2522จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม2522และเดือนมีนาคม2523ตามลำดับส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์สำหรับเดือนกันยายนและตุลาคม2521ก็เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่15ของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน2521ตามลำดับการที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่1ได้เรียกตรวจสอบไต่สวนแล้วทำการประเมินตามแบบแจ้งการประเมินเอกสารหมายล.1ถึงล.3และแจ้งไปยังโจทก์ในภายหลังซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เป็นเรื่องให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วนหาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยหรือเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมิน แม้พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา136จะมิได้บัญญัติถึงผลของการยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา135(3)และ(4)เอาไว้แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรา135(3)และ(4)ก็เห็นได้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายด้วยเหตุตามอนุมาตราดังกล่าวแล้วลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมดกรณีจึงไม่อาจนำมาตรา77ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีพฤติการณ์ฉ้อฉลภาษีหรือไม่อีกต่อไป เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายมาตรา135(3)โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมดซึ่งรวมทั้งหนี้ภาษีอากรตามฟ้องจำเลยที่2ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการล้มละลายและการหลุดพ้นหนี้ภาษีอากร: ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตาม ม.135(3) ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้ทั้งหมด
ตาม ป.รัษฎากรอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ขณะเกิดมูลกรณีนี้ ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนมีนาคมทุก ๆ ปี และต้องยื่นแบบรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในกำหนดดังกล่าวด้วย ส่วนผู้ประกอบการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของตนทุกเดือนภาษี และต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนี้ แสดงว่ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละปีได้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีถัดไปส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าก็ได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์สำหรับปี2521 และปี 2522 จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2522 และเดือนมีนาคม 2523ตามลำดับ ส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์สำหรับเดือนกันยายนและตุลาคม 2521ก็เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 15 ของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2521 ตามลำดับ การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง และเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1ได้เรียกตรวจสอบไต่สวน แล้วทำการประเมินตามแบบแจ้งการประเมินเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.3 และแจ้งไปยังโจทก์ในภายหลัง ซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ เป็นเรื่องให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคล-ธรรมดาและภาษีการค้าดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้น เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัย หรือเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมิน
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 136 จะมิได้บัญญัติถึงผลของการยกเลิกการล้มละลาย ตามมาตรา 135 (3) และ (4) เอาไว้ แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรา 135 (3) และ (4) ก็เห็นได้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายด้วยเหตุตามอนุมาตราดังกล่าวแล้ว ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมดกรณีจึงไม่อาจนำมาตรา 77 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้ ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีพฤติการณ์ฉ้อฉลภาษีหรือไม่อีกต่อไป
เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (3)โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งหนี้ภาษีอากรตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการล้มละลายทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินรวมถึงหนี้ภาษีอากร แม้ศาลจะไม่ได้ระบุผลของการยกเลิกการล้มละลายไว้
ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ขณะเกิดมูลกรณีนี้ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนมีนาคมทุกๆปีและต้องยื่นแบบรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในกำหนดดังกล่าวส่วนผู้ประกอบการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของตนทุกเดือนภาษีและต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภายในวันที่15ของเดือนถัดไปแสดงว่ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละปีได้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีถัดไปส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าก็ได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการค้ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ปี2521และปี2522จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม2522และเดือนมีนาคม2523ส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์เดือนกันยายนและตุลาคม2521ก็เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่15ของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน2521การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานจึงเรียกตรวจสอบไต่สวนแล้วทำการประเมินใหม่และแจ้งไปยังโจทก์โจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์นั้นเป็นเรื่องให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วนหาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คำวินิจฉัยหรือเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไม่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์จึงเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาด แม้พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา136จะมิได้บัญญัติถึงผลของการยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา135(3)และ(4)เอาไว้แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรา135(3)และ(4)เห็นได้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายด้วยเหตุตามอนุมาตราดังกล่าวแล้วลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมดไม่อาจนำมาตรา77ซึ่งเป็นเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา135(3)โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมดซึ่งรวมทั้งหนี้ภาษีอากรตามฟ้องด้วยจำเลยที่2ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9934/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องแจ้งให้ผู้ค้างภาษีทราบที่ภูมิลำเนา หากไม่สามารถส่งได้จึงแจ้งโดยวิธีอื่นได้ การแจ้งเฉพาะทางหนังสือพิมพ์จึงไม่ชอบ
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่เป็นที่แน่นอน กรรมสรรพากรจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งประกาศแจ้งกำหนดวันเวลาและสถานที่การขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ให้โจทก์ทราบ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ดังกล่าวซึ่งถ้าไม่สามารถส่งได้ จึงจะส่งโดยวิธีอื่นหรือประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ได้ การที่จำเลยแจ้งเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์โดยวิธีประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์โดยไม่เข้าข้อยกเว้นที่ให้ทำได้ จึงไม่ชอบการขายทอดตลาดที่จำเลยดำเนินการไปจึงไม่ชอบด้วยระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2525 และระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ. 2532

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6338/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การอายัดทรัพย์ และขอบเขตความรับผิดของผู้อื่นในการชำระภาษี
การที่โจทก์ทั้งห้ามีความผูกพันต่อบริษัทร.ตามสัญญาซื้อขายที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ก่อนที่จะซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากบริษัทก.และในขณะที่โจทก์ทั้งห้าได้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวมาโดยการจดทะเบียนซื้อจากบริษัทก. โจทก์ทั้งห้ามีเจตนาที่จะนำที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวมาจดทะเบียนโอนขายให้แก่บริษัทร.ตามสัญญาจะซื้อขายที่มีความผูกพันกันอยู่ดังกล่าว และหลังจากซื้อที่ดินมาได้แล้วโจทก์ทั้งห้าได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่บริษัทร. ไปตามเจตนาที่ซื้อมาเมื่อราคาที่ซื้อมาต่ำแต่ราคาที่ขายไปสูงและคำนวณผลต่างของราคาซื้อบวกด้วยค่าใช้จ่ายในการซื้อลบด้วยราคาขายแล้ว โจทก์ทั้งห้ามีกำไรหลายเท่าตัวทั้งราคาที่ขายไปเป็นราคาที่บริษัทร. ตกลงไว้ตามสัญญาจะซื้อขายหาใช่ราคาตลาดของที่ดินทั้งสองแปลงสูงขึ้นเอง หลังจากที่โจทก์ ทั้งห้าซื้อที่ดินทั้งสองแปลงมาจากบริษัทก. ไม่ ดังนี้ คนที่ขายที่ดินทั้งสองแปลงแก่บริษัทร. นั้น เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร สำหรับเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้ ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งมาตรา 46 ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่จะได้กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกา เมื่อพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11)พ.ศ.2502 มาตรา 8 ทวิ บัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรีแห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม การที่เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นต้นทุนในการซื้อที่ดินมา ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนอันเป็นค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรจึงชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแล้ว กรณีของโจทก์ทั้งห้าในคดีนี้สามารถหาหลักฐานค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ครบถ้วน และเจ้าพนักงานประเมินได้หักให้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว หาใช่กรณีโจทก์ทั้งห้าไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ตามนัยหนังสือกรมสรรพากร ที่ กค.0802/766 ลงวันที่18 มกราคม 2528 และที่ กค.0802/7789 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2531ไม่ จึงใช้อัตราร้อยละ 78 ของเงินได้พึงประเมินตามนัยหนังสือดังกล่าวมาหักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ทั้งห้าไม่ได้ การที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 มิได้มีเจตนาซื้อและขายที่ดินทั้งสองโฉนดดังกล่าวและมิได้รับเงินจากการขายที่ดินนั้น แต่ลงชื่อ ร่วมในการซื้อและมอบอำนาจในการขายไปตามคำสั่งของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 จึงมิได้เป็นผู้ได้รับเงินได้ พึงประเมินในการที่ที่ดินทั้งสองโฉนดนั้นได้ขายไปโดยการดำเนินการ ของโจทก์ที่ 2 และตามคำสั่งของโจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด เจ้าพนักงาน ประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 การที่โจทก์ที่ 1 ไม่ชำระเงินตามการประเมินจึงถือเป็นภาษีอากร ค้างนายอำเภอแห่งท้องที่นั้นมีอำนาจสั่งอายัดที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้ แต่เนื่องจากการประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์ที่ 4 จึงไม่เป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้าง นายอำเภอ แห่งท้องที่จึงไม่มีอำนาจอายัดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 4 และขายทอดตลาด เพื่อให้ได้ชำระภาษีอากรค้างตามการประเมินได้ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้บรรยายไว้ในตอนท้ายของคำฟ้องว่าโจทก์ทั้งห้ามิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงมีเหตุอันควรผ่อนผันให้โจทก์ทั้งห้าตามประมวลรัษฎากร ซึ่งศาลภาษีอากรกลางได้กำหนดเป็นประเด็นไว้แล้วว่ามีเหตุอันควรลดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือไม่ และศาลมีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นนี้หรือไม่ดังนั้นการที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้งดเบี้ยปรับภาษีการค้าและเบี้ยปรับภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นในคำฟ้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17
of 13