คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 12

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6338/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การอายัดทรัพย์ และขอบเขตความรับผิดของผู้อื่นในการชำระภาษี
การที่โจทก์ทั้งห้ามีความผูกพันต่อบริษัทร.ตามสัญญาซื้อขายที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ก่อนที่จะซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากบริษัทก.และในขณะที่โจทก์ทั้งห้าได้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวมาโดยการจดทะเบียนซื้อจากบริษัทก. โจทก์ทั้งห้ามีเจตนาที่จะนำที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวมาจดทะเบียนโอนขายให้แก่บริษัทร.ตามสัญญาจะซื้อขายที่มีความผูกพันกันอยู่ดังกล่าว และหลังจากซื้อที่ดินมาได้แล้วโจทก์ทั้งห้าได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่บริษัทร. ไปตามเจตนาที่ซื้อมาเมื่อราคาที่ซื้อมาต่ำแต่ราคาที่ขายไปสูงและคำนวณผลต่างของราคาซื้อบวกด้วยค่าใช้จ่ายในการซื้อลบด้วยราคาขายแล้ว โจทก์ทั้งห้ามีกำไรหลายเท่าตัวทั้งราคาที่ขายไปเป็นราคาที่บริษัทร. ตกลงไว้ตามสัญญาจะซื้อขายหาใช่ราคาตลาดของที่ดินทั้งสองแปลงสูงขึ้นเอง หลังจากที่โจทก์ ทั้งห้าซื้อที่ดินทั้งสองแปลงมาจากบริษัทก. ไม่ ดังนี้ คนที่ขายที่ดินทั้งสองแปลงแก่บริษัทร. นั้น เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร สำหรับเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้ ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งมาตรา 46 ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่จะได้กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกา เมื่อพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11)พ.ศ.2502 มาตรา 8 ทวิ บัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรีแห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม การที่เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นต้นทุนในการซื้อที่ดินมา ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนอันเป็นค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรจึงชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแล้ว กรณีของโจทก์ทั้งห้าในคดีนี้สามารถหาหลักฐานค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ครบถ้วน และเจ้าพนักงานประเมินได้หักให้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว หาใช่กรณีโจทก์ทั้งห้าไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ตามนัยหนังสือกรมสรรพากร ที่ กค.0802/766 ลงวันที่18 มกราคม 2528 และที่ กค.0802/7789 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2531ไม่ จึงใช้อัตราร้อยละ 78 ของเงินได้พึงประเมินตามนัยหนังสือดังกล่าวมาหักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ทั้งห้าไม่ได้ การที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 มิได้มีเจตนาซื้อและขายที่ดินทั้งสองโฉนดดังกล่าวและมิได้รับเงินจากการขายที่ดินนั้น แต่ลงชื่อ ร่วมในการซื้อและมอบอำนาจในการขายไปตามคำสั่งของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 จึงมิได้เป็นผู้ได้รับเงินได้ พึงประเมินในการที่ที่ดินทั้งสองโฉนดนั้นได้ขายไปโดยการดำเนินการ ของโจทก์ที่ 2 และตามคำสั่งของโจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด เจ้าพนักงาน ประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 การที่โจทก์ที่ 1 ไม่ชำระเงินตามการประเมินจึงถือเป็นภาษีอากร ค้างนายอำเภอแห่งท้องที่นั้นมีอำนาจสั่งอายัดที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้ แต่เนื่องจากการประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์ที่ 4 จึงไม่เป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้าง นายอำเภอ แห่งท้องที่จึงไม่มีอำนาจอายัดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 4 และขายทอดตลาด เพื่อให้ได้ชำระภาษีอากรค้างตามการประเมินได้ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้บรรยายไว้ในตอนท้ายของคำฟ้องว่าโจทก์ทั้งห้ามิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงมีเหตุอันควรผ่อนผันให้โจทก์ทั้งห้าตามประมวลรัษฎากร ซึ่งศาลภาษีอากรกลางได้กำหนดเป็นประเด็นไว้แล้วว่ามีเหตุอันควรลดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือไม่ และศาลมีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นนี้หรือไม่ดังนั้นการที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้งดเบี้ยปรับภาษีการค้าและเบี้ยปรับภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นในคำฟ้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลาย: การแจ้งประเมินภาษีและผลกระทบต่ออายุความตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยจำเลยยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปี2519ถึง2523ต่อโจทก์แสดงรายรับไม่ถูกต้องซึ่งผลการตรวจสอบจำเลยจะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี2520ถึงปี2523รวม4ปีเพิ่มอีกเป็นเงิน237,842.08บาทการที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเมื่อวันที่20ธันวาคม2525และส่งแบบแจ้งภาษีเงินได้ที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม(ภ.ง.ด.11)ไปให้จำเลยณถิ่นที่อยู่ของจำเลยโดยวิธีปิดใบแจ้งเมื่อวันที่22พฤษภาคม2526จึงเป็นการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ปฎิบัติตามประมวลรัษฎากรมาตรา8,18และ20ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ถือได้ว่าโจทก์ได้แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยทราบโดยชอบแล้วหากไม่มีการอุทธรณ์การประเมินเจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจหน้าที่บังคับตามประมวลรัษฎากรมาตรา18ตรีต่อไปคือผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องชำระภาษีนั้นภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินถ้าไม่ชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดดังกล่าวก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา27และเมื่อถึงกำหนดชำระแล้วถ้ามิได้เสียภาษีหรือนำส่งให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้างซึ่งเจ้าพนักงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนดไว้มีอำนาจหน้าที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีหรือนำส่งภาษีโดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา12 การออกหนังสือแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีแม้จำเลยได้ทำบันทึกในคำให้การและบันทึกข้อตกลงยินยอมการชำระภาษีเมื่อวันที่20ธันวาคม2525ว่าจำเลยยอมชำระภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยชำระเพิ่มโดยไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์ใดๆทั้งสิ้นซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยยอมรับสภาพหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่20ธันวาคม2525แต่การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งการประเมินภาษีที่จำเลยต้องชำระเพิ่มไปให้จำเลยทราบโดยปิดหนังสือแจ้งเมื่อวันที่22พฤษภาคม2526ซึ่งเป็นการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีก็ถือได้ว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีให้ชำระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มภายในกำหนด10ปีนับตั้งแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เมื่อวันที่20ธันวาคม2525ซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14(5)และเริ่มนับอายุความใหม่อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่วันที่22พฤษภาคม2526เช่นกันซึ่งครบกำหนด10ปีในวันที่22พฤษภาคม2536ซึ่งตรงกับวันเสาร์หยุดราชการโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อวันจันทร์ที่24พฤษภาคม2536ซึ่งเป็นวันแรกที่เริ่มเปิดทำงานใหม่ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/31กรณีหาใช่ว่าเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องทำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ต่อจำเลยอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนและไม่มีผลบังคับแก่จำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการประเมินภาษีและการฟ้องล้มละลาย: อายุความและการสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจำเลยยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปี 2519 ถึง 2523 ต่อโจทก์ แสดงรายรับไม่ถูกต้องซึ่งผลการตรวจสอบจำเลยจะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2520 ถึงปี 2523 รวม 4 ปี เพิ่มอีก เป็นเงิน 237,842.08 บาท การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 และส่งแบบแจ้งภาษีเงินได้ที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม(ภ.ง.ด. 11) ไปให้จำเลย ณ ถิ่นที่อยู่ของจำเลย โดยวิธีปิดใบแจ้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 จึงเป็นการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8, 18 และ 20 ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ ถือได้ว่าโจทก์ได้แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว หากไม่มีการอุทธรณ์การประเมิน เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจหน้าที่บังคับตามประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ตรี ต่อไป คือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องชำระภาษีนั้นภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ถ้าไม่ชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดดังกล่าวก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 และเมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียภาษีหรือนำส่งให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนดไว้มีอำนาจหน้าที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีหรือนำส่งภาษีโดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา 12
การออกหนังสือแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร เป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีแม้จำเลยได้ทำบันทึกในคำให้การและบันทึกข้อตกลงยินยอมการชำระภาษีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ว่า จำเลยยอมชำระภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยชำระเพิ่มโดยไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้นซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยยอมรับสภาพหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2525 แต่การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งการประเมินภาษีที่จำเลยต้องชำระเพิ่มไปให้จำเลยทราบโดยปิดหนังสือแจ้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีก็ถือได้ว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีให้ชำระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มภายในกำหนด 10 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525ซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) และเริ่มนับอายุความใหม่อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2526 เช่นกัน ซึ่งครบกำหนด 10 ปี ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2536 ซึ่งตรงกับวันเสาร์หยุดราชการโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม 2536 ซึ่งเป็นวันแรกที่เริ่มเปิดทำงานใหม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 กรณีหาใช่ว่าเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องทำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ต่อจำเลยอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนและไม่มีผลบังคับแก่จำเลยไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์จากหนี้ภาษีอากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การประเมินภาษีที่ไม่แจ้งผู้รับผิดและขั้นตอนไม่ครบถ้วน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์มิใช่ขอให้เพิกถอนการประเมินที่จะต้องอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา30แห่งประมวลรัษฎากรและกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยเห็นว่าโจทก์จะต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระแต่โจทก์ไม่ชำระจำเลยจึงได้ยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามอำนาจแต่โจทก์อ้างว่าไม่ต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรรายนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากรซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา7(2)โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยนำข้อเท็จจริงจากการสอบถามคู่ความมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีดังนี้คำสั่งงดสืบพยานในกรณีนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาปรากฎว่าจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ทั้งที่จำเลยมีเวลาโต้แย้งได้จึงต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แม้ฟังว่าโจทก์เป็นลูกจ้างผู้กระทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศในประเทศไทยเมื่อเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้เรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา19,20คงประเมินไปยังผู้จัดการสาขาบริษัทคนใหม่ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา76ทวิวรรคสามกรณียังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ครบถ้วนจำเลยจึงยังไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามมาตรา12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์จากหนี้ภาษีอากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: เจ้าหนี้ต้องแจ้งการประเมินให้ผู้รับผิดเสียภาษีทราบก่อน
กรมสรรพากรยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 12 โจทก์ฟ้องกรมสรรพากรขอให้เพิกถอนการยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าว กรณีจึงมิใช่การฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินซึ่งจะต้องอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 30 แห่ง ป. รัษฎากร เสียก่อน ดังนั้น แม้ว่าบริษัท ร. ซึ่งโจทก์เป็นตัวแทนจะไม่ได้อุทธรณ์การประเมินรายนี้โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง และเป็นกรณีซึ่งจะต้องพิจารณาและวินิจฉัยว่าโจทก์จะต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรค้างรายนี้หรือไม่ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์คดีนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง
แม้ข้อเท็จจริงในคดีจะฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง ผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการของบริษัท ร. ในประเทศไทย ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ก็ตาม แต่เจ้าพนักงานประเมินยังมิได้เรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังโจทก์ผู้ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 19 , 20 คงประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังผู้จัดการบริษัท ร. เท่านั้น ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 76 ทวิ วรรคสาม แห่ง ป. รัษฎากร เมื่อยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ครบถ้วน จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง ป. รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้างโดยการเฉลี่ยทรัพย์สิน ไม่ถือเป็นการฟ้องคดี ไม่ติดอายุความ 1 ปี
กรมสรรพากรผู้ร้องได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าไปยังผู้จัดการมรดกของจำเลยเมื่อวันที่27มกราคม2535ผู้จัดการมรดกของจำเลยได้รับหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวแล้วไม่นำเงินภาษีอากรชำระให้ผู้ร้องผู้ร้องย่อมสามารถใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา12ได้ภายในกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันที่จะใช้อำนาจตามกฎหมายดังกล่าวเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ภาษีอากรค้างเมื่อวันที่24พฤศจิกายน2535อันเป็นเวลาภายในกำหนดสิบปีที่ผู้ร้องได้ใช้อำนาจตามมาตรา12แห่งประมวลรัษฎากรวิธีการดังกล่าวเป็นกรณีของการบังคับชำระหนี้ซึ่งผู้ร้องอาจบังคับได้ภายในสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา12วรรคสี่ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271มิใช่การใช้สิทธิเรียกร้องโดยการฟ้องคดีจึงไม่อาจอ้างอายุความ1ปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคสามมาใช้ได้คดีของผู้ร้องจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรยึดทรัพย์ – ไม่ขาดอายุความ แม้ไม่ได้ฟ้องคดี – อายุความ 10 ปี ตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง
สิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็น เจ้าหนี้ภาษีอากรที่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่1เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ภาษีอากรค้างโดยไม่จำต้องฟ้องคดีต่อศาลก่อนตามประมวลรัษฎากรมาตรา12วรรคสองถือว่าเป็นสิทธิอื่นๆซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินได้ตามกฎหมายซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงผู้ร้องมีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์สินของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290วรรคสามได้ภายในสิบปีนับแต่วันที่จะใช้อำนาจนั้นและมิใช่การ ใช้สิทธิเรียกร้องโดยการฟ้องคดีซึ่งต้องฟ้องภายในอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้างหลังมรณะ: กำหนดเวลา 10 ปีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 มิใช่อายุความฟ้องร้อง
กรมสรรพากรผู้ร้องได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าไปยังผู้จัดการมรดกของจำเลยเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2535 ผู้จัดการมรดกของจำเลยได้รับหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวแล้วไม่นำเงินภาษีอากรชำระให้ผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมสามารถใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 ได้ภายในกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันที่จะใช้อำนาจตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ภาษีอากรค้างเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2535 อันเป็นเวลาภายในกำหนดสิบปีที่ผู้ร้องได้ใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร วิธีการดังกล่าวเป็นกรณีของการบังคับชำระหนี้ซึ่งผู้ร้องอาจบังคับได้ภายในสิบปีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 271 มิใช่การใช้สิทธิเรียกร้องโดยการฟ้องคดี จึงไม่อาจอ้างอายุความ 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม มาใช้ได้ คดีของผู้ร้องจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร่วมและการเริ่มนับอายุความคดีภาษีอากร กรณีโอนทรัพย์สินหลีกเลี่ยงหนี้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำนิติกรรมโอนขายหุ้นและที่ดินทำให้โจทก์ไม่สามารถยึดหุ้นและที่ดินของจำเลยที่ 1 มาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์อันเป็นการทำให้โจทก์เสียเปรียบ เท่ากับเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ทำนิติกรรมร่วมกับจำเลยที่ 1 เพื่อช่วยให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องถูกยึดหุ้นและที่ดินมาชำระหนี้แก่โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่มีส่วนได้เสียในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 วรรคหนึ่ง จึงชอบที่โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสี่ร่วมกันมาในคดีเดียวกันได้
ศาลแพ่งได้ประทับรับฟ้องคดีไว้แล้วรวมทั้งรับคำให้การจำเลยทั้งสี่ตลอดจนสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระบวนความ ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้วตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (5)
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทกรม มีอธิบดีเป็นผู้แทนรับผิดชอบงานราชการและเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้ ส.และ พ.เจ้าพนักงานของโจทก์จะทราบเรื่องที่จำเลยที่ 1 โอนขายหุ้นและที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในเดือนมกราคม 2530 แต่บุคคลทั้งสองไม่ใช่ผู้แทนโจทก์ผู้มีอำนาจฟ้องคดี จึงยังไม่เริ่มนับอายุความ เมื่อปรากฏว่าอธิบดีของโจทก์ทราบเหตุที่จะขอให้เพิกถอนการโอนไม่เกิน1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 12กำหนดช่องทางวิธีดำเนินการของโจทก์เกี่ยวกับภาษีอากรค้าง ให้สิทธิโจทก์ยึดทรัพย์จำเลยได้ หาใช่จำเลยเป็นหนี้ที่โจทก์มีอำนาจฟ้องร้องเรียกให้ชำระค่าภาษีอากรหรือฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนเช่นคดีนี้ ข้อที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอายัดทรัพย์สินจำกัดเฉพาะผู้มีหน้าที่เสียภาษี การฟ้องเพิกถอนอายัดไม่ขาดอายุความ
คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์ มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 448
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรเท่านั้น เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรของ ส. และโจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามกฎหมายอยู่ แม้จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นฟ้องโจทก์และ ส. ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลไว้แล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีอำนาจอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์
กรมสรรพากรจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้สั่งอายัดที่ดินพิพาท จึงไม่อบที่จะให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนคำสั่งอายัดของผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 2 ด้วย
of 13