พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอายัดทรัพย์สินจำกัดเฉพาะผู้มีหน้าที่เสียภาษี การฟ้องเพิกถอนอายัดไม่ขาดอายุความ
คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์ มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 448
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรเท่านั้น เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรของ ส. และโจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามกฎหมายอยู่ แม้จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นฟ้องโจทก์และ ส. ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลไว้แล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีอำนาจอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์
กรมสรรพากรจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้สั่งอายัดที่ดินพิพาท จึงไม่อบที่จะให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนคำสั่งอายัดของผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 2 ด้วย
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรเท่านั้น เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรของ ส. และโจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามกฎหมายอยู่ แม้จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นฟ้องโจทก์และ ส. ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลไว้แล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีอำนาจอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์
กรมสรรพากรจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้สั่งอายัดที่ดินพิพาท จึงไม่อบที่จะให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนคำสั่งอายัดของผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งอายัดทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่สรรพากร: ต้องเป็นทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีเท่านั้น
คำฟ้องที่โจทก์ผู้รับโอนที่ดินพิพาทจากเจ้าของเดิมผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรแก่จำเลยที่1ซึ่งถูกจำเลยที่2มีคำสั่งอายัดตามประมวลรัษฎากรมาตรา12ขอให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งอายัดมิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายไม่อยู่ในอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448 ประมวลรัษฎากรมาตรา12ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรและผู้ว่าราชการจังหวัดยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรเมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรของเจ้าของเดิมจำเลยที่2จึงไม่มีอำนาจอายัดที่ดินพิพาท จำเลยที่1มิได้เป็นผู้สั่งอายัดที่ดินพิพาทจึงไม่ชอบที่จะให้จำเลยที่1เพิกถอนคำสั่งอายัดของจำเลยที่2ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษี: การประเมินใหม่หลังคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ถือเป็นการฟ้องคดี ทำให้สิทธิเรียกร้องยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ได้รับแจ้งการประเมินให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วถือว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่โจทก์แล้วเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเพราะประมวลรัษฎากรมาตรา12ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งจึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173เดิม(ปัจจุบันคือมาตรา193/14(2)ระยะเวลาที่ได้ล่วงไปก่อนนั้นย่อมไม่นับเข้าในอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา181วรรคหนึ่งเดิม(ปัจจุบันคือมาตรา193/15วรรคหนึ่ง) ต่อมาโจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินโดยให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิและ70ทวิคงเดิมแต่แก้หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ใหม่จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาศาลฎีกาพิพากษายืนและได้มีคำสั่งคำร้องศาลฎีกาอธิบายคำพิพากษาดังกล่าวด้วยว่า"ตามคำพิพากษาดังกล่าวจำเลยจะต้องประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลใหม่ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาจะบังคับให้โจทก์ชำระภาษีตามจำนวนที่จำเลยอ้างว่าคำนวณตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วทันทีโดยที่โจทก์ยังไม่ยอมรับว่าถูกต้องนั้นหาได้ไม่"ผลของคำพิพากษาดังกล่าวย่อมเป็นการก่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องแก่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยซึ่งมิได้เป็นฝ่ายฟ้องคดีให้ต้องผูกพันที่จะต้องประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ขึ้นใหม่โดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลฎีกาตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกากรณีหาใช่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามคำฟ้องของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิและ70ทวิตามมูลเหตุแห่งการประเมินไม่ถือไม่ได้ว่าการประเมินอันมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีต้องถูกยกฟ้องที่จะไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นใหม่โดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลฎีกาดังกล่าวได้ภายใน10ปีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา168เดิม(ปัจจุบันคือมาตรา193/32)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7465/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดเริ่มต้นเมื่อเกิดความเสียหายจากการยึดทรัพย์ ไม่ใช่เมื่อชดใช้ค่าเสียหาย
การที่จำเลยทั้งสองใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12ประกาศยึดทรัพย์ของโจทก์โดยผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2532ทำให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อได้ ทำให้เกิดความเสียหายตั้งแต่วันนั้น หาใช่โจทก์เพิ่งจะได้รับความเสียหายในวันที่โจทก์อ้างว่าได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อไม่ จึงเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2532
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7465/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความเสียหายจากการยึดทรัพย์โดยมิชอบ เริ่มนับแต่วันที่เกิดเหตุ
การที่จำเลยทั้งสองใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12ประกาศยึดทรัพย์ของโจทก์โดยผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2532 ทำให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้จะซื้อได้ ทำให้เกิดความเสียหายตั้งแต่วันนั้น หาใช่โจทก์เพิ่งจะได้รับความเสียหายในวันที่โจทก์อ้างว่าได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อไม่ จึงเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม2532
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเมื่อสิทธิยังไม่ถูกโต้แย้ง: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากยังไม่ได้ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่ากรมสรรพากรจำเลยนำยึดที่ดินประกาศขายทอดตลาดเพื่อนำเงินไปชำระค่าภาษีอากรที่ ช. ซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของรวมในที่ดินค้างชำระแก่จำเลย แม้ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเป็นถนนที่โจทก์และประชาชนทั่วไปใช้ประโยชน์ผ่านเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมาตั้งแต่ พ.ศ. 2497 ก็ตาม แต่ตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้ปิดกั้นถนนโจทก์และประชาชนทั่วไปก็คงใช้ถนนได้ตามปกติหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งยังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างก่อสร้างและการอายัดเงินของเจ้าหนี้ภาษีอากร
โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างจากบริษัทอ.ที่บริษัทอ.มีต่อกรมชลประทานโดยความยินยอมของกรมชลประทานโดยชอบแล้ว บริษัทอ. จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องต่อกรมชลประทานอีกต่อไป กรมสรรพากร จำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรของบริษัทอ.ย่อมจะขออายัดเงินที่กรมชลประทานจะต้องชำระให้แก่โจทก์ไม่ได้ แม้อายัดไปคำสั่งอายัดก็ย่อมไม่มีผลบังคับต่อกรมชลประทาน การที่คลังจังหวัดพะเยาโดยความยินยอมของกรมชลประทานได้ส่งเงินค่าจ้างซึ่งกรมชลประทานจะต้องชำระแก่โจทก์ไปให้จำเลยที่ 1ตามที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งอายัดไว้ ก็เป็นกรณีที่กรมชลประทานจะต้องรับผิดต่อการกระทำของตนเองกรณีดังกล่าวมิได้ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากกรมชลประทานตามที่โจทก์ได้รับโอนมาจากบริษัทอ.เสื่อมเสียไปไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ว่าฯ ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภาษีอากรค้าง: กรณีพิเศษตามประมวลรัษฎากร
ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างได้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากกรมสรรพากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ภาษีอากรค้างในคดีล้มละลาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจตามกฎหมายที่จะยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรเพื่อให้ได้ชำระภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องได้รับมอบอำนาจจากกรมสรรพากร ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างได้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากกรมสรรพากรเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การไม่อนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติม, อำนาจฟ้อง, และการประเมินภาษีที่ถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมเพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็น จำเลยแถลงคัดค้านและอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นว่า หากศาลเปิดโอกาสให้นำพยานหลักฐานที่ระบุเพิ่มเติมเข้าสืบจะทำให้ศาลเห็นว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบ เพราะราคาค่าซื้อขายไม้ที่เจ้าพนักงานประเมินนำมาคำนวณเป็นรายรับ เป็นไม้ที่จำเลยยังนำออกมาจำหน่ายไม่ได้ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 32/2532ห้ามเข้าทำไม้และเคลื่อนย้ายไม้โดยเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่าคำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว จำเลยฎีกาว่า หากศาลอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม จำเลยสามารถนำพยานเข้าสืบให้เป็นที่ประจักษ์แก่ศาลได้ว่า ทรัพย์สินของจำเลยยังมีอยู่และมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 5,000,000 บาท จำเลยจึงมิใช่ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งเป็นเหตุผลคนละอย่างกับที่จำเลยเคยให้ไว้ในคำแถลงคัดค้านและในอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่อธิบดีกรมโจทก์มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ในศาล มิใช่การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนอันจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่ออธิบดีกรมโจทก์ปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 แล้วผู้รับมอบอำนาจชอบที่จะฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นแทนโจทก์ได้ เมื่อจำเลยได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีการค้า ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จำเลยมิได้อุทธรณ์ การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30 การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานจึงถึงที่สุด เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวโจทก์ย่อมมีอำนาจบังคับเอากับจำเลยได้เช่นเดียวกับหนี้ที่เกิดจากคำพิพากษา จำเลยจะกล่าวอ้างว่าการประเมินของเจ้าพนักงานไม่ชอบอีกไม่ได้